ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ร้อยเรื่อง"ศรีชัยวรมัน"
1
2
3
4
5
6
/ 6 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: Sornpraram
ร้อยเรื่อง"ศรีชัยวรมัน"
[คัดลอกลิงก์]
Nujeab
Nujeab
ออฟไลน์
เครดิต
27798
41
#
โพสต์ 2013-10-28 10:16
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กราบสักการะองค์เสด็จพ่อ สาธุ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
42
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-11-13 07:24
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“พระชัยพุทธมหานาถ”
พระพุทธปฏิมากรนาคปรก
พลานุภาพแห่งจักรวรรดิบายน
โดย คุณศุภศรุต
http://www.oknation.net/blog/voranai
คติความเชื่อของการสร้างรูปเคารพพระศากยมุนี ที่มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอยู่ด้านบนนั้นแรกเริ่มเดิมทีก็ไม่ได้มีรากเหง้ามาจากวัฒนธรรมของเขมรโบราณนะครับ แต่มีพื้นฐานสำคัญมาวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาในอินเดีย ที่เกิดขึ้นมาจาก “พุทธประวัติในตอนตรัสรู้” ที่มีการกล่าวถึงพญานาค “มุจลินท์” (Mucalinda Serpent) ผู้เป็นราชาแห่งเหล่านาคราช ที่ขึ้นมาแผ่พังพานเสมือนดั่งเป็นเศวตฉัตร 7 ชั้น ปกคลุมเบื้องบน แล้วม้วนตัวทำเป็นขนดนาคล้อมพระวรกายอีก 7 ชั้น มิให้ลมพายุฝน แมลงร้ายและลมหนาวถูกต้องพระวรกายองค์พระศากยมุนีเจ้า
สอดรับเข้ากันกับตำนานเก่าแก่ของชาวกัมพุชเทศโบราณ ที่ถือว่า “นาค” หรือ “นาคราช” เป็นผู้ให้กำเนิดและเป็นผู้ปกปักษ์รักษาอาณาจักรเขมรมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ดังนิทานพื้นบ้านที่กล่าวถึงเรื่องราวของ “นางโสมะ” ผู้เป็นธิดานาคราช ได้อภิเษกสมรสกับ “โกญฑัญญะ” (แปลว่า ผู้มีเกาทัณฑ์วิเศษ) วรรณะพราหมณ์จากอินเดีย และพญานาคราชผู้เป็นพระราชบิดาของนางโสมะก็ได้ช่วยสร้างอาณาจักรกัมโพชขึ้นให้กับทั้งสอง
การวางองค์ประกอบของรูปประติมากรรมพระนาคปรกแบบลอยตัวในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ที่ถือเป็นช่วงแรกของการ “เคลื่อนย้าย” (Movements) หรือ “ลอกเลียน” (Imitates) ประติมากรรมรูปเคารพทางศาสนาจากวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาสู่ภูมิภาคอุษาคเนย์ เป็นครั้งแรก ๆ จะวางรูปของพระศากยมุนีในท่าธยานะมุทรา (ปางสมาธิ) ประทับนั่งบนบัลลังก์ขนดนาค ด้านบนวางเป็นรูปของพญานาคามุจลินท์ 7 เศียร (Seven-headed serpent) แผ่พังพานแยกออกเป็นร่มฉัตร ที่ด้านข้างทั้งสองฝั่งวางเป็นรูปของยอดพระสถูป
รูปประติมากรรมพระนาคปรกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาค น่าจะเป็นรูปพระนาคปรกที่พบที่เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี กับพระพุทธรูปนาคปรกที่พบจากบ้านเมืองฝ้าย จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11 และพระพุทธรูปปางนาคปรกที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีอายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
43
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-11-13 07:26
