ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ร้อยเรื่อง"ศรีชัยวรมัน"

[คัดลอกลิงก์]
21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 08:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 17:19

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7ได้สถาปนาพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าสูงสุดเหนือเหล่าพระโพธิสัตว์ และธยานิพุทธ ทั้ง 5 พระองค์(หนึ่งในนั้นคือพระพุทธเจ้าในมหายานในนาม พระอมิตาภะ) นั่นคือพระองค์ทรงเป็นดั่ง

“พระมหาไวโรจนะ” หรือพระ ”อาทิพุทธ”





พระพุทธเจ้าสูงสุดแห่งจักรวาลสากลนั่นเอง

และใบหน้าของเหล่ารูปเคารพพระโพธิสัตว์วัชยานทุกองค์

ก็คือใบหน้าของพระองค์เช่นกันพระองค์จึงสถิตอยู่ทั่วทุกหนแห่ง!!!





         วัชรยานตันตระให้ความสำคัญกับพลังแห่งเพศหญิงที่เป็นพลังเบื้องหลังของบุรุษเช่นเดียวกับฮินดูตันตระ จึงเกิดรูปเคารพหญิงขึ้นมาแทนมโนภาพ " ติ้งต่าง "  หรือ " บุคคลาฐิษฐาน " ในพิธีกรรมการสวดภาวนามนตรา พลังหรือศักติของเพศหญิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ “พระนางปรัชญาปารมิตา” พระนางศรีชัยราชเทวีมโนคติในเรื่องของปัญญาอันเลิศล้ำ

ซึ่งนั่นก็หมายความว่า พลังแห่งหญิง เป็นเกื่อหนุนอำนาจแห่งเพศชายเสมอ !!!

       การสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าสูงสุดของพระเจ้าชัยวรมันที่7ได้ส่งผลมาถึงศิลปวัฒนธรรมของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั่นคือการรับเอาคติที่พระมหากษัตริย์สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้เข้ามาสู่คติพื้นฐานทางพุทธศาสนา

แต่พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทลังกาหรือหินยานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไม่ยอมให้ใครยิ่งใหญ่ไปกว่าพระศากยมุนีเจ้าอีกแล้ว ในสมัยต้นอยุธยา รัฐต่าง ๆในภูมิภาคสุวรรณภูมิจึงได้สร้างเรื่องพุทธประวัติตอนปราบ "ท้าวชมพูบดี" ขึ้นมาใหม่ เพื่อมารองรับรูปเคารพและคติพระทรงเครื่องกษัตริย์ของวัชรยานตันตระที่กระจายตัวอยู่ทั่วดินแดนที่เคยอยู่ในอิทธิพลของพระเจ้าชัยวรมันที่7 เดิม


credit : http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/02/03/entry-2



      เมื่อ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ขึ้นครองแผ่นดินพระองค์จึงได้เลือกพุทธศาสนานิกาย "วัชรยานตันตระ"ที่มีเรื่องราวของเหล่าพระโพธิสัตว์ผู้ทรงพลังอำนาจเหนือเหล่าเทพเจ้าหรือ Buddhist King มาใช้เป็นระบอบการปกครองใหม่ในพระราชอาณาจักรของพระองค์ แสดงว่ากลุ่มพันธมิตรและพระมเหเสีของพระองค์นับถือพุทธมหายานและทำให้พระองค์รบชนะ-ขยายอาณาจักรสู่ดินแดนประเทศไทย(ที่นับถือพุทธศาสนากันกว้างขวางตั้งแต่พ.ศ300 และรุ่งเรืองชัดเจนใน     พ.ศ 1200ในยุคพระนางจามเทวี )  ในขณะกลุ่มที่ทรยศพระองค์และร่วมมือกับจามปาที่นับถือฮินดูพราหมณ์และใด้ยึดครองอาณาจักรมายาวนานนั้นประชาชนเริ่มเบื่อหน่ายและหมดมนต์ขลังและในการทำสงครามกอบกู้เอกราชอันยาวนานนั้นได้ทำให้พลเมืองล้มตายไปอันมากพระองค์คงระลึกสติได้ นึกถึงบาปกรรม-การไถ่ถอนบาปเช่นเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราชที่เปลี่ยนจากฮินดูเป็นพุทธและคาดว่าชุมชนในภาคอีสานคือกองกำลังพันธมิตรหลักในการทำสงครามกับจามปาเช่นเดียวกับชัยวรมันที่2กอบกู้เอกราชจากการยึดครองของชวาโดยอาศัยการแต่งงานและควบรวมอำนาจกับชุมชนแถบปราสาทเขาพระวิหาร.


