ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สมเด็จพระสังฆราชของไทย

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระสังฆราช(สา ปุสฺสเทโว)

สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณวัดราชประดิษฐ์ สถิตมหาสีมาราม  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปีพ.ศ. 2436 ถึงปี พ.ศ. 2442 รวม 6 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 87 พรรษา
พระองค์เป็นชาวตำบลบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2356  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้บรรพชาเป็นสามเณรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ  เดิมอยู่วันใหม่บางขุนเทียนแล้วย้ายไปอยู่วัดสังเวชวิศยาราม และไปเรียนพระปริยัติธรรมในพระราชวังบวรกับอาจารย์อ่อน และโยมบิดาของท่านเองซึ่งเป็นอาจารย์บอกหนังสือ อยู่ที่พระราชวังบวรดัวยกันเมื่อพระชนมายุได้ 14 ปี  ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งแรก แปลได้ 2 ประโยคจึงยังไม่ได้เป็นเปรียญ แต่คนเรียกกันว่า  เปรียญวังหน้า ซึ่งมีที่มาของชื่อนี้ว่า ในการแปลพระปริยัติธรรมนั้น ผู้เข้าแปลครั้งแรกต้องแปลให้ได้ครบ3 ประโยคในคราวเดียว จึงจะนับว่าเป็นเปรียญ ถ้าได้ไม่ครบในการสอบครั้งต่อไป จะต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมดครั้งนั้นกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ มีพระประสงค์ที่จะอุปการะภิกษุสามเณรที่เข้าสอบมิให้ท้อถอย ดังนั้นถ้ารูปใดแปลได้ 2 ประโยค  ก็ทรงรับอุปการะไปจนกว่าจะสอบเข้าแปลใหม่ได้เป็นเปรียญ 3 ประโยค ภิกษุ สามเณร ที่ได้รับพระราชทานอุปการะในเกณฑ์ดังกล่าว จึงได้ชื่อว่า เปรียญวังหน้าพระองค์ได้เข้าถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯตั้งแต่เป็น สามเณร และได้ศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่สำนักวัดราชาธิวาส จนพระชนมายุได้18 ปี จึงได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม  อีกครั้งหนึ่ง  และทรงแปลได้หมดทั้ง  9  ประโยค ได้เป็นเปรียญเอก   ตั้งแต่ยังทรงเป็นสามเณร นับ เป็นสามเณรองค์แรกที่ได้เป็นเปรียญ9 ประโยค ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ได้อุปสมบท ณ วัดราชาธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2376  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2379 ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯมาอยู่ที่วัดบวรนิเวศ ฯ ทรงได้รับพระราชทาน แต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระอมรโมลี  เมื่อปี พ.ศ. 2382 พรรษา 6 และทรงอยู่ในฐานะพระเถระผู้ใหญ่ ผู้เป็นต้นวงศ์ของคณะธรรมยุตรูปหนึ่งใน10 รูป ต่อมาได้ลาสิกขาไปเป็นฆราวาสอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯได้โปรดเกล้า ฯ ให้อุปสมบทใหม่ ที่วัดบวรนิเวศ ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2394 พระชนมายุได้ 38 ปี เมื่ออุปสมบทแล้ว ว่ากันว่า ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่งและทรงแปลได้หมดทั้ง 9 ประโยค จึงมีผู้กล่าวถึงพระองค์ด้วยสมญานามว่า สังฆราช 18 ประโยค  ในคราวอุปสมบทครั้งที่ 2 นี้ พระองค์ทรงเป็นพระอันดับอยู่7 ปี จึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่  พระสาสนโสภณ  เมื่อปี พ.ศ. 2401 รับประราชทานนิตยภัตรเสมอพระราชาคณะชั้นเทพแต่ถือตาลปัตรแฉกเสมอพระราชาคณะชั้นสามัญ คนทั่วไปเรียกกันโดยย่อว่า  เจ้าคุณสา พระองค์ได้แต่งหนังสือเทศน์ขึ้นไว้ สำหรับใช้อ่านในวันธรรมสวนะปกติ และในวันบูชา  แต่งเรื่องปฐมสมโพธิ์ย่อ 3 กัณฑ์จบ สำหรับถวายเทศน์ในวันวิสาขบูชา 3 วัน ๆ ละ หนึ่งกัณฑ์ และเรื่องจาตุรงคสันนิบาตกับโอวาทปาติโมกข์ สำหรับถวายในวันมาฆบูชาที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  และยังได้ รจนาปฐมสมโพธิ์ภาคพิสดาร สำหรับใช้เทศนาในวัด 2 คืนจบอีกด้วย พระนิพนธ์ต่าง ๆ ของพระองค์ ยังคงใช้ ในการเทศนา  และศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร จนถึงปัจจุบันเมื่อสร้างวัดราชประดิษฐ์ ฯ เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อาราธนาพระองค์ ครั้งยังเป็นที่พระสาสนโสภณ จากวัดบวรนิเวศ ฯ มาครองวัดราชประดิษฐ์ ฯ   เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก และได้รับพระราชทานตาลปัตรแฉกพื้นแพรเสมอชั้นธรรม และเมื่อปีพ.ศ. 2415  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ สถาปนาเลื่อนสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่  พระธรรมวโรดม  แต่คงใช้ราชทินนามเดิมว่า พระสาสนโสภณ  ที่พระธรรมวโรดม ต่อมา เมื่อปี  พ.ศ.2422  ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์   เจ้าคณะฝ่ายเหนือในปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งแต่เดิมจารึกไว้ด้วย อักษรขอม ด้วยการจารลงในใบลาน การคัดลอกทำได้ช้า ทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลาย ไม่พอใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ไม่สะดวกในการเก็บรักษา และนำมาใช้อ่าน ทั้งตัวอักษรขอมก็มีผู้อ่านได้น้อยลงตามลำดับ การพิมพ์พระไตรปิฎก เป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย จะแก้ปัญหาข้อขัดข้องดังกล่าวได้ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้อาราธนาพระเถระนุเถระมาประชุม ร่วมกับราชบัณฑิตทั้งหลาย ตรวจชำระพระไตรปิฎกแล้วจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือขึ้น สมเด็จพระสังฆราช (สา) ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสขณะทรงดำรงพระยศกรมหมื่น เป็นรองอธิบดี จัดการทั้งปวงในการสังคายนาครั้งนี้พระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ครั้งนี้มีจำนวน 1000 จบ ๆ ละ 39 เล่ม ใช้เงิน 2000 ชั่ง พิมพ์เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2436 เป็นที่เลื่องลือแพร่หลายไปทั่วโลกในปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ สถาปนาเพิ่มอิสริยยศให้เป็นพิเศษกว่าสมเด็จพระราชาคณะแต่ก่อนมา คือทรงสถาปนาให้เป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  นับว่าเป็น พระมหาเถระรูปที่ 2 ที่ได้รับสถาปนาในพระราชทินนามนี้ อันเป็นพระราชทินนามสำหรับตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราชเมื่อพระองค์ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2436 พระองค์ไม่ได้รับพระราชนาม  พระสุพรรณบัