ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ต้นไม้ประจำจังหวัด

[คัดลอกลิงก์]
61#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นสัตบรรณ
ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร





ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อพันธุ์ไม้สัตบรรณ
ชื่อสามัญWhite Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Alstonia scholaris R. Br.
วงศ์APOCYNACEAE
ชื่ออื่นกะโนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), จะบัน (เขมร-ปราจีนบุรี), ชบา ตีนเป็ด พญาสัตบรรณ (ภาคกลาง), ตีนเป็ดขาว (ยะลา), บะซา ปูแล ปูลา (มลายู-ปัตตานี), ยางขาว (ลำปาง), สัตตบรรณ (ภาคกลาง, เขมร-จันทบุรี) หัสบัน (กาญจนบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นพูพอน เปลือกสีเทาดำ มียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นวงรอบๆ ข้อ แผ่นใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนเว้าเข้าเล็กน้อย เส้นใบถี่ขนานกัน ออกดอกเป็นกระจุกช่อใหญ่สีขาวที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกออกซ้อนกันเหมือนฉัตรประมาณ 2–3 ชั้น กลีบรองดอกมีขนาดเล็ก มีขนสีขาวอมเหลืองนวล กลิ่นหอม ผลเป็นฝักยาวเหมือนถั่วฝักยาว เมื่อแก่จัดจะแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะเมล็ดเป็นรูปขนานแบนๆ
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดหมู่เกาะโซโลมอนและมาเลเซีย และป่าดงดิบภาคใต้ ตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย

62#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นมะขามป้อม
ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว





ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว
ชื่อพันธุ์ไม้มะขามป้อม
ชื่อสามัญMalccea Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus emblica Linn.
วงศ์EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่นกันโตด (เขมร-จันทบุรี), กำทวด (ราชบุรี), มะขามป้อม (ทั่วไป), มั่งลู่ สันยาส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 8–12 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ผิวค่อนข้างเรียบ เรือนยอดรูปร่ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกรูปขอบขนานติดเป็นคู่ ขนาดเล็ก เรียงสลับ ออกดอกรวมกันเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็กมาก สีเหลืองนวล ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นผลสดทรงกลม อุ่มน้ำ สีเขียวอ่อนค่อนข้างใส
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด ทนแล้งได้
ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และป่าเบญจพรรณแล้งหรือป่าแดง

63#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นตะแบก
ต้นไม้ประจำจังหวัดสระบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดสระบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้ตะแบก
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Lagerstroemia floribunda Jack
วงศ์LYTHRACEAE
ชื่ออื่นกระแบก (สงขลา), ตราแบกปรี้ (เขมร), ตะแบกไข่ (ราชบุรี, ตราด), ตะแบกนา ตะแบก (ภาคกลาง, นครราชสีมา), บางอตะมะกอ (มลายู-ยะลา, ปัตตานี), บางอยะมู (มลายู-นราธิวาส), เปื๋อยนา (ลำปาง), เปื๋อยหางค่าง (แพร่)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–30 เมตร เปลือกเรียบสีเทาอมขาว แตกล่อนเป็นหลุมตื้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ดอกสีม่วงอมชมพู ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผลรูปรี เมล็ดมีปีก
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย ไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วมตามท้องนา

64#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นมะกล่ำต้น
ต้นไม้ประจำจังหวัดสิงห์บุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดสิงห์บุรี
ชื่อพันธุ์ไม้มะกล่ำต้น
ชื่อสามัญRed Sandalwood Tree, Coralwood Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Adenanthera pavonina Linn.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นมะกล่ำต้น มะกล่ำตาช้าง (ทั่วไป), มะแค้ก หมากแค้ก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะแดง มะหัวแดง มะโหดแดง (ภาคเหนือ), บนซี (สตูล), ไพเงินกล่ำ (นครศรีธรรมราช), ไพ (มลายู-ภาคใต้), มะกล่ำตาไก่ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางสูงประมาณ 5–20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ยอดอ่อนมีขนนิ่มสีน้ำตาลปนเทา ใบเป็นใบประกอบ ออกดอกเป็นช่อกลมยาว สีเหลือง มีก้านดอกสั้น กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นฝักแบน บิดงอคล้ายฝักมะขามเทศ เมล็ดสีแดงแบนกลม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณและป่าดิบทั่วไป

65#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นมะค่าโมง
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัย







ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัย
ชื่อพันธุ์ไม้มะค่าโมง
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นเขง เบง (เขมร-สุรินทร์), บิง (ชอง-จันทบุรี), ปิ้น (ชาวบน-นครราชสีมา), มะค่าโมง มะค่าใหญ่ (ภาคกลาง), มะค่าหลวง มะค่าหัวคำ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 30 เมตร แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนหรือชมพูอมน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนคลุมบางๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน ก้านใบสั้น ปลายใบมนเว้าตื้นๆตรงกลาง ฐานใบมนหรือตัด ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว 4 กลีบ กลีบดอกสีชมพู 1 กลีบ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เปลือกแข็งและหนา
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด ชอบดินร่วน
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งใกล้แหล่งน้ำ ทุกภาคของไทย ยกเว้นภาคใต้

66#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นมะเกลือ
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี




ต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้มะเกลือ
ชื่อสามัญEbony Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Diospyros mollis Griff.
วงศ์EBENACEAE
ชื่ออื่นผีเผา (เงี้ยว-ภาคเหนือ), มะเกลื้อ (ทั่วไป), มักเกลือ หมักเกลือ มะเกลือ (ตราด), มะเกีย มะเกือ (พายัพ-ภาคเหนือ), เกลือ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เปลือกเป็นรอยแตก กิ่งอ่อนมีขนนุ่มประปราย ใบขนาดเล็ก รูปไข่หรือรูปรี ปลายสอบแคบเข้าหากัน ส่วนโคนใบกลมมน เนื้อใบบางเกลี้ยง ท้องใบเห็นเส้นใบชัด ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ผลเป็นผลสดทรงกลม ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป

67#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นเคี่ยม
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี


ต้นไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อพันธุ์ไม้เคี่ยม
ชื่อสามัญResak tembage
ชื่อวิทยาศาสตร์Cotylelobium melanoxylon Pierre
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นเคี่ยม (ทั่วไป), เคี่ยมขาว เคี่ยมดำ เคี่ยมแดง (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบทรงเจดีย์ต่ำๆ ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลเข้ม มีรอยด่างสีเทาและเหลืองสลับ มีต่อมระบายอากาศกระจายทั่วไป ตามยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ เนื้อใบหนา ปลายใบสอบเรียวหยักเป็นตุ่มยาว โคนใบมน หลังใบเรียบมัน ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเหลืองเป็นกระจุก ดอกสีขาว ออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบรองดอก 5 กลีบ รูปหอกเรียว มีขนสั้นปกคลุม ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ผลเป็นผลแห้งทรงกลม มีขนนุ่มปีกขาว 1 คู่
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด แสงแดดปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบภาคใต้ของประเทศไทย

68#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:20 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นมะค่าแต้
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์





ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์
ชื่อพันธุ์ไม้มะค่าแต้
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Sindora siamensis Teijsm. Ex Miq.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกรอก๊อส (เขมร-พระตะบอง), กอเก๊าะ, ก้าเกาะ (เขมร-สุรินทร์) กอกก้อ (ชาวบน-นครราชสีมา), แต้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะค่าแต้ (ทั่วไป), มะค่าหนาม (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), มะค่าหยุม (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 10–25 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ เรือนยอดแผ่รูปเจดีย์ต่ำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรี ปลายใบและโคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนสั้น ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผลเป็นฝักรูปโล่ ผิวฝักมีหนามแหลมแข็งแตกเมื่อแห้ง
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณแล้ง



69#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:20 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นชิงชัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคาย





ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคาย
ชื่อพันธุ์ไม้ชิงชัน
ชื่อสามัญRosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Dalbergia oliveri Gamble
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นชิงชัน ประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง), ดู่สะแดน (เหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบและปลายใบมน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง ผลเป็นฝักแบน รูปหอก หัวท้ายแหลม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้

70#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นพะยูง
ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู




ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ชื่อพันธุ์ไม้พะยูง
ชื่อสามัญSiamese Rosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Dalbergia cochinchinensis Pierre
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกระยง กระยูง (เขมร-สุรินทร์), ขะยูง (อุบลราชธานี), แดงจีน (ปราจีนบุรี), ประดู่ตม (จันทบุรี), ประดู่ลาย (ชลบุรี), ประดู่เสน (ตราด), พะยูง (ทั่วไป), พะยูงไหม (สระบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–20 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีแดงอมม่วงถึงสีเลือดหมูแก่ มีริ้วดำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ลักษณะคล้ายใบประดู่ ดอกขนาดเล็ก สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบบบาง ตรงบริเวณที่หุ้มเมล็ด เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด ทนแล้ง
ถิ่นกำเนิดป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้น ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้