ที่มา..http://www.bloggang.com..

22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-4 09:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
23#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-28 16:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 17:20

นวพรรณ ภัทรมูล
กลุ่มงานวิชาการ
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑


“เมื่อประชาชนมีโรคถึงความหายนะ ตามภาวะแห่ง

กรรมด้วยการสิ้นไปแห่งอายุเพราะบุญ

พระองค์ผู้เป็นราชา ได้กระทำโคที่สมบูรณ์

ทั้งสาม เพื่อประกาศยุคอันประเสริฐ”




ข้อความข้างต้นนี้ เป็นข้อความส่วนหนึ่งของจารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เพื่อบอก
ถึงความมุ่งหมายในการสร้างสถานพยาบาล หรือ ที่เรียกว่า “อโรคยาศาล” (คำๆ นี้ปรากฏอยู่ในจารึก
บรรทัดที่ ๗ ด้านที่ ๒ ของจารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปแบบและภาร
กิจของอโรคยาศาลที่ได้ระบุไว้ในจารึกนั้น ก็เทียบได้กับ “โรงพยาบาล” ในปัจจุบันนั่นเอง
จารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เท่าที่พบในประเทศไทย ณ ตอนนี้ มีทั้งหมด ๖ หลัก
ทั้งนี้ข้อมูลกี่ยวกับจารึกดังกล่าว ได้รับการรวบรวมและเผยแพร่ทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่นในหนังสือ
จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๘) และหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม
๔ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙) ตลอดจน ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ที่จัดทำโดย ศูนย์
มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) การที่ได้จัดกลุ่มจารึกเหล่านี้เป็นกลุ่มเดียวกัน เนื่องจากเนื้อหา
ที่จารึกนั้นมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันมาก จะต่างกันบ้างก็แต่จำนวนบุคคลและสิ่งของที่ระบุใน
จารึก อีกทั้งจารึกทุกหลักได้ระบุอย่างชัดเจนถึงพระนามของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง คือ ศรีชัยวรมัน ว่า
เป็นพระโอรสของพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๒ ดังนั้น พระนาม

"ศรีชัยวรมัน" ในที่นี้ ก็น่าจะหมายถึง





พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๖๑



พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๖๑)

พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์มหิธรปุระโดยทางพระราชบิดา (พระเจ้า
ธรณินธรวรมันที่ ๒) ส่วนพระราชมารดานั้นก็ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ พระ
องค์ทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๑๗๒๔


และอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงชัยราชเทวี แต่พระนางสวรรคต
เมื่อพระชนม์ยังน้อย พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จึงทรงอภิเษกสมรสกับพระนางอินทรเทวี ซึ่งเป็นพระพี่นาง
ของพระนางชัยราชเทวีอีกครั้งหนึ่ง พระนางอินทรเทวีทรงมีความรู้หลากหลาย ทรงรอบรู้ในปรัชญา
และทรงนับถือพระพุทธศาสนามหายาน


พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงมีพระเมตตาต่ออาณาประชาราษฎร์เป็นอย่างยิ่ง ทรงโปรดให้สร้าง
สิ่งอันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งการก่อสร้างนี้เอง เป็นเหตุให้สิ้นเปลือง
ราชอาณาจักรทรุดโทรมลงในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ทรงโปรดให้สร้างสถานพยาบาล
หรือที่เราจะเรียกกันต่อไปนี้ว่า “โรงพยาบาล” นั้นถึง ๑๐๒ แห่ง ทั่วทั้งราชอาณาจักร เพื่อเป็นที่รักษา
คนป่วย อีกทั้งยังพระราชทานข้าวของเครื่องใช้ตลอดจนยารักษาโรคนั้น ทำให้สิ้นเปลืองพระราชทรัพย์
ไปเป็นอันมาก


“อโรคยาศาล” หรือ “โรงพยาบาล” ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗







อโรคยาศาล หรือ โรงพยาบาล ประกอบด้วยปรางค์ประธาน มีอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัย
สร้างด้วยศิลาแลง หันหน้าเข้าสู่ตัวปราสาทประธาน ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ตำแหน่งของบรรณาลัย
มักจะอยู่ค่อนไปที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้เสมอ มีซุ้มประตูทางเข้าที่เรียกว่า โคปุระ ทางด้านหน้า
เพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ใกล้ๆ จุดกึ่งกลางของกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก บริเวณด้านนอกกำแพงแก้ว
ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือที่เรียกว่า บาราย หรือสระน้ำศักดิ์สิทธิ์
กรุด้วยศิลาแลง





อโรคยาศาล เป็นสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นตามรายทางโบราณของอาณาจักรขอมสมัยพระ
นคร จะเชื่อมกับปราสาทนครธม และปราสาทหินอื่นๆ ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้แผ่พระราชอำนาจไป
ถึงและสร้างปราสาทหินเอาไว้
24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-28 16:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“โรงพยาบาล” ในจารึก


ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลคำอ่าน – คำแปลของจารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทั้งหมด
๖ หลัก ได้แก่ จารึกพบที่จังหวัดสุรินทร์ ๓ หลัก คือ จารึกปราสาท (สร. ๔), จารึกตาเมียนโตจ (สร. ๑),
จารึกสุรินทร์ ๒ (สร. ๖) จารึกพบที่จังหวัดนครราชสีมา ๑ หลัก คือ จารึกเมืองพิมาย (นม. ๑๗) จารึก
พบที่จังหวัดบุรีรัมย์ ๑ หลัก คือ จารึกด่านประคำ (บร. ๒) และจารึกพบที่จังหวัดชัยภูมิ ๑ หลัก คือ
จารึกวัดกู่บ้านหนองบัว (ชย. ๖) เมื่อได้พิจารณาและเปรียบเทียบในส่วนของเนื้อหาแล้วพบว่า ทุก
หลักมีเนื้อหาและการเรียงลำดับข้อมูลเหมือนกัน กล่าวคือ จารึกด้านที่ ๑ จะขึ้นต้นด้วยการกล่าว


นมัสการเทพประจำโรงพยาบาล ตามด้วยสรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และพระเทวี พร้อมกล่าวถึง
มูลเหตุที่สร้าง “โรงพยาบาล” จารึกด้านที่ ๒ กล่าวถึงจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลตลอดจน
หน้าที่ของแต่ละคน จารึกด้านที่ ๓ กล่าวถึงจำนวนสิ่งของเครื่องใช้ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้อุทิศ
ไว้เพื่อใช้ในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง และจารึกด้านที่ ๔ กล่าวสรรเสริญและอำนวยพรแก่พระราชาผู้ได้


กระทำกุศล อีกทั้งประกาศข้อห้ามต่างๆ ในโรงพยาบาล

ข้อแตกต่างของจารึกแต่ละหลักมีเพียงส่วนของจำนวนเจ้าหน้าที่ และจำนวนสิ่งของที่ได้รับมา
จากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เท่านั้น อย่างไรก็ดี เมื่อตัดข้อแตกต่างปลีกย่อยเหล่านี้ไป ก็พบว่าเนื้อหา
จารึกโดยรวมนั้น ได้ระบุถึงส่วนประกอบสำคัญที่ประกอบกันขึ้นเป็น “โรงพยาบาล” อันมีอยู่ ๓ ส่วน
ด้วยกัน ได้แก่

