ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
~ หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล วัดป่าสันติกาวาส ~
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
... 11
/ 11 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: kit007
~ หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล วัดป่าสันติกาวาส ~
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
31
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-9 14:27
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
(ยืน)
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
(นั่งรถเข็น)
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
ณ วัดภูริทัตตวนาราม มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
๏ พรรษาที่ 10 พ.ศ. 2488
จำพรรษาที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
พรรษาที่ 10
ในพรรษานี้หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกับพระภิกษุสามเณรจำนวนหลายรูป โดยมีพระอาจารย์เพ็ง พุทฺธธมฺโม เป็นประธานสงฆ์ และมีครูบาอาจารย์ที่ได้จำพรรษาร่วมกัน ที่ยังดำรงอยู่ในพุทธศาสนา เป็นที่พึ่งของศิษยานุศิษย์ถึงปัจจุบันนี้คือ
พระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ และพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย
ในครั้งนั้นพระอาจารย์สมชายยังเป็นสามเณร หลวงปู่ยังเคยเป็นผู้สอนคำขานนาคให้ด้วยก่อนบวชเป็นสามเณร
ในพรรษานี้เป็นระยะสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังจะเลิกกัน กองทหารม้าจังหวัดร้อยเอ็ดได้ขอวัดป่าศรีไพรวัลย์เป็นที่หลบตั้งกองทหารม้า คณะสงฆ์ได้ยกศาลาให้พวกทหารเป็นที่พัก พระเณรอาศัยกุฏิเป็นที่ร่วมทำกิจสงฆ์ พวกทหารม้าอาศัยวัดอยู่จนตลอดออกพรรษา ในวัดมีแต่ขี้ม้าเต็มไปหมด เหม็นขี้ม้า พอพวกญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม พวกทหารม้าจึงได้ยกกองพลออกจากวัดไป
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
32
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-9 14:28
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย
เกิดความสังเวชในการทรมาน
หลวงปู่เล่าว่า ในขณะที่พวกทหารม้าอาศัยอยู่ในวัด ได้เห็นผู้บังคับบัญชาทรมานทหารที่ทำความผิดด้วยวิธีต่างๆ ทำให้เกิดความสังเวชสลดใจเป็นอย่างยิ่ง ในพรรษานี้หลวงปู่ได้ประกอบความเพียรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พูดน้อยไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ซึ่งเป็นนิสัยประจำองค์หลวงปู่ เมื่อออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์สุวัจน์และสามเณรสมชายได้เที่ยววิเวกไปทางสกลนคร เพื่อรับการอบรมจากท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต สำหรับหลวงปู่ได้เที่ยววิเวกอยุ่แถวจังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ แล้วก็กลับมาวัดป่าศรีไพรวัลย์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
33
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-9 14:28
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ พรรษาที่ 11 พ.ศ. 2489
จำพรรษาที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
พรรษาที่ 11
ในพรรษานี้ หลวงปู่ได้จำพรรษาร่วมกับพระภิกษุสามเณร โดยมีพระอาจารย์เพ็ง พุทฺธธมฺโม เป็นประธานสงฆ์ พระเณรต่างพากันตั้งสัจจะอธิษฐานประกอบความเพียร และอธิษฐานไม่พูดกัน ถ้ามีเหตุจำเป็นก็เวียนหนังสือถามกันเอง แต่ให้เหลือไว้คนหนึ่งสำหรับพูดเวลามีแขกคนมาวัดมีธุระจำเป็น
วันหนึ่งมีนายอำเภอขี่ม้าเข้ามาในวัด มาถามพระเณรองค์ไหนก็ไม่พูด นายอำเภอจึงพูดว่า “อะไรกัน พระเณรเป็นใบ้กันหมดทั้งวัด” เพราะนายอำเภอถามไม่ถูกองค์ที่ตั้งไว้ให้รับแขก ในสมัยนั้นการประกอบความเพียรเพื่อเอาชนะกิเลสภายในใจจำต้องทำด้วยวิธีต่างๆ
