ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 12152
ตอบกลับ: 75
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ต้นไม้ประจำจังหวัด

[คัดลอกลิงก์]
ต้นทุ้งฟ้า
ต้นไม้ประจำจังหวัดกระบี่



ต้นไม้ประจำจังหวัดกระบี่
ชื่อพันธุ์ไม้ทุ้งฟ้า
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Alstonia macrohpylla Wall
วงศ์APOCYNACEAE
ชื่ออื่นกระทุ้งฟ้าไห้ ทุ้งฟ้าไก่ (ชุมพร), ตีนเทียน (สงขลา), ทุ้งฟ้า (ภาคใต้), พวงพร้าว (ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนสูง 15–25 เมตร ไม่ผลัดใบ กิ่งใหญ่ตั้งฉากกับลำต้นเป็นรอบๆ เรือนยอดรูปไข่ เปลือกสีขาวอมเทามีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอกกลับ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อทีปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ออกดอกช่วง เดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม ผลเป็นฝักเรียวยาว ขนาดเล็ก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตในสภาพดินลึก ระบายน้ำได้ดี ต้องการความชื้นมาก
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบ ภาคใต้

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นไทรย้อยใบแหลม
ต้นไม้ประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร





ต้นไม้ประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร
ชื่อพันธุ์ไม้ไทรย้อยใบแหลม
ชื่อสามัญGolden Fig, Weeping Fig
ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus benjamina Linn.
วงศ์MORACEAE
ชื่ออื่นจาเรป (เขมร), ไทร (นครศรีธรรมราช), ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์), ไทรย้อยใบแหลม (ตราด, กรุงเทพฯ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 5–10 เมตร มีรากอากาศ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ดอกขนาดเล็ก มีฐานรองดอก ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ผลเป็นทรงกลม เมื่อสุกสีเหลือง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดประเทศอินเดีย และมาเลเซีย

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นขานาง
ต้นไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้ขานาง
ชื่อสามัญMoulmein Lancewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Alstonia macrohpylla Wall
วงศ์Homalium tomentosum Benth.
ชื่ออื่นขานาง (ภาคกลาง,เชียงใหม่,มจันทบุรี), ขางนาง คะนาง (ภาคกลาง), ค่านางโคด (ระยอง), ช้างเผือกหลวง (เชียงใหม่), แซพลู้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปะหง่าง (ราชบุรี), เปลือย (กาญจนบุรี), เปื๋อยคะนาง เปื๋อยนาง (อุตรดิตถ์), เปื๋อยค่างไห้ (ลำปาง), ลิงง้อ (นครราชสีมา)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–30 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินที่มีหินปูนปนอยู่มาก น้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณชื้น พบมากในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นมะหาด
ต้นไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์




ต้นไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อพันธุ์ไม้มะหาด
ชื่อสามัญLok Hat
ชื่อวิทยาศาสตร์Artocarpus lakoocha Roxb.
วงศ์URTICACEAE
ชื่ออื่นกาแย ตาแป ตาแปง (มลายู-นราธิวาส), มะหาด (ภาคใต้), มะหาดใบใหญ่ (ตรัง), หาด (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกขรุขระแตกเป็นรอยสะเก็ดเล็กๆ มียางไหลซึม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเว้ามน ใบอ่อนมีขน ออกดอกเป็นช่อตามบริเวณง่ามใบ มีสีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลกลมขนาดใหญ่เปลือกนอกมีผิวขรุขระ
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ทนแล้ง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดินทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ของประเทศไทย



5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นสีเสียดแก่น
ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร





ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อพันธุ์ไม้สีเสียดแก่น
ชื่อสามัญCatechu Tree, Cutch Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Acacia catechu Willd.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นสะเจ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), สีเสียด (ภาคเหนือ), สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (ภาคกลาง) สีเสียดแก่นเหนือ สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10–15 เมตร เรือนยอดโปร่ง ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมโค้งทั่วไป เปลือกสีเทาคล้ำหรืออมน้ำตาลค่อนข้างขรุขระ ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้น รูปไข่แกมขอบขนาน โคนใบเบี้ยวมีขนห่างๆ ออกดอกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ตามง่ามใบ ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือขาวอมเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปบรรทัดแบน ยาว 5–10 ซ.ม. เมล็ดแบนสีน้ำตาลอมเขียว
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ไม่ชอบน้ำขัง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณและป่าโปร่งทางภาคเหนือ ป่าละเมาะบนพื้นที่ราบและแห้งแล้งทั่วไป

