ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ต้นไม้ประจำจังหวัด

[คัดลอกลิงก์]
41#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นประดู่บ้าน
ต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต





ต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต
ชื่อพันธุ์ไม้ประดู่บ้าน
ชื่อสามัญBurmese Rosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Pterocarpus indicus Willd.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นดู่บ้าน (ภาคเหนือ), ประดู่บ้าน ประดู่ลาย (ภาคกลาง), สะโน (มลายู-นราธิวาส), ประดู่ไทย (ภาคกลาง), ประดู่กิ่งอ่อน (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มหรือดำคล้ำ มีสะเก็ดแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย แผ่นใบรูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ รูปดอกถั่ว สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผล เป็นรูปโล่ มีครีบเป็นแผ่นกลม ตรงกลางนูน
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิดมาเลเซีย แถบทะเลอันดามัน มัทราช และอ่าวเบงกอล



42#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม





ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม
ชื่อพันธุ์ไม้พฤกษ์
ชื่อสามัญSiris, Kokko, Indian Walnut
ชื่อวิทยาศาสตร์Albizia lebbeck Benth.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นก้ามปู ชุงรุ้ง พฤกษ์ (ภาคกลาง), กะซึก (พิจิตร), กาแซ กาไพ แกร๊ะ (สุราษฎร์ธานี), ก้านฮุ้ง (ชัยภูมิ), กรีด (กระบี่), คะโก (ภาคกลาง), จเร (เขมร-ปราจีนบุรี), จ๊าขาม (ภาคเหนือ), จามจุรี ซึก (กรุงเทพฯ), ตุ๊ด ถ่อนนา (เลย), ทิตา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), พญากะบุก (อรัญประเทศ), มะขามโคก มะรุมป่า (นครราชสีมา), ชุ้งรุ้ง มะรุมป่า (นครราชสีมา), กระพี้เขาควาย (เพชรบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 20–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกนอกขรุขระ สีเทาแก่ แตกเป็นร่องยาว เปลือกในสีแดงเลือดนก กระพี้สีขาว แยกจากแก่น กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนละเอียดประปราย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แกนช่อใบยาว บนแก่นช่อมีช่อแขนงด้านข้าง ใบรูปรี ปลายใบมน โคนใบกลมหรือเบี้ยว หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนละเอียด ออกดอกสีขาวเป็นช่อกลมตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผลเป็นฝักรูปบรรทัด แบนและบาง สีเทาอมเหลือง หรือสีฟางข้าว ผิวเกลี้ยงเป็นมัน เมล็ดรูปไข่
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินที่เสื่อมโทรม เป็นไม้โตเร็ว
ถิ่นกำเนิดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของไทย

43#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นช้างน้าว
ต้นไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร





ต้นไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร
ชื่อพันธุ์ไม้ช้างน้าว
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Ochna integerrima (Lour.) Merr.
วงศ์OCHNACEAE
ชื่ออื่นกระแจะ (ระนอง), กำลังช้างสาร (กลาง), ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี), ควุ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์), แง่ง (บุรีรัมย์), ช้างน้าว ตานนกกรด (นครราชสีมา), ช้างโน้ม (ตราด), ช้างโหม (ระยอง), ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ตาลเหลือง (เหนือ), ฝิ่น (ราชบุรี), โว้โร้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 3–8 เมตร ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้มตาแข็งและแหลม ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักถี่ ออกดอกเป็นช่อสั้นตามกิ่ง มีสีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ผล ทรงกลม เมื่อสุกสีดำ
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



44#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นกระพี้จั่น
ต้นไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน





ต้นไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อพันธุ์ไม้กระพี้จั่น
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Millettia brandisiana Kurz
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นจั่น ปี้จั่น (ทั่วไป), ปี้จั่น (ภาคเหนือ), กระพี้จั่น (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8–20 เมตร เปลือกสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบทู่ โคนใบมนหรือสอบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจางกว่า ใบแก่เกลี้ยง มีขนประปรายตามเส้นกลางใบด้านล่าง ดอกรูปดอกถั่ว สีขาวปนม่วง ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย เปลือกเกลี้ยงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เมล็ดสีน้ำตาลดำ
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำราก
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ทนแล้งได้ดี
ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อน ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย


45#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นกระบาก
ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธร





ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธร
ชื่อพันธุ์ไม้กระบาก
ชื่อสามัญMesawa
ชื่อวิทยาศาสตร์Anisoptera costata Korth.
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นกระบาก ตะบาก (ลำปาง), กระบากขาว (ชลบุรี, ชุมพร, ระนอง), กระบากโคก (ตรัง), กระบากช่อ กระบากด้าง กระบากดำ (ชุมพร), กระบากแดง (ชุมพร, ระนอง), ชอวาตาผ่อ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บาก (ชุมพร), ประดิก (เขมร-สุรินทร์), พนอง (จันทบุรี, ตราด), หมีดังว่า (กะเหรี่ยง-ลำปาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 30–40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกในสีเหลืองอ่อนเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน หลังใบมีขนสีเหลือง ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ท้องใบมีขน ดอกสีขาวปนเหลืองอ่อน ขนาดเล็ก ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นผลแห้งทรงกลม ผิวเรียบ มีปีกยาว 2 ปีก
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

