ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ร้อยเรื่อง"ศรีชัยวรมัน"

[คัดลอกลิงก์]
แน่นมากๆครับ
เยี่ยม
33#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-26 08:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ปราสาทอังกอร์ธม หรือปราสาทนครธม เป็นมหาปราสาทขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในกลุ่มปราสาทของเมืองยโศธรปุระหรือเมืองพระนครหลวง สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชาอันเกรียงไกรในภูมิภาคสุวรรณภูมิ แห่งอาณาจักรกัมพุชเทศโบราณ หรือจะเรียกว่า เจนละ, เขมร, ขอม ก็ไม่แตกต่างกันนัก
.
.
       ในยุคเริ่มแรกของการค้นพบปราสาทกลางป่ารกชัฏ  ชาวตะวันตกได้จัดให้มหาปราสาทอังกอร์ธม เป็นปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาปราสาททั้งหลายของเมืองเขมร ก็ด้วยเพราะศิลปะการแกะสลักและรูปแบบการก่อสร้างที่ดูหยาบ ไม่ละเอียดลออ ต่างไปจากปราสาทในยุคหลังเช่นนครวัด ที่มีพัฒนาการลวดลายสวยงามในระดับคลาสลิคแล้ว (ตามความเข้าใจเดิม)
.
       จนเมื่อฝรั่งเศสได้เข้ามาครอบครองแหลมอินโดไชน่า และได้ตั้ง " สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ " ขึ้น เพื่อทำการศึกษาประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศในอาณานิคม จึงได้มีการศึกษาอย่างจริงจังและลำดับการคลี่คลายรูปแบบศิลปะจากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่ง ให้สอดรับกับเรื่องราวในจารึกต่าง ๆ ที่ค้นพบ
.
           
34#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-26 08:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ศิลปะบายนที่เคยเชื่อว่าเก่าแก่ที่สุด จึงหล่นมาอยู่ในยุคเกือบสุดท้าย !!!
.
.
ยุคก่อนเมืองพระนคร
ศิลปะแบบพนมดา (ตามชื่อกลุ่มโบราณสถาน) ในพุทธศตวรรษที่ 10 -11
ศิลปะแบบสมโปร์ไพรกุก (ตามชื่อกลุ่มโบราณสถาน) ในพุทธศตวรรษที่ 11 -12
ศิลปะแบบไพรกเมง (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 10 -11
ศิลปะแบบกำแพงพระ (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 12 – 13
สมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ
ศิลปะแบบกุเลน (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 13 – 14
สมัยเมืองพระนคร
ศิลปะแบบพระโค (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 14
ศิลปะแบบบาแค็ง (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 14
ศิลปะแบบเกาะแกร์ (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 14
ศิลปะแบบแปรรูป (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 14
ศิลปะแบบบันทายสรี (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 15
ศิลปะแบบคลังหรือเกลียง (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 15 - 16
ศิลปะแบบบาปวน (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 16
ศิลปะแบบนครวัด (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 16 – 17
ศิลปะแบบบายน (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 17 – 18
ศิลปะสมัยหลังบายน
.
        คติศาสนาความเชื่อของเขมรโบราณจากสมัยศิลปะพนมดามาจนถึงศิลปะแบบบาปวน นิยมบูชาลัทธิไศวะนิกายหรือลัทธิการบูชาพระศิวะมายาวนาน จากอิทธิพลเริ่มแรกของอินเดียที่เข้ามาในพุทธศตวรรษที่ 10  ปราสาทในยุคสมัยนี้จึงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระศิวะเสียเป็นส่วนมาก
.
        เลยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2  จึงได้เริ่มฟื้นฟูลัทธิไวษณพขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่ กลายมาเป็นการสร้าง “บรมวิษณุโลก” หรือ "มหาปราสาทนครวัด" สุดอลังการนั่นเอง
.
        หลังจากสมัยนครวัด บ้านเมืองของเขมรพระนครหลวง เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากครับ   ภายหลังจากสวรรคตของพระเจ้าสูรยวรมันที่  2 พระเจ้าธรณิทรวรมันที่ 2  ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ
.