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นกัลปพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น





ต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น
ชื่อพันธุ์ไม้กัลปพฤกษ์
ชื่อสามัญPink Cassia, Pink Shower, Wishing Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia bakeriana Craib
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกัลปพฤกษ์ (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำแดงแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนและช่อดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับกัน รูปหอกแกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งพร้อมใบอ่อน ใบประดับรูปหอก ดอกเริ่มบานสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวตามลำดับ ผลเป็นฝักทรงกระบอก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดอเมริกาใต้ และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นจัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้จัน
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Diospyros decandra Lour.
วงศ์EBENACEAE
ชื่ออื่นจัน จันอิน จันโอ (ทั่วไป), จันขาว จันลูกหอม (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 20 เมตร ยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรี ดอก แยกเพศ เพศผู้เป็นช่อ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท สีขาวนวล ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่า ผลเป็นผลสดมีสองลักษณะคือ ทรงกลมแป้นเรียกว่าลูกจัน และทรงกลมเรียกว่าลูกอิน เมื่อสุกสีเหลือง มีกลิ่นหอม และกลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดนิยมปลูกตามบ้านเรือนและบริเวณวัด

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นนนทรีป่า
ต้นไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา





ต้นไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อพันธุ์ไม้นนทรีป่า
ชื่อสามัญCopper pod
ชื่อวิทยาศาสตร์Peltophorum dasyrachis Kurz, ex Baker
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกว่าเซก (เขมร-กาญจนบุรี), คางรุ้ง คางฮ่ง (พิษณุโลก), จ๊าขาม ช้าขม (ลาว), ตาเซก (เขมร-บุรีรัมย์), นนทรีป่า (ภาคกลาง), ราง (ส่วย-สุรินทร์), ร้าง อะราง อะล้าง (นครราชสีมา), อินทรี (จันทบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 15–30 เมตร เรือนยอดเป็นรูปพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นสีทองหรือสีเทาอมน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนานปลายใบและโคนใบมน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ สีเหลืองสด กลีบดอกมีลักษณะย่น ออกดอกพร้อมกับใบอ่อนช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบนรูปหอก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตามป่าโปร่งภาคเหนือของประเทศไทย

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นประดู่ป่า
ต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี



ต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้ประดู่ป่า
ชื่อสามัญBermese Ebony
ชื่อวิทยาศาสตร์Pterocarpus macrocarpus Kurz
วงศ์PAPILLIONACEAE
ชื่ออื่นจิต๊อก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ฉะนอง (เชียงใหม่), ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ), ตะเลอ เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ประดู่ ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่ ประดู่เสน (ราชบุรี, สระบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15–25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่ง โคนใบมน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองอ่อนกลิ่นหอม ผลแผ่เป็นปีกแบนๆ มีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน และมีขนปกคลุมทั่วไป
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วน ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งทั่วไป

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นมะตูม
ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท




ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท
ชื่อพันธุ์ไม้มะตูม
ชื่อสามัญBael Fruit Tree, Bengal Quince
ชื่อวิทยาศาสตร์Aegle marmelos (L.) Corr.
วงศ์RUTACEAE
ชื่ออื่นกะทันตาเถร ตุ่มตัง (ลานช้าง), ตูม (ปัตตานี), พะโนงค์ (เขมร), มะตูม (ภาคกลาง,ภาคใต้), มะปิน (ภาคเหนือ), มะปีส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดค่อนข้างโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ดอกสีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ขนาดเล็ก ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นรูปไข่แข็ง เนื้อสีเหลือง มียางเหนียว
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิดประเทศอินเดีย ศรีลังกา และออสเตรเลีย ประเทศไทยพบประปรายตามป่าเบญจพรรณ

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้