ตั้งใจไปโปรดญาติ
เมื่อออกพรรษาปี 2489 ฤดูเดือน 12 หลวงปู่คิดถึงญาติที่ได้จากกันไปอยู่บ้านไชยวาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นเวลาหลายปี ยังไม่เคยได้ไปเยี่ยมเยือนเลย หลวงปู่จึงคิดที่จะทำประโยชน์แก่ญาติ จึงออกเดินทางจากวัดป่าศรีไพรวัลย์ จังหวัดร้อยเอ็ด ไปขึ้นรถไฟที่สถานีกิ่งไผ่ (อำเภอบ้านไผ่) ไปลงที่สถานีรถไฟห้วยสามพาต อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี พอลงจากรถไฟเป็นเวลาใกล้มืด สะพายบาตรแบกกลด เดินผ่านบ้านห้วยสามพาต เลยออกไปทุ่งนา อาศัยโคนต้นไม้แสบงใหญ่มีรากเป็นที่พึ่ง เป็นที่พักจำวัด
บ้าบัตรเบอร์
ในสมัยนั้นคนเป็นบ้าหวยกันเพราะเจ็ดวันหวยออกครั้งหนึ่ง ชาวบ้านห้วยสามพาต เมื่อเห็นพระกัมมัฏฐานเดินผ่านบ้านไปตามทุ่งนา พอเวลาค่ำมืดก็พากันจุดไต้ตามออกไปหา เพื่อจะได้ขอหวยบ้าง หลวงปู่เล่าว่า “เราก็นั่งอยู่โคนต้นไม้ เขาก็เดินค้นหาผ่านไปผ่านมาใกล้ๆ แต่เขาไม่เห็น ได้ยินเสียงเขาพูดกันว่า “เห็นท่านออกมาหยุดอยู่บริเวณนี้แหละ ทำไมไม่เห็นไม่พบ” เราก็นั่งนิ่งเงียบเพราะกลัวเขาจะเห็นเรา เมื่อเขาค้นหาเหนื่อยแล้ว ไม่พบ เขาก็กลับเข้าบ้านไป เราก็อาศัยพิงรากไม้นั้นแหละเป็นที่จำวัด ในคืนนั้นฝนก็ตกพรำๆ ตลอดคืน
พอตอนเช้าเข้าบิณฑบาตตามสมณวิสัย ในหมู่บ้านห้วยสามพาต พอบิณฑบาตแล้วจะกลับออกไปฉันที่ทุ่ง มีโยมคนหนึ่งให้ขึ้นไปฉันบนบ้านเขา เพราะตอนเช้าฝนก็ยังตกพรำๆ อยู่ไม่หยุด เมื่อฉันเสร็จแล้วจะลาโยมเจ้าของบ้านและเพื่อนบ้านที่มาร่วมถวายอาหารบิณฑบาตด้วย เขาขอตัวดีจากเราว่า “อาจารย์ไม่มีตัวดีหรือ” บอกเขาว่า “มี...ตัวดีคือตัวเรา เราทำดีก็เป็นตัวดี เราทำไม่ดีก็เป็นตัวร้าย”
เมื่อบอกตัวดีให้เขาแล้วก็ออกเดินทางจากบ้านห้วยสามพาต ผ่านบ้านโพนทอง พังซ้อนงาวัว เดินทั้งวัน ถึงบ้านหนองแวงแก้มหอม ผ่านไปถึงบ้านหนองตูม ขณะนั้นมีบ้านอยู่ 4-5 หลังคาเรือน ผ่านบ้านหนองตูมเข้าบ้านไชยวาน คุ้มหนองยาง เป็นเวลามืดผึมผำ (มืดสลัว) เจอบ้านคนมีคนอยู่ใต้ถุนบ้าน พอจะถาม เขาก็วิ่งขึ้นบ้านไป จึงเดินผ่านเข้าไปกลางหมู่บ้านถามถึงญาติ คือพี่ชายชื่อคำสิงห์ เขาก็บอกว่าสิงห์มีหลายสิงห์ สิงห์ก่าก็มี สิงห์กระดูกม้าก็มี สิงห์โกโลก็มี สิงห์เพ็งก็มี เราก็ไม่รู้ว่า สิงห์อะไรเป็นพี่ชายของเรา จึงถามถึงคุณพ่อสอน เขาก็ไม่รู้อีกเลยไม่ได้หน้าได้หลัง
หลวงปู่จึงเดินเลยหมู่บ้านออกไปริมทุ่ง พอดีมีโพนมะขามใหญ่อยู่โพนหนึ่ง ซึ่งอยู่ทิศตะวันออกของบ้านไชยวาน และอยู่ใกล้กับตึกใหญ่ (ตึกหมายถึงร้านค้าใหญ่) ของนายฮ้อยนิล มั่งมีศรี หลวงปู่จึงปักกลดจำวัดที่โพนมะขามใหญ่นั้น (โพน หมายถึงจอมปลวกใหญ่) พอถึงเวลาดึกน้ำค้างลงทำให้มีกลิ่นเหม็นพิกล พอสว่างเป็นวันใหม่จึงรู้ว่าที่นั้นมันเป็นส้วมปล่อยตามอัธยาศัยของชาวบ้าน เมื่อสว่างได้เวลาพอบิณฑบาตแล้ว หลวงปู่จึงสะพายบาตรพร้อมกับบริขารอย่างอื่นไปด้วย เดินบิณฑบาตจากตึกใหญ่เดินตามถนนมาจนถึงหน้าวัดท่าบ่อวารีรินทร์ จึงพบพวกญาติพี่น้องที่อพยพมาจากอำเภอพนมไพร มาตั้งบ้านเรือนอยู่คุ้มวัดท่าบ่อวารีรินทร์ปัจจุบันนี้
นายคำสิงห์ผู้เป็นพี่ชายจึงนิมนต์ฉันอาหารเช้าที่บ้าน ได้มีพวกญาติๆ มาร่วมถวายอาหารบิณฑบาตด้วย เมื่อฉันเสร็จแล้วญาติโยมจึงนิมนต์ให้ไปพักที่อาคารโรงเรียนบ้านไชยวาน ขณะนั้นเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ ยังไม่ได้เปิดเรียน พักที่อาคารโรงเรียน 1 คืน จึงย้ายไปพักที่ร่มไม้หว้าชมภู สวนนายสุจินต์ คำใสย์ อบรมศีลธรรมแก่ญาติพี่น้องและญาติโยมชาวบ้านไชยวาน ให้ยึดเอาพระไตรสรณคมน์และศีลห้าเป็นที่พึ่งและเป็นข้อปฏิบัติ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
34
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-9 14:29
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ความไม่เคยเห็นเคยรู้ทำให้เข้าใจผิดได้