- เทพประจำโรงพยาบาล

- เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาล

- สิ่งของเครื่องใช้ประกอบการรักษาพยาบาล



25#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-28 16:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
- เทพประจำโรงพยาบาล


เทพประจำโรงพยาบาล มี ๓ องค์ด้วยกัน ได้แก่ พระไภสัชครุไวทูรย์ (พระโพธิสัตว์ไภษัชย
สุคต) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระชินะ ถือเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งผู้ประสาท “ความไม่มีโรค”
แก่ประชาชน เทพอีกสององค์เป็นพระชิโนรส ได้แก่ พระศรีสูรยไวโรจนจันทโรจิ และ พระศรีจันทรไวโร
จนโรหินีศะ ผู้ขจัดซึ่งโรคของประชาชน


- เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาล



เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลมีหลายตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งมีจำนวนบุคคลไม่เท่ากันในแต่
ละโรงพยาบาล ในที่นี้จึงขอแสดงจำนวนไว้คร่าวๆ ดังนี้
(๑) แพทย์ จำนวน ๒ คน
(๒) เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของโรงพยาบาล ธุรการ หาข้าวเปลือก หาฟืน
และจ่ายยา จำนวน ๒ คน
(๓) เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทำหน้าที่จัดพลีทาน ทำบัตร จ่ายสลากยา หาฟืนเพื่อต้มยา จำนวน ๒
คน
(๔) เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทำหน้าที่หุงต้ม ดูแลรักษาและจ่ายน้ำ หาดอกไม้และหญ้าบูชายัญ
ตลอดจนทำความสะอาดเทวสถาน จำนวน ๑ ถึง ๒ คน
(๕) เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทำหน้าที่ดูแลรักษาโรงพยาบาล และส่งยาแก่แพทย์ จำนวน ๑๔ คน
(๖) เจ้าหน้าที่ (คละกันหญิงชาย) ทำหน้าที่ให้สถิติ จำนวน ๒ ถึง ๓ คน
(๗) เจ้าหน้าที่ (คละกันหญิงชาย) ทำหน้าที่ดูแลทั่วไป จำนวน ๔ คน
(๘) เจ้าหน้าที่ (หญิง) ทำหน้าที่โม่ยา จำนวน ๒ ถึง ๖ คน
(๙) เจ้าหน้าที่ (หญิง) ทำหน้าที่ตำข้าว จำนวน ๒ คน
(๑๐) เจ้าหน้าที่ (คละกันหญิงชาย) ทำหน้าที่ประกอบพิธีบูชายัญ จำนวน ๒ คน
(๑๑) โหราจารย์ จำนวน ๑ คน


ยังมีตำแหน่งผู้ดูแล, ธุรการ และผู้ให้สถิติอีกหลายคน ซึ่งระบุจำนวนไว้ไม่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม


จารึกปราสาท และจารึกสุรินทร์ ๒ ได้ระบุไว้ว่าจำนวน

เจ้าหน้าที่ทั้งหมดในโรงพยาบาลมีถึง ๙๘ คน


- สิ่งของเครื่องใช้ประกอบการรักษาพยาบาล



เช่นเดียวกับจำนวนเจ้าหน้าที่ รายการจำนวนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ได้รับมาไว้ใช้ในโรง
พยาบาลนั้นมีจำนวนไม่เท่ากันในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง จำนวนที่กล่าวถึงในที่นี้จึงเป็นจำนวนที่พอจะ
ทราบโดยประมาณ บางรายการไม่ได้ระบุจำนวนไว้ก็มี




26#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-28 16:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
27#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-28 16:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ความเป็นไปของ “โรงพยาบาล” หลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗


อาจารย์รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล จากคณะศิลปศาสตร์และวิทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์ ได้ให้ความเห็นไว้ใน เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ


เรื่อง อโรคยาศาล โรงพยาบาลแห่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ว่า..