        ในช่วงปลายรัชกาล พระองค์กลับมอบราชบัลลังก์แห่งพระนครหลวง ให้กับพระเจ้ายโศวรมันที่ 2 ที่มิใช่ญาติพี่น้องโดยสายเลือดแต่อย่างใด โดยที่เจ้าชายหนุ่มขุนศึกวรมันผู้เป็นพระโอรสก็เห็นดีเห็นงามด้วย !!!!
.
        อาจเป็นเพราะความสนิทสนม หรือความเป็น "พี่น้องร่วมสาบาน" ในรุ่นราวคราวเคียงกัน และพระเจ้าธรณิทรวรมันก็คงเห็นว่า เพื่อนคนนี้มีความเหมาะสมกว่าลูกของตนซึ่งยังเยาว์ปัญญานัก ซึ่งก็น่าจะมีการตกลงถวายสัตย์กันไว้แล้วในระดับหนึ่งว่า จะให้พระโอรสหนุ่มของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อ
.
       แต่เหตุการณ์กลับมิใช่เป็นเช่นนั้น วันหนึ่งในขณะที่ขุนศึกหนุ่มวรมันกำลังทำสงครามกับอาณาจักรจามปาทางทิศตะวันออก ก็ได้รับข่าวร้ายว่าขุนนางเฒ่าผู้หนึ่งได้รวบรวมเหล่าขุนทหารก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจ สังหารพระเจ้ายโศวรมันที่ 2 และสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นกัตริย์พระนามว่า " พระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน "
.
       ขุนศึกวรมันในวัยหนุ่ม จึงรีบนำทัพกลับมาหมายแก้วิกฤตการณ์ปฏิวัติ แต่ทุกอย่างก็สายเกินแก้ พระองค์ไม่สามารถนำกองทัพเข้าเมืองได้ พระนครหลวงยโศธรปุระตกอยู่ในอิทธิพลของกษัตริย์องค์ใหม่เสียแล้ว พระองค์จึงจำต้องถอยทัพไปตั้งหลักที่แถบเมืองกำปงสวาย !!!
.
       ความอ่อนแอและความแตกแยกของชนชั้นปกครองแห่งยโศธรปุระเป็นมูลเหตุสำคัญที่นำไปสู่หายนะครั้งใหญ่ เมื่อกองทัพจามปาได้ยกไพร่พลเรือล่องเข้ามาตามทะเลสาบเขมรหรือ " โตนเลสาป " จากการนำทางโดยพ่อค้าชาวจีน ดอดเข้ามาตีเมืองพระนครตามเส้นทางแม่น้ำเสียมเรียบ โดยที่ชาวเจนละยังมิทันได้ตั้งตัว
.
       พระนครหลวงยโศธรปุระในวันนั้นกลายเป็นทะเลเพลิง ผู้คนล้มตายมากมาย อำนาจแห่งกษัตริย์สมมุติเทพในประวัติศาสตร์อันยาวนานสูญสลายไป !!!
.
       Gossip กันว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นี่เองแหละที่ได้ทรง ”ทำสัญญาลับ”ปล่อยให้ศัตรูของเจนละอย่างจามปา สามารถนำกองทัพเข้ามาโค่นล้มศัตรูที่พระองค์ชิงชัง ศัตรูที่บังอาจตั้งตนเป็นกษัตริย์เทวราชาในเมืองพระนคร !!!
.            
     ซึ่งก็ไปสอดรับกับการที่จามปาได้สถาปนากษัตริย์ขึ้นปกครองเมืองพระนครพระนามว่า " อินทรวรมันที่ 4 "  อยู่ยาวนานกว่า 10 ปี และกลับเปิดโอกาสให้ขุนศึกวรมัน ที่ควรเป็น "หอกข้างแคร่" ได้มีโอกาสซ่องสุมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ไว้โดยไม่ได้มีการปราบปรามหรือกวาดล้างให้สิ้นซากแต่อย่างใด
.
     การปล่อยปะละเลยในครั้งนี้  ชะรอยจะเป็นหลักฐานการ " ยืมมือศัตรู ฆ่าศัตรู " อย่างที่  " อู๋ซานกุ้ย "  แม่ทัพราชวงศ์หมิงแห่งด่านซังไห่กวาน เคยปล่อยให้กองทัพแมนจูรุกเข้าตีปักกิ่งเพื่อปราบโจรกบฏที่เข้ามายึดพระราชวัง และบังอาจมาทำร้ายนางอันเป็นที่รัก!!!