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ส่วนในอาณาจักรกัมพุชเทศะโบราณ เริ่มปรากฏรูปของประติมากรรมพระนาคปรกครั้งแรก ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 16 โดยอิทธิพลของราชวงศ์มหิธระปุระ ที่มีความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมเถรวาทแบบทวารวดี เป็นพระนาคปรกในช่วงศิลปะแบบบาปวน (Baphuon Style) มีลักษณะของพระศากยมุนีนั่งขัดสมาธิราบในท่าธยานะมุทรา (ปางสมาธิ) ประทับบนบัลลังก์ขนดนาค 3 ชั้น ที่ขยายขนดให้ใหญ่ขึ้นทีละชั้น ที่พระวรกายยังไม่มีการประดับอาภรณ์แบบพระทรงเครื่อง แต่ละรูปสลักจะมีรูปใบพักตร์ (หน้า)แตกต่างไม่คล้ายคลึงกัน อุษณีษะ (อุณหิส – พระเกตุมาลา )เหนือพระเศียรบางรูปทำคล้ายเป็นรัดเกล้ารูปกรวยแหลม บ้างก็เป็นขมวดพระเกศาต่อขึ้นไปจากพระเศียร หรืออาจอาจทำเป็นรัดเกล้ารูปกลีบบัวซ้อนขึ้นไปหลายชั้น
ลักษณะของพญานาค 7 เศียร จะทำดูเหมือนยกตัวขึ้นมาจากด้านหลังของพระวรกาย แผ่พังพานคล้ายรูปใบโพธิ์ยอดแหลม เริ่มแผ่ตัวจากส่วนต้นแขนขึ้นไปเหนือพระเศียร เศียรนาคไม่มีรัศมีหรือกะบังหน้าประกอบ เศียรนาคตรงกลางเงยหน้าเชิดตรง หรือมองมาทางข้างหน้า ส่วนเศียรนาคด้านข้างทั้งหกเศียรก็หันหน้าสอบขึ้นไปตามแนวแผ่ข้าง มองขึ้นไปยังเศียรกลาง หรือบางรูปก็จะเอียงเศียรออกมาทางด้านหน้าในแนวสอบเข้าอย่างเดียวกัน
ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 รูปประติมากรรมพระนาคปรก เริ่มได้รับอิทธิพลทางคติความเชื่อในลัทธิมหายาน นิกายวัชรยานตันตระ (Vajrayana Tantra) ที่มีต้นทางมาจากวัฒนธรรมอินเดียตั้งแต่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 14 เกิดเป็นความนิยมในการสร้างพระพุทธรูปของ “พุทธราชา” หรือ “พระอาทิพุทธเจ้า” ที่มีการประดับรูปเครื่องอาภรณ์แบบกษัตริย์หรือที่เรียกว่า “พระพุทธรูปทรงเครื่อง” (Crowned Buddha) ขึ้นเป็นครั้งแรกของศิลปะเขมร โดยมีการใส่เครื่องประดับศิราภรณ์ทั้งกะบังหน้า มงกุฎรูปกรวยครอบพระเศียรที่เคยเป็นเพียงขวดพระเกศา สลักรูปของกุณฑล (ตุ้มหู) ที่ปลายพระกรรณทั้งสองข้าง ส่วนของพระวรกาย ก็สลักเป็นรูปแผงกรองพระศอประดับด้วยลายดอกไม้ตรงกลางและมีพู่อุบะห้อยอยู่ด้านล่าง ที่พระพาหา (แขน) ยังสลักเป็นรูปพาหุรัด ที่ต้นแขน และรูปทองพระกร ที่ข้อมือ
รูปแบบของพระพุทธรูปทรงเครื่องในยุคนครวัด (Angkor Wat Stayle) แทนความหมายถึง “ชินพุทธะ – มหาไวโรจนะ” พระพุทธเจ้าสูงสุดผู้เป็นราชาแห่งเหล่าตถาคตหรือเหล่าพระพุทธเจ้าทั้งมวล หรืออาจเรียกอีกพระนามหนึ่งว่า “พระวัชรสัตว์พุทธะ” ครับ
รูปลักษณ์ทางศิลปะในยุคบาปวนจนถึงนครวัด ก็ยังได้ถูกส่งต่อมายังพระพุทธรูปนาคปรกในยุคจักรวรรดิบายน ที่มีการสร้างรูปประติมากรรมของพระนาคปรกขึ้นอย่างมากมายจนดูเหมือนว่าจะเป็น "แบบแผนพุทธลักษณะ"หลักของการสร้างรูปประติมากรรมทั้งหมดครับ