“เมื่อการอุปถัมภ์ลดน้อยลง ในช่วงต้นอโรคยศาลเหล่านี้ก็อาจไม่ได้รับความ

กระทบกระเทือนเท่าใดนัก ทั้งนี้เพราะทรัพย์สินสิ่งของ โดยเฉพาะตัวยาสมุนไพร ข้าทาสบริวาร

(และบางทีก็รวมถึงการกัลปนาส่วยสาอากรจากท้องที่ที่ตั้งของอโรคยศาล)



ได้รับตั้งแต่ในรัชกาลก่อนนั้น ก็หาใช่ว่าจะหมดไปในทันทีทันใดตามอายุขัยของพระราชาไม่


ดังนั้น..


อโรคยศาลแต่ละแห่งจึงน่าจะพอดำเนินกิจกรรมการรักษาโรค
ให้แก่ผู้ที่เข้ามารับการรักษาต่อมาได้อีก อย่างน้อยก็ระยะเวลาหนึ่ง
จนกว่าของที่ได้รับอุทิศไว้จะหมดลง ...”

28#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-28 16:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
29#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-28 16:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถึงตรงนี้แล้ว


อย่างน้อยที่สุด เมื่อเราได้พบเห็น


ซากปรักหักพังของอโรคยาศาล หรือ


“โรงพยาบาล”


ในครั้งนั้น ข้อมูลที่คนก่อนเก่าได้จารจารึกไว้

ก็อาจจะทำให้เราได้ย้อนเห็นภาพของความรุ่ง

เรืองในอดีต และภาคภูมิใจกับความเจริญรุ่งเรือง

เหล่านั้น แม้มันจะผ่านมานานเนิ่นแล้วก็ตามที



30#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-28 16:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เอกสารอ้างอิง
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึกด่านประคำ.” ใน ฐานข้อมูลจารึกใน
ประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก http://www.sac.or.th/jaruk/
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึกตาเมียนโตจ.” ใน ฐานข้อมูลจารึกใน
ประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก http://www.sac.or.th/jaruk/
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึกปราสาท.” ใน ฐานข้อมูลจารึกในประเทศ
ไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕ สิงหาคม
๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก http://www.sac.or.th/jaruk/
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึกเมืองพิมาย.” ใน ฐานข้อมูลจารึกใน
ประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก http://www.sac.or.th/jaruk/
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึกวัดกู่บ้านหนองบัว.” ใน ฐานข้อมูลจารึกใน
ประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก http://www.sac.or.th/jaruk/
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึกสุรินทร์ ๒.” ใน ฐานข้อมูลจารึกในประเทศ
ไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕ สิงหาคม
๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก http://www.sac.or.th/jaruk/
ชะเอม แก้วคล้าย. จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร,
๒๕๒๘.
มหาวิทยาลัยศิลปากร, ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี. ประชุมอรรถบทเขมร :
รวมบทความทางวิชาการของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อุไรศรี วรศะริน.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยฯ, ๒๕๔๕.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : นานมี
บุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๖.
รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกุล. อโรคยศาล โรงพยาบาลแห่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗. กรุงเทพฯ : งาน
การศึกษา ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, ๒๕๔๖)
บุหลง ศรีกนก. “อโรคยาศาล.” ใน ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก
http://www.pharmacy.msu.ac.th/ex ... n=com_content&t
ask=view&id=14&Itemid=28
MacDonell, Arthur Anthony. A practical Sanskrit Dictionary : with transliteration,
accentuation, and etymological analysis throughout. New Delhi : Munshiram
Manoharlal Publishers, ๑๙๙๖.
POU, Saveros. Dictionnaire Vieux Khmer - Français - Anglais an Old Khmer –
French – English Dictionary. Paris (FRANCE) : Centre de Documentation et
de Recherche sur la Civilisation Khmère, ๑๙๙๒.


ที่มาของเนื้อหา..http://www.sac.or.th/main/articl ... &category_id=19
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้