ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6397
ตอบกลับ: 27
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สมเด็จพระสังฆราชของไทย

[คัดลอกลิงก์]
สมเด็จพระสังฆราชของไทย




    สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ดังมีหลักฐานจากศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้จารึกคำว่าสังฆราชไว้ด้วย สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เป็นตำแหน่งสมณศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ไทยทรงเป็นประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งนี้น่าจะมีที่มาจากคณะสงฆ์ไทย นำแบบอย่างมาจาก ลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงอัญเชิญพระเถระผู้ใหญ่ของลังกา ที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่าย เถรวาทในประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็น สกลมหาสังฆปรินายก มีอำนาจว่ากล่าวออกไปถึงหัวเมือง โดยมีพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่าย คามวาสี เป็นสังฆราชขวา สมเด็จพระวันรัตเจ้าคณะฝ่ายอรัญวาสี เป็นสังฆราชซ้ายองค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่า ก็ได้เป็นพระสังฆราช ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอริยมุนี ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีปมีความชอบมาก เมื่อกลับมาได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชดำริให้คงราชทินนามนี้ไว้ จึงทรงตั้งราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชเป็น สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี  และมาเป็น สมเด็จพระอริยวงศาญาณ ในสมัยกรุงธนบุรี และได้ใช้ต่อมาจนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จึงได้ทรงปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น  สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ซึ่งได้ใช้มาจนถึงปัจจุบันตามทำเนียบสมณศักดิ์ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่มีตำแหน่งสังฆปรินายก 2 องค์ ที่เรียกว่า พระสังฆราชซ้าย ขวา ดังกล่าวแล้วยังมีคำอธิบายอีกประการหนึ่งว่า สมเด็จพระอริยวงศ์ เป็นพระสังฆราชฝ่ายขวาว่า คณะเหนือ  พระพนรัตน์เป็นพระสังฆราชฝ่ายซ้ายว่า คณะใต้  มีสุพรรณบัตรจารึกพระนามเมื่อทรงตั้งทั้ง 2 องค์แต่ที่สมเด็จพระพนรัตน์ โดยปกติไม่ได้เป็นสมเด็จ ส่วนพระสังฆราชฝ่ายขวานั้นเป็นสมเด็จทุกองค์จึงเรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช จึงเป็นมหาสังฆปรินายก มีศักดิ์สูงกว่าพระสังฆราชฝ่ายซ้ายที่พระพนรัตน์แต่เดิม ทรงยกเกียรติยศเป็นสมเด็จแต่บางองค์มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงเป็นสมเด็จทุกองค์เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี วิธีการปกครองพระราชอาณาจักรในครั้งนั้น หัวเมืองใหญ่ที่ห่างไกลจากราชธานีเป็นเมืองประเทศราชโดยมาก แม้เมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ราชธานี ก็ตั้งเจ้านายในราชวงศ์ออกไปครอง ทำนองเจ้าประเทศราช  เมืองใหญ่แต่ละเมือง จึงน่าจะมีสังฆราชองค์หนึ่ง เป็นสังฆปรินายกของสังฆบริษัทในเมืองนั้น ดังปรากฎเค้าเงื่อนในทำเนียบชั้นหลังยังเรียกเจ้าคณะเมืองว่าพระสังฆราชอยู่หลายเมือง จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงได้ทรงเปลี่ยนมาเป็นสังฆปาโมกข์พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล  คือฝ่ายที่พำนักอยู่ใกล้เมืองเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยเรียกว่า คามวาสี อีกฝ่ายหนึ่งบำเพ็ญสมณธรรมในที่สงบเงียบตามป่าเขา ห่างไกลจากบ้านเมืองเรียกว่าอรัญวาสี ภิกษุ แต่ละฝ่ายยังแบ่งออกเป็นคณะ แต่ละคณะจะมีพระราชาคณะปกครองหัวหน้าพระราชาคณะเรียกว่า สมเด็จพระราชาคณะแบบแผนการปกครองคณะสงฆ์ของไทย เริ่มจัดวางหลักตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยมีการพัฒนาเพิ่มเติมใน  สมัยกรุงศรีอยุธยาและต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยมาตามลำดับ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ การปกครองคณะสงฆ์ก็ยังจัดโดยมีตำแหน่งเปรียบเทียบดังนี้
    สกลสังฆปรินายก        ได้แก่สมเด็จพระสังฆราชมหาสังฆนายก            ได้แก่เจ้าคณะใหญ่สังฆนายก                 ได้แก่เจ้าคณะรองมหาสังฆปาโมกข์ ได้แก่เจ้าคณะมณฑลสังฆปาโมกข์              ได้แก่เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระราชาคณะสังฆวาห                   ได้แก่เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระครู
    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามพระบรม  ราชวงค์ผู้ดำรงสมณศักดิ์ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชขึ้นใหม่ว่า  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ทรงเศวตฉัตร 5 ชั้น พระราชวงค์ชั้นรองลงมา เท่าที่ปรากฎ มีชั้นหม่อมเจ้าผู้ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชมีคำนำหน้า  พระนามว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงฉัตร 5 ชั้น
    ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2505 ได้บัญญัติถึงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ว่า ในกรณีตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลงให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศนาม สมเด็จพระราชาคณะ ที่มีอาวุโสสูงสุดโดยพรรษา เพื่อปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำพระนามสมเด็จพระราชาคณะ 4 รูป คือสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์ เสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้วนำกราบถวายบังคมทูล ให้พระมหากษัตริย์ทรงวินิจฉัย และจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่ง ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชต่อไป

