ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ร้อยเรื่อง"ศรีชัยวรมัน"

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 08:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



ตลอด ราชมรรคา ได้ทรงสร้าง“บ้านมีไฟ” หรือที่พักคนเดินทาง ซึ่งก่อด้วยศิลา และจุดไฟไว้ตลอด ถูกเรียกว่า“ธรรมศาลา”

จากจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงธรรมศาลาว่ามีจำนวน 121 แห่ง อยู่ตามทางเดินทั่วราชอาณาจักร และตามทางเดินไปเมืองต่างๆ
ในจำนวนนั้น มี 17 แห่งอยู่ระหว่างการเดินจากเมืองพระนคร(นครธม)ไปยังเมืองพิมาย เท่าที่ค้นพบแล้วมี 7 แห่ง แต่ละแห่งห่างกันประมาณ 12 – 15 กิโลเมตร
และมีการสร้างโรงพยาบาล หรือที่จารึกเรียกว่า “อโรคยาศาลา” จำนวน 102 แห่ง กระจายอยู่ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตประเทศไทย

ข้อมูลจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 08:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ก่อนที่เราจะร่วมเดินทางสำรวจและท่องเที่ยวตามเส้นทางสาย ราชมรรคา
เรามาดูรายละเอียดของ ธรรมศาลา กันก่อนครับ


"วหนิคฤหะ" ในจารึกปราสาทพระขรรค์แปลว่า "บ้านมีไฟ" นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เรียกบ้านมีไฟว่า "ธรรมศาลา" ลักษณะเป็นห้องยาวหันหน้าทางด้านตะวันออก มียอดทรงปราสาทด้านตะวันตก ผนังด้านทิศใต้มีหน้าต่าง ส่วนทิศเหนือเป็นหน้าต่างหลอก หรือเป็นผนังเปล่า มีบารายหรือสระน้ำประจำธรรมศาลา



จารึกปราสาทพระขรรค์ระบุว่า “ธรรมศาลา” จะสร้างอยู่ตามเส้นทางสายราชมรรคทั้งหมด แต่ดันมีธรรมศาลาหลังหนึ่ง ไปปรากฏอยู่นอกเส้นทางราชมรรคาคือ ที่ปราสาทบันทายฉมาร์



จารึกยังระบุว่า มี "ธรรมศาลา" จากเมืองพระนคร(นครธม)ไปยังเมืองวิมายะปุระ(พิมาย) จำนวน 17 หลัง บนถนนที่มีเส้นทางไปยังเมืองต่างๆ อีก 44 หลัง แต่ละหลังสร้างห่างกันประมาณ 12 - 15 กิโลเมตร


อ้างอิงจาก: http://www.oknation.net/blog/voranai/2007/10/02/entry-1
13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 08:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คราวนี้ เรามาดูรายละเอียดของ อโรคยศาลา กันบ้างครับ

อโรคยศาลา หรือ สถานพยาบาลชุมชน”  ได้ถูกสร้างขึ้นมาตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗  เพื่อการบำบัดทุกข์บำรุงแก่ประชาชน การสร้างอโรคยาศาลอาจเป็นจุดมุ่งหมายหนึ่งของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในการแผ่ขยายอำนาจทางการเมืองและเผยแผ่พระพุทธศาสนามหายาน ขณะเดียวกันก็รวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง หลักฐานสิ่งก่อสร้างที่พบเหล่านี้อาจเป็นชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับเมืองพระนครอย่างใกล้ชิดทั้งในด้านการปกครองและความสัมพันธ์ทางเครือญาติ

รูปแบบสถาปัตยกรรมของอโรคยศาลา

       จากจำนวนอโรคยศาลากว่า 30 แห่ง ที่มีการสำรวจและขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร พบว่าอาคารดังกล่าวคือศาสนสถานที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญประจำอโรคยศาลา รูปแบบของอโรคยศาลาอาจสร้างขึ้นจากไม้ โดยอยู่ในบริเวณใกล้กับศาสนสถานที่สร้างขึ้นจากศิลาแลงที่พบหลักฐานในปัจจุบัน  แผนผังของศาสนสถานประกอบด้วยปราสาทประธาน สร้างหันไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงแก้วล้อมรอบ และมีโคปุระเป็นทางเข้าด้านเดียวทางทิศตะวันออก มักพบอาคารผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสันนิษฐานว่าเป็นบรรณาลัย อยู่ติดริมกำแพงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หันเข้าหาปราสาทประธาน และมีสระน้ำอยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยมักอยู่ทางทิศตะวันออกบริเวณภายในหรือภายนอกกำแพงแก้ว รูปแบบดังกล่าวเป็นผังของศาสนสถานประจำอโรคยศาลาที่พบทั่วไปในประเทศไทยซึ่ง เป็นอโรคยศาลขนาดเล็กประจำท้องถิ่น และสร้างขึ้นคล้ายคลึงกันในแต่ละชุมชน โดยมีรายละเอียดบางประการที่ต่างกันเล็กน้อยตามลักษณะพื้นที่ และวิธีการก่อสร้าง


