ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ต้นไม้ประจำจังหวัด

[คัดลอกลิงก์]
51#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นพิกุล
ต้นไม้ประจำจังหวัดลพบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดลพบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้พิกุล
ชื่อสามัญBullet wood
ชื่อวิทยาศาสตร์Mimusops elengi Linn.
วงศ์SAPOTACEAE
ชื่ออื่นกุน (ภาคใต้), แก้ว (ภาคเหนือ), ซางดง (ลำปาง), พิกุลป่า (สตูล), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุล (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 10–25 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มกว้างตรงส่วนยอดของลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปรี ปลายใบแหลม หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมันเลื่อม ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวนวล กลีบรองดอกสีน้ำตาลมีขนนุ่ม กลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลเป็นผลสด รูปไข่ เมื่อสุกสีแดงอมส้ม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดประเทศที่มีอากาศร้อน

52#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นขะจาว
ต้นไม้ประจำจังหวัดลำปาง



ต้นไม้ประจำจังหวัดลำปาง
ชื่อพันธุ์ไม้ขะจาว
ชื่อสามัญIndian Elm
ชื่อวิทยาศาสตร์Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch.
วงศ์URTICACEAE
ชื่ออื่นกระเจา กระเชา (ภาคกลาง), กระเจาะ ขะเจา (ภาคใต้), กระเช้า (กาญจนบุรี), กะเซาะ (ราชบุรี), กาซาว (เพชรบุรี), ขะจาวแดง ฮังคาว (ภาคเหนือ), ตะสี่แค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พูคาว (นครพนม), มหาเหนียว (นครราชสีมา), ฮ้างค้าว (อุดรธานี, เชียงราย, ชัยภูมิ), ขะจาว (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 25 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรงเปลือกสีน้ำตาลปนเทา มีต่อมระบายอากาศเป็นจุดกลมเล็ก ๆ สีขาวมองเห็นได้ง่าย เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่กว้างค่อนข้างทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีป้อม โคนใบมนหรือป้าน ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบมีขน ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก แยกเพศเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม ผลเป็นรูปโล่แบน มีปีกบางล้อมรอบ มีก้านเกสรเพศเมีย 2 อันติดอยู่ส่วนบนสุด บริเวณปีกมีลายเส้นออกเป็นรัศมีโดยรอบ
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ทนแล้ง
ถิ่นกำเนิดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทย

53#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นจามจุรี
ต้นไม้ประจำจังหวัดลำพูน




ต้นไม้ประจำจังหวัดลำพูน
ชื่อพันธุ์ไม้จามจุรี
ชื่อสามัญRain Tree, East Indian Walnut, Monkey Pod
ชื่อวิทยาศาสตร์Samanea saman (Jacq.) Merr.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นก้ามกราม ก้ามกุ้ง ก้ามปู จามจุรี (ภาคกลาง), ลัง สารสา สำสา (ภาคเหนือ), ตุ๊ดตู่ (ตาก), เส่คุ่ เส่ดู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 10–20 เมตร แผ่พุ่มกว้างคล้ายร่ม เป็นแบบขนนกสองชั้นออกสลับ เปลือกต้นสีดำเป็นเกล็ดโตแข็งสีเขียวเข้ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกคล้ายใบแค ปลายใบมนแกนกลางใบประกอบและก้านใบประกอบแยกแขนงตรงข้ามกัน บนแขนงมีใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี หรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยง ออกดอกเป็นรวมเป็นกระจุก สีชมพูอ่อน โคนดอกสีขาว ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง วงนอกช่อดอกมีขนาดเล็กกว่าดอกวงใน ดอกวงนอกมีก้านสั้น ดอกวงใยไม่มีก้าน ส่วนบนมีขนหนาแน่น ปลายหลอดกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉก ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักแบนยาว ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล เนื้อในนิ่มสีดำ รสหวาน เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดอเมริกาใต้เขตร้อน

54#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นสนสามใบ
ต้นไม้ประจำจังหวัดเลย





ต้นไม้ประจำจังหวัดเลย
ชื่อพันธุ์ไม้สนสามใบ
ชื่อสามัญKesiya pine, Khasiya pine
ชื่อวิทยาศาสตร์Pinus kesiya Royle ex Gordon
วงศ์PINACEAE
ชื่ออื่นเกี๊ยะเปลือกแดง (ภาคเหนือ), เกี๊ยะเปลือกบาง (เชียงใหม่), จ๋วง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เชี้ยงบั้ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แปก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน-เพชรบูรณ์), สนเขา สนสามใบ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาลอมชมพูอ่อนล่อนเป็นสะเก็ด มียางสีเหลืองซึมออกมาตามรอยแตก ใบเป็นใบเดี่ยว ติดกันเป็นกลุ่มละ 3 ใบ ออกเป็นกระจุกเวียนสลับถี่ตามปลายกิ่ง ออกดอกเป็นช่อ แยกเพศ ช่อดอกเพศผู้สีเหลือง ติดกันเป็นกลุ่มใกล้ปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ผลออกรวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Cone (โคน) รูปไข่ สีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วน ดินร่วนปนทราย
ถิ่นกำเนิดประเทศพม่า

55#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นลำดวน
ต้นไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ






ต้นไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อพันธุ์ไม้ลำดวน
ชื่อสามัญDevil Tree, White Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Melodorum fruticosum Lour.
วงศ์ANNONACEAE
ชื่ออื่นลำดวน (ภาคกลาง), หอมนวล (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 3–8 เมตร ลำต้นเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบยาวรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย หลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อนกว่า ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบและส่วนยอด สีเหลือง กลิ่นหอม กลีบดอกและกลีบรองดอกคล้ายกัน ดอกหนึ่งจะมีอยู่ 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้นชั้นละ 3 กลีบ กลีบแต่ละกลีบชั้นในจะมีขนาดเล็กกว่าและโค้งกว่าปลายกลีบแหลม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม ผลสีเขียวอ่อน ยาว ปลายมน โคนผลแหลม ผิวเรียบเกลี้ยง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

56#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นอินทนิลน้ำ
ต้นไม้ประจำจังหวัดสกลนคร





ต้นไม้ประจำจังหวัดสกลนคร
ชื่อพันธุ์ไม้อินทนิลน้ำ
ชื่อสามัญQueen’s Flower, Queen’s Crape Myrtle, Pride of India
ชื่อวิทยาศาสตร์Lagerstroemia speciosa Pers.
วงศ์LYTHRACEAE
ชื่ออื่นฉ่วงมู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ), บางอ บะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส), บาเอ บาเย (ปัตตานี), อินทนิล (ภาคกลาง), อินทนิลน้ำ (ภาคกลาง, ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ผิวเปลือกนอกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมน ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพู หรือสีม่วง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลแห้ง มีขนาดใหญ่
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดที่ราบลุ่มริมน้ำ ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบทั่วไป

57#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 16:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นสะเดาเทียม
ต้นไม้ประจำจังหวัดสงขลา





ต้นไม้ประจำจังหวัดสงขลา
ชื่อพันธุ์ไม้สะเดาเทียม
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs
วงศ์MELIACEAE
ชื่ออื่นต้นเทียม ไม้เทียม สะเดาช้าง สะเดาเทียม สะเดาใบใหญ่ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูงตรงไม่มีกิ่งขนาดใหญ่ เมื่ออายุน้อยเปลือกต้นเรียบ เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบเบี้ยวไม่ได้สัดส่วน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ฐานใบเบี้ยวไม่เท่ากัน เนื้อใบหนา เกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกบานสีขาว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ผลทรงกลมรี ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดในถุงเพาะกล้าจนงอก และแข็งแรงก่อนจึงย้ายไปปลูกลงดิน
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำและอากาศได้ดี
ถิ่นกำเนิดตามเรือกสวนไร่นา แถบภาคใต้ของประเทศไทย

58#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นกระซิก
ต้นไม้ประจำจังหวัดสตูล





ต้นไม้ประจำจังหวัดสตูล
ชื่อพันธุ์ไม้กระซิก
ชื่อสามัญBlack-wood
ชื่อวิทยาศาสตร์Dalbergia parviflora Roxb.
วงศ์PAPILIONACEAE
ชื่ออื่นครี้ สรี้ (สุราษฏร์ธานี) ซิก (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้น บางครั้งรอเลื้อย ลำต้นมีหนาม เปลือกสีเทา เรือนยอดมีลักษณะไม่แน่นอน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยเรียงสลับกันบนก้านใบ ดอกขนาดเล็ก กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ยอด ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นฝักแบน ขอบฝักบางคล้ายมีด เมล็ดรูปไตเรียงติดตามยาวของฝัก ฝักแก่จะไม่แตกแยกจากกัน
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง น้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าโปร่งในที่ลุ่ม และตามชายห้วยภาคใต้

59#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นโพทะเล
ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ





ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อพันธุ์ไม้โพทะเล
ชื่อสามัญPortia Tree, Cork Tree, Tulip Tree, Rosewood of Seychelles, Coast Cotton Tree, Yellow Mallow Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Thespesia populnea Soland. Ex Correa
วงศ์MALVACEAE
ชื่ออื่นบากู (มลายู-นราธิวาส, ปัตตานี), ปอกะหมัดไพร (ราชบุรี), ปอมัดไซ (เพชรบุรี), โพทะเล (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10–15 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู ขรุขระ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปหัวใจ ดอกสีเหลืองขนาดใหญ่ ออกตามง่ามใบ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ผลโตขนาด 4 ซ.ม. ผิวแข็ง เมล็ดเล็กยาวคล้ายเส้นไหม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ต้องการน้ำมาก
ถิ่นกำเนิดป่าชายเลน พบมากทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้

60#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 17:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้นจิกทะเล
ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม





ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
ชื่อพันธุ์ไม้จิกทะเล
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Barringtonia asiatica (Linn.) Kurz
วงศ์MRYTACEAE
ชื่ออื่นจิกเล (ทั่วไป), โคนเล (ภาคใต้), อามุง (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูง 10 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาไปทั่วต้น กิ่งมีขนาดใหญ่ มีรอยแผลอยู่ทั่วไป เป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มสลับกันไปตามข้อต้น ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ อยู่ตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เกสรสีชมพูอยู่ตรงกลาง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผลขนาดใหญ่ โคนเป็นสี่เหลี่ยมป้าน ปลายสอบ
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนปนทราย หรือดินทราย เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดหาดทรายชายทะเลทั่วไป

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้