.
       แต่ครั้งนี้มันแตกต่างกัน เมื่อขุนศึกหนุ่มวรมัน ได้ทราบถึงความเดือดร้อนและความทารุณโหดร้ายที่ประชาชนชาวเจนละในเมืองพระนครได้รับ ภายใต้การปกครองของชาวจาม จึงทรงตัดสินใจนำกองทัพเข้าตีเมืองพระนครในช่วงเวลาอ่อนแอที่สุดของจามปา และทรงได้รับชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่เหนือสมรภูมิทางน้ำที่ปราสาทพระขรรค์
.
      ในยามนี้พระองค์ทรงรังเกียจระบอบเทวราชาของฮินดูเสียแล้ว เพราะมันเปื้อนด้วยเลือด”พสกนิกร”ของพระองค์เอง !!!
.
      ระบอบการปกครองที่ทั้งศัตรูกบฏและพวกจามได้มาสวมรอยใช้ปกครองผู้คนในอาณาจักรที่ควรจะเป็นของพระองค์โดยชอบธรรม
.
     ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทลังกา มหายานและวัชรยานตันตระ จึงเป็นตัวเลือกใหม่ ตัวเลือกที่จะต้องเหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้ ที่สามารถแทนความหมายการแผ่พระราชอำนาจแห่งองค์กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่และไม่เคยพ่ายแพ้เช่นพระองค์
35#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-26 08:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
.
       กษัตริย์ต้องยิ่งใหญ่กว่าเทพเจ้าใด ๆ ในศาสนาฮินดูเดิม แต่เถรวาทและมหายาน ไม่อาจตอบสนองความต้องการของพระองค์ได้
.
       เมื่อ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ขึ้นครองแผ่นดิน พระองค์จึงได้เลือกพุทธศาสนานิกาย "วัชรยานตันตระ" ที่มีเรื่องราวของเหล่าพระโพธิสัตว์ผู้ทรงพลังอำนาจเหนือเหล่าเทพเจ้า มาใช้เป็นระบอบการปกครองใหม่ในพระราชอาณาจักรของพระองค์
.
       อาณาจักรใหม่ ที่ไม่เคยโดนช่วงชิงหรือเคยพ่ายแพ้แก่จามปา อาณาจักรแห่งพระโพธิสัตว์สูงสุด และพระองค์ก็คือพระโพธิสัตว์พระองค์นั้น!!!
.
     ด้วยปรัชญาของนิกายวัชรยานตันตระเปิดโอกาสให้คนธรรมดาสามารถบำเพ็ญบารมีขึ้นเป็นพระโพธิสัตว์สูงสุดเหนือพระศากยมุนีได้  ในขณะที่พระโพธิสัตว์ในลัทธิมหายานนั้นจะอยู่ใต้พระสมณโคดม ยิ่งเป็นศาสนาพุทธลัทธิเถรวาทลังกาแล้ว ไม่มีใครยิ่งใหญ่เท่าพระศากยมุนีเจ้าในโลกมนุษย์ได้อีกแล้ว
.
       วัชรยานตันตระมีส่วนผสมของฮินดูตันตระในรายละเอียดการบำเพ็ญภาวนาและท่องสวดมนตรา เหล่ามานุษิพุทธะและโพธิสัตว์พุทธะ ล้วนมีอำนาจเหนือเทพเจ้าฮินดู  เช่นพระโพธิสัตว์ไตรโลกยวิชัยต้องคอยกำหราบพระศิวะ  พระหริหริวาหนะอยู่เหนือพระนารายณ์ พระโพธิสัตว์มาริจี มีอำนาจขนาดสามารถทำลายล้างพระพรหมได้!!!
.
      เมื่อมองกลับมาที่ปราสาทหน้าบุคคล 4 ทิศ จำนวนกว่า 29 ยอด อันเป็นเอกลักษณ์ของอังกอร์ธม ที่มัคคุเทศก์ส่วนมากจะอธิบายกันว่า เป็นภาพ "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร" และเป็นเค้าพระพักตรของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
.
.
       พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สถาปนาพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าสูงสุดเหนือเหล่าพระโพธิสัตว์ และธยานิพุทธ ทั้ง 5 พระองค์ (หนึ่งในนั้นคือพระพุทธเจ้าในมหายานในนาม พระอมิตาภะ)   นั่นคือพระองค์ทรงเป็นดั่ง “พระมหาไวโรจนะ” หรือพระ ”อาทิพุทธ” พระพุทธเจ้าสูงสุดแห่งจักรวาลสากลนั่นเอง
.
       และใบหน้าของเหล่ารูปเคารพพระโพธิสัตว์วัชยานทุกองค์ก็คือใบหน้าของพระองค์เช่นกัน พระองค์จึงสถิตอยู่ทั่วทุกหนแห่ง!!!
.
.
      วัชรยานตันตระ ให้ความสำคัญกับพลังแห่งเพศหญิงที่เป็นพลังเบื้องหลังของบุรุษ เช่นเดียวกับฮินดูตันตระ  จึงเกิดรูปเคารพหญิงขึ้นมาแทนมโนภาพ " ติ้งต่าง "  หรือ " บุคคลาฐิษฐาน "  ในพิธีกรรมการสวดภาวนามนตรา  พลังหรือศักติของเพศหญิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ “พระนางปรัชญาปารมิตา”มโนคติในเรื่องของปัญญาอันเลิศล้ำ
.
ซึ่งนั่นก็หมายความว่า พลังแห่งหญิงเป็นเกื่อหนุนอำนาจแห่งเพศชายเสมอ !!!
.
      รูปเคารพของวัชรยาน ไม่ใช่รูปเคารพเพื่อการกราบไหว้บูชาครับ เป็นเพียงมโนภาพบุคคลาฐิษฐาน เพื่อการบรรลุสู่เป้าหมายพระธรรม  รูปเคารพแต่ละรูปจะทำหน้าที่แค่เป็นองค์ประกอบในการ " เพ่งมอง " สวดมนตรา การใช้ท่ามุทราและมณฑลบูชา ซึ่งเป็นวิถีศาสนกิจของวัชรยานตันตระ
.
      วัชรยานตันตระยังบัญญัติให้มีการใช้เวทย์มนตร์ เรียกว่า “ธารณี” ประจำหรือเฉพาะองค์พระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้าองค์ต่าง ๆ  ซึ่งมนตรานั้นจะเป็นภาษาลับที่เรียกว่า “ตันตระ” แตกต่างกันไปในแต่ละองค์
.
       ซึ่งในทางชั่วร้าย มนตราอาถรรพ์เวทย์ก็ถูกนำมาใช้เพื่อการ "สาปแช่ง" ดังปรากฏเป็นหลักฐานจารึกสาปแช่งข้าราชการที่คิดคดทรยศและศัตรู อยู่หลายแห่ง
.
      อีกทั้งยังมีการบัญญัติ “มุทรา” หรือการกรีดนิ้วแสดงท่ายกมือดุจปางของพระพุทธรูป ซึ่งมีมากกว่า 250 มุทรา เป็นการเครื่องหมายหรือท่วงท่าแห่งอำนาจลี้ลับ พระโพธิสัตว์องค์หนึ่งมีท่ามุทราผสมกันต่อเนื่องหลายมุทรา เป็นภาษาลับเฉพาะองค์ ท่ากรีดนิ้วมุทราที่สำคัญคือ สมาธิมุทรา อภัยมุทรา วิตรรกะมุทรา ฯลฯ
.
     นอกจากนี้ วัชรยานตันตระยังมีการบัญญัติ "มณฑลบูชา" หรือ "มนตรเวที " เพื่อการบูชาพระโพธิสัตว์องค์ใดองค์หนึ่ง มีกฎเกณฑ์แบบแผนของเครื่องบูชา การจัดบริเวณพิธี อุปกรณ์และ การใช้ " ยันต์มันดารา " (Mandala)
.
36#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-26 08:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
มหาปราสาทอังกอร์ "ธม" ก็คือมณฑลมันดารายักษ์ ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นมุดตอกมหึมาบนพื้นพิภพเพื่อจุดประสงค์ในการปกครองพระราชอาณาจักรของพระองค์ เฉกเช่นผู้ครอบครองจักรวาลสูงสุด ครับ !!!!
.
.
