ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ต้นไม้ประจำจังหวัด

[คัดลอกลิงก์]
21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นสาธร
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา






ต้นไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อพันธุ์ไม้สาธร
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Millettia leucantha Kurz
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกระเจาะ ขะเจาะ (ภาคเหนือ), กระพีเขาควาย (ประจวบคีรีขันธ์), กะเชาะ (ภาคกลาง), ขะแมบ คำแมบ (เชียงใหม่), สาธร (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 18–19 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอก ใบเป็นใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม 3–5 คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบย่อยรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบและยอดอ่อนมีขนยาว ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง สีขาว รูปดอกถั่ว สีชมพูอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผล เป็นฝักแบนคล้ายฝักมีด
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วน แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นมาก
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณใกล้แหล่งน้ำทั่วไป

22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นแซะ
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช





ต้นไม้ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อพันธุ์ไม้แซะ
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Millettia atropurpurea Benth.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกะแซะ (สุราษฏร์ธานี), ยีนิเก๊ะ (มลายู-นราธิวาส), แซะ (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกตรงกันข้าม มีใบย่อยปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ รูปดอกถั่ว สีแดงแกมม่วงทึบ กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นฝัก สีน้ำตาล กลมรี
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดตามชายป่าดิบชื้นภาคใต้ของไทย

23#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นเสลา
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์





ต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อพันธุ์ไม้เสลา
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Lagerstroemia loudoni Teijsm. & Binn.
วงศ์LYTHRACEAE
ชื่ออื่นเกรียบ ตะเกรียบ (ชอง-จันทบุรี), ตะแบกขน (นครราชสีมา), เสลาใบใหญ่ (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 10–20 เมตร เรือนยอดกลมทึบ กิ่งห้อยลง ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโค้งมน ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีม่วง ม่วงอมชมพูหรือม่วงอมขาว ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ผล มีเมล็ดมีปีกจำนวนมาก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วน แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าชายหาด ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางลงไปถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นนนทรีบ้าน
ต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้นนทรีบ้าน
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Peltophorum pterocarpum Back. Ex Heyne
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกระถินป่า กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8–15 เมตร เรือนยอดรูปร่ม ช่อดอกและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้นเรียงสลับ ใบย่อยออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผล เป็นฝักแบนรูปหอก โคนและปลายสอบแหลม
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดตามป่าทั่วไปและชายหาด

25#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตะเคียนชันตาแมว
ต้นไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส





ต้นไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส
ชื่อพันธุ์ไม้ตะเคียนชันนตาแมว
ชื่อสามัญChingal
ชื่อวิทยาศาสตร์Balanocarpus heimii King
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นจีงามาส (มลายู-นราธิวาส), ตะเคียนชัน ตะเคียนชันนตาแมว (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 30–40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลเข้มล่อนเป็นสะเก็ด มียางชันสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปหอกหรือรูปดาบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง สีขาว กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วน กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบ พบมากที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส

26#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นกำลังเสือโคร่ง
ต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน





ต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน
ชื่อพันธุ์ไม้กำลังเสือโคร่ง
ชื่อสามัญBirch
ชื่อวิทยาศาสตร์Betula alnoides Buch-Ham.
วงศ์CUPULIFERAE
ชื่ออื่นกำลังพญาเสือโคร่ง, กำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 20–35 เมตร เปลือกต้นมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะลอกออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ ยอดอ่อน ก้านใบ และช่อดอกมีขนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุม หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ใบเป็นรูปไข่แกมรูปหอก เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม ออกดอกเป็นช่อยาวแบบหางกระรอกตามง่ามใบ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว 5–8 ซ.ม. กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือเกือบกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว 3–9 ซ.ม. กลีบรอบดอกไม่มีก้านมี 3 หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ผลมีปัก 2 ข้างโปร่งบาง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ชอบความชื้นน้อย
ถิ่นกำเนิดภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

27#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นกาฬพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์





ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อพันธุ์ไม้กาฬพฤกษ์
ชื่อสามัญPink Shower, Horse Cassia
ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia grandis Linn. F.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกัลปพฤกษ์ (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูงประมาณ 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อย 10–20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน หลังใบเป็นมัน ท้องใบมีขน ดอก เมื่อเริ่มบานจะมีสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและสีสันตามลำดับ ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ชอบความชื้นน้อย
ถิ่นกำเนิดภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

28#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นทองหลางลาย
ต้นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี





ต้นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี
ชื่อพันธุ์ไม้ทองหลางลาย
ชื่อสามัญIndian Coral Tree, Variegated Tiger’s claw
ชื่อวิทยาศาสตร์Erythrina variegata Linn.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นทองบ้าน, ทางเผือก (ภาคเหนือ), ทองหลางด่าง, ทองหลางลาย (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30–40 ซ.ม. รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักยาว 15–30 ซ.ม.
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และปักชำ
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อนและอบอุ่น

29#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นเกด
ต้นไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์





ต้นไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อพันธุ์ไม้เกด
ชื่อสามัญMilkey Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Manilkara hexandra Dubard
วงศ์SAPOTACEAE
ชื่ออื่นครินี ไรนี (ฮินดู), เกด (กลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอ โดยเฉพาะกิ่งมักหักงอเป็นข้อศอก ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับ ปลายหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบสอบ เนื้อใบหนาเกลี้ยง หลังใบสีเขียวแก่เป็นมัน ท้องใบสีขาวหรือนวล ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม ผล รูปกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองแสด
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทราย หรือดินปนหิน ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดเอเชีย ประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป และตามเกาะต่างๆ

30#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นโพศรีมหาโพธิ
ต้นไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้โพศรีมหาโพธิ
ชื่อสามัญSacred Fig Tree, Pipal Tree, Bo-Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus religiosa Linn.
วงศ์URTICACEAE
ชื่ออื่นปู (เขมร), โพ โพศรีมหาโพธิ (ภาคกลาง), ย่อง (เงี่ยว-แม่ฮ่องสอน), สลี (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล มียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหัวใจ ออกดอกจำนวนมาก ขนาดเล็ก ออกดอกตลอดทั้งปี ผลเป็นผลสดทรงกลม เมื่อสุกสีม่วงดำ
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิดอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้