ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
พระองค์ที่ ๑๐ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
1
2
3
4
/ 4 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: kit007
พระองค์ที่ ๑๐ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
11
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-11 13:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
พระชนมายุได้ราว ๔๐ พรรษา
ทรงอำนวยการจัดการศึกษาหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ทรงมีพระราชดำริจะขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไปยังประชาชนทั่วพระราชอาณาจักร
เพราะทรงเห็นว่าการศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญ
ในการพัฒนาชาติบ้านเมือง จึงทรงอาราธนาสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่น
ให้ทรงอำนวยการจัดการศึกษาในหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร
ทั้งนี้เพราะทรงเห็นว่าวัดเป็นแหล่งให้การศึกษาแก่คนไทยมาแต่โบราณกาล
การใช้วัดเป็นฐานในการขยายการศึกษาเป็นทางเดียวที่จะขยายได้เร็วและทั่วถึง
เพราะวัดมีอยู่ทั่วทุกหนแห่งในพระราชอาณาจักร
ทั้งไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินในการสร้างโรงเรียนด้วย
เพราะอาศัยศาลาวัดที่มีอยู่แล้วนั่นเองเป็นโรงเรียน
ทรงฉายร่วมกับพระเถรานุเถระ เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ราว ๔๐ พรรษา
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
ได้ทรงเลือกพระเถระผู้มีความสามารถ
ทั้งฝ่ายธรรมยุตและมหานิกายรวม ๑๓ รูป เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลต่างๆ
แล้วส่งออกไปดำเนินการจัดการศึกษาในหัวเมืองต่างๆ ในมณฑลนั้นๆ
ทั่วพระราชอาณาจักร โดยมีฝ่ายบ้านเมือง คือ กระทรวงมหาดไทย
เป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินการ
พระองค์ทรงรับหน้าที่อำนวยการในการจัดการศึกษาหัวเมืองอยู่ ๕ ปี
ก็ทรงสามารถขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คือ การศึกษาขั้นประถมศึกษา ออกไปได้ทั่วประเทศ
เมื่อทรงวางรากฐานการศึกษาในหัวเมืองเป็นรูปเป็นร่างขึ้นแล้ว
และมีความมั่งคงพอสมควรแล้ว
ก็ทรงมอบให้เป็นภาระหน้าที่ของกระทรวงธรรมการดำเนินการต่อไป
จึงกล่าวได้ว่า
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาระดับประถมศึกษาในประเทศไทย
โดยมีวัดเป็นโรงเรียน มีพระเป็นครูสอน มีมหามกุฎราชวิทยาลัยเป็นต้นแบบ
ในด้านหลักสูตรและการฝึกหัดครูสำหรับออกไปสอนในโรงเรียนนั้นๆ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
12
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-11 13:53
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทรงฉายร่วมกับพระเถรานุเถระ หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ราว ๔๐ พรรษา
ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์
ในการจัดการศึกษาในหัวเมืองดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
ได้ทรงพบความไม่เรียบร้อยในการปกครองคณะสงฆ์
และทรงมีพระดำริว่า การที่จะจัดการศึกษาให้ได้ผลดีนั้น
จะต้องจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อยไปพร้อมกันด้วย
ฉะนั้นพระองค์จึงได้ทรง พระดำริจัดรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ขึ้นใหม่
เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
และเอื้อต่อการที่จะพัฒนาตัวเองและบ้านเมืองให้เจริญ ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
พระดำริดังนี้เองที่เป็นเหตุให้เกิด
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕)