ขณะที่หลวงปู่พักอยู่รุกขมูลร่มไม้หว้าชมภู เพื่ออบรมศีลธรรมแก่ญาติพี่น้องอยู่นั้น วันหนึ่งได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งท่านอยู่วัดในบ้านได้ออกมาพูดคุยกับหลวงปู่ คุยไปคุยมาท่านมองเห็นบั้งถาน (กระบอกสำหรับใส่น้ำชำระก้นเวลาถ่ายเสร็จ) และฟอยสับปะรด (เป็นของสำหรับเช็ดน้ำที่ล้างก้นให้แห้ง) ท่านจึงถามหลวงปู่ว่า “นี้อะไร” พร้อมกับยื่นมือไปจับมาดู
หลวงปู่ตอบว่า “บั้งถาน” พระท่านจึงพูดว่า “เอ้า ไปถานก็พอจะหิวน้ำด้วยหรือ” พร้อมกับจับบั้งถานยกขึ้นทำท่าเทน้ำใส่ปากตัวเองด้วย แล้วพระนั้นท่านก็หยิบเอาฟอยสับประรดที่ทำด้วยเส้นฝ้ายนิ่มๆ นั้นขึ้นมาถูที่จมูกของท่าน ถูไปถูมาพร้อมกับพูดว่า “แหม นิ่มดีเนาะ” หลวงปู่ได้แต่ยิ้มๆ และนึกอยู่ในใจว่า “คนเราไม่เคยเห็นไม่เคยรู้ว่าเขาทำสำหรับอะไร ก็ทำให้เข้าใจผิดได้”
คุณพ่อสอน คำใสย์ ติดตามออกบวช
หลวงปู่พักอบรมศีลธรรมแก่ญาติพี่น้อง และชักชวนพี่ชายให้ออกบวชด้วย แต่พี่ชายยังไม่ตกลง ท่านพักอยู่ไม่นาน จึงได้ลาญาติพี่น้องกลับไปจังหวัดร้อยเอ็ด ได้มีคุณพ่อสอน คำใสย์ สละครอบครัวติดตามหลวงปู่ไปบวชด้วย หลวงปู่พาคุณพ่อสอนเดินด้วยเท้า ออกจากบ้านไชยวาน ผ่านดงหลุบหวาย บ้านหนองกุงทับม้า (ปัจจุบันเป็นเขตอำเภอวังสามหมอ) มุ่งหน้าผ่านบ้านหนองลุมพุก พักรอนแรมไปเรื่อยๆ เข้าเขตอำเภอโนนศิลา (ปัจจุบันเป็นอำเภอสหัสสขันธ์) ผ่านกาฬสินธุ์ กมลาไสย ถึงวัดป่าศรีไพรวัลย์ จังหวัดร้อยเอ็ด แล้วจึงให้คุณพ่อสอนบวชเป็นตาผ้าขาว ถือศีล 8 ฝึกหัดข้อวัตรปฏิบัติให้ชำนิชำนาญก่อน
ร่วมสร้างสาธารณประโยชน์
ในระยนี้พระอาจารย์เพ็ง พุทฺธธมฺโม ได้พาสร้างโรงเรียนประชาบาลให้บ้านนาสร้าง โรงเรียนนี้สร้างอยู่ติดกับวัดป่าศรีไพรวัลย์ ทั้งพระทั้งเณรและชาวบ้านได้ช่วยกันเลื่อยไม้ทำอาคารเรียน การสร้างโรงเรียนยังไม่เสร็จ พระอาจารย์เพ็งได้ลาสิกขาบทออกไปเป็นฆราวาส (ภายหลังท่านกลับมาบวชอีก ต่อมาท่านได้อยู่ที่วัดเทิงเสาหิน ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) หน้าที่เจ้าอาวาสวัดป่าศรีไพรวัลย์จึงตกเป็นภาระของหลวงปู่ และการสร้างโรงเรียนที่ยังไม่เสร็จเรียบร้อยก็ตกเป็นภาระของหลวงปู่ด้วย ซึ่งท่านก็ดำเนินการต่อไปจนเสร็จเรียบร้อยทุกประการ
เห็นโทษในการเกี่ยวข้องกับเรื่องทางโลก
เมื่อสร้างโรงเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่จึงทำหนังสือขอครูใหญ่มาประจำโรงเรียน โดยขอครูคนที่ได้ร่วมสร้างโรงเรียนด้วยมาเป็นครูใหญ่ แต่มีอีกคนหนึ่งที่อยากมาเป็นครูใหญ่ เวลาทำงานสร้างโรงเรียนไม่ได้เอาใจใส่ เวลาอยากเป็นใหญ่ มีหน้ามียศ กุลีกุจอวิ่งหน้าวิ่งหลังติดต่อผู้หลักผู้ใหญ่ จนกระทบกระเทือนมาถึงหลวงปู่ด้วย จึงเป็นเหตุให้ท่านเอือมระอาในการที่จะคลุกคลีเกี่ยวข้องกับเรื่องทางโลก ทำให้ท่านเห็นโทษอย่างยิ่ง ในที่สุดหลวงปู่จึงชี้ขาดให้ผู้ที่ได้ร่วมทำงานด้วยมาเป็นครูใหญ่ประจำโรงเรียนบ้านนาสร้าง จึงเสร็จสิ้นภาระหน้าที่ในการสร้างโรงเรียน
๏ พรรษาที่ 12 พ.ศ. 2490
จำพรรษาที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
พรรษาที่ 12
ในพรรษานี้ หลวงปู่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าศรีไพรวัลย์ และเป็นประธานสงฆ์ และมีหลวงพ่อศิลาซึ่งเป็นคู่นาคกันกับหลวงปู่อยู่เป็นผู้ช่วยหลวงปู่ด้วย หลวงปู่ได้นำพาพระภิกษุสามเณรประกอบความพากความเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา และได้อบรมญาติโยมที่มาเกี่ยวข้องให้ตั้งอยู่ในศีลห้าและพระไตรสรณคมน์สาม คือให้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งที่เคารพ ด้วยการปฏิบัติตามหลักแห่งศีลธรรม
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
35
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-9 14:30
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อำนาจพระรัตนตรัยทำให้เดรัจฉานวิชาจืดจาง
