ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 50105
ตอบกลับ: 56
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ร้อยเรื่อง"ศรีชัยวรมัน"

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 17:22

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



พระพุทธเจ้าที่ยังมีชีวิต





พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
พระนาม
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
พระนามเต็ม
Jayavarthon
พระอิสริยยศ
กษัตริย์
ครองราชย์
จักรวรรดิขแมร์: 1181-1218
รัชกาลก่อนหน้า
พระเจ้ายโศวรมันที่ 2
รัชกาลถัดไป
พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2
ข้อมูลส่วนพระองค์
สวรรคต
1218
พระราชบิดา
พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2
พระอัครมเหสีพระมเหสี
พระนางอินทรเทวีพระนางชายาราชเทวี (พระขนิษฐาของพระอัครมเหสี)


พระเจ้าชัยวรมันที่ 7


พระเจ้าชัยวรมันที่ 7เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรที่ยิ่งใหญ่ (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1762?) ในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 2 (ครองราชย์ ค.ศ. 1150 - 1160) และพระนางศรี ชยราชจุฑามณี พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สถาปนานครธม นครหลวงแห่งสุดท้ายของอาณาจักรเขมร ในประเทศกัมพูชายังมีสระน้ำแห่งหนึ่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงใช้เป็นประจำอีกด้วย


พระราชประวัติ


พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 ประสูติเมื่อประมาณ พ.ศ.1663 หรือ พ.ศ.1668 พระนามเดิมคือเจ้าชายวรมัน ทรงเสกสมรสตั้งแต่ทรงพระเยาว์กับเจ้าหญิงชัยราชเทวี สตรีที่มีบทบาทและอิทธิพลสำคัญที่สุดเหนือพระองค์ รวมทั้งโน้มนำให้พระองค์หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน
ราว พ.ศ. 1720 – 1721 พระเจ้าชัยอินทรวรมันแห่งอาณาจักรจามปา ทรงนำทัพจามบุกเข้าโจมตียโศธรปุระ กองทัพเรือจามบุกเข้าถึงโตนเลสาบ เผาเมือง และปล้นสะดมสมบัติกลับไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจับพระเจ้าตรีภูวนาทิตวรมันประหารชีวิต เชื่อกันว่า การรุกรานเมืองยโศธปุระครั้งนั้น เจ้าชายวรมันได้วางเฉยยอมให้เมืองแตก จากนั้นพระองค์จึงกู้แผ่นดินขึ้นมาใหม่ โดยนำทัพสู้กับพวกจามนานถึง 4 ปี จนสามารถพิชิตกองเรือจามผู้เชี่ยวชาญการเดินเรือได้อย่างราบคาบ ในยุทธการทางเรือที่โตนเลสาบ


พ.ศ. 1724 ยโศธปุระกลับสู่ความสงบ พระองค์ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พร้อมกับบูรณปฏิสังขรณ์ราชธานีขึ้นมาใหม่ รู้จักกันในชื่อ “เมืองพระนครหลวง” หรือ “นครธม” หรือ “นครใหญ่” และย้ายศูนย์กลางของราชธานีจากปราสาทปาปวนในลัทธิไศวนิกาย มายังปราสาทบายนที่สร้างขึ้นใหม่ ให้เป็นศาสนสถานในลัทธิมหายานแทน จากนั้นมา ศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเขมรโบราณก็คือ ปราสาทบายน หรือนครธม


พระองค์ทรงสถาปนาคติ “พระพุทธเจ้าที่ยังมีชีวิต” หรือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรขึ้นมา ซึ่งหมายถึงตัวพระองค์เอง คือพระโพธิสัตว์ที่เกิดมาเพื่อปัดเป่าทุกข์ภัยให้แก่ราษฎร ภาพสลักรูปใบหน้าที่ปรากฏตามปรางค์ในหลายปราสาทที่ทรงสร้างขึ้น เชื่อว่าคือใบหน้าของพระองค์ในภาคพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนั่นเอง


หลังจากสถาปนาศูนย์กลางอาณาจักรแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงทรงแก้แค้นศัตรูเก่าคืออาณาจักรจามปา ใน พ.ศ. 1733 กองทัพของพระองค์ก็สามารถยึดเมืองวิชัยยะ เมืองหลวงของจามปาได้ นอกเหนือจากการสงครามแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สร้างพุทธสถานไว้มากมาย เช่น ปราสาทบันทายคดี ปราสาทตาพรม ที่สร้างถวายพระมารดา ปราสาทพระขรรค์ สร้างถวายพระบิดา ปราสาทตาโสม ปราสาทนาคพัน ปราสาทบันทายฉมาร์ ในเขตประเทศไทยปัจจุบัน


พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นผู้บูรณะปราสาทหินพิมายและปราสาทเขาพนมรุ้ง
ให้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน


นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดให้สร้าง “บ้านมีไฟ” หรือที่พักคนเดินทาง ซึ่งก่อด้วยศิลา และจุดไฟไว้ตลอด ศาสตราจารย์ หลุยส์ ฟิโนต์ ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เรียกอาคารแบบนี้ว่า “ธรรมศาลา”
จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงที่พักคนเดินทางว่ามีจำนวน 121 แห่ง อยู่ตามทางเดินทั่วราชอาณาจักร และตามทางเดินไปเมืองต่างๆ ในจำนวนนั้น มี 17 แห่งอยู่ระหว่างการเดินจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย ซึ่งศาสตรจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล พบว่าที่พักคนเดินทางเท่าที่ค้นพบแล้วมี 7 แห่ง แต่ละแห่งห่างกันประมาณ 12 – 15 กิโลเมตร .. เข้าใจว่าอาจารย์เจี๊ยบ ค้นพบเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง
จารึกปราสาทพระขรรค์ระบุอีกว่า มีการสร้างโรงพยาบาล หรือที่จารึกเรียกว่า “อโรคยาศาลา” จำนวน 102 แห่ง กระจายอยู่ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตประเทศไทย





พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์ในประมาณปี พ.ศ. 1758 หรือ พ.ศ.1762 เชื่อกันว่าทรงมีพระชนม์ชีพยืนยาวถึง 94 ปี ด้ฉลองพระนามหลังสวรรคตว่า “มหาบรมสุคตะ” หมายความว่า พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่








ปราสาทพระขรรค์





• ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1734)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 07:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
• พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นับว่าเป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ นอกจากจะทรงสร้างปราสาทต่างๆ ขึ้นมากมายเพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางพุทธศาสนาแล้วพระองค์ยังทรงให้ความ สำคัญกับด้านสาธารณสุขด้วย ด้วยการสร้างอโรคยศาลาถึง 102 แห่ง ในบรรดาปราสาทต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ต้องยกให้ปราสาทพระขรรค์เป็นโครงการที่ ยิ่งใหญ่ที่สุด ในรัชสมัยของพระองค์มีราชครูกว่าหนึ่งพันคนปราสาทแห่งนี้จึงใช้เป็น มหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนาก็ว่าได้ เช่นเดียวกับปราสาทตาพรหมก็เป็นปราสาทที่สร้างให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเช่น กัน
• บริเวณที่สร้างปราสาทพระขรรค์ ถูกขนาดนามว่าเป็นทะเลแห่งเลือด เพราะในบริเวณนี้เคยเป็นสมรภูมิรบระหว่างพวกขอมที่อยู่ในเมืองพระนครและพวกจาม ศึกสงครามครั้งนั้นทำให้ขอมชนะจาม จึงเรียกปราสาทแห่งนี้ว่าปราสาทชัยศรี เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานของพระองค์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในจารึกในปราสาทพระขรรค์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นปราสาทพระขรรค์ อันหมายถึงพระแสงดาบที่ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ชนะอริราชศัตรู

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างปราสาทพระขรรค์นี้เพื่ออุทิศให้แก่พระราชบิดา โดยสร้างหลังจากที่พระองค์ทรงสร้างปราสาทตาพรหมเพื่ออุทิศให้แก่พระราชมารดาแล้ว 5 ปี
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 07:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-10-1 07:17



• เสานางเรียง ทางเข้าปราสาททั้งด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของปราสาทพระขรรค์ สองฟากฝั่งมีเสานางเรียงเป็นแถวยาว ระยะทางประมาณ 300 เมตร
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 07:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-10-1 07:17


• สะพานนาคราช - สุดเสานางเรียง จะเป็นสะพานข้ามคู คือสะพานนาคราช คือ จากโลกมนุษย์ไปสู่สวรรค์ ราวสะพานเป็นรูปเทวดา และยักษ์ยุดนาค กวนเกษียรสมุทรเพื่อนทำน้ำอมฤต


5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 07:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-10-1 07:16