ลักษณะของพระปฏิมานาคปรกในรูปแบบของศิลปะบายน กลับไม่ค่อยจะนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องมากนัก จะมีให้เห็นบ้างก็ประปราย รูปพระนาคปรกในยุคบายนนี้ยังคงนิยมที่จะสลักกุณฑล (ตุ้มหู) ที่ปลายพระกรรณเช่นเดียวกับในยุคก่อนหน้า รูปประติมากรรมพระนาคปรกแบบบายนจะแยกออกได้ 2 แบบใหญ่ นับจากส่วนของพระเศียรเป็นหลัก คือแบบที่มีอุษณีษะ หรือพระเกตุมาลาเป็นมวยพระเกศารูปรัดเกล้ายอดแหลม ประดับด้วยกลีบบัว คล้ายเอาดอกบัวบานมาวางซ้อนกันขึ้นไปหลายชั้น มีขมวดพระเกศาทั้งแบบม้วนก้นหอยหรือแบบเกล็ดซ้อนไล่ไปตามแนว บางรูปสลักที่มีอุษณีษะลักษณะนี้ก็อาจสวมศิราภรณ์มีกะบังหน้าแต่ก็จะไม่กว้างมากนัก
ประติมากรรมรูปพระนาคปรกแบบที่สอง ขมวดพระเกศาจะเป็นก้นหอยเรียงตัวเป็นตาราง ที่พระเศียรจะไม่มีมวยพระเกศาหรืออุษณีษะ จะเป็นเพียงแต่ยอดแหลมเล็ก ๆ ยื่นขึ้นมาจากยอดกระหม่อมคล้ายกับปลายของ “ขนมโมทกะ” (Modak) ของโปรดขององค์พระคเณศ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
44
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-11-13 07:27
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ลักษณะพระพักตร์ของรูปประติมากรรมพระนาคปรกในยุคบายนนี้ มีเค้าหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มีสีพระพักตร์ดูอ่อนโยน มีรอยยิ้มมุมปากแสดงความเมตตากรุณา หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ยิ้มบายน” (Bayon Smile) เป็นแบบแผนสำคัญ คล้ายคลึงกันไปทั่วทั้งจักรวรรดิบายน แต่ถึงแม้ว่ารูปสลักที่สร้างขึ้นในดินแดนที่ห่างไกลจากเมืองพระนครธม หรือรูปสลักพระพุทธรูปในยุคหลัง จะมีความแตกต่างของเค้าโครงพระพักตร์ไปอยู่บ้าง หรือแตกต่างมาก แต่ทั้งหมดก็ยังล้วนแสดงให้เห็นร่องรอยของการสืบทอดรูปของพระพักตร์ที่นิ่งสงบ ดูเคร่งขรึม มีรอยยิ้มเล็ก ๆ ที่ตรงมุมปาก ส่งต่อจากจักรวรรดิบายนมาสู่แว่นแคว้นโบราณในภาคกลางของประเทศไทยอย่างชัดเจนครับ
ในช่วงสมัยอันรุ่งเรืองของจักรวรรดิบายนที่ยิ่งใหญ่ มีการสร้างพระพุทธปฏิมา(นาคปรก) ขึ้นจำนวนมาก ดังหลักฐานที่ปรากฏในข้อความของจารึกปราสาทพระขรรค์ (Preah Khan Inscription) ที่กล่าวถึงการสร้างประติมากรรมรูปเคารพเพื่อนำไปถวายประดิษฐานทั้งในปราสาทพระขรรค์ ราชวิหารประจำหัวเมืองต่าง ๆ ของจักรวรรดิ โดยได้ทรงสร้างรูปพระโพธิสัตว์โลเกศวร ถวายพระนามว่า “ศรีชยวรเมศวร” (ซึ่งก็อาจจะเป็นรูปสลักของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีที่พบในปราสาทพระขรรค์ ที่มีเค้าใบพระพักตร์คล้ายคลึงกับพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) อีกทั้งรูปของ “ชยมังคลารถจูฑามณี” (ซึ่งอาจเป็นรูปของพระนางปรัชญาปารมิตา ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กีเมนต์ ประเทศฝรั่งเศส) รูปของ “พระสุคต ศรีวีรศักดิ์" รูปของ “พระสุคต ศรีราชปตีศวร” และรูปของ “พระปราศยมุนีนทร” หรือพระพุทธเจ้าแห่งบูรพาทิศ (ซึ่งทั้งหมดควรเป็นรูปของพระปฏิมานาคปรกแบบไม่มีอุษณีษะอย่างที่พบที่เมืองพิมาย)
ในจารึกยังกล่าวถึงการถวายรูปประติมากรรมประจำอโรคยศาลา 3 องค์ (คือรูปบุคลาธิษฐานของพระไภษัชยไวฑูรยประภาสุคต พระ(โพธิสัตว์)ศรีสูรยไวโรจนจันทโรจิ และพระ(โพธิสัตว์)ศรีจันทรไวโรจนโรหินีศะ) พระรัตนตรัยในดินแดนสามแห่ง คือ ศรีชยันตปุระ วินธยปรรวต และมรคัลปุระ และทรงถวายรูป ”พระชัยพุทธมหานาถ” (พระผู้เป็นใหญ่ ชนะเหนือทุกสรรพสิ่ง - โลภะ โทสะ โมหะ) จำนวน 23 องค์เพื่อการสักการบูชาซึ่งน่าจะเป็นรูปของพระปฏิมานาคปรกตามแบบศิลปะของพระนาคปรกประธานแห่งปราสาทบายน ให้ไปประดิษฐานไว้ในราชวิหารของเมือง รวมทั้งยังทรงให้ส่งพระ “สุคต วิมายะ” ไปยังเมืองพิมาย อีกด้วย