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระสังฆราช(ศรี)

สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดระฆังโฆษิตารามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2325  สิ้นพระชนม์เมื่อปีพ.ศ. 2337 ดำรงตำแหน่ง อยู่ 12 พรรษา น่าจะมีพระชนมายุไม่น้อยกว่า 80 พรรษาพระประวัติในตอนต้นไม่ปรากฏรายละเอียด พบแต่เพียงว่า เดิมเป็นพระอาจารย์ศรีอยู่ วัดพนัญเชิง เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 ได้หนีภัยสงครามไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯเสด็จไปตีเมืองนครศรีธรรมราช ได้อาราธนาพระองค์ให้มาอยู่ที่วัดบางว้าใหญ่(วัดระฆังโฆษิตาราม) และทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่2 แห่งกรุงธนบุรี  
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2324 ได้ถูกถอดจากตำแหน่ง เนื่องจากถวายวิสัชนาเรื่อง พระสงฆ์ปุถุชนไม่ควรไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นอริยบุคคล เนื่องจากคฤหัสถ์เป็นหินเพศต่ำ พระสงฆ์เป็นอุดมเพศที่สูง  ทรงผ้ากาสาวพัสตร์และพระจาตุปาริสุทธิศีลอันประเสริฐ วิสัชนานี้ไม่ต้องพระทัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯจึงให้ถอดเสียจากตำแหน่งพระสังฆราช ลงเป็นพระอนุจรเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ขึ้นครองราชย์ ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2325 ได้โปรดเกล้า ฯ ให้คงที่สมณฐานันดรศักดิ์ดังเดิมและไปครองพระอารามตามเดิมด้วย ทรงเห็นว่าเป็นผู้มีความสัตย์ซื่อมั่นคง ดำรงรักษาพระพุทธศาสนาโดยแท้ มิได้อาลัยแก่ร่างกายและชีวิต ควรแก่นับถือเคารพสักการะบูชาพระองค์ทรงเป็นกำลังสำคัญในการชำระและฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯทั้งในด้านความประพฤติปฏิบัติของภิกษุสามเณร การบูรณะปฏิสังขรณ์พุทธสถาน การชำระตรวจสอบพระไตรปิฎกตลอดจนการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปงานสังคายนาพระไตรปิฎกในครั้งนี้ นับเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์และเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 2 ของราชอาณาจักรไทยกระทำเมื่อปี พ.ศ.2331 โดยนำพระไตรปิฎก ที่รวบรวมบรรดาพระไตรปิฎกฉบับที่เป็นอักษรลาว อักษรรามัญ  ตรวจชำระแล้วแปลงเป็นอักษรขอม จารึกลงลานประดิษฐานไว้ ณ หอพระมณเทียรธรรม และสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ ไว้ศึกษาทุกพระอารามหลวง เมื่อตอนต้นรัชกาล มาตรวจชำระ โดยอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชพระราชาคณะให้ดำเนินการ สมเด็จพระสังฆราชได้เลือกพระราชาคณะฐานานุกรม เปรียญอันดับที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกได้พระสงฆ์ 218รูป กับราชบัณฑิตยาจารย์ 32 คน ทำการสังคายนาที่ วัดนิพพานาราม  แบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 4 กอง ดังนี้ สมเด็จพระสังฆราช  เป็นแม่กองชำระพระสุตตันปิฎก
พระวันรัต  เป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎกพระพิมลธรรม  เป็นแม่กองชำระพระสัททาวิเศสพระธรรมไตรโลก  เป็นแม่กองชำระพระปรมัตถปิฎกการชำระพระไตรปิฎกครั้งนี้ใช้เวลา 5 เดือน ได้จารึกพระไตรปิฎกลงลานใหญ่ แล้วปิดทองทึบ ทั้งปกหน้าปกหลัง และกรอบเรียกว่า ฉบับทอง   ทำการสมโภช แล้วอัญเชิญเข้าประดิษฐานในตู้ประดับมุกตั้งไว้ในหอพระมณเทียรธรรม กลางสระในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระสังฆราช(ศุข)

สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2337 ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 23 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2359 สันนิษฐานว่า มีพระชนมายุเกิน80 ปีพระประวัติในตอนต้นไม่ปรากฏหลักฐานพระประวัติเมื่อครั้งกรุงธนบุรี ทรงเป็นพระราชาคณะที่พระญาณสมโพธ อยู่วัดมหาธาตุ ฯ ถึงปี พ.ศ. 2323 และได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นที่พระพนรัตนอันเป็นตำแหน่งรองสมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ขณะที่ทรงสมณศักดิ์ ที่พระพนรัตน ได้เป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก ในครั้งที่มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทรเมื่อปีพ.ศ. 2331 ทรงรอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ทรงจัดระเบียบการสอบพระปริยัติธรรมเพื่อเป็นเปรียญ แบบ 3 ชั้น คือ เปรียญตรีเปรียญโท และเปรียญเอกพระองค์ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระราชวงศ์หลายพระองค์ด้วยกัน เช่น สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ฯ (นักองเอง) พระเจ้ากรุงกัมพูชา สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข และเจ้านายพระองค์อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากในสมัยของพระองค์ ได้มีการส่งสมณทูตไทยไปสืบข่าวพระศาสนา ณ ลังกาทวีป เป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อปี พ.ศ. 2358 หลังจากที่ว่างเว้นมา 60 ปี จากสมัยกรุงศรีอยุธยา

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระสังฆราช(มี)

สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต  ณ วัดมหาธาตุยุวราชวังสฤษดิ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2359 ทรงดำรงตำแหน่งอยู่4 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2362 เมื่อพระชนมายุได้ 70 พรรษาพระประวัติในตอนต้นไม่พบรายละเอียด มีแต่เพียงว่า ประสูติในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2293 ในสมัยกรุงธนบุรี ได้เป็นเปรียญเอก อยู่ที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระวินัยรักชิต ซึ่งนับเป็น รูปแรกที่ได้รับราชทินนามนี้  เมื่อปี พ.ศ. 2337 ได้เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระพิมลธรรม และได้เป็น พระพนรัตน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระองค์ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในพระราชทินนามว่า  สมเด็จพระอริยวงษาญาณ  ซึ่งนับว่าได้รับพระราชทินนามนี้เป็นพระองค์แรก ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จึงได้ทรงแก้ไขพระราชทินนามให้เป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ซึ่งได้ใช้ตลอดมาจนถึงปัจจุบันในสมัยของพระองค์ ได้เกิดมีอธิกรณ์ที่สำคัญคือ มีพระเถระผู้ใหญ่ ต้องอธิกรณ์เมถุนปาราชิกพร้อมกันถึง 3 รูปจนถึงขั้นมีบุตร พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นรักษ์รณเรศกับพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร ทรงพิจารณาอธิกรณ์ ได้ความเป็นสัตย์สมดังฟ้อง จึงได้มีรับสั่งให้เอาตัวผู้กระทำผิดไปจำไว้ในคุก และได้ทรงเผดียงสมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) วัดสระเกศ ให้แต่งหนังสือ โอวาทานุสาสน เมื่อปี พ.ศ.2369 แสดงข้อวัตรปฏิบัติอันสมควรแก่สมณมลฑล คัดแจกไปทุกวัด เป็นทำนองสังฆาณัติส่วนการชำระความปาราชิก ก็สืบสวนกวดขันขึ้นมาแต่ครั้งนั้นสาระสำคัญของหนังสือนี้ ว่าด้วยเรื่องพระอุปัชญาย์อาจารย์ พระราชาคณะพระถานานุกรม เอาใจใส่ สั่งสอนพระภิกษุสามเณรให้อยู่ใน จตุปาริสุทธิศีล  ผู้ที่จะเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ จะต้องมีความรู้เรื่องพระวินัย และสังฆกรรมเป็นอย่างดี และปฏิบัติให้ถูกต้องเมื่อปี พ.ศ. 2360 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระราชประสงค์ จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ให้ยิ่งขึ้นไป สมเด็จพระสังฆราชจึงได้ถวายพระพร ให้ทรงกระทำการสักการะบูชาพระรัตนตรัยในวันวิสาขบูชาจึงได้เกิด พิธีวิสาขบูชา มาตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันได้มีการปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม โดยขยายการศึกษาออกไปเป็น 9 ประโยค ผู้ที่สอบไล่ได้ตั้งแต่3 ประโยคขึ้นไป เรียกว่าเป็นบาเรียน (หรือเปรียญ) การปรับปรุงครั้งนี้ ได้ใช้เป็นแบบแผนมาถึงปัจจุบัน

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระสังฆราช(สุก ญาณสังวร)

สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี พ.ศ.2363 อยู่ในตำแหน่ง 3 พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. 2365  พระชนมายุได้ 90พรรษาพระองค์ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2276 ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรีได้เป็นพระอธิการอยู่วัดท่าหอย แขวงรอบกรุงเก่า มีพระเกียรติคุณในทางบำเพ็ญสมถภาวนา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ ได้โปรดให้นิมนต์พระองค์มาอยู่ที่วัดพลับและให้เป็นที่ พระญาณสังวรเถร พระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯตั้งแต่ยังอยู่ที่วัดท่าหอย การที่โปรดให้นิมนต์มาอยู่ที่วัดพลับ ก็เนื่องจากเป็นวัดสำคัญฝ่ายอรัญวาสีของกรุงธนบุรีซึ่งต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ จึงได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดราชสิทธาราม พระองค์ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระญาณสังวรณ์  เมื่อปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชในอีก 4 ปีต่อมา เมื่อมีพระชนมายุได้ 88 พรรษา ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร นับว่าเป็นตำแหน่งพิเศษ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นตำแหน่งที่พระราชทานแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระโดยเฉพาะนอกจากนั้น พระองค์ยังได้รับการถวายสมัญญาว่า  สังฆราชไก่เถื่อน จากชาวบ้านทั่วไป เนื่องจากการที่พระองค์ทรงคุณธรรมทางวิปัสสนาธุระดังกล่าวแล้วเมื่อครั้งเกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2363 มีผู้คนเสียชีวิตมากมาย ประมาณถึง สามหมื่นคนเศษพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงให้ตั้ง  พระราชพิธีอาพาธพินาศ โดยพระองค์ทรงศีลและให้ตั้งโรงทาน ส่วนสมเด็นพระสังฆราชทรงให้สังคายนาบทสวดมนต์เพื่อใช้ในพระราชพิธีดังกล่าว

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระสังฆราช(ด่อน)

สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษด์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็นพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2365 ดำรงตำแหน่ง20 พรรษาสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. 2395 มีพระชนมายุได้ 81 พรรษาพระประวัติในตอนต้นไม่พบรายละเอียด  มีแต่เพียงว่าประสูติในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์  แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2304 ได้เป็นที่ พระเทพโมลี อยู่ที่วัดหงส์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ และได้เป็นที่  พระพรหมมุนี ในรัชสมัยสมเด็นพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระพิมลธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2359 ต่อมาได้เลื่อนเป็น  สมเด็จพระพนรัตน์ ในรัชกาลเดียวกัน ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์สุดท้ายที่สถิต ณ วัดมหาธาตุทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ซึ่งทรงผนวชเมื่อปี พ.ศ. 2367
ในช่วงปลายสมัยของสมเด็จพระสังฆราช ได้มีการชำระความพระสงฆ์ที่ประพฤติอนาจารครั้งใหญ่ ได้ตัวมาชำระสึกเสียจำนวนมากประมาณถึง 500 รูปเศษ ที่หนีไปก็มีจำนวนมาก และพระราชาคณะก็เป็น ปาราชิกหลายรูป นับเป็นการชำระสะสางอลัชชีในคณะสงฆ์ครั้งใหญ่ที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมของคณะสงฆ์ในยุคนั้น และในขณะเดียวกัน ก็แสดงให้เห็นถึงความเอาพระทัยใส่ในการคณะสงฆ์ของพระมหากษัตริย์อย่างจริงจัง

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระสังฆราช(นาค)