       ผังของปราสาท "ประธาน"  มีการสร้างเป็นอาคารรูปวงกลมเป็นครั้งแรกในศิลปะแบบเขมร ตามแบบมณฑลตันตระ เช่นเดียวกับที่ ปราสาทนาคพันที่มีปราสาทรูปวงกลมอยู่กลางมหาสมุทร รายล้อมด้วยสระสี่เหลี่ยมทั้ง 4 ทิศ
.
.
      มณฑลบูชาขนาดใหญ่นี้ สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการบูชา "พระมหาไวโรจนะ" โดยตรง ยอดปราสาทคือใบหน้าของพระองค์อันหมายถึงทรงเป็นพระมหาไวโรจนะผู้ยิ่งใหญ่เหนือเหล่าเทพเจ้าดั่งเดิม เหนือพระพุทธเจ้า มานุษิพุทธะและพระโพธิสัตว์ทั้งมวลในคติศาสนานั่นเอง
.
      ยันต์มันดาราขนาดใหญ่ของวัชรยานตันตระนอกจากที่นครธมแล้ว ยังมีอีกสถานที่หนึ่งที่มีการใช้คติปรัชญาของวัรยานตันตระในการสร้างยันต์ยักษ์ขนาดใหญ่ เพื่อประกาศอำนาจแห่งอาณาจักร
.
     นั่นคือมหามันดารา " บุโรพุทโธ " ในเกาะชวากลางของประเทศอินโดนิเชียครับ !!!
.
.  
    วัชรยานแบบชวา ในพุทธศตวรรษที่ 15 ดูจะคงแบบแผนดั่งเดิมตามบัญญัติและหลักคำสอนของวัชรยานตันตระจากนาลันทาหรือโอริสาในอินเดียมากกว่าวัชรยานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพุทธศตวรรษที่ 18
.
     ในขณะที่วัชรยานแบบของเขมร ซึ่งอยู่ในสมัยหลังกว่า มีการประยุกต์สร้างรูปโพธิสัตว์มีอำนาจเพิ่มเติมหลายองค์ เช่น พระโลเกศวรเปล่งรัศมี  นางปรัชญาปารมิตา พระวัชรสัตว์พุทธะ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระวัชรธร ฯลฯ แต่ในบุโรพุทโธของชวากลาง กลับนิยมสร้างพระเจดีย์บรรจุพระธยานิพุทธะและให้พระอาทิพุทธะอยู่ในฐานะพระพุทธเจ้าสูงสุดของมณฑลมันดารา แผนผังจักรวาลที่ชวาจึงคล้ายคลึงกับนิกายวัชรยานสายที่แพร่ไปทางธิเบตและเนปาลมากกว่าของกัมพูชา
.
     แผนผังมณฑลมันดาราของปราสาทนครธมมีแบบแผนมาจากการก่อสร้างปราสาทแบบฮินดูเพื่อบูชาเทพเจ้าในยุคก่อนหน้า จึงเกิดการผสมผสานการวางผังมณฑลของจักรวาลรูปผังสี่เหลี่ยมกับรูปวงกลมได้อย่างลงตัว
.
      หากจะบอกว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ศรัทธาในพุทธศาสนาลัทธิมหายานอย่างที่พูดกันบ่อยครั้ง ก็เห็นจะผิดจากความเป็นจริงไปมาก เพราะพระองค์นิยมในคติวัชรยานตันตระเพื่อนำมาใช้กำหราบลัทธิการปกครองแบบเทวราชเดิมที่พวกจามเอาไปใช้ในช่วงที่ยึดครองเมืองพระนครของพระองค์
.
      ปราสาทที่สร้างในสมัยของพระองค์จะมีก็แต่รูปในศิลปะเทพเจ้าฮินดูที่ถูกนำมาใช้ตกแต่งเป็นเทพชั้นรอง และเหล่าพระโพธิสัตว์รวมทั้งพระพุทธเจ้าพระอมิตาภะปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้วและปางนาคปรก  แต่ไม่เคยพบรูปสลักพระสงฆ์ในชีวิตประจำวันโกนศีรษะ ทั้งที่ก็มีรูปสลักแสดงชีวิตประจำวันของชาวเขมรอยู่ในระเบียงของปราสาทใด ๆ
37#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-26 08:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
.