“พระชัยพุทธมหานาถ” (Jaya Buddha mahanart) ที่กล่าวถึงในจารึก จะมีรูปลักษณะหน้าตาอย่างไร ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนนัก ที่พอจะเข้าใจกันในปัจจุบันก็คือ ได้เคยมีการค้นพบรูปของพระนาคปรกในยุคจักรวรรดิบายนทั้งสองแบบ (แบบอุษณีษะและแบบโมทกะ) ตามหัวเมืองที่ปรากฏชื่อเมืองในจารึกปราสาทพระขรรค์ เทียบเคียงกับร่องรอยเมืองโบราณในยุคเดียวกัน ทั้งชื่อของ “ชยวัชรปุระ” ที่อาจมีศูนย์กลางอยู่ที่ปราสาทกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี “ชยราชปุรี” มีราชวิหารเป็นศูนย์กลางอยู่ที่วัดมหาธาตุราชบุรี “ชยสิงหปุระ” หรือปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี “สุวรรณปุระ” ที่เมืองโบราณเนินทางพระ จังหวัดสุพรรณบุรี “ลโวทยปุระ” หรือเมืองโบราณลพบุรีและ”ศัมพูกปัฏฏนะ” เมืองโบราณข้างสระโกสินารายณ์ ในจังหวัดราชบุรี
และเมื่อดูจากหลักฐานรูปพระนาคที่พบในทั้ง 6 เมืองโบราณในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา – ลพบุรี แทบทั้งหมดจะเป็นพระนาคปรกในรูปแบบที่มีอุษณีษะรัดเกล้ากลีบบัวยอดแหลมแทบทั้งสิ้น ส่วนพระพุทธรูปแบบที่มียอดมวยพระเกศาแหลมแบบขนมโมทกะ พบเป็นจำนวนน้อยมาก เฉพาะในเขตเมืองพิมายออกไปทางอีสานใต้ (หรือไปพบที่ทรายฟอง ในเขตเวียงจันทน์) เท่านั้น
และเมื่อคิดถึงคติความเชื่อ รูปลักษณะทางศิลปะและ “ความหมาย” (Meaning) ที่เป็นเหตุผลกำกับการส่งรูปพระชัยพุทธมหานาถให้ไปเป็นพระประธานหลักในราชวิหารของเมืองต่าง ๆ กลุ่มชายขอบของจักรวรรดิบายน เชื่อมต่อกับการประดิษฐานรูปประติมากรรมพระนาคปรกขนาดใหญ่คู่จักรวรรดิที่ปราสาทบายน รวมทั้งรูปพระนาคปรกจำนวนมากที่ปราสาทบันทายกุฎี และปราสาทตาพรหม ก็น่าจะหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า รูปลักษณะทางศิลปะของพระพุทธรูปนาคปรกทั้ง 23 องค์ ควรจะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับรูปศิลปะของพระประธานใหญ่แห่งจักรวรรดิ นั่นคือเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาดใหญ่ที่มีอุษณีษะ (พระเกตุมาลา) ยอดแหลม ในแบบของฝีมือช่างหลวง ที่ถูกแกะสลักขึ้นที่เมืองพระนครธมแล้วค่อยส่งออกไปตามหัวเมืองดังชื่อที่ปรากฏในจารึก ซึ่งก็คงไม่ได้มีเพียงพระพุทธรูปนาคปรกขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น คงมีพระพุทธรูปนาคปรกขนาดเล็กใหญ่ฝีมือช่างหลวงอีกหลายแบบที่ถูกจัดส่งออกไปพร้อม ๆ กันในช่วงเวลาหนึ่ง แต่การจัดส่งนั้นจะถึงที่หมายปลายทางหรือไม่ หรือได้ไปประดิษฐานที่ในวิหารประจำ (สรุก)เมืองตามที่สลักจารไว้บนจารึกหรือเปล่า ตรงนี้ก็คงต้องอาศัย “จินตนาการ” มาช่วยคิดกันต่อเติมกันบ้างแล้วครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
45
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-11-13 07:28