ขึ้น
ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับแรกของไทย
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ นั้น
จัดคณะสงฆ์เป็น ๔ คณะคือ
คณะเหนือ คณะใต้ คณะธรรมยุตติกา และคณะกลาง
มีสมเด็จพระราชาคณะเป็นเจ้าคณะ และมีพระราชาคณะเจ้าคณะรองคณะละรูป
พระเถระทั้ง ๘ รูปนี้ยกขึ้นเป็นมหาเถรสมาคม
ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดในทางคณะสงฆ์
และเป็นที่ทรงปรึกษาในการพระศาสนา
และการคณะสงฆ์ของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน
มีเจ้าคณะปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับคือ
เจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง (อำเภอ) เจ้าอาวาส
นับเป็นครั้งแรกที่คณะสงฆ์ไทย
มีการจัดปกครองอย่างเป็นระบบ มีแบบแผนที่ชัดเจน
โดยมีกฎหมายทางบ้านเมืองเข้ามารองรับ
การดำเนินกิจการพระศาสนาและการคณะสงฆ์
เมื่อมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ขึ้นแล้ว
ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งอำนวยการศึกษามณฑลต่างๆ เป็นเจ้าคณะมณฑล
มีหน้าที่ทำนุบำรุงพระศาสนาและบำรุงการศึกษาตามวัดในมณฑลนั้นๆ
ให้เจริญรุ่งเรืองตามพระราชประสงค์
เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ราว ๕๐ พรรษาเศษ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
13
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-11 13:53
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในเวลาตั้งพระราชบัญญัตินี้ ว่างสมเด็จพระสังฆราช
เพราะนับแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ แล้ว มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใด
ในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราชอีก จนตลอดรัชกาลที่ ๕
มีแต่เจ้าคณะใหญ่ ๔ รูป ซึ่งมิได้ขึ้นแก่กัน
เมื่อมีภารกิจอันจะพึงทำร่วมกันเจ้าคณะใหญ่รูปใดมีสมณศักดิ์สูง
เสนาบดีกระทรวงธรรมการก็รับพระบรมราชโองการสั่งไปทางเจ้าคณะรูปนั้น
ขณะนั้น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
ซึ่งทรงพระอิสริยยศเป็น กรมหมื่น
ทรงสมณศักดิ์สูงกว่าเจ้าคณะทั้งปวง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นการก (คือประธาน) ในที่ประชุมมหาเถรสมาคม
ซึ่งเท่ากับทรงปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชมาจนตลอดรัชกาลที่ ๕
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ นี้แสดงให้เห็นว่า
องค์พระมหากษัตริย์ทรงปกครองคณะสงฆ์ด้วยพระองค์เอง
โดยมีเสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นผู้รับพระบรมราชโองการสั่ง
คือ บัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์พระมหากษัตริย์นั่นเอง
มหาเถรสมาคมซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดทางคณะสงฆ์เป็นเพียง
“ที่ทรงปรึกษา”
คือทำหน้าที่ถวายคำแนะนำในเรื่องการพระศาสนาและคณะสงฆ์แด่องค์พระมหากษัตริย์
โดยผ่านไปทางเสนาบดีกระทรวงธรรมการเท่านั้น
จึงกล่าวได้ว่า ตั้งแต่โบราณมาจนถึงเวลาที่ตั้ง
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) นี้ขึ้น
คฤหัสถ์ทำหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์มาโดยตลอด
พัดยศสำหรับพระสมณศักดิ์ที่
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
มหาสมณุตมาภิเษก
พ.ศ. ๒๔๔๙ ทรงพระกรุณาโปรดเลื่อนพระอิสริยยศเป็น
กรมหลวง
ถึง พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
สืบพระบรมราชสันตติวงศ์เป็นรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พอเสด็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
และเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมราชินี พระพันปีหลวง แล้ว
ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๑ ขึ้น ๔ ค่ำ นี้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
สถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส
เป็น
สมเด็จกรมพระยา
และทรงสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็น
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สกลมหาสังฆปรินายก
ทรงสมณศักดิ์เป็น
สมเด็จพระมหาสมณะ (คือสมเด็จพระสังฆราช)
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ดังมีสำเนาประกาศสถาปนาดังนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
14
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-11 13:54
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ประดิษฐาน ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร
พระรูปนี้เป็นภาพถ่ายต้นแบบที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในหนังสือต่างๆ
ประกาศมหาสมณุตมาภิเศก
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาล เป็นอดีตภาค ๒๔๕๓ พรรษา
กาลปัตยุบันจันทรโคจร โสณสัมพัตสร มฤคศิรมาส สุกกปักษ์ จตุรถีดิถี ศศิวาร
สุริยคติกาล รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙ ธันวาคมมาส ปัญจมสุรทิน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ ฯลฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชดำริห์ว่า
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส
เป็นพระบรมวงศ์พระองค์หนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงยกย่องว่าเป็นผู้ต้องพระราชอัธยาไศรยมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
ได้ทรงปฏิบัติราชกิจใกล้ชิดพระองค์ จนกระทั่งพระชนมายุถึงกำหนดอันควร
ที่จะทรงพระผนวชในพระบวรพุทธศาสนา ตั้งแต่เมื่อก่อนจะทรงพระผนวชนั้น
ก็ได้ทรงมีพระกระมลสันดานเลื่อมใสในพระรัตนไตรยมั่นคง
และได้เริ่มทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ก่อน
รัชกาลที่ ๕ ทรงสนทนากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๘
ครั้นเมื่อทรงพระผนวชแล้ว
ก็ได้ทรงพระอุสาหศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยพระปรีชาญาณ
ทรงรอบรู้ในอรรถธรรมทั้งปวงมากขึ้นเป็นลำดับ
จนหาผู้ที่จะรู้เท่าเทียมได้โดยยากนัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสถาปนาพระอิศริยยศให้เป็นพระองค์เจ้าต่างกรม และให้ทรงสมณศักดิ์อันสูง
ก็เพราะทรงทราบชัดอยู่ว่า พระราชภาดาของพระองค์
จะสามารถเป็นผู้ดำรงพระบวรพุทธศาสนา ให้ประดิษฐานถาวรวัฒนา
ในสยามราชอาณาจักรสืบไป ก็นับว่าเป็นไปได้จริงตามความทรงมุ่งหมาย
ธรรมดาพระศาสนาจะมั่นคงยั่งยืนอยู่ได้
ก็เพราะอาศัยความรอบรู้แห่งพุทธศาสนิกบริสัษย์ ในพระธรรมอันถ่องแท้
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส
ได้ทรงเป็นประธานในการที่พระภิกษุสามเณรสอบไล่พระปริยัติธรรม
ทรงกำกับให้การสอบไล่อันนั้นเป็นไปโดยทางที่ถูกต้องทุกประการ
นับว่าได้ทรงช่วยสมเด็จพระราชาธิบดี
ในการที่ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาให้มั่นคงอยู่ มิได้เสื่อมคลายไปเลย
ทั้งได้ทรงพระอุสาหปกครองคณะสงฆ์ให้มั่นคงในกิจปฏิบัติ
สมควรแก่ผู้ที่ดำรงสมณเพศพิเศษยิ่งกว่าสามัญชน
นับว่าได้ทรงทำคุณประโยชน์อันใหญ่ยิ่งให้บังเกิดมีแก่กรุงสยาม
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
15
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-11 13:55
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร
เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นสามเณร พ.ศ. ๒๔๓๔
อนึ่งได้ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญในสรรพอรรถธรรมทั้งปวงแล้ว
ก็ได้ทรงเปิดเผยแผ่พระธรรมนั้นๆ ให้ปรากฏแก่มหาชนทั่วไป
โดยโวหารอันไพเราะจับใจซึมทราบ ทำให้ผู้ฟังแล้วและเห็นเข้าใจข้อความแจ่มแจ้ง
สิ้นความเคลือบแคลงได้ ทำให้เกิดความเลื่อมใสในพระรัตนไตรยทวีขึ้นเป็นอันมาก
ความอันใดที่เข้าใจยากก็ได้ทรงขยายให้และเห็นง่ายดายกระจ่าง
ประหนึ่งทรงนำทางให้เดินไปสู่ที่ชอบ
ทรงชำนิชำนาญทั้งในทางแสดงพระสัทธรรมเทศนา และในทางนิพนธ์รจนาหนังสือ
อันเป็นเครื่องชูใจให้ผู้ฟังผู้อ่านได้รับผลอันดี
ปีติปราโมทย์เป็นที่นิยมนับถือของมหาชนทั่วไป
ไม่เฉพาะแต่ในสยามราชอาณาเขตร ถึงแม้ชนในไพรัชประเทศ
ก็สรรเสริญยกย่องพระองค์ว่าเป็นมหาบัณฑิตย์อันประเสริฐ
ผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาทั่วไป
ได้นิยมยอมยกพระองค์เป็นมหาศาสนนายก
แต่ถึงแม้ผู้ที่มีใจนับถือลัทธิศาสนาอื่นๆ
ก็มีความนับถือพระองค์เป็นปราชญ์อันหาที่เปรียบได้โดยยาก
ผู้มีชื่อเสียงสำคัญอันเป็นชาวต่างประเทศ
แม้มาเยี่ยมกรุงสยามก็คงตั้งใจพยายามไปน้อมคำนับด้วยความนิยมนับถือ
ด้วยได้ยินพระเกียรติคุณบรรฦๅไปจนถึงประเทศนั้นๆ
จึงชวนกันมาเฝ้าเพื่อสำแดงความเคารพมหาบัณฑิตย์ฉนั้น
ทรงฉายเมื่อครั้งสมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
ทรงผนวชเป็นสามเณร และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๔๔๖
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
16
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-11 13:56
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อีกประการหนึ่ง พระองค์ได้ทรงเป็นครูปัธยาจารย์
แห่งพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และชนทุกชั้น
ได้ทรงมีพระหฤทัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในหมู่ศิษย์ทั้งหลายทั่วกัน
ไม่เลือกหน้าว่าเป็นบุคคลชั้นใด
ในขณะที่ยังเป็นภิกษุสามเณรอยู่ในสำนักของพระองค์
ก็ทรงอนุสาสน์ให้รอบรู้เข้าใจในอรรถธรรมตามสมควรแก่สติปัญญาของตนๆ
ครั้นเมื่อละเพศพรหมจรรย์แล้ว
ก็ยังทรงเป็นพระธุระติดตามประทานโอวาท
ตามแต่จะทรงหาโอกาสได้
คอยทรงตักเตือนสติและเหนี่ยวใจไว้ให้ฝักใฝ่ในทางธรรม
อันควรแก่คิหิปฏิบัติ เป็นพระคุณอันแน่ชัดประจักษ์อยู่ในใจแห่งศิษย์ทั้งหลายทั่วกัน
ในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวชิรญาณวโรรสได้ทรงคุ้นเคย
และเป็นที่ถูกพระอัธยาไศรยกันมาแต่ยังทรงพระเยาว์
ได้ทรงสั่งสอนชักจูงพระราชหฤทัยให้น้อมไปในทางศรัทธา
ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นลำดับมา
ครั้นเมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ก่อนที่จะเสด็จออกไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศยุโรป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอก็ได้เป็นผู้ทรงรับคำปฏิญญาแสดงพระองค์เป็นอุบาสก
ทรงฉายเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร
และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงผนวชเป็นสามเณร
ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗
จนถึงเมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๓ ได้ทรงเป็นพระอุปัธยาจารย์
เมื่อทรงรับอุปสมบทได้ทรงอนุสาสน์สั่งสอนให้ทรงทราบอรรถธรรม
และความปฏิบัติอันดีอันงาม ทั้งต่อมาก็ยังได้ทรงตามอนุสาสน์ตักเตือน
ทรงแนะนำทางที่จะทรงพระราชดำริในทางธรรม
อันจะควรใช้ประกอบในทางโลก นับว่าทรงมีพระคุณอันใหญ่ยิ่ง
หาผู้ใดจะเสมอเหมือนได้โดยยากนักในสมัยนี้
ตามข้อความที่กล่าวมาแล้วนี้ จึงแลเห็นปรากฏอยู่ว่า