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 08:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
งค์ประกอบสถาปัตยกรรม ของ อโรคยศาลา

       ปราสาทประธานของศาสนสถานในอโรคยศาลาโดยทั่วไป เป็นปราสาทหลังเดี่ยวขนาดเล็ก สร้างจากศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก และมีองค์ประกอบสถาปัตยกรรมสลักจากหินทราย ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเพิ่มมุมทั้ง 4 ด้าน เรือนธาตุเป็นมุข 4 ด้าน ด้านตะวันออกเป็นประตูทางเข้า พบภาพสลักหน้าบัน ทับหลัง และเสาประดับกรอบประตูสลักจากหินทราย ส่วนอีกสามด้านที่เหลือเป็นประตูหลอก มักพบการประดับทับหลังหินทราย ส่วนยอดเป็นชั้นหลังคาซ้อนกัน 5 ชั้น ประดับด้วยรูปสลักเทพประจำทิศต่างๆ และส่วนยอดบนสุดประดับด้วยรูปดอกบัวสลักจากหินทราย




ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 08:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

โลกปัจจุบันต้องทึ่งกับภูมิปัญญาของนายช่างขอมโบราณในการสร้างปราสาทหินเพราะแม้แต่เทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้โดยง่าย การก่อสร้างปราสาทต้องใช้ทั้งเวลาและแรงงานคนมหาศาล ทั้งยังมีกรรมวิธียุ่งยากซับซ้อน เริ่มตั้งแต่หาแหล่งตัดหิน เคลื่อนย้าย ก่อสร้างไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือสลักลวดลาย หินแต่ละก้อนที่เรียงต่อกันไม่มีตัวประสานแต่สามารถคงตัวอยู่ได้เนื่องจากใช้น้ำหนักของหินเป็นตัวกดทับ ส่วนที่ง่ายต่อการพังทลายจะทำการเบิกหินเป็นร่องแล้วนำเหล็กรูปตัว I หรือใกล้เคียงวางเชื่อม มักพบว่ามีการเจาะรูหินก้อนใหญ่ไว้ทั้งสองด้าน สำหรับตอกลิ่มไม้แล้วใช้เชือกผูกคล้องเพื่อยกหิน เมื่อเสร็จสิ้นการก่อสร้างโครงสร้างหลักจึงเริ่มขั้นตอนแกะสลักลวดลาย ปราสาทใหญ่หลายหลังมักสร้างไม่เสร็จภายในรัชกาลเดียวมีการแกะสลักลายค้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นนครวัด พนมรุ้ง เขาพระวิหาร

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 08:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 17:24

ศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์














17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 08:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้













18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 08:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้














19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 08:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 17:24

พระนางศรีชัยราชเทวี สตรีที่อาจอยู่เบื้องหลังพระเจ้าชัยวรมันที7เปลี่ยนมานับถือพุทธมหายาน





     เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะขอม มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมายหรือ วิมายปุระที่ปรากฏในจารึกภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทจากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่๑ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัดซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธมหายานในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พิมายน่าจะมีความสัมพันธ์ทางด้านสายตระกูลของบรรพบุรุษอาทิเช่น ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา หรือ ภรรยา )














http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=809

รูปเหมือนจริงของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7ที่คงเหลือรอดมาจากอดีตรูปที่สอง พบที่ปราสาทหินพิมาย (PhimaiPr.)เป็นชิ้นส่วนแตกหักกองอยู่ภายในปรางค์พรหมทัต เมื่อมาปฏิสังขรณ์แล้วมีความสูงนับรวมฐานประมาณ 1.4 เมตรมีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปเหมือนที่พบที่โกรลโรมัส



ปรางค์พรหมทัต อยู่ทางด้านช้ายปรางค์องค์ใหญ่ ปรางค์นี้ก่อด้วยศิลาแลง พระเจ้าชัยวรมันที่7 โปรดให้สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ 1724-1763 อาจารย์ มานิต วัลลิโภดม  มีความเห็นว่าที่ทรงบูรณะเพราะบรรพบุรุษของพระองค์เคยประทับอยู่ในถิ่นฐานแถบนี้ เมื่อครั้งอาจารย์ ฯ ควบคุมการขุดแต่งโบราณสถานปราสาทหินพิมายเมื่อ พ.ศ 2497 ได้บันทึกไว้ว่าที่นี่เคยเป็นที่ตั้งรูปประติมากรรมหินจำหลัก3รูป เรียกชื่อสืบกันมาว่า รูปท้าวพรหมทัติหรือชัยวรมันที่7  รูปพระปาจิตต์ และรูปนางอรพิมท์    (อ่านเพิ่มเติม เมืองพิมาย โดย ดร.ธิดา สาระยา 2535)