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมื่อพระพุทธรูปนาคปรกในความหมาย
“เสาหลักแห่งนครา”
ในรูปแบบของพระพุทธเจ้าสูงสุดผู้ทรง
“มหาพลานุภาพ”
ที่ถูกเชื่อมโยงกันและกันไปจาก “ศูนย์กลาง”แห่งจักรวรรดิ ถูกแกะสลักด้วยฝีมืออันประณีต ส่งออกไปยังหัวเมืองชั้นนอกของจักรวรรดิ อันได้แก่บ้านเมืองในลุ่มน้ำเจ้าพระยา – ลพบุรี เรื่อยขึ้นไปจนถึงสุโขทัย ที่ล้วนถูกผนวกรวมเข้ามาภายใต้การปกครองเดียวกันของราชวงศ์มหิธระปุระ รูปประติมากรรมพระนาคปรกจำนวนมากอาจถูกสร้างขึ้นที่เมืองลวปุระ เลียนแบบรูปสลักฝีมือช่างหลวงที่ส่งมาถึงแต่มีจำนวนไม่เพียงพอ ให้กับบ้านเมืองสรุกย่อยในกลุ่มของแว่นแคว้น เช่นเดียวกับกลุ่มบ้านเมืองสุวรรณปุระที่เนินทางพระก็อาจเป็นอีกกลุ่มที่ได้รับรูปพระนาคปรกฝีมือช่างหลวงมาอย่างล่าช้าและมีจำนวนน้อย จึงได้แกะสลักเลียนแบบฝีมือช่างหลวง (Master) ทั้งแบบองค์ใหญ่และองค์เล็กขึ้นอีกเพื่อส่งต่อไปยังชุมชนใหญ่น้อยในการปกครองอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งรูปสลักเลียนแบบนี้ก็อาจมีความเหมือนบ้างไม่เหมือนบ้าง แต่กระนั้นก็ยังคงรักษารายละเอียดรูปลักษณะแบบบายน ที่มีเค้าโครงพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ไว้ในคราวแรก ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นานนัก ช่างท้องถิ่นก็ได้เริ่มนำเอารายละเอียดของพระพุทธรูปในศิลปะแบบเถรวาท – มหายานของวัฒนธรรมทวารวดีเข้ามาผสมผสานมากขึ้น
และเมื่อแก่กาลเสื่อมสลายของจักรวรรดิบายนที่มีอายุรวมแล้วยังไม่ถึง 70 ปี ขนาดรูปพระปฏิมานาคปรกแห่งจักรวรรดิในเขตชั้นในทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กเกือบทั้งหมดก็ยังถูกทุบทำลาย รื้อถอนเคลื่อนย้ายแล้วยังนำไปฝังทิ้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายราชโอการแล้ว รูปเคารพประธานแห่งนคราที่แสดงอำนาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในความหมายของบ้านเมืองที่อยู่ภาย “ใต้” การปกครองเดียวกัน จะไปเหลืออะไร นอกจากจะประสบชะตากรรมเดี่ยวกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นคือถูกทุบทำลาย เคลื่อนย้ายออกจากศาสนสถานศูนย์กลางของบ้านเมืองแว่นแคว้น ไม่แตกต่างไปจากโศกนาฏกรรมที่เมืองพระนครธม
แต่การเคลื่อนย้ายและทุบทำลายในหัวเมืองตะวันตกที่แยกตัวปลดแอกออกจากจักรวรรดิที่เสื่อมสลาย ไม่ได้มีความรุนแรงแบบขุดรากถอนโคนเช่นที่พบตามปราสาทราชวิหารในเขตอำนาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 รูปประติมากรรมพระนาคปรกจำนวนมาก ถูกเคลื่อนย้ายจากศาสนสถานในยุคบายนนำมาใช้ประโยชน์ต่อโดยการดัดแปลงรูปลักษณ์ทางศิลปะตามแบบช่างหลวงของแว่นแคว้น หลายรูปถูกลงรักปิดทอง หลายรูปก็ถูกเพียรแกะสลักขึ้นมาใหม่ โดยยังคงร่องรอยของพระพักตร์แบบพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ดูเคร่งขรึม แสดงความมีเมตตากรุณา และ “รอยยิ้ม”แบบบายนที่มุมปากรวมทั้งยังคงรักษาพุทธลักษณะสำคัญสืบทอดต่อมาจาก “ต้นแบบ” ของพระปฏิมานาคปรกแบบบายนแต่ใส่รายละเอียดของพระพุทธรูปแบบเถรวาทพุกามอันเป็นคติความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อแว่นแคว้นบ้านเมืองในภูมิภาคเพิ่มเติมเข้าไปอีก