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส
ทรงเป็นบุรุษรัตนอันล้ำเลิศประเสริฐสุดยิ่งกว่าบรรดาพระเถรานุเถรทั้งปวง
ทั้งในคามวาสีอรัญวาสีปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ
สมควรที่จะให้ดำรงพระเกียรติยศอันใหญ่ยิ่ง
เช่น อย่างพระบรมวงศ์ที่ได้เคยทรงเป็นใหญ่ในคณะสงฆ์มาแต่ก่อน
โดยรับมหาสมณุตมาภิเศกและเลื่อนพระอิศริยยศต่างกรม
ให้สมแก่ความยินดีเลื่อมใส จะได้เป็นที่เคารพสักการบูชา
เป็นที่นิยมนับถือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์
ข้าราชการ ตลอดจนถึงมหาชนนิกรที่เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาทั่วหน้า
จึงมีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้ตั้งการมหาสมณุตมาภิเศก และเลื่อนพระอิศริยยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงวชิรญาณวโรรส ขึ้นเป็นสมเด็จกรมพระยา
มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัตรว่า
พ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
17
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-11 13:57
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ศรีสุคตขัตติยพรหมจารี สรรเพชญรังศีกัลยาณวากย มนุษยนาคอเนญชาริยวงศ์
บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนารถประนับดา มหามกุฎกษัตรราชวรางกูร
จุฬาลงกรณ์ปรมินทร์สูรครุฐานิยภาดา วชิราวุธมหาราชหิโตปัธยาจารย์
ศุภศีลสารมหาวิมล มงคลธรรมเจดีย์ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฎกาทิโกศล
เบญจปดลเสวตรฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมาภิเศกาภิษิต
วิชิตมารสราพกธรรมเสนาบดี อมรโกษินทรโมลีมหาสงฆปรินายก
พุทธศาสนดิลก โลกุตมมหาบัณฑิตย์ สิทธรรถนานานิรุกติประติภาน
มโหฬารเมตตาภิธยาศรัย พุทธาทิรัตนตรัยคุณารักษ์ เอกอัครมหาอนาคาริยรัตน์
สยามาธิปัตยพุทธบริษัทเนตร สมณคณินทราธิเบศสกลพุทธจักรกฤตโยปการ
มหาปาโมกขประธานสถาวีรวโรดม บรมนารถบพิตร
เสด็จสถิตย์ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวง มุสิกนาม
ให้ทรงศักดินา ๓๕๐๐๐ เป็นพิเศษในตำแหน่งพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่
ดำรงพระยศฝ่ายสมณศักดิ เป็นเจ้าคณะใหญ่แห่งพระสงฆ์ทั้งกรุงเทพมหานคร
และหัวเมืองทั่วพระราชอาณาเขต
พระราชทานนิตยภัตรบูชาเดือนละ ๘๐ บาท
ขออาราธนาให้ทรงรับธุระพระพุทธศาสนาเป็นภาระสั่งสอน
ช่วยระงับอธิกรณ์พระภิกษุสงฆ์สามเณรทั่วไป
โดยสมควรแก่อิสริยยศสมณศักดิ จงทรงเจริญพระชนมายุพรรณศุขะพล
ปฏิภาณคุณสารสมบัติ สรรพศิริสวัสดิพิพัฒมงคล
วิบูลยศุภผลจิระถิติกาลในพระพุทธศาสนาเทอญฯ
พระตำหนักจันทร์ (พระตำหนักเดิม) ที่ประทับในวัดบวรนิเวศวิหาร
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
18
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-11 13:57
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
ทรงปรับสถานภาพของคณะสงฆ์
ในปีรุ่งขึ้น หลังจากทรงได้รับมหาสมณุตมาภิเษก คือ พ.ศ. ๒๔๕๔
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก็ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ครั้งสำคัญ
คือ ทรงชี้แจงแก่เสนาบดี กระทรวงธรรมการ
ถึงผลเสียที่เกิดจากการที่คฤหัสถ์ปกครองคณะสงฆ์
ดังที่เป็นมาในอดีตและเป็นอยู่ในขณะนั้น
และทรงแนะนำว่าควรจะถวายอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์
แก่พระองค์ให้เป็นเด็ดขาด ฐานะที่ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช
เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เรียบร้อย
เพราะพระด้วยกันย่อมเข้าใจเรื่องของพระด้วยกัน ดีกว่าคฤหัสถ์ซึ่งมิใช่พระ
