ศิลปะบายนที่เคยเชื่อว่าเก่าแก่ที่สุด จึงหล่นมาอยู่ในยุคเกือบสุดท้าย !!! . . ยุคก่อนเมืองพระนคร ศิลปะแบบพนมดา (ตามชื่อกลุ่มโบราณสถาน) ในพุทธศตวรรษที่ 10 -11 ศิลปะแบบสมโปร์ไพรกุก (ตามชื่อกลุ่มโบราณสถาน) ในพุทธศตวรรษที่ 11 -12 ศิลปะแบบไพรกเมง (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 10 -11 ศิลปะแบบกำแพงพระ (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 สมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ศิลปะแบบกุเลน (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 สมัยเมืองพระนคร ศิลปะแบบพระโค (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 14 ศิลปะแบบบาแค็ง (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 14 ศิลปะแบบเกาะแกร์ (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 14 ศิลปะแบบแปรรูป (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 14 ศิลปะแบบบันทายสรี (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 15 ศิลปะแบบคลังหรือเกลียง (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 ศิลปะแบบบาปวน (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 16 ศิลปะแบบนครวัด (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 ศิลปะแบบบายน (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 ศิลปะสมัยหลังบายน . คติศาสนาความเชื่อของเขมรโบราณจากสมัยศิลปะพนมดามาจนถึงศิลปะแบบบาปวน นิยมบูชาลัทธิไศวะนิกายหรือลัทธิการบูชาพระศิวะมายาวนาน จากอิทธิพลเริ่มแรกของอินเดียที่เข้ามาในพุทธศตวรรษที่ 10 ปราสาทในยุคสมัยนี้จึงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระศิวะเสียเป็นส่วนมาก . เลยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 จึงได้เริ่มฟื้นฟูลัทธิไวษณพขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่ กลายมาเป็นการสร้าง “บรมวิษณุโลก” หรือ "มหาปราสาทนครวัด" สุดอลังการนั่นเอง . หลังจากสมัยนครวัด บ้านเมืองของเขมรพระนครหลวง เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากครับ ภายหลังจากสวรรคตของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณิทรวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ . ในช่วงปลายรัชกาล พระองค์กลับมอบราชบัลลังก์แห่งพระนครหลวง ให้กับพระเจ้ายโศวรมันที่ 2 ที่มิใช่ญาติพี่น้องโดยสายเลือดแต่อย่างใด โดยที่เจ้าชายหนุ่มขุนศึกวรมันผู้เป็นพระโอรสก็เห็นดีเห็นงามด้วย !!!! . อาจเป็นเพราะความสนิทสนม หรือความเป็น "พี่น้องร่วมสาบาน" ในรุ่นราวคราวเคียงกัน และพระเจ้าธรณิทรวรมันก็คงเห็นว่า เพื่อนคนนี้มีความเหมาะสมกว่าลูกของตนซึ่งยังเยาว์ปัญญานัก ซึ่งก็น่าจะมีการตกลงถวายสัตย์กันไว้แล้วในระดับหนึ่งว่า จะให้พระโอรสหนุ่มของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อ . แต่เหตุการณ์กลับมิใช่เป็นเช่นนั้น วันหนึ่งในขณะที่ขุนศึกหนุ่มวรมันกำลังทำสงครามกับอาณาจักรจามปาทางทิศตะวันออก