จึงน่าจะเป็นที่แน่ชัดในระดับหนึ่งว่า รูปของ
“พระชัยพุทธมหานาถ” หรือ “พระผู้ชนะทุกสรรพสิ่ง”
ที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์นั้น ก็คือรูปประติมากรรม “พระพุทธรูปนาคปรกในรูปแบบที่มีอุษณีษะเป็นรัดเกล้ารูปกลีบบัวเป็นชั้นซ้อน” ไม่มีเครื่องประดับแบบพระทรงเครื่องยกเว้นกุณฑลที่ปลายพระกรรณ มีพระพักตร์ที่เพียงจะคล้ายคลึงกับรูปหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีพุทธศิลป์แบบเดียวหรือใกล้เคียงกันกับ “พระพุทธปฏิมากรนาคปรกขนาดใหญ่” องค์ประธานหลักแห่งมหาปราสาทบายน พระพุทธเจ้าสูงสุดผู้ทรงอำนาจ พลานุภาพคู่จักรวรรดิบายน
ส่วนรูปประติมากรรมพระนาคปรก ในรูปแบบที่มีมวยพระเกศาเป็นแบบก้นหอยใหญ่ ยอดพระเศียรไม่มีอุษณีษะ เป็นเพียงยอดปลายแหลมคล้ายรูปขนมโมทกะ และมีเค้าโครงของใบพระพักตร์เหมือนกับพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่อยู่ในรูปของพระพุทธรูปปางนาคปรกนั้น ก็ควรจะเป็นรูปประติมากรรมของ “พระสุคต” ตามพระนามที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์ สอดรับกับพระนามของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในเมื่อหลังสวรรคตว่า “มหาบรมสุคตบท” ที่มีความหมายถึง “พระผู้บรรลุ(สู่ธรรม)อย่างสูงสุด – อย่างถ่องแท้” อันอาจเป็นรูปลักษณ์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในฐานะของ “พระมานุษิพุทธะ” หรือ “มนุษย์ผู้ผู้บรรลุสู่ธรรมเฉกเช่นเดียวกับพระศากยมุนี” หรืออาจแสดงว่าพระองค์นั่นเองนั่นแหละก็คือพระศากยมุนีในเวลานั้น
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
46
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-11-13 07:29
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประติมากรรมรูปเคารพที่มีเค้าหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงมีหลายรูปแบบ ทั้งรูปเคารพทางคติความเชื่อและรูปเหมือนจริง รูปเคารพแบบงแรกคือรูป “พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร” ที่มีความหมายว่าพระองค์ก็เป็นดั่งพระโพธิสัตว์ “สมันตมุข” ผู้โปรดช่วยเหลือแก่มวลมนุษย์ทั้งปวง รูปประติมากรรม “พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี” มีความหมายว่าพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ผู้ทรงพลานุภาพ เหนือทวยเทพในสกลจักรวาลและสรรพสัตว์ทั้งมวล
รูปแบบที่สองที่มีเพียง “เค้าพระพักตร์” ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่เพียง “คล้ายคลึง” คือรูปประติมากรรมของพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาดน้อยใหญ่ ตามแบบที่มีอุษณีษะหรือพระเกตุมาลา ในความหมายว่า พระองค์คือส่วนหนึ่งในภาคของพระศากยมุนีผู้เป็นใหญ่และทรงพลานุภาพในทางธรรม
