ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ต้นไม้ประจำจังหวัด

[คัดลอกลิงก์]
71#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นมะพลับ
ต้นไม้ประจำจังหวัดอ่างทอง





ต้นไม้ประจำจังหวัดอ่างทอง
ชื่อพันธุ์ไม้มะพลับ
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Diospyros malabarica Kostel.
วงศ์EBENACEAE
ชื่ออื่นตะโกสวน (เพชรบุรี), มะพลับ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 8–15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาปนดำ เปลือกชั้นในสีน้ำตาลปนแดง เรือนยอดรูปทรงกลมทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอกขนาดเล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ผลเป็นผลสดค่อนข้างกลม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย แสงแดดจัด น้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบ ประเทศไทย อินเดีย ชวาเกาะเซลีเบส


72#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นตะเคียนหิน
ต้นไม้ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ





ต้นไม้ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ
ชื่อพันธุ์ไม้ตะเคียนหิน
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Hopea ferrea Heim.
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นตะเคียนทราย (ตราด, ตรัง), ตะเคียนหิน (ภาคใต้), ตะเคียนหนู (นครราชสีมา), เหลาเตา (สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15–30 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแก่แตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือรูปกรวยแหลม กิ่งอ่อนมีขนประปราย ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ปลายเป็นติ่งทู่ โคนมน ดอกเล็ก สีขาวหรือขาวปนเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด ระบายน้ำได้ดี ต้องการความชื้นปานกลาง เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดป่าดิบแล้ง และขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ตามที่ลาดเชิงเขาที่มีการระบายน้ำดี

73#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นรัง
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี





ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี
ชื่อพันธุ์ไม้รัง
ชื่อสามัญBurmese sal, Ingyin
ชื่อวิทยาศาสตร์Shorea siamensis Miq.
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นเปา เปาดอกแดง (ภาคเหนือ), รัง (ภาคกลาง), เรียง เรียงพนม (เขมร-สุรินทร์), ลักป้าว (ละว้า-เชียงใหม่), แลบอง เหล้ท้อ เหล่บอง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ฮัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–20 เมตร เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตามความยาวลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบหยักเว้า ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ กลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน ผลรูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนปนกรวดและดินทราย เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าแดงทั่วไป ทนแล้ง ทนไฟได้ดีมาก

74#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นสัก
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์





ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อพันธุ์ไม้สัก
ชื่อสามัญTeak
ชื่อวิทยาศาสตร์Tectona grandis Linn.
วงศ์VERBENACEAE
ชื่ออื่นเคาะเยียโอ (ละว้า-เชียงใหม่), ปายี้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บีอี ปีฮือ เป้อยี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), สัก (ทั่วไป), เส่บายี้ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง 50 เมตร โตเร็ว ผลัดใบในฤดูร้อน ส่วนที่ยังอ่อนมีขน เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ สีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดใหญ่มาก เรียงตรงข้าม รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบสากคาย สีเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อนกว่า มีต่อมเล็กๆ สีแดง ดอกเป็นช่อใหญ่ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ออกดอกเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ผลเป็นผลสดค่อนข้างกลม มีขนละเอียดหนาแน่น กลีบเลี้ยงขยายตัวหุ้มผลไว้ด้านใน
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินแบบตะกอนทับถมที่มีผิวหน้าดินลึกและระบายน้ำดี
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ

75#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นสะเดา
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี





ต้นไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี
ชื่อพันธุ์ไม้สะเดา
ชื่อสามัญNeem Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Azadirachta indica A. Juss. (varsiamensis Valeton)
วงศ์MELIACEAE
ชื่ออื่นกะเดา (ภาคใต้), จะตัง (ส่วย), สะเดา (ภาคกลาง), สะเลียม (ภาคเหนือ), สะเดาบ้าน (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 20 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ ใบย่อยเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบจักไม่เป็นระเบียบ ดอกสีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน โคนก้านดอกติดกันเป็นหลอด ออกดอกเดือนธันวาคม-มกราคม ผลเป็นผลสดกลมรี ผิวบาง มีเนื้อฉ่ำน้ำ ผลแก่สีเหลือง
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณค่อนข้างแล้งและป่าแดง

76#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นยางนา
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุบลราชธานี






ต้นไม้ประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อพันธุ์ไม้ยางนา
ชื่อสามัญYang
ชื่อวิทยาศาสตร์Dipterocarpus alatus Roxb.
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นกาตีล (เขมร-ปราจีนบุรี), ขะยาง (ชาวบน-นครราชสีมา), เคาะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), จะเตียล (เขมร), ชันนา ยางตัง (ชุมพร), ทองหลัก (ละว้า), ยาง ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก ยางนา (ทั่วไป), ยางกุง (ลาว), ยางควาย (หนองคาย), ยางเนิน (จันทบุรี), ราลอย (ส่วยสุรินทร์), ลอยด์ (โซ่-นครพนม)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง 40 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบหนาสีเทา โคนต้นมีพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอกกว้าง ปลายใบสอบเรียว เนื้อใบหนา ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อสั้น ๆ สีน้ำตาล กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบประสานเหลื่อมกัน ปลายกลีบบิดเวียนตามกันแบบกังหัน เกสรเพศผู้มี 25 อัน รังไข่มี 3 ช่อง ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม ผลเป็นผลแห้งทรงกลม มีครีบตามยาว 5 ครีบ ปีกยาว 2 ปีก
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบ และตามที่ต่ำชุ่มชื้นใกล้แม่น้ำลำธารทั่วไป

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้