ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ต้นไม้ประจำจังหวัด

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นขี้เหล็กบ้าน
ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ





ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ
ชื่อพันธุ์ไม้ขี้เหล็กบ้าน
ชื่อสามัญThai Copper Pod
ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia siamea Lank.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี), ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง), ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง), ผักจีลี้ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะขี้เหละพะโดะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ยะหา (มลายู-ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีเทาอมน้ำตาลแตกตามยาวเป็นร่อง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับกัน ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองที่ปลายกิ่ง ฝักแบนสีน้ำตาล
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลา
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณชื้นทั่วประเทศ เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และชุมพร

12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นมะเดื่อชุมพร
ต้นไม้ประจำจังหวัดชุมพร





ต้นไม้ประจำจังหวัดชุมพร
ชื่อพันธุ์ไม้มะเดื่อชุมพร
ชื่อสามัญCluster Fig
ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus racemosa Linn.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกูแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เดื่อเกลื้อง (ภาคกลาง,ภาคเหนือ), เดื่อน้ำ (ภาคใต้), มะเดื่อ (ลำปาง), มะเดื่อชุมพร มะเดื่ออุทุมพร (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมบางๆ ต่อมาจะหลุดร่วงไป ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบทู่ถึงกลม ออกดอกเป็นกระจุก ดอกขนาดเล็ก ผลรูปไข่กลับ เมื่อสุกสีแดงเข้มถึงม่วง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และปักชำกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินร่วน และมีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำได้ดี
ถิ่นกำเนิดประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นกาซะลองคำ
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย





ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย
ชื่อพันธุ์ไม้กาซะลองคำ
ชื่อสามัญTree Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์Radermachera ignea (Kurz) Steenis
วงศ์BIGNONIACEAE
ชื่ออื่นกากี (สุราษฎร์ธานี), กาซะลองคำ (เชียงราย), แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น (ลำปาง), จางจืด (เชียงใหม่), สะเภา อ้อยช้าง (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 6–20 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบแหลม ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก เมื่อแก่แตกเป็นสองซีกเมล็ดมีปีก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และแยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนปนทราย
ถิ่นกำเนิดขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ

14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นทองกวาว
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่





ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อพันธุ์ไม้ทองกวาว
ชื่อสามัญFlame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Butea monosperma Kuntze.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8–15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบออกสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองถึงแดงแสด ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบน มีเมล็ดที่ปลายฝัก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือ

15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นศรีตรัง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง





ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง
ชื่อพันธุ์ไม้ศรีตรัง
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Jacaranda filicifolia D. Don.
วงศ์BIGNONIACEAE
ชื่ออื่นแคฝอย (กรุงเทพฯ), ศรีตรัง (ตรัง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม.ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดเป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้

16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นหูกวาง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด





ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด
ชื่อพันธุ์ไม้หูกวาง
ชื่อสามัญBengal Almond, Indian Almond, Sea Almond
ชื่อวิทยาศาสตร์Terminalia catappa Linn.
วงศ์COMBRETACEAE
ชื่ออื่นโคน (นราธิวาส), ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี), หูกวาง (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8–25 เมตร เปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อมๆ แบนเล็กน้อย เมื่อแห้งสีดำคล้ำ
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี
ถิ่นกำเนิดป่าชายหาด หรือตามโขดหินริมทะเล

17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นแดง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก





ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก
ชื่อพันธุ์ไม้แดง
ชื่อสามัญIron Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์Xylia sylocarpa Var. kerrii (Craib & Hutch.) I. Nielsen
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกร้อม (ชาวบน-นครราชศรีมา), ไคว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), คว้าย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่, กาญจนบุรี), ไคว เพร่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), จะลาน จาลาน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), แดง (ทั่วไป), ตะกร้อม (ชอง-จันทบุรี), ปราน (ส่วย-สุรินทร์) ไปรน์ (ศรีษะเกษ), ผ้าน (ละว้า-เชียงใหม่), เพ้ย (กะเหรี่ยง-ตาก), สะกรอม (เขมร-จันทบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้น สูง 15–30 เมตร กิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนละเอียดสีเหลือง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ประกอบด้วย 2 ช่อ ใบแตกออกเป็น 2 ง่าม ใบย่อย 4–5 คู่รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อทรงกลมคล้ายดอกกระถิน ที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นฝักรูปไต แบน แข็ง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ต้องการแสงแดด
ถิ่นกำเนิดเป็นไม้หลักของป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งทั่วๆ ไป

18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นสุพรรณิการ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครนายก





ต้นไม้ประจำจังหวัดนครนายก
ชื่อพันธุ์ไม้สุพรรณิการ์
ชื่อสามัญYellow Silk Cotton Tree, Yellow Cotton
ชื่อวิทยาศาสตร์Cochlospermum religiosum Alston
วงศ์COCHLOSPERMACEAE
ชื่ออื่นฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ มี 5 แฉก ปลายใบแฉกแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเป็นคลื่น ออกเวียนสลับกัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งสีเหลือง ผล เป็นรูปไข่กลับ เมื่อแห้งเมล็ดสีน้ำตาล มีปุยสีขาวคล้ายปุยฝ้ายหุ้มเมล็ด
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดอเมริกากลาง และอเมริกาใต้

19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นจันทน์หอม
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐม





ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐม
ชื่อพันธุ์ไม้จันทน์หอม
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Mansonia gagei Drumm.
วงศ์STERCULIACEAE
ชื่ออื่นจันทน์ จันทน์ชะมด (ประจวบคีรีขันธ์), จันทน์ขาว จันทน์พม่า จันทน์หอม (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 10–20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน หรือแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่นห่างๆ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาว ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม ผล เป็นรูปกระสวย มีปีกรูปทรงสามเหลี่ยม
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินแทบทุกชนิด แสงแดดจัด ชอบขึ้นตามดินแถบเขาหินปูน
ถิ่นกำเนิดป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200–400 ซ.ม.

20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นกันเกรา
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครพนม





ต้นไม้ประจำจังหวัดนครพนม
ชื่อพันธุ์ไม้กันเกรา
ชื่อสามัญAnon, Tembusu
ชื่อวิทยาศาสตร์Fagraea fragrans Roxb.
วงศ์LOGANIACEAE
ชื่ออื่นกันเกรา (ภาคกลาง), ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี เนื้อใบบางแต่เหนียว ปลายใบแหลมยาว โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีจางกว่า ก้านใบยาว มีหูใบระหว่างก้านใบคล้ายรูปถ้วยเล็กๆ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบตอนปลายกิ่ง เมื่อเริ่มบานกลีบดอกสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมีกลิ่นหอม ออกดอกระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน ผล เป็นผลสดทรงกลม มีติ่งแหลมสั้นติดอยู่ที่ปลาย สีส้มอมเหลือง แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อผลแก่
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินแทบทุกชนิด แสงแดดจัด ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณ และตามที่ใกล้แหล่งน้ำแทบทุกภาคของไทย



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้