     หรือพระสงฆ์ในอาณาจักรของพระองค์ก็คือเหล่าพราหมณ์ตันตระที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นผู้ทำพิธีไสยศาสตร์และเวทมนตร์ในพิธีกรรมเร้นลับของวัชรยานตันตระมากกว่าจะเป็นพระสงฆ์แบบที่เราเห็นในปัจจุบัน
.
      พระสงฆ์มีผมแบบพราหมณ์ ถือวัชระสามง่ามและกระดิ่ง !!!
.
      พิธีกรรมลี้ลับแห่งตันตระจะช่วยให้อำนาจของพระองค์บรรลุเป้าหมาย ในทางโลก คือได้ครอบครองพระราชอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ตลอดกาล
.
.     
      เมื่อสิ้นสมัยของพระองค์ คติศาสนาฮินดูก็กลับมามีอิทธิพลต่อราชสำนักเช่นเดิม เพราะพระมหาไวโรจนะได้ดับสูญไปพร้อมกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แล้ว
.
      แสดงให้เห็นว่าคติความเชื่ออันเป็นรากฐานของเมืองพระนครไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากลัทธิฮินดู ไศวะนิกายหรือไวษณพนิกายมาเป็นพุทธศาสนามหายานอย่างที่อธิบายกันในทางวิชาการ
.
       เพียงแต่ ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระองค์แค่นำเอาปรัชญาของวัชรยานตันตระมาใช้เป็น "ระบอบ" ในการปกครอง ในการสร้างพระราชอำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมเท่านั้น
.           
        ถึงแม้จะมีการทุบทำลายรูปเคารพที่เป็นพระมหาไวโรจนะหรือที่เรามองเป็นรูปสลักพระพุทธเจ้าปรากฏกระจายตัวไปทั่วในเขตเมืองพระนครธม แต่ก็มีลักษณะของการเลือกทุบทำลาย เพราะไม่ได้มีการทำลายพระโพธิสัตว์องค์อื่น ๆ
.
.
       นั่นก็แสดงให้เห็นว่า  การเลือกทุบทำลายรูปสลักพระพุทธเจ้าไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมีความขัดแย้งรุนแรงในคติความเชื่อศาสนา อย่างที่เคยเข้าใจกัน
.
      แต่เพราะกษัตริย์พระองค์ต่อมาที่เป็นพระราชโอรส คงต้องการแก้ไขหรือถอดมนตราอำนาจลี้ลับตันตระ และคงไม่อยากให้พระมหาไวโรจนะของพระราชบิดา มายิ่งใหญ่กว่าพระศิวะหรือพระวิษณุ อันเป็นระบอบการปกครอง
เทวราชรากฐานของพระราชอาณาจักรนั่นเอง !!!!   
.
      การสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าสูงสุดของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ส่งผลมาถึงศิลปวัฒนธรรมของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นั่นคือการรับเอาคติที่พระมหากษัตริย์สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้เข้ามาสู่คติพื้นฐานทางพุทธศาสนา
.
       แต่พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทลังกาหรือหินยานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไม่ยอมให้ใครยิ่งใหญ่ไปกว่าพระศากยมุนีเจ้าอีกแล้ว  ในสมัยต้นอยุธยา รัฐต่าง ๆ ในภูมิภาคสุวรรณภูมิจึงได้สร้างเรื่องพุทธประวัติตอนปราบ "ท้าวชมพูบดี" ขึ้นมาใหม่ เพื่อมารองรับรูปเคารพและคติพระทรงเครื่องกษัตริย์ของวัชรยานตันตระที่กระจายตัวอยู่ทั่วดินแดนที่เคยอยู่ในอิทธิพลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เดิม
.
.
        ถึงจะไม่ให้พระมหากษัตริย์ยิ่งใหญ่ไปกว่าพระพุทธเจ้าศากยมุนี แต่เถรวาทก็มี "กลบท" อันแยบยล ให้กษัตริย์สามารถเลี่ยงบาลีมา "เทียบเท่า" พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ในทางโลกได้ ในรูปแบบพระทรงเครื่องกษัตริย์ หรือพระพุทธจักรพรรดิราช !!!!

ที่มา..http://www.oknation.net/blog/print.php?id=92513
38#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-1 07:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ไปอีกซักกะทีดีมั้ยก๊าบเปิดพาสปอร์ทดูแล้วหมดต้นปีหน้า


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้