ส่วนรูปแบบที่สามเป็นรูปเคารพที่มีความคล้ายคลึงกับพระศากยมุนีแบบเถรวาท แต่ไม่ “อาจหาญ” กล้าพอที่จะใส่มวยพระเกศาหรืออุษณีษะไว้ที่กลางกระหม่อม ตามแบบ “มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ” จึงทำเพียงรูป “เหมือน” ของพระพักตร์ ในรูปแบบของพระพุทธรูปปลายมวยผมแบบขนมโมทกะ นั่งขัดสมาธิราบในท่าธยานะมุทรา (ปางสมาธิ) ประทับบนบัลลังก์ขนดนาค 3 ชั้น อย่างที่พบจำนวนมากในเขตชั้นใน และที่ปราสาทหินเมืองพิมาย และลพบุรี รวมทั้งรูปที่ไม่มีนาคปรกอย่างที่พบที่เมืองทรายฟอง แขวงนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตามที่ปรากฏพระนามในจารึกว่า “พระสุคต” ในจารึกของปราสาทพระขรรค์ รูปเคารพนี้น่าจะมีความหมายถึง “พระองค์ทรงบรรลุสู่พระนิพพาน บรรลุสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า” ดังพระนาม “มหาบรมสุคตบท” ภายหลังการสวรรคตของพระองค์
และแบบสุดท้าย เป็น “รูปเหมือนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แบบลอยตัวโดยตรง” ในท่าประทับนั่งสมาธิ เอียงตัวก้มพระเศียรลงมาทางด้านหน้าเล็กน้อย พระเกศาหวีเรียบผูกเป็นมวยรัดเกล้าอย่างนักบวช นุ่งกางเกงขาสั้นรัดเข็มขัด พระเพลา (แขน) และพระหัตถ์ยกวางซ้อนกันอยู่ในมุทธาสมาธิ บางรูปสลักก็อาจอยู่ในท่าของ “อัญชลีมุทรา” (พนมมือ) ในระดับพระอุระ (อก) เพื่อถวายการเคารพพระชัยพุทธมหานาถ และบางรูปก็อาจอยู่ในท่าของการยกพระคัมภีร์ขึ้นอ่านหรือสวดมนตรา ในความหมายของการปฏิบัติโพธิญาณบารมี ซึ่งทั้งแบบรูปพนมมือและแบบรูปยกคัมภีร์ขึ้นอ่านนั้น ยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของนักวิชาการสายฝรั่งเศส ที่ยังคงไม่พบหลักฐานของส่วนแขนที่ (ถูกทุบทำลาย) หักหายไปอย่างชัดเจนนักในในปัจจุบันครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
47
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-11-13 07:31
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จากวันที่รุ่งเรืองของจักรวรรดิที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงเวลาหนึ่งของอุษาคเนย์ สู่กาลเวลาที่เสื่อมสลายทั้งจากอำนาจภายในที่ยอมลดขนาดของจักรวรรดิแห่งพระโพธิสัตว์กลับมาสู่ความเป็นอาณาจักรแห่งทวยเทพ เปิดโอกาสให้เหล่าพระญาติพระวงศ์และผู้ปกครองแว่นแคว้นแดนไกลนอกแดนกัมพุชเทศะแยกตัวออกไปจนหมดสิ้น และโศกนาฏกรรมครั้งสำคัญผ่านเรื่องราวการทำลายล้างพระพุทธปฏิมากรนาคปรกศิลปะแห่งบายน
อำนาจแลพลานุภาพมากมายทั้งทางโลกและทางธรรมที่เพียรถูก “สมมุติ” สร้างขึ้นในครั้งรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่เพียงภายหลังจากการสวรรคตในเวลาไม่นาน ทุกสิ่งทุกอย่างก็คงเหลือแต่เพียง “ความว่างเปล่า”
รูปลักษณ์ของวัตถุและคำลวงที่ช่วยสร้างเสริมให้ดูยิ่งใหญ่ เป็นเสมือน “หัวโขนแห่งอคติ” ที่ทุกคนแสวงหาและภาคภูมิ ในวันหนึ่งของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามก็ย่อมจะเดินทางจากลาไปสู่กาลแห่งความเสื่อมสลายและดับสูญ
ที่อาจจะคงเหลืออยู่บ้าง ก็คงเพียงว่า “มนุษย์” ผู้นั้นได้เคยสร้างสิ่งใดไว้ให้กับโลก ได้สมตามตำแหน่งของมายา “หัวโขน” ที่หลงใหลได้ปลื้ม ยึดติดเมื่อครั้งตอนอยู่มีชีวิตอยู่บนโลกกันอย่างไรบ้าง
และเมื่อสิ้นสุด “กายสมมุติ” ลงไปสู่โลกนิรันดร์ที่ปลายภพ ผู้คนในรุ่นต่อไปจะเล่าขานเรื่องราวของมนุษย์ที่เคยมี “ชีวิต” อยู่ผู้นั้นอย่างไร