• รูปสลักนูนสูงครุฑที่กำแพง กำแพงทางเข้าปราสาทมีประติมากรรมที่สวยงาม ได้แก่รูปสลักนูนสูงเป็นรูปครุฑขนาดสูงเท่าตัวกำแพงศิลาแลงหรือประมาณ 3 เมตร ทำด้วยศิลาแลง ครุฑใช้มือทั้งสองจับหางนาค ส่วนขาของครุฑทั้งสองข้าง ก็จับลำตัวของนาค ประติมากรรมนี้จะพบเห็นได้ที่ด้านข้างโคปุระที่กำแพงปราสาททั้งสี่ทิศ
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 07:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-10-1 07:16


• ต้นสะปง ที่โคปุระด้านทิศตะวันออกของระเบียงคต มีรากของต้นสะปงขนาดใหญ่ปกคลุมตั้งแต่หลังคาของระเบียงคต รากของมันจะชอนไชมายังเสาหินค้ำยันก่อนลงสู่พื้นดิน ลำตัวมีความสูงกว่า 20 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาแตกแขนงออกไปทั่ว เป็นที่นิยมถ่ายภาพของนักท่องเที่ยว ลักษณะคล้ายกับปราสาทตาพรหม
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 07:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
• อาคารโรมัน ถัดมาจากด้านซ้ายของโคปุระทางด้านทิศตะวันออก มีอาคาร 2 ชั้น ลักษณะของเสาทั้งหมดเป็นเสากลม คล้ายทรงโรมัน ความสูงของเสานี้ประมาณ 3 เมตร ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ยังสันนิษฐานไม่ได้ว่าถูกสร้างมาเพื่อจุดประสงค์ใด
• ภาพสลักต่างๆ ที่หน้าบันและทับหลัง เกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดู มีให้เห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ภาพการกวนเกษียรสมุทร ภาพการรบระหว่างทัพลิงกับยักษ์ ส่วนรูปีวนางอัปสรตามกรอบประตูและกำแพงด้านในก็มีให้เห็นทั่วไป ส่วนภาพสลักที่เป็นคติธรรมทางพุทธศาสนาถูกสกัดดัดแปลงหรือกระเทาะทิ้งออกไป เป็นส่วนใหญ่ ภาพพระพุทธรูปที่ยังคงพบเห็นเหลืออยู่เพียงที่เดียว ได้แก้ เสานางเรียงหน้าโคปุระกำแพงทิศตะวันออกของปราสาท ซึ่งไม่ได้ถูกกระเทาะออกไป เชื่อว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ทรงเป็นผู้บัญชาให้ดัดแปปลงปราสาทแห่งนี้เข้ากับศาสนาฮินดู ซึ่งพระองค์ทรงนับถือแทนสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8


8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 07:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ปราสาทพระขรรค์เป็นศาสนสถาน ที่ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง ตัวอาคารมีลักษณะเด่นที่การก่อสร้างด้วยศิลา 2 ชั้น โดยใช้เสาหินทรายกลมขนาดใหญ่รับน้ำหนักโครงสร้างและคาน ที่บานประตูแต่ละปราสาท มีรูปสลักอสูรเป็นคู่ๆ ยืนถือกระบองเสมือนคอยพิทักษ์ดูแลศาสนสถานแห่งนี้
เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาพพระพุทธรูปมักถูกทำลายหรือแก้ไข คงเหลือแต่ภาพจำหลักนูนต่ำของฤๅษี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพฤๅษีกำลังนั่งบำเพ็ญพรตในท่า "โยคาสนะ" (นั่งชันเข่าและไขว้เท้า) สลักอยู่ตามผนังหรือเสาภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว
นอกจากนี้ จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ ยังกล่าวถึงการสร้าง "ธรรมศาลา" (ที่พักคนเดินทาง) และ "อโรคยศาล" (โรงพยาบาล) ตามเส้นทางจากนครธมไป ยังเมืองต่างๆ รอบราชอาณาจักร และจารึกยังกล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ เพื่อประดิษฐานยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจในทุกข์สุขของราษฎรและความศรัทธาในศาสนาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7



9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 07:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 07:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 17:22

~ ราชมรรคา ถนนแห่งศรัทธาของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ~





นักวิชาการทั้งไทยและกัมพูชากลุ่มหนึ่งกำลังร่วมกันสืบค้นเส้นทางอารยธรรมที่สูญหายไปเป็นเวลาเกือบ1,000 ปี เส้นทางปราสาทขอมสายประวัติศาสตร์ ที่ในอดีตเคยเป็นถนนมิตรภาพที่ไทยและกัมพูชาใช้สัญจรสานไมตรีต่อกัน

ในช่วงยุคเมืองพระนคร(พ.ศ.1333-1974) ซึ่งครอบคลุมระยะเวลายาวนานถึงหกร้อยกว่าปี พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ 1724-1762) นับได้ว่าเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองพระนคร เป็นผู้สร้างนครธม (แปลว่าเมืองใหญ่หรือมหานคร)ที่ใหญ่โตมโหฬารและมีความคงทนแข็งแรงจนสามารถอวดโฉมแก่สายตาของชนรุ่นหลังมาจนกระทั่งทุกวันนี้
      
       เมืองนครธมถูกสร้างให้ยิ่งใหญ่ตระการตาและตั้งอยู่บริเวณที่ขยับขึ้นมาทางเหนือของนครวัดเล็กน้อย(นครวัดสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2) แต่มีการแยกเป็นสัดส่วนต่างหากด้วยกำแพงรอบพระนคร มีความยาว 13 กิโลเมตร และมีประตู 5 ประตู (ทิศตะวันออกมี 2 ประตูคือประตูตะวันออกกับประตูชัย) มีกำแพงเมืองที่แต่ละด้านยาวประมาณเกือบ 3 กิโลเมตร ส่วนตัวกำแพงสูง 6 เมตร และเมืองนครธมมีรูปทรงเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตตุรัส โดยมีศูนย์กลางคือปราสาทบายน ที่มีหินสลักพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหรือยิ้มบายนอันลือลั่น
      
       นอกจากนครธม ซึ่งถือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งโรจน์ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แล้ว อาณาจักรขอมในช่วงนั้นยังถือได้ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองจนสามารถแผ่ขยายอารยธรรมครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงดินแดนอีสานใต้ของไทยในปัจจุบัน
      
       จากจารึกปราสาทพระขรรค์บันทึกไว้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างธรรมศาลาหรือที่พักคนเดินทางควบคู่ไปกับอโรคยาศาลา ( สถานพยาบาล )จำนวน 102 แห่ง โดยระบุว่ามีจำนวน 17 แห่งอยู่ตามรายทางจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมายที่เรียกกันว่าเส้นทางปราสาทขอม สันนิษฐานว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างปราสาทเหล่านี้เพื่อเป็นทานแก่ผู้เดินทาง ส่วนผู้เดินทางจะมีวัตถุประสงค์อย่างไรนั้นยังเป็นประเด็นที่ผู้สนใจสืบค้นกันอยู่
      



       เส้นทางที่เชื่อกันว่าคนสมัยก่อนใช้สัญจรกันนั้นเห็นได้อย่างชัดเจนในฝั่งกัมพูชาเป็นแนวคันดินสูง มีความกว้างราว 2 – 3 เมตร และยังคงเป็นถนนที่ชาวกัมพูชาใช้กันในปัจจุบัน แต่แนวถนนเดียวกันนี้กลับไม่พบในฝั่งไทย เส้นทางสายโบราณที่หายไป ร่องรอยชุมชนที่เคยมีชีวิตและวัฒนธรรมรุ่งเรืองหากแต่สูญสิ้น เหล่านี้เป็นคำถามที่นักวิจัย“โครงการค้นหาและพัฒนาสารสนเทศของราชมรรคาสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7” ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กำลังหาคำตอบ
      
       การศึกษาวิจัยทำโดยอาศัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีที่ยังพอมีเหลืออยู่ เช่น ถนนโบราณ สะพานหิน ธรรมศาลา อโรคยาศาลา ปราสาทหินต่างๆ ร่วมกับหลักฐานที่อาจมองไม่เห็นเมื่ออยู่บนพื้นดินแต่จะมีร่องรอยให้สามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทั่วโลกใช้ในการค้นหาแหล่งอารยธรรมหรือแหล่งโบราณคดีที่สามารถนำมาพัฒนาต่อ การศึกษาครั้งนี้ครอบคลุมพื้นที่เริ่มจากเมืองพระนคร ( นครวัด ) จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา และในพื้นที่ภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทยต่อเนื่องไปจนถึงพิมายจังหวัดนครราชสีมา

ข้อมูลจาก www.manager.co.th

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้