ก็ได้รับข่าวร้ายว่าขุนนางเฒ่าผู้หนึ่งได้รวบรวมเหล่าขุนทหารก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจ สังหารพระเจ้ายโศวรมันที่ 2 และสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นกัตริย์พระนามว่า " พระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน " . ขุนศึกวรมันในวัยหนุ่ม จึงรีบนำทัพกลับมาหมายแก้วิกฤตการณ์ปฏิวัติ แต่ทุกอย่างก็สายเกินแก้ พระองค์ไม่สามารถนำกองทัพเข้าเมืองได้ พระนครหลวงยโศธรปุระตกอยู่ในอิทธิพลของกษัตริย์องค์ใหม่เสียแล้ว พระองค์จึงจำต้องถอยทัพไปตั้งหลักที่แถบเมืองกำปงสวาย !!! . ความอ่อนแอและความแตกแยกของชนชั้นปกครองแห่งยโศธรปุระเป็นมูลเหตุสำคัญที่นำไปสู่หายนะครั้งใหญ่ เมื่อกองทัพจามปาได้ยกไพร่พลเรือล่องเข้ามาตามทะเลสาบเขมรหรือ " โตนเลสาป " จากการนำทางโดยพ่อค้าชาวจีน ดอดเข้ามาตีเมืองพระนครตามเส้นทางแม่น้ำเสียมเรียบ โดยที่ชาวเจนละยังมิทันได้ตั้งตัว . พระนครหลวงยโศธรปุระในวันนั้นกลายเป็นทะเลเพลิง ผู้คนล้มตายมากมาย อำนาจแห่งกษัตริย์สมมุติเทพในประวัติศาสตร์อันยาวนานสูญสลายไป !!! . Gossip กันว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นี่เองแหละที่ได้ทรง ”ทำสัญญาลับ”ปล่อยให้ศัตรูของเจนละอย่างจามปา สามารถนำกองทัพเข้ามาโค่นล้มศัตรูที่พระองค์ชิงชัง ศัตรูที่บังอาจตั้งตนเป็นกษัตริย์เทวราชาในเมืองพระนคร !!!
. ซึ่งก็ไปสอดรับกับการที่จามปาได้สถาปนากษัตริย์ขึ้นปกครองเมืองพระนครพระนามว่า " อินทรวรมันที่ 4 " อยู่ยาวนานกว่า 10 ปี และกลับเปิดโอกาสให้ขุนศึกวรมัน ที่ควรเป็น "หอกข้างแคร่" ได้มีโอกาสซ่องสุมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ไว้โดยไม่ได้มีการปราบปรามหรือกวาดล้างให้สิ้นซากแต่อย่างใด . การปล่อยปะละเลยในครั้งนี้ ชะรอยจะเป็นหลักฐานการ " ยืมมือศัตรู ฆ่าศัตรู " อย่างที่ " อู๋ซานกุ้ย " แม่ทัพราชวงศ์หมิงแห่งด่านซังไห่กวาน เคยปล่อยให้กองทัพแมนจูรุกเข้าตีปักกิ่งเพื่อปราบโจรกบฏที่เข้ามายึดพระราชวัง และบังอาจมาทำร้ายนางอันเป็นที่รัก!!! . แต่ครั้งนี้มันแตกต่างกัน เมื่อขุนศึกหนุ่มวรมัน ได้ทราบถึงความเดือดร้อนและความทารุณโหดร้ายที่ประชาชนชาวเจนละในเมืองพระนครได้รับ ภายใต้การปกครองของชาวจาม จึงทรงตัดสินใจนำกองทัพเข้าตีเมืองพระนครในช่วงเวลาอ่อนแอที่สุดของจามปา และทรงได้รับชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่เหนือสมรภูมิทางน้ำที่ปราสาทพระขรรค์ . ในยามนี้พระองค์ทรงรังเกียจระบอบเทวราชาของฮินดูเสียแล้ว เพราะมันเปื้อนด้วยเลือด”พสกนิกร”ของพระองค์เอง !!! . ระบอบการปกครองที่ทั้งศัตรูกบฏและพวกจามได้มาสวมรอยใช้ปกครองผู้คนในอาณาจักรที่ควรจะเป็นของพระองค์โดยชอบธรรม . ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทลังกา มหายานและวัชรยานตันตระ จึงเป็นตัวเลือกใหม่ ตัวเลือกที่จะต้องเหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้ ที่สามารถแทนความหมายการแผ่พระราชอำนาจแห่งองค์กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่และไม่เคยพ่ายแพ้เช่นพระองค์ |