ดังเช่นพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่เคยถูกสาปแช่งและทำลายล้างรูปเคารพอย่างรุนแรงในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ในวันนี้ ผู้คนจะเลือก “จดจำ” และ “เล่าขาน” สิ่งใดของเรื่องราวในอดีต
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :
http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
48
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-29 08:45
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-12-29 08:49
ศิลาจารึกหลักศิลาจารึกปราสาทจอมพระ
คำแปลด้านที่ ๑
ผู้มีรูปเป็นธรรมกายและสัมโภคกายผู้มีอาตมันเป็นสองผู้หาอาตมันมิได้ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระชินะผู้เป็นราชาแห่งรัศมี
แก่ประชาชนผู้อยู่แม้เพียงพระนาม พระศรีจันทรวโร- จนโรหิณีศะ ขอจงชนะที่เชิงเขาคือพระพุทธเจ้า
พระศรีชยะ วรมเทวะ
พระศรีชยะวรมเทวะผู้เป็นโอรส (ของพระเจ้าธรณินทรวรมัน) ผู้ได้รับราชสมบัติ
เพราะพระจันทร์อันเยี่ยมยอด พระองค์ผู้มีพระบาท เหมือนดอกบัวเป็นเครื่องประดับ ผู้มีศัตรูอันพระองค์ทรงชนะแล้ว
คำแปลด้านที่ ๒
โรคทางร่างกายของปวงชนนี้เป็นโรคทางจิตเจ็บปวดยิ่ง เพราะความทุกข์ของราษฎร
แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์ แต่เป็นความ….ของเจ้าเมือง
พระองค์พร้อมด้วยแพทย์ทั้งหลาย ผู้แกล้วกล้า และคงแก่เรียน ในอายุรเวท และอัสรเวท ได้ฆ่าศัตรูคือโรคของประชาชนด้วยอาวุธคือเภสัช เมื่อพระองค์ได้ชำระโทษของประชาชนทั้งปวง โดยรอบแล้ว ได้ชำระโทษแห่งโรคทั้งหลาย เพราะโทษแห่งยุค
พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาล และรูปพระโพธิสัตว์ ไภษ์ชยสุคตพร้อมด้วยรูปพระชิโนรสทั้งสองพระองค์โดยรอบเพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชนตลอดไป พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาลหลังนี้
และรูป พระโพธิสัตว์ไภษ์ชยสุคต พร้อมด้วยวิหารของพระสุคตด้วยดวงจันทร์คือพระหฤทัยในท้องฟ้า คือพระวรกายอันละเอียดอ่อนเป็นผู้ทำลายโรค คำแปลด้านที่ ๓ ส่วนสตรีสองคนเป็นผู้ตำข้าว บรรดาสตรีเหล่านี้เป็นผู้ให้สถิติ ส่วนบุรุษเหล่านั้น นับรวมกันอีก
รวมคนทั้งหมดเป็นเก้าสิบแปดคน ข้าวสารสำหรับเป็นเครื่องบูชาเทวรูป เครื่องพลีทานที่เหลือพึงให้ (แก่คนป่วย) ทุกปีสิ่งนี้ควรถือเอา (เบิกจาก) แต่ละอย่างในวันเพ็ญเดือนไจตระ เครื่องนุ่งห่มที่มีชายสีแดงอาหารโค ๒ ปละ (เทียนไข) ๕ ปละ เทียนสีผึ้ง ๗ ปละ คำแปลด้านที่ ๔ ชำรุดเสียหายมากไม่สามารถแปลได้
ที่มา....
http://www.m-culture.in.th/album/96085
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
taka_jipata
taka_jipata
ออฟไลน์
เครดิต
1788
49
#
โพสต์ 2014-9-27 23:24
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
LightGuardian
LightGuardian
ออฟไลน์
เครดิต
1064
50
#
โพสต์ 2015-6-16 11:25
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาธุครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
3
4
5
6
/ 6 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...