ดังความตอนหนึ่งในลายพระหัตถ์ว่า
“แต่ก่อน คณะแยกกันครอง หรือบางสมัยมีสังฆราช ก็เจริญอายุพรรษา
มีอยู่ก็เป็นแต่เพียงกิตติมศักดิ์ กระทรวงธรรมการจำต้องทำหน้าที่สังฆราชฯ
ผลเป็นอย่างไรบ้างฯ ไม่อาจว่าพระให้เรียบร้อยได้ เพราะมิได้เป็นพระด้วยกัน
ไม่มีความรู้ในฝ่ายพระทั่วถึง ไม่รู้อัธยาศัยของพระแจ้งชัดฯ
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่สามารถเพื่อจะระงับความเสียหายอันเกิดขึ้นแล้ว
และเพื่อจะบำรุงให้ดีขึ้น ได้แต่ทำๆ ไปเช่นนั้น อย่างเดียวกับไล่หนังสือพวกรามัญ
ผลที่มีก็คือความเสื่อมทรามของพระอันค่อยเป็นไปโดยลำดับฯ
ในเวลานี้ ได้ฉันเป็นสังฆราชขึ้น หน้าที่กระทรวงธรรมการจะปลดเปลื้องการพระสงฆ์
ที่ตนไม่ถนัด ถวายฉันเสียให้เป็นเด็ดขาด จะเบาแรงเข้าและการจะดีขึ้นฯ”
หลังจากที่ได้ทรงมีลายพระหัตถ์ชี้แจงดังกล่าวแล้ว
อีก ๖ เดือนต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
“ได้ทรงมอบการทั้งปวงซึ่งเป็นกิจธุระพระศาสนาถวาย แด่ส
มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้เป็นมหาสังฆปริณายก
เพื่อทรงเป็นพระธุระปกครอง”
ตั้งแต่เดือนกันยายน ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) เป็นต้นมา
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
จึงทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทย
ที่ทรงปกครองคณะสงฆ์โดยตรงด้วยพระองค์เอง
เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในสังฆมณฑลของไทย
กล่าวคือ เป็นการทำให้คณะสงฆ์หลุดพ้นจากการปกครองโดยคฤหัสถ์
มาสู่การปกครองโดยพระด้วยกันเองเป็นครั้งแรก
เป็นเหตุให้สมเด็จพระสังฆราชมีพระอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์โดยตรง
แต่บัดนั้นเป็นต้นมาจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
นับเป็นการปรับสถานภาพของคณะสงฆ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของคณะสงฆ์ไทย
ทรงฉายที่วัดสมุหประดิษฐ์ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี ในคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลกรุงเก่า
วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๕๕ พรรษา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
19
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-11 13:58
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เสด็จตรวจการคณะสงฆ์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก
ที่เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในหัวเมืองต่างๆ
เกือบทั่วพระราชอาณาจักรเท่าที่สามารถจะเสด็จไปได้
นับแต่ปีที่ ๒ แห่งการทรงดำรงตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้เสด็จไปตรวจการคณะสงฆ์ตามหัวเมืองต่างๆ
เป็นประจำทุกปีมิได้ขาด กระทั่งถึงปีท้ายๆ แห่งพระชนม์ชีพ
ซึ่งทรงพระประชวรไม่สามารถเสด็จตรากตรำไปตามหัวเมืองต่างๆ ที่ห่างไกลได้
จึงได้ทรงหยุดการเสด็จตรวจการคณะสงฆ์
ทรงฉายที่วัดสมุหประดิษฐ์ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
ร่วมกับพระสงฆ์ในถิ่นนั้น ในคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลกรุงเก่า
วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๕๕ พรรษา
ทรงปรับปรุงการพระศาสนาและการคณะสงฆ์ในด้านต่างๆ
เนื่องจากพระองค์เสด็จไปตรวจการคณะสงฆ์ตามหัวเมืองต่างๆ
ด้วยพระองค์เองอย่างถี่ถ้วนเกือบทั่วพระราชอาณาจักร
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
จึงทรงทราบถึงความเป็นไปของคณะสงฆ์
ตลอดถึงสภาพของประชาชน
และความเป็นไปของบ้านเมืองในภูมิภาคต่างๆ เป็นอย่างดี