หลวงปู่ท่านเป็นผู้มีเมตตาประจำนิสัย เมื่อมีผู้ได้รับทุกข์มาพึ่งพาอาศัย ท่านจะสงเคราะห์ตามแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งไม่เหลือวิสัยและไม่ผิดต่อหลักธรรมวินัย วันหนึ่งในระยะเข้าพรรษาใหม่ๆ ได้มีโยมผู้ชายคนหนึ่งเป็นคนทางสุรินทร์ ตามองไม่เห็น ให้ญาติจูงมาวัด แล้วเล่าเรื่องความเป็นมาให้หลวงปู่ฟังว่า แต่ก่อนตาเขามองเห็น เขาเล่นวิชาเอาเข็มเข้าในตัวร้อยเล่ม เพื่อให้อยู่ยงคงกระพันชาตรี ครั้นอยู่ต่อมาทำให้ตาเขามองไม่เห็นหน เขาไม่มีที่พึ่งจึงมาขอพึ่งบารมีหลวงปู่
หลวงปู่ได้ให้สมาทานศีลห้ารับพระไตรสรณคมน์ ให้ตั้งใจไหว้พระสวดมนต์ภาวนาก่อนนอนและหลังตื่นนอนทุกวันเป็นประจำ เขาปฏิบัติตามอยู่มาไม่ถึงครึ่งพรรษา เข็มที่อยู่ในตัวก็หลุดออกมา ตกอยู่ตามที่นอน ตาก็มองเห็นหน มาวัดไม่ต้องจูง เดินมาเองได้ คลำดูในตัวยังมีเข็มเหลืออยู่ 3 เล่ม ต่อมาก็หลุดออกหายไปหมด หลวงปู่ท่านว่าวิชามันกินเจ้าของ เมื่อมาปฏิบัติตามศาสนธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว สิ่งเหล่านั้นมันจืดจางไปเอง
วิญญาณมีจริงหรือไม่
หลวงปู่เล่าว่า มีเด็กนักเรียนผู้ชายคนหนึ่งมาขออาศัยอยู่วัดด้วย เวลาเรียนก็ไปโรงเรียนในจังหวัดร้อยเอ็ด วันหนึ่งพอเลิกเรียนจะกลับวัด ความดื้อของเธอทำให้ไม่กลัวอะไร พอเดินผ่านหลักเมือง แกก็ไปปัสสาวะใส่หลักเมืองของเขา พอกลับถึงวัดก็มีอาการเหมือนเป็นบ้า พระเณรช่วยกันจับคุมตัวไว้ที่ศาลา ในวันนั้นหลวงปู่มีธุระเข้าไปในเมืองร้อยเอ็ด กลับออกมาเห็นพระเณรจับเด็กนักเรียนไว้ พระจึงบอกเด็กนักเรียนว่า “นั้นอาจารย์มาแล้ว มึงไม่กลัวหรือ”
เด็กพูดว่า “อาจารย์ กูก็ไม่กลัว” หลวงปู่เข้าไปในห้องที่พักได้ไม้เรียวออกมา ถามว่า “ใครไม่กลัวอาจารย์” เด็กตอบว่า “กูนี้แหละ” หลวงปู่ฟาดไม้เรียวลงไปที่เด็ก 3 ที เด็กร้องว่า "ยอมแล้ว ยอมแล้ว” พร้อมกับปัสสาวะราดออกจึงหายเป็นปรกติ แล้วแกจึงถามว่า “ผมเป็นอะไรไม่รู้สึกตัวเลยเมื่อกี้นี้”
หลวงปู่สอนว่า เราไม่เคารพไม่นับถือก็อย่าไปเหยียดหยามของเขา ความคึกคะนอง ความไม่มีสติปัญญารอบคอบ ความโลเล ย่อมทำให้ขาดสมบัติของผู้ดี
เอาใจใส่ในการดูแลปรนนิบัติครูอาจารย์อาพาธ
หลวงปู่เล่าว่า ในพรรษาปี พ.ศ. 2490 นี้ ท่านต้องจำสัตตาหกิจไปปรนนิบัติท่านพระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม ที่วัดป่าพูนไพบูลย์ (ปัจจุบันเป็นวัดประชาบำรุง) ที่เมืองมหาสารคาม เพราะท่านพระอาจารย์คูณได้อาพาธออดๆ แอดๆ อยู่เรื่อย หลวงปู่จึงต้องไปๆ มาๆ ระหว่างร้อยเอ็ดกับมหาสารคามจนออกพรรษา
ให้คุณพ่อสอนบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา
เมื่อออกพรรษาแล้ว ลุถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2490 หลวงปู่จึงได้นำตาผ้าขาวสอนที่ฝึกหัดข้อวัตรปฏิบัติและคำขานนาคได้ถูกต้องตามอักขรฐานกรณ์แล้ว ไปบวชที่วัดเหนือ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2490 เวลา 15.00 น. โดยมี
พระครูศิริธรรมธาดา
เป็นพระอุปัชฌาย์,
พระสมุห์บุญยอด
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ
พระใบฎีกาหยาด
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า
“สงฺจิตฺโจ”
เมื่อบวชเสร็จแล้วได้นำหลวงพ่อสอนกลับไปอยู่วัดป่าศรีไพรวัลย์ หลวงปู่ได้เอาธุระในการสั่งสอนศิษย์ผู้บวชใหม่ ให้ปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือศีล สมาธิ และปัญญา ไม่ให้ประมาท
พระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม อาพาธหนักและมรณภาพ
เมื่อเวลาล่วงถึงต้นปี พ.ศ. 2491
ท่านพระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม
วัดป่าพูนไพบูลย์ จังหวัดมหาสารคาม อาการอาพาธทรุดลง หลวงปู่จึงได้ไปปฏิบัติดูแลอยู่ประจำจนท่านมรณภาพละสังขารจากไป ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม มอบภาระในการดูแลเรื่องจัดการฌาปนกิจศพท่านพระอาจารย์คูณ ให้หลวงปู่เป็นผู้ดำเนินการหาวัสดุจัดทำเมรุที่เผาศพพระอาจารย์คูณ หลวงปู่ได้รับปฏิบัติตามที่ครูบาอาจารย์มอบหมายงานให้ จนการจัดงานฌาปนกิจศพของท่านพระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม ได้สำเร็จเสร็จสิ้นไปด้วยความเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่จึงได้กลับไปวัดป่าศรีไพรวัลย์