สมเด็จพระสังฆราช (นาค) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชบูรณะราชวรวิหารในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2386 ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 6 พรรษาสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2392 เมื่อพระชนมายุได้ 86 พรรษาพระประวัติตอนต้นไม่พบรายละเอียด มีแต่เพียงว่าประสูติในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2301 เป็นพระราชาคณะที่  พระนิกรมุนี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ ได้เลื่อนเป็น  พระพรหมมุนี เมื่อปี พ.ศ. 2359 ต่อมาเป็น  พระธรรมอุดม และได้เลื่อนเป็น สมเด็จพระพนรัตน เมื่อปี พ.ศ. 2373 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื่องจากในระยะเวลาที่ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุกำลังอยู่ระหว่างการปฏิสังขรณ์ พระองค์จึงสถิต ณ วัดราชบูรณะตลอดมาจนสิ้นพระชนม์ทำให้ธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เป็นอันเลิกไปตั้งแต่นั้นมาและสมเด็จพระสังฆราชเคยสถิตอยู่  ณ พระอารามใด เมื่อครั้งก่อน เป็นสมเด็จพระสังฆราชก็ยังคงสถิตอยู่ ณ พระอารามนับสืบต่อไป เป็นแบบธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน
ได้มีการส่งสมณทูตไปลังกาเป็นครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2387 โดยทางเรือและเดินทางกลับในปีเดียวกัน พร้อมกับ ได้ยืมหนังสือพระไตรปิฎกมาอีก 30 คัมภีร์ พร้อมทั้งมีภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ชาวลังกา ติดตามมาด้วยกว่า 40 คน การที่มีพระสงฆ์ชาวลังกาเดินทางเข้ามาประเทศไทยบ่อยครั้งจึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ขณะทรงผนวชและเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รับภาระต้อนรับดูแลพระสงฆ์ชาวลังกาดังนั้นวัดบวรนิเวศ ฯ จึงมีหมู่กุฎีไว้รับรองพระสงฆ์ลังกาโดยเฉพาะ เรียกว่า คณะลังกา
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ  ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 7  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  และทรงเป็น พระมหาสมณเจ้า ฯ พระองค์แรก กับเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรก ที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช  ทรงสถิตณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ   ดำรงสมณศักดิ์เมื่อปีพ.ศ. 2394   ถึงปี พ.ศ. 2396 รวม 2 พรรษา  สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 64 พรรษาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ  เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2333 มีพระนามว่า พระองค์เจ้าวาสุกรี  ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุได้  12 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2345 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อทรงผนวชแล้ว เสด็จไปประทับ ณ วัดพระเชตุพน ฯทรงศึกษาหนังสือไทย และภาษาบาลีตลอดทั้งวิชาอื่น ๆ จากสมเด็จพระพนรัตน์จนทรงมีพระปรีชาสามารถ ทั้งทางคดีโลก และคดีธรรม มีผลงานอันเป็นพระราชนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ  ให้รวมวัดในแขวงกรุงเทพ ฯ ขึ้นเป็นคณะหนึ่งเรียกว่า  คณะกลาง แล้วได้สถาปนากรมหมื่นนุชิตชิโนรสให้ดำรงสมณศักดิ์เสมอเจ้าคณะรอง และทรงตั้งเป็นเจ้าคณะกลางพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ  ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็นพระมหาสังฆปริณายก ทั่วพระราชอาณาเขต ให้จัดตั้ง  พระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก ที่วัดพระเชตุพน ฯ มีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีพราหมณ์ คล้ายกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกของคณะสงฆ์ไทยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงมีพระอัจฉริยภาพหลายด้าน  ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องพระปฐมสมโพธิกถา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกหรือร่ายยาวมหาชาติ ซึ่งนับเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกทางพระพุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์ในทางพระพุทธศิลป์ ได้ทรงคิดแบบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โดยทรงเลือกพระอิริยาบทต่าง ๆ จากพุทธประวัติเป็นจำนวน 37 ปางเริ่มตั้งแต่ปางบำเพ็ญทุกขกิริยา  จนถึงปางห้ามมาร  พระพุทธรูปปางต่าง ๆ เหล่านี้ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้มากเช่น ลิลิตตะเลงพ่าย  พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เทศนาพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ลิลิตกระบวนพยุหยาตราพระกฐินสถลมารคและชลมารค เป็นต้น ในทางอักษรศาสตร์ ก็ได้นิพนธ์เรื่องฉันท์มาตราพฤติ และวรรณพฤติ ตำราโคลงกลบท คำกฤษฎี เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้นิพนธ์บทกวีอีกเป็นจำนวนมาก ที่ล้วนมีคุณค่าเป็นเพชรน้ำเอกทางวรรณกรรมของไทยตลอดมา ในปี พ.ศ. 2533 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก)  ได้ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ  เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลกประจำปี พ.ศ. 2533 นับเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้รับการถวายเกียรตินี้ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชก็ว่างตลอดรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯอาจจะเนื่องจากไม่มีพระเถระรูปใด มีคุณสมบัติอยู่ในฐานะที่จะทรงสถาปนาตามหลักเกณฑ์กล่าวคือ ตามพระราชประเพณีนิยมที่มีมาแต่โบราณ พระเถระที่จะทรงตั้งเป็น สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะ นั้น ก็เฉพาะผู้ทรงคุณสมบัติพิเศษ คือเป็นพระอุปัชฌาย์  เป็นอาจารย์เป็นที่ทรงนับถือเหมือนอย่างพระอุปัชฌาย์ หรือพระอาจารย์ หรือเป็นผู้ใหญ่ผู้เฒ่า มีอายุแก่กว่าพระชนมพรรษา แม้ว่าจะว่างสมเด็จพระสังฆราช  แต่การปกครองคณะสงฆ์ ก็สามารถดำเนินไปได้ด้วยดีเนื่องจากแต่โบราณมา พระมหากษัตริย์ทรงถือเป็นพระราชภาระในการปกครองดูแลคณะสงฆ์โดยมีเจ้านาย  หรือขุนนางผู้ใหญ่ในตำแหน่ง เจ้ากรมสังฆการี  เป็นผู้กำกับดูแลแทนพระองค์ สมเด็จพระสังฆราชมิได้ทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรง ทรงดำรงฐานะปูชนียบุคคล การปกครองในลักษณะนี้ ได้มาเปลี่ยนแปลงไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหารได้รับมหาสมณุตมาภิเษก เมื่อ ปี พ.ศ.2434 เมื่อพระชนมายุได้ 82 พรรษา เป็นพระมหาสมณเจ้า ฯ ได้ 10 เดือน ก็สิ้นพระชนมเมื่อปี พ.ศ. 2435 พระชมมายุได้ 83 พรรษาเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2396  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใด ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกจนตลอดรัชกาล เป็นเวลา 15 ปี  ในระหว่างนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศ ฯ ทรงดำรงพระอิศริยยศ เป็น พระจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ทรงดำรงสมณฐานันดร เป็นที่สองรองจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ขึ้นครองราชย์ ก็ยังมิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นระยะเวลาถึง23 ปี จึงได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศฯ ขณะดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระเป็นสมเด็จพระสังฆราชสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ประสูติปี พ.ศ. 2352เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุ ฯ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2372 ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ณ สำนักวัดมหาธาตุ ฯ ทรงแตกฉานในภาษาบาลี พระนิพนธ์ที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลีคือพระนิพนธ์เรื่อง  สุคตวิทัตถิวิธาน ซึ่งทรงนิพนธ์เป็นภาษาบาลี นอกจากนี้ยังได้ทรงนิพนธ์เรื่องเบ็ดเตล็ดอื่น ๆเป็นภาษาบาลีอีกหลายเรื่อง นับว่าพระองค์ทรงเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลี ที่สำคัญพระองค์หนึ่งทรงเป็นพระราชาคณะ มีสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะสามัญ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯเมื่อปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าฤกษ์ เป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงอิศริยยศเป็นประธานาธิบดีแห่งพระสงฆ์ธรรมยุตินิกาย นับว่าทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติพระองค์แรก ทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นที่สอง รองจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จ พระมหาสังฆปรินายกคือ สมเด็จพระสังฆราช