ทำให้พระองค์ทรงทราบถึงปัญหาและกำหนดวิธีการแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
ทรงปรับปรุงแก้ไขการพระศาสนา
และการคณะสงฆ์ในทุกๆ ด้านเพื่อให้พระพุทธศาสนา
และคณะสงฆ์มีความเจริญมั่นคงและสามารถทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง
ได้อย่างเหมาะสมแก่กาละเทศะ กล่าวคือ
ทรงฉายที่วัดสมุหประดิษฐ์ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี ในคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลกรุงเก่า
วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๕๕ พรรษา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
20
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-11 13:59
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในด้านการพระศาสนา
พระองค์ได้ทรงพยายามพัฒนาภิกษุสามเณร
ให้มีความรู้ความสามารถในพระธรรมวินัย
เพื่อจักได้แนะนำสั่งสอนประชาชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมแก่สมัย
โดยทรงพยายามจัดให้ภิกษุสามเณรได้รับการศึกษาพระธรรมวินัย
ตามสมควรแก่สถานภาพของตน ทรงแนะนำสั่งประชาชนให้รู้จักศึกษาพระพุทธศาสนา
และรู้จักนำธรรมไปปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมแก่สถานภาพของตน
ทรงพยายามผลิตตำรา และหนังสือทางพระพุทธศาสนา
ที่คนทั่วไปสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย ออกเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ
ทรงแนะนำภิกษุสามเณร ให้รู้จักเทศนาสั่งสอนประชาชน
ให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ และเหมาะแก่ประชาชน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทรงฉายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙ พระชนมายุได้ ๕๗ พรรษา
ในด้านการคณะสงฆ์
พระองค์ได้ทรงออกพระมหาสมณาณัติ
ประทานพระมหาสมณวินิจฉัยและทรงวางระเบียบแบบแผน
เกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติของภิกษุสามเณรในด้านต่างๆ
ให้ถูกต้องเรียบร้อยยิ่งขึ้น เช่น ระเบียบเกี่ยวกับพระอุปัชฌาย์
การบรรพชาอุปสมบท การปกครองภิกษุสามเณรและศิษย์วัด
การวินิจฉัยอธิกรณ์ ระเบียบเกี่ยวกับสมณศักดิ์พัดยศ นิตยภัต
ดวงตราประจำตำแหน่ง เป็นต้น
โดยทรงชี้ให้เห็นว่า ภิกษุสามเณรนั้นนอกจากจะต้องประพฤติปฏิบัติ
ตามพระธรรมวินัยแล้ว ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองและจารีตประเพณีด้วย
การคณะสงฆ์จึงจะดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
ในด้านการศึกษา
ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ภิกษุสามเณร
ประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเรียบร้อย
ตลอดถึงสามารถทำประโยชน์แก่สังคมและชาติบ้านเมืองได้อย่างแท้จริง
ฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงพยายามปรับปรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ให้ทันสมัย
กล่าวคือ การศึกษาพระปริยัติธรรม อันได้แก่การศึกษาภาษาบาลี
เพื่อให้สามารถอ่านพระคัมภีร์ได้ อันเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ที่มีมาแต่โบราณนั้น
พระองค์ก็ทรงปรับปรุงให้เหมาะสมและอำนวยประโยชน์แก่ผู้เรียนมากยิ่งขึ้น
ได้ทรงจัดการศึกษาพระปริยัติแบบใหม่ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า
“นักธรรม”
ซึ่งเป็นการเรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทย
เพื่อให้ภิกษุสามเณรทั่วไปสามารถเรียนรู้พระธรรมวินัยได้ง่ายขึ้น
และไม่ต้องใช้เวลาในการเรียนนาน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
3
4
/ 4 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...