ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ต้นไม้ประจำจังหวัด

[คัดลอกลิงก์]
31#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นตะเคียนทอง
ต้นไม้ประจำจังหวัดปัตตานี






ต้นไม้ประจำจังหวัดปัตตานี
ชื่อพันธุ์ไม้ตะเคียนทอง
ชื่อสามัญIron Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์Hopea odorata Roxb.
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นกะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แคน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จะเคียน (ภาคเหนือ), จูเค้ โซเก (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะเคียนทอง ตะเคียนใหญ่ (ภาคกลาง), ไพร (ละว้า-เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กลม หรือรูปเจดีย์ เปลือกหนาสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด กระพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลอมเหลือง ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอก หรือรูปดาบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบเรียว โคนใบมนป้านและเบี้ยว หลังใบมีตุ่มเกลี้ยง ปลายโค้งแต่ไม่จรดกัน ออกดอกขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อยาวตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลิ่นหอม ผล รูปไข่ เกลี้ยง ปลายมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม ภายในกลีบรองดอกที่ขยายตัวออกเป็นปีก รูปใบพาย
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมอากาศชุ่มชื้น ในช่วงที่ต้นยังไม่โตจะไม่ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อน

32#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นหมัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา





ต้นไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อพันธุ์ไม้หมัน
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Cordia cochinchinensis Gagnepain
วงศ์BORAGINACEAE
ชื่ออื่นหมัน (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 5–15 เมตร เปลือกต้นสีเทาคล้ำ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบทู่ โคนใบกว้าง ดอกสีขาว ผลเมื่อเปลือกสีชมพู มีของเหลวภายในเหนียวมากห่อหุ้มเมล็ด
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินเลน ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นสูง
ถิ่นกำเนิดป่าชายเลนที่ค่อนข้างแข็ง และชายฝั่งทะเลอ่าวไทย

33#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นสารภี
ต้นไม้ประจำจังหวัดพะเยา





ต้นไม้ประจำจังหวัดพะเยา
ชื่อพันธุ์ไม้สารภี
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Mammea siamensis T. Anders.
วงศ์GUTTIFERAE
ชื่ออื่นทรพี (จันทบุรี), สร้อยพี (ภาคใต้), สารภี (ทั่วไป), สารภีแนน (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ มียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่กลับแกมขอบขนาน เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน แต่เส้นใบย่อยแบบร่างแหเห็นชัดทั้งสองข้าง ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่ง สีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย มีเกสรเพศผู้สีเหลือง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วนซุย ความชื้นพอเหมาะ
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ในประเทศไทย

34#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นเทพทาโร
ต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา





ต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา
ชื่อพันธุ์ไม้เทพทาโร
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum porrectum Kosterm.
วงศ์LAURACEAE
ชื่ออื่นจะไคหอม จะไคต้น (ภาคเหนือ), จวงหอม จวง (ภาคใต้), พลูต้นขาว (เชียงใหม่), เทพทาโร (ภาคกลาง, จันทบุรี, สุราษฎร์ธานี), มือแดกะมางิง (มลายู-ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ก้านใบเรียวเล็ก ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลทรงกลม มีขนาดเล็ก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบบนเขาทั่วไป

35#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นพะยอม
ต้นไม้ประจำจังหวัดพัทลุง





ต้นไม้ประจำจังหวัดพัทลุง
ชื่อพันธุ์ไม้พะยอม
ชื่อสามัญShorea
ชื่อวิทยาศาสตร์Shorea roxburghii G. Don
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นกะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นสูง 15–30 เมตร และมีเนื้อไม้แข็ง สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว แผ่นใบรูปมนรี เรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ท้องใบเป็นเส้นแขนงใบนูนมองเห็นชัด ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ สีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นรูปรี กลีบเลี้ยงเจริญไปเป็นปีกคล้ายผลยาง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
ถิ่นกำเนิดเป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย พบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ

36#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นบุนนาค
ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร





ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร
ชื่อพันธุ์ไม้บุนนาค
ชื่อสามัญIron Wood, Indian Rose Chestnut
ชื่อวิทยาศาสตร์Mesua ferrea Linn.
วงศ์OUTTIFERAE
ชื่ออื่นก๊าก่อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ก้ำกอ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), บุนนาค (ทั่วไป), ปะนาคอ (มลายู-ปัตตานี, สารภีดอย (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 15–25 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปเจดีย์ต่ำ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปไข่ยาวเรียวแคบ ขอบใบเรียบ ท้องใบสีขาวนวลอมเทาเป็นมันคล้ายใบมะปราง ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกสีขาวนวล กลีบดอกมี 5 กลีบและมีกลิ่นหอม เกสรเพศผู้เป็นฝอยสีเหลืองจำนวนมาก ผลเป็นรูปไข่ เปลือกแข็ง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วนปนทราย และดินร่วนที่มีความชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิดเกิดขึ้นตามธรรมชาติตามป่าทั่วไป

37#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นปีบ
ต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก





ต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก
ชื่อพันธุ์ไม้ปีบ
ชื่อสามัญCork Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Millingtonia hortensis Linn. F.
วงศ์BIGNONIACEAE
ชื่ออื่นกาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ), เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปีบ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 5–25 เมตร เปลือกขรุขระสีเทา ตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุดๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่แกมรูปหอกปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้าหรือหยักกลมๆ เรียบ โคนใบกลม มีต่อมขนอยู่ตรงมุมระหว่างเส้นกลางใบและเส้นใบ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งตรง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อเล็กๆ ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนกลีบใกล้ปลายที่แยกออก ผลเป็นฝัก เมล็ดมีปีก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วนปนทราย อากาศชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย

38#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นหว้า
ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้หว้า
ชื่อสามัญJambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum
ชื่อวิทยาศาสตร์Syzygium cumini (Linn.) Skeets
วงศ์MYRTACEAE
ชื่ออื่นห้าขี้แพะ (เชียงราย)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–25 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามง่ามใบ เกสรยาวเป็นพู่ ผลเป็นผลสดรูปรี
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์
ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อน จากอินเดียถึงมาเลเซีย

39#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นมะขาม
ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์





ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อพันธุ์ไม้มะขาม
ชื่อสามัญTamarind, Indian date
ชื่อวิทยาศาสตร์Tamarindus indica Linn.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นมะขามไทย ตะลูบ (นครราชสีมา), ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะขาม (ทั่วไป), หมากแกง (ละว้า-แม่ฮ่องสอน), อำเปียล (เขมร-สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้านใบ ปลายใบและโคนใบมน ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ขนาดเล็ก มีกลีบสีเหลือง ผลมี 2 ชนิด คือ ชนิดฝักกลมเล็กยาวเรียกว่า “มะขามขี้แมว” ชนิดฝักใหญ่แบนเรียกว่า “มะขามกระดาน” เมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ชอบแสงแดด
ถิ่นกำเนิดทวีปเอเชีย และแอฟริกาเขตร้อน

40#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นยมหิน
ต้นไม้ประจำจังหวัดแพร่





ต้นไม้ประจำจังหวัดแพร่
ชื่อพันธุ์ไม้ยมหิน
ชื่อสามัญAlmond-wood, Chickrassy Chittagong-wood
ชื่อวิทยาศาสตร์Chukrasia velutina Roem.
วงศ์MELIACEAE
ชื่ออื่นโค้โย่ง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ช้ากะเดา (ใต้), ยมขาว (เหนือ), ยมหิน มะเฟืองต้น สะเดาช้าง สะเดาหิน (กลาง), ริ้งบ้าง รี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เสียดค่าย (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มรูปกรวย เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ ใบเป็นใบประกอบออกเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปดาบ ท้องใบมีขนนุ่ม หลังใบเกลี้ยง ออกดอกขนาดเล็ก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ กลมรีแข็ง สีน้ำตาลอมม่วง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นทั่วไป

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้