20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-1 08:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พุทธศาสนามหายานในสุวรรณภูมิ


    เมื่อประมาณ พ.ศ.600เกิดพุทธศาสนามหายานในแถบอินเดียเหนือได้แพร่จากประเทศอินเดียเข้าสู่อาณาจักรศรีวิชัย สุวรรณภูมิ ซึ่งมีชนชาติขอม มอญ ละว้า และไทย ตามเส้นทางการค้าในยุคนั้น


ใน ราว พ.ศ.1200สมัยศรีวิชัยพุทธศาสนา มหายานที่รุ่งเรืองสูงสุดได้แพร่หลายจากเกาะสุมาตราเข้า สู่เมืองไชยาทางภาคใต้แห่งประเทศไทยทั้งนี้ได้ความจากประวัติศาสตร์และวัตถุที่ขุดได้ในเมืองไชยาและเผยแพร่สู่ภาคกลางประเทศไทย เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี


ในราว พ.ศ.1300 อาณาจักรศรีวิชัยยึดครองอาณาจักรขอมและนำเจ้าชายชัยวรมันที2 ไปเป็นตัวประกันได้รับการศึกษาพุทธศาสนามหายานและฮินดู ที่ชวากลาง ทีมี พุทธสถาน บุโรบูโดร์เป็นศูนย์กลางเผยแพร่เมื่อกลับมาได้ควบรวมอำนาจกับชุมชนเทือกเขาพนมดงเร็ก แต่งงานกับ ปราณ หรือกัมพุชลักษมีที่มีต้นตระกูลเป็นผู้ปกครองชุมชนแถบปราสาทเขาพระวิหาร


ในราว พ.ศ. 1400 เรียกว่า สมัยลพบุรี พระพุทธศาสนานิกายมหายานหรือที่เรียกว่าอาจาริยวาทได้แพร่ขยายเข้าสู่เมืองลพบุรีทั้งนี้ได้ความจากศิลาจารึกที่ขุดได้ในเมืองลพบุรี


ในราวพ.ศ1700 เมืองวิมายปุระมีปราสาทหินพิมายเป็นศูนย์กลางเผยแพร่พุทธศาสนามหายานโดยมีตำนานท้าวพรหมทัตหรือชัยวรมันที7- น่าจะมีสายตระกูลมาจากชัยวรมันที2  และพระมเหสีเอก นางอรพิมท์หรือพระนางศรีชัยราชเทวี -น่าจะเป็นสายตระ    กูลพิมาย (น่าแปลกทีเมืองพิมายเป็นศูนย์กลางพุทธมหายานแทนทีจะเป็นลพบุรีอาจจะเป็นเนื่องจากราชวงค์ขอมทีมีอิทธิพลขณะนั้นมีสายตระกูลหรือเป็นบ้านเกิดพระมเหสีเหมือนประวัติการสร้างทัชมาฮาลในอินเดียทีมีประวัติว่าสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้พระมเหสี)




        ย้อนประวัติศาสน์กลับไปในราว พ.ศ1500-1700 คติศาสนาความเชื่อของเขมรโบราณจากสมัยศิลปะพนมดามาจนถึงศิลปะแบบบาปวนนิยมบูชาลัทธิไศวะนิกายหรือลัทธิการบูชาพระศิวะมายาวนานจากอิทธิพลเริ่มแรกของอินเดียที่เข้ามาในพุทธศตวรรษที่ 10 ปราสาทในยุคสมัยนี้จึงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระศิวะเสียเป็นส่วนมากเลยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยของพระเจ้าสูรยวรมันที่2 จึงได้เริ่มฟื้นฟูลัทธิไวษณพขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่ กลายมาเป็นการสร้าง “บรมวิษณุโลก” God King หรือ "มหาปราสาทนครวัด"สุดอลังการนั่นเอง หลังจากสมัยนครวัดบ้านเมืองของเขมรพระนครหลวง เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากครับ ภายหลังจากสวรรคตของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณิทรวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ ในช่วงปลายรัชกาล พระองค์กลับมอบราชบัลลังก์แห่งพระนครหลวง ให้กับพระเจ้ายโศวรมันที่2ที่มิใช่ญาติพี่น้องโดยสายเลือดแต่อย่างใด

       วัชรยานตันตระมีส่วนผสมของฮินดูตันตระในรายละเอียดการบำเพ็ญภาวนาและท่องสวดมนตราเหล่ามานุษิพุทธะและโพธิสัตว์พุทธะ ล้วนมีอำนาจเหนือเทพเจ้าฮินดู เช่นพระโพธิสัตว์ไตรโลกยวิชัยต้องคอยกำหราบพระศิวะ พระหริหริวาหนะอยู่เหนือพระนารายณ์พระโพธิสัตว์มาริจี มีอำนาจขนาดสามารถทำลายล้างพระพรหมได้!!!
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้