อยากให้พี่ชายพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร
เมื่อเสร็จจากงานฌาปนกิจศพท่านพระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม และกลับไปวัดป่าศรีไพรวัลย์แล้ว หลวงปู่ต้องการทำประโยชน์แก่ญาติ จึงเดินทางขึ้นไปบ้านไชยวาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เพื่อชักชวนเอาพี่ชายชื่อ
คำสิงห์
ออกบวชด้วยให้ได้
เมื่อมาถึงบ้านไชยวานเป็นฤดูเดือนเมษายน หลวงปู่ได้พักอยู่ป่าใกล้ป่าช้าบ้านไชยวาน ญาติโยมได้ทำกระต๊อบให้พอได้อาศัยบังแดดดบังลม และได้อบรมญาติโยมให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม ได้มีนักปราชญ์อาจารย์มาถามปัญหาธรรมอยู่ไม่ขาด เพราะในสมัยนั้น คนนิยมทดสอบลองภูมิความรู้เรื่องหลักธรรมกันมาก
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
36
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-9 14:31
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นักปราชญ์อาจารย์ถามปัญหาธรรม
วันหนึ่งได้มีโยมทิดขันตี มาถามปัญหาธรรม โยมทิดขันตีนี้แกเคยบวชเรียนหลายปีแล้วก็สึก และเคยเป็นหมอลำกลอน จึงมีความรู้มาก เมื่อโยมทิดขันตีเข้ามาหาทำความเคารพกราบไหว้แล้ว แกจึงพูดว่า “อาจารย์ ผมขอถามปัญหาธรรมกับอาจารย์ด้วย คำว่า วัดหก กกห้า พระเสมาทั้งแปด ได้แก่อะไร”
หลวงปู่ท่านเป็นผู้ถ่อมตนเป็นนิสัยประจำองค์อยู่แล้ว ท่านจึงพูดว่า “อาตมาเป็นพระอยู่ตามป่า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนอะไรมาก ความรู้ก็มีน้อย จะขอตอบไปตามความรู้ของตนเอง คำว่าวัดหกนั้น วัดได้แก่ วัตรปฏิบัติ หกนั้นได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราปฏิบัติวัดตา วัดหู วัดจมูก วัดลิ้น วัดกาย วัดใจ วัดให้อยู่ในความพอดี เมื่อตาเห็นรูป หูได้เสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส การถูกต้องสัมผัส ใจนึกคิดอารมณ์ ให้มีสติรอบคอบอยู่ในอายตนะทั้ง 6 นี้ เมื่อเวลามันกระจายกัน ไม่ปล่อยจิตใจให้ไหลไปตามปรุงแต่ง ไปตามสิ่งที่สัมผัสนั้นๆ เรียกว่า วัดหก
กกห้านั้น กก หมายถึง ต้นถึงโคน ต้นของธรรมได้แก่ พละ 5 คือ ศรัทธา ความเชื่อ วิริยะ ความเพียร สติ ความระลึกชอบ สมาธิ ความตั้งใจไว้มั่นคง ปัญญา ความรอบรู้ในสภาวะความเป็นจริง นี้คือต้นของธรรม ต้นของคนคือ แขนสอง ขาสอง หัวหนึ่ง รวมเป็นห้า ปฏิบัติห้าอย่างนี้ให้แก่กล้า รักษาแขนสอง ขาสอง หัวหนึ่งนี้ไม่ให้ผิดศีลธรรมนี้เรียกว่ากกห้าเจริญสมบูรณ์
พระเสมาทั้งแปด เสมา หมายถึง หลักขอบเขต ขอบเขตแห่งทางเดิน 8 อย่าง ได้แก่ มรรคปฏิปทา คือข้อปฏิบัติไปสู่ความพ้นทุกข์ 8 ประการ ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ คือปัญญาอันเห็นชอบ เห็นความเกิดแก่เจ็บตาย เห็นกายเห็นจิตไม่ใช่ตัวตน เกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป เป็นทุกข์ นี้เรียกว่าเห็นชอบ
สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ คือ ดำริที่จะออกจากกองทุกข์ คือความคิดอยู่ในกามคุณห้า ยินดีพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในการถูกต้องสัมผัส สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ดำริหาทางออกจากสิ่งเหล่านี้ไป
สัมมาวาจา วาจาไม่เป็นพิษเป็นภัย เรียกว่าวาจาชอบ
สัมมากัมมันโต การงานที่ทำเป็นการงานชอบ เป็นการงานที่จะออกจากทุกข์
สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ ไม่เบียดเบียนคนอื่น สัตว์อื่น มาเลี้ยงชีวิตตน
สัมมาวายาโม เพียรละสิ่งที่ไม่ดี เพียรทำสิ่งที่ดี
สัมมาสติ ระลึกชอบ ระลึกในกายในจิตของตนเอง