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

เมื่อปี พ.ศ. 2416 ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ซึ่งในปีเดียวกันนี้ ทรงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงเธอกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ การที่เลื่อนพระอิศริยยศครั้งนี้ แม้ว่าพระองค์จะไม่ทรงรับถวาย มหาสมณุตมาภิเษกในที่สมเด็จพระสังฆราชแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ก็ถวายพระเกียรติยศในทางสมณศักดิ์สูงสุด เท่ากับทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงรับถวายมหาสมณุตมาภิเษก ในปี พ.ศ. 2438 เมื่อพระชนมายุได้ 82 พรรษา ด้วยเหตุผลที่ว่า เจ้านายชั้นเดียวกันสิ้นพระชนม์แล้วทั้งสิ้นมีเจ้านายผู้ใหญ่เจริญพระชนมายุเหลืออยู่แต่พระองค์เพียงพระองค์เดียว
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ นอกจากจะเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลีแล้ว ยังทรงมีพระปรีชาสามารถ ในด้านต่าง ๆ  พอประมวลได้ดังนี้คือด้านสถาปัตยกรรม  ทรง ออกแบบพระปฐมเจดีย์ องค์ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เมื่อปีพ.ศ. 2396ด้านโบราณคดี  ทรงเป็นนักอ่านศิลาจารึกรุ่นแรกของไทยได้ศึกษาและรวบรวมจารึกต่าง ๆ ในประเทศไทยไว้มาก และได้ ทรงอ่านจารึกสุโขทัยหลักที่ 2   ที่เป็นอักษรขอม เป็นพระองค์แรกด้านประวัติศาสตร์  ทรงนิพนธ์ลิลิตพงศาวดารเหนือ เรื่องพระปฐมเจดีย์ และพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ  เป็นต้นด้านดาราศาสตร์   ทรงพระนิพนธ์ ตำราปักขคณนา (คำนวนปฏิทินทางจันทรคติ) ไว้อย่างพิสดารด้านวิทยาศาสตร์  ทรงบันทึกจำนวนฝนตกเป็นรายวัน ติดต่อกันเป็นเวลาถึง 45 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2389ถึงปี พ.ศ. 2433  เพื่อเป็นการเก็บสถิติน้ำฝนในประเทศไทย   เรียกบันทึกนี้ว่า   จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนด้านกวี  ทรงพระนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ  ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาบาลี ไว้เป็นจำนวนมาก  ที่เป็นภาษาไทย ทรงนิพนธ์ไว้จำนวนมาก เช่น ได้ลงพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ กาพย์เสด็จนครศรีธรรมราช  ลิลิตพงศาวดารเหนือ เป็นต้นทรงให้กำเนิดพระกริ่งในประเทศไทย  ทรงสร้างพระกริ่งที่เรียกกันว่า พระกริ่งปวเรศ ซึ่งเป็นต้นแบบของพระกริ่ง  ในยุคต่อมาของไทย ด้านพระศาสนา ทรงเป็นองค์ประธานชำระและแปลพระไตรปิฎก พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ทรงกำหนดพระราชบัญญัติ และประกาศคณะสงฆ์ต่าง ๆ

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้