46#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นโสกเหลือง (ศรียะลา)
ต้นไม้ประจำจังหวัดยะลา





ต้นไม้ประจำจังหวัดยะลา
ชื่อพันธุ์ไม้โสกเหลือง (ศรียะลา)
ชื่อสามัญYellow Saraca
ชื่อวิทยาศาสตร์Saraca thaipingensis Cantley ex King
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นโสกเหลือง (กรุงเทพฯ), อโศกเหลือง อโศกใหญ่ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 5–15 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งและลำต้น สีเหลือง กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผล เป็นฝักแบน
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วน ชอบน้ำและความชื้นสูง
ถิ่นกำเนิดริมลำธารในป่าดิบเชิงเขา

47#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นกระบก
ต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด





ต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อพันธุ์ไม้กระบก
ชื่อสามัญKayu
ชื่อวิทยาศาสตร์Irvingia malayana Oliv. Ex A. Benn.
วงศ์SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่นกระบก กะบก จะบก ตระบก (เหนือ), จำเมาะ (เขมร), ชะอัง (ซอง-ตราด), บก หมากบก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะมื่น มื่น (เหนือ), มะลื่น หมักลื่น (สุโขทัย, นครราชสีมา), หลักกาย (ส่วย-สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปมนแกมขอบขนานถึงรูปหอก ผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม ดอกขนาดเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลทรงกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียว เมล็ดแข็ง เนื้อในมีรสมัน
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าดิบ

48#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นอบเชย
ต้นไม้ประจำจังหวัดระนอง





ต้นไม้ประจำจังหวัดระนอง
ชื่อพันธุ์ไม้อบเชย
ชื่อสามัญCinnamom
ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum bdjolghota Sweet
วงศ์LAURACEAE
ชื่ออื่นขนุนมะแวง เชียกใหญ่ (ตรัง), จวงดง บริแวง (ระนอง), ฝนแสนห่า (นครศรีธรรมราช), สมุลแว้ง พะแว โมง หอม ระแวง (ชลบุรี), มหาปราบ (ตราด) มหาปราบตัวผู้ (จันทบุรี), แลงแวง (ปัตตานี), อบเชย (กรุงเทพฯ, อุตรดิตถ์)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 15–20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมรูปเจดีย์ต่ำ ทึบ เปลือกเรียบสีเทาแก่หรือเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน เนื้อใบหนา แข็งและกรอบ มีเส้นแขนงจากโคนใบ 3 เส้น ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ผลขนาดเล็ก รูปไข่กลับ ผลมีเมล็ดเดียว
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วน กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าดิบทั่วไป

49#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นสารภีทะเล
ต้นไม้ประจำจังหวัดระยอง





ต้นไม้ประจำจังหวัดระยอง
ชื่อพันธุ์ไม้สารภีทะเล
ชื่อสามัญAlexandrian Laurel.
ชื่อวิทยาศาสตร์Calophyllum inophyllum Linn.
วงศ์GUTTIFERAE
ชื่ออื่นกระทิง กากะทิง (ภาคกลาง), ทิง (กระบี่), เนาวกาน (น่าน), สารภีทะเล (ประจวบคีรีขันธ์), สารภีแนน (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–25 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สีเขียวเข้ม กิ่งอ่อนเกลี้ยง ยอดอ่อนเรียวเล็ก ปลายทู่ เปลือกเรียบสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลปนเหลือง เปลือกในสีชมพูเนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ผลเป็นผลสดทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ความชุ่มชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดชายทะเล

50#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นโมกมัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดราชบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดราชบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้โมกมัน
ชื่อสามัญIvory, Darabela
ชื่อวิทยาศาสตร์Wrightia tomentosa Roem. & Schult.
วงศ์APOCYNACEAE
ชื่ออื่นมักมัน (สุราษฎร์ธานี), มูกน้อย มูกมัน (น่าน), โมกน้อย โมกมัน (ทั่วไป), เส่ทือ แนแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โมกมันเหลือง (สระบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20 เมตร เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาอ่อนและมียางขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีป้อม หรือเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบเนื้อใบบาง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง กลีบรองดอกและโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ปลายกลีบแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ ดอกแรกบานจะมีสีขาวอมเหลือง ข้างนอกเป็นสีเขียวอ่อน ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวฝักขรุขระ ฝักแก่เต็มที่จะแตกออกเป็นร่อง เมล็ดเป็นรูปยาว
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด กลางแจ้ง ทนแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณ และป่าโปร่งทั่วไป

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้