สัมมาสมาธิ ความตั้งใจไว้ชอบ ตั้งใจไว้มั่นคงในทางจะหาความพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร ความเวียนว่ายในการเกิดแก่เจ็บตาย
ที่อธิบายมานี้รวมเรียกว่า วัดหก กกห้า พระเสมาทั้งแปด”
เมื่อโยมทิดขันตีได้ฟังอธิบายปัญหาจบแล้วก็กราบลาจากไป
ได้พี่ชายออกบวชดังความตั้งใจ
หลวงปู่พักอบรมญาติพี่น้องและพี่ชายอยู่ไม่นาน พี่ชายชื่อคำสิงห์ ได้ตกลงสละครอบครัวออกบวชด้วย หลวงปู่จึงพาพี่ชายเดินทางด้วยเท้าออกจากบ้านไชยวาน กลับไปวัดป่าศรีไพรวัลย์ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อกลับถึงวัดป่าศรีไพรวัลย์ ได้จัดแจงให้พี่ชายบวชเป็นตาผ้าขาวถือศีล 8 ฝึกหัดข้อวัตรปฏิบัติและคำขานนาคให้ถูกตามมคธภาษา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
37
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-9 14:31
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผีหลอก
วัดป่าศรีไพรวัลย์เป็นวัดตั้งอยู่ในป่าช้า เวลาคนตายเขาก็เอามาฝังมาเผาตามข้างกุฏิ หลวงปู่ให้ผ้าขาวคำสิงห์ผู้เป็นพี่ชายพักอย่กุฏิเดียวกันกับหลวงพ่อสอน อยู่คนละห้อง วันหนึ่งเขาเอาคนตายมาเผาที่หน้ากุฏิ ผ้าขาวคำสิงห์ไปอยู่ใหม่ๆ ยังกลัวผีหลอก พอค่ำมืดลง แสงไฟเผาศพที่หน้ากุฏิแดงโร่อยู่ ผ้าขาวคำสิงห์เข้าในห้องปิดประตูลงกลอนอย่างดีเพราะกลัวผี ใจก็นึกผีหลอกอย่างนั้นผีหลอกอย่างนี้ คือหลอกตัวเองอยู่ในห้อง นอนก็ไม่ค่อยหลับ พอตกดึก พระธรรมบันดาลให้ปวดท้องหนักขึ้นมา จะทำอย่างไรใจก็กลัวผี ปวดท้องก็ทนไว้ ทนไปก็ปวดหนักขึ้นเรื่อยๆ ใจก็กลัวผี แต่ท้องมันไม่กลัวด้วย มีแต่จะออกอย่างเดียว
สุดท้ายเปิดประตูห้องออกมามองไปที่เผาศพ ไฟก็ยังแดงอยู่ไม่กล้าลงกุฏิ เรียกหลวงปู่สอน “คุณปู่ คุณปู่ พาผมไปถ่ายด้วย” หลวงปู่สอนตอบว่า “เดี๋ยว มวนบุหรี่ก่อน” ผ้าขาวคำสิงห์ก็ทนบิดหน้าบิดหลัง เรียก “คุณปู่ คุณปู่” หลวงปู่สอนก็ตอบว่า “เดี๋ยวจุดบุหรี่ก่อน” สุดท้ายทนไม่ไหวเพราะของอยู่ในท้องไม่กลัวผี ผ้าขาวคำสิงห์จึงกระโดดลงไปพร้อมกับถ่ายออกตรงนั้นเลย ผีไม่รู้ไปไหนหมด
หลวงปู่เล่าว่า อีกครั้งหนึ่งมีหลวงพ่ออิสสโร เป็นคนกลัวผี ตกกลางคืนเขียดตะปาดกระโดดลงจับขันในตุ่มน้ำสำหรับล้างเท้าที่บันไดกุฏิ ขันก็ลอยกระทบปากตุ่มดังป๋องแป๋งๆ หลวงพ่ออิสสโรกลัวไม่กล้าออกจากกุฏิ พอตอนเช้าลงรวมที่ศาลา หลวงพ่ออิสสโรกราบเรียนหลวงปู่ตาชี้ตาชันว่า “เมื่อคืนนี้ผีหลอกผมทั้งคืน ไม่ได้นอนเลย”
หลวงปู่ถามว่า “ผีมันทำอย่างไร” หลวงพ่ออิสสโรตอบว่า “มันเล่นขันที่ตุ่มน้ำดังป๋องแป๋งๆ ทั้งคืน” หลวงปู่จึงบอกว่า “ไม่ใช่ผีดอก เขียดตะปาดมันลงเล่นน้ำ ป๋องแป๋งๆ" หลวงพ่ออิสสโรไม่ยอมเชื่อ บอกว่า “ผีจริงๆ แหละท่านอาจารย์” หลวงปู่จึงบอกว่า “ถ้าอย่างนั้น คืนนี้เมื่อได้ยินเสียงให้ลงไปดูนะ” พอตกกลางคืนมีเสียงดังป๋องแป๋งๆ อีก หลวงพ่ออิสสโรก็กลัวอีกแต่ก็ทนกัดฟันลงไปดู เห็นตะปาดจับอยู่ปากขันตักน้ำ หลวงพ่ออิสสโรร้อง “โอ้ย กูกลัวแทบตาย”
พอตอนเช้าลงศาลาอีก หลวงปู่ถามว่า “เป็นอย่างไรหลวงพ่อ ผีหลอกอีกไหม” หลวงพ่ออิสสโรกราบเรียนว่า “โอ้ย เขียดตะปาดจริงๆ ท่านอาจารย์” หลวงปู่จึงพูดว่า
“หลวงพ่อผีบ้ากลัวเขียดตะปาด ใจของเราเป็นผีหลอกตัวเอง ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติไม่กลัว ไปกลัวแต่ผีอย่างอื่น”
หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล และหลวงปู่คำสิงห์ สุจิตฺโต พระพี่ชายของท่าน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
38
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-9 14:32
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ พรรษาที่ 13 พ.ศ. 2491 จำพรรษาที่วัดป่าศรีไพรวัลย์
อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด เป็นปีสุดท้าย
พรรษาที่ 13
ปี พ.ศ. 2491 เมื่อถึงฤดูกาลจำพรรษา หลวงปู่ได้จำพรรษาที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ จังหวัดร้อยเอ็ด หลวงปู่เป็นประธานสงฆ์ ได้ทำหน้าที่อบรมพระภิกษุสามเณรและนำพาปฏิบัติในธุดงควัตร สมาทานเนสัชชิกังคธุดงค์ ถือไม่นอนในวันธรรมสวนะ คือวันพระ 8 ค่ำ 14 ค่ำ 15 ค่ำ อยู่ในอิริยาบถ 3 คือ ยืน เดิน นั่ง ตั้งใจปฏิบัติจิตตภาวนา เอาชนะความอยากมีสุขในการนอน หลวงปู่ทำหน้าที่ในการอบรมญาติโยมที่มาเกี่ยวข้อง ให้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ 3 และศีลห้า ให้รักษาอุโบสถศีล ถือศีล 8 ในวันพระ 8 ค่ำ 15 ค่ำ
อธิษฐานฉันเจเพื่อการศึกษา
ในไตรมาส 3 เดือน หลวงปู่ได้อธิษฐานฉันอาหารเฉพาะของที่ไม่ประกอบด้วยเลือดเนื้อสัตว์ ที่เรียกกันว่าฉันเจ หลวงปู่เล่าว่าเจของท่านเป็นเจจริงๆ คือ ฉันแต่ข้าวกับเกลือกับพริก บางวันก็มีกล้วยบ้าง มีอยู่วันหนึ่งคุณนายอนงค์ เป็นชาวจันทบุรีมาอยู่ร้อยเอ็ด ถวายตัวเป็นศิษย์อุปัฏฐาก ได้ทำถั่วเหลืองทอดน้ำมันมะพร้าวให้เด็กนำมาถวาย หลวงปู่เข้าใจว่าเป็นไข่จึงไม่ฉัน
วันหลังคุณนายอนงค์จึงมาถามว่า “ดิฉันทำอาหารเจให้เด็กนำมาถวาย ท่านอาจารย์ฉันหรือไม่” หลวงปู่ตอบว่า “อาตมาไม่ฉัน เข้าใจว่าเป็นไข่” คุณนายอนงค์กราบเรียนว่า “ไม่ใช่ เป็นถั่วเหลือง”
หลวงปู่เล่าว่า ฉันเจอยู่ 3 เดือน ตัวเหลืองหมดแต่ก็ทำให้เบาสบาย “การทำก็ทำเพื่อการศึกษาจะได้เข้าใจในเรื่องธาตุขันธ์เท่านั้น ไม่ได้ทำเพื่ออย่างอื่น เพราะเรื่องฉันเจนี้ในครั้งพุทธกาล พระเทวทัตได้ขอให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติห้ามไม่ให้ภิกษุฉันเนื้อฉันปลา ให้ฉันเจ แต่พระองค์ไม่ทรงทำตามคำขอนั้น ทรงตรัสว่าการเลี้ยงชีพของสมณะเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย เขามีอย่างไรเขาให้อย่างไรซึ่งเป็นสิ่งไม่ผิดต่อพระธรรมวินัย ก็ควรฉันอย่างนั้น เพราะการกินการฉันก็เพียงให้มีชีวิตเป็นอยู่ไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น ถ้าฉันเจสบายก็ฉันไปตามมีตามได้ ถ้าไม่สบายเราก็ฉันเนื้อฉันปลาตามมีตามได้ เราไม่เห็น เราไม่รู้ว่าเขาจะฆ่ามาเพื่อเราก็เป็นสิ่งที่ควร ถ้าเราเห็นเ รารู้ว่าเขาจะฆ่ามาเพื่อเราก็เป็นของไม่ควร ทำอะไรให้ประกอบด้วยสติปัญญาใคร่ครวญถึงเหตุถึงผล จึงจะไม่เสียกาล”
ระงับพิษตะขาบด้วยธรรมโอสถ
วันหนึ่งท่านให้เด็กโกยดินกองไฟเก่า พอดีจอบสับหัวตะขาบขาดออกมาจากตัว มองไม่เห็นผสมอยู่กับดิน หลวงปู่เดินดูความเรียบร้อยเดินไปเดินมา เท้าไม่สวมรองเท้า จึงไปเหยียบหัวตะขาบ หัวตะขาบยังไม่ตายก็กัดที่ฝ่าเท้าหลวงปู่ พิษตะขาบก็กำเริบขึ้นปวดร้อนเหมือนกับเหยียบถ่านเพลิง ไม่มีหยูกยาอะไรใส่ เวลาสรงน้ำถูกน้ำยิ่งเพิ่มความปวดขึ้นอีกเป็นสองเท่า
หลวงปู่เล่าว่า พอสรงน้ำเสร็จแล้วครองจีวร เข้าในกุฏิปิดประตูลงกลอนเรียบร้อยแล้ว เข้าที่นั่งสมาธิ ใช้ยาธรรมโอสถรักษาพิษตะขาบ พอจิตเข้าสู่ความสงบ ไม่มีอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในทุกขเวทนา จนสว่าง พอจิตถอนออกจากสมาธิไม่รู้ว่าพิษตะขาบหายไปแต่เมื่อไร อำนาจของธรรมเหนืออำนาจทั้งปวง
ระงับโรคท้องร่วงด้วยธรรมโอสถ
อีกครั้งหนึ่งท่านเป็นโรคท้องร่วง ไม่มียาอะไรจะฉันรักษา ท่านจึงใช้ยาธรรมโอสถ เข้าที่นั่งสมาธิ จิตเข้าสู่ความสงบตลอดคืนจนสว่าง พอจิตถอนออกจากความสงบ ไม่รู้ว่าโรคท้องร่วงหายไปแต่เมื่อไร เหมือนกับไม่เป็นอะไรเลย อำนาจของอธิษฐานธรรมและสมาธิธรรมบำบัดโรคภัยไข้เจ็บให้หายไปได้ จึงเรียกว่า
ธรรมโอสถ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
39
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-9 14:33
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กรรมนิมิต
หลวงปู่เล่าว่าคืนหนึ่งขณะที่ท่านเข้าที่นั่งสมาธิภาวนา พอจิตเข้าสู่ความสงบแล้ว จึงเกิดกรรมนิมิตขึ้นมา ปรากฏว่ามีสังเวียนที่เขาตีไก่ (ชนไก่) มีคนดูอยู่เต็ม แล้วตัวของท่านเองก็เดินไปยืนดูอยู่ด้วย ไก่ก็ตีกันไปกันมา พอดีตัวหนึ่งก็สับตาอีกตัวหนึ่งตาแตกไปข้างหนึ่ง แล้วตัวที่ตาแตกนั้นหันมามองท่าน เหมือนกับว่าท่านเป็นเจ้าของมัน แล้วนิมิตนั้นก็หายไป จึงพิจารณาได้ว่าเป็นเรื่องกรรมนิมิต อยู่มาไม่นาน ได้มีเด็กผู้ชายคนหนึ่งอยากมาอยู่ด้วย ให้พี่ชายมาฝากฝังมอบให้เป็นลูก เด็กชายนั้นถือหลวงปู่ว่าเป็นพ่อ เด็กชายนั้นชื่อเขียน เป็นคนตาลอคือตาเสียข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งยังดีใช้การได้ แกเป็นคนปัญญาดี ฉลาด ว่านอนสอนง่าย แกอยู่อุปัฏฐากรับใช้ท่านมาเรื่อยๆ
พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
ให้ศิษย์ไปร่วมถวายผ้ากฐินแด่พระอาจารย์ใหญ่มั่น
ที่วัดป่าบ้านหนองผือ
เมื่อออกพรรษา ปี พ.ศ. 2491 เป็นฤดูกาลกรานผ้ากฐิน
ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
ได้ชักชวนคณะศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่เลื่อมใสในท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ให้ไปร่วมกันถวายผ้ากฐินแด่ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นและพระภิกษุสงฆ์ ที่จำพรรษาที่
สำนักวัดป่าบ้านหนองผือ
ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยพระอาจารย์สิงห์จะออกเดินทางโดยขบวนรถไฟจากโคราช ไปลงที่สถานีรถไฟอุดรธานี ท่านจึงนัดให้คณะศิษย์ทั้งหลายไปคอยร่วมเดินทางตามสถานีรถไฟที่ผ่านไป
หลวงปู่จึงให้ลูกศิษย์ คือหลวงพ่อสอนและผ้าขาวคำสิงห์ซึ่งเป็นพี่ชายของท่าน ไปคอยขึ้นรถไฟที่สถานีบ้านไผ่ เพื่อร่วมเดินทางไปกับคณะท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม รถไฟถึงสถานีอุดรเป็นเวลาเช้า เมื่อลงจากรถไฟแล้ว ท่านพระอาจารย์สิงห์ได้เป็นหัวหน้าพาหมู่พระภิกษุสงฆ์ที่เดินทางไปด้วยบิณฑบาตตามบ้านพักเจ้าหน้าที่รถไฟ เมื่อฉันเสร็จแล้วเดินทางโดยรถยนต์ต่อไปลงที่อำเภอพรรณานิคม แล้วเดินด้วยเท้าต่อไปพักค้างคืนที่วัดป่าบ้านหนองโดก เช้าฉันบิณฑบาตเสร็จแล้วเดินด้วยเท้าเข้าไปที่วัดป่าบ้านหนองผื
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
40
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-9 14:34
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กุฏิท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดป่าบ้านหนองผือ
ทางเดินจงกรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดป่าบ้านหนองผือ
หลวงพ่อคำสิงห์ สุจิตฺโต
เล่าว่า ตัวท่านเองคือผ้าขาวคำสิงห์ เมื่อไปถึงวัดป่าบ้านหนองผือแล้ว ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้พาคณะศิษย์ตั้งองค์กฐินที่วัดป่าบ้านหนองผือ วันหลังจึงได้ทอดถวายท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ที่ได้จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองผือ การทอดกฐินในครั้งนั้นได้มีพระเถระที่เป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นมารวมกันหลายองค์ เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ยังพักอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ เพื่อฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น
เช้าวันหนึ่งเมื่อฉันเช้าเสร็จแล้ว ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นบอกให้ผ้าขาวคำสิงห์ไปทำทางเดินจงกรมให้
ท่านพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
(ท่านพ่อลี วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ) ผ้าขาวคำสิงห์ได้จอบแล้วก็ไปทำตามที่ท่านสั่ง ขณะทำทางเดินจงกรมอยู่นั้น ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นได้เดินไปดูความเรียบร้อยด้วย ผ้าขาวคำสิงห์มีความเอิบอิ่มใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพักอยู่พอสมควรแล้ว ผ้าขาวคำสิงห์พร้อมด้วยหลวงพ่อสอนจึงได้เดินทางกลับวัดป่าศรีไพรวัลย์ จังหวัดร้อยเอ็ด
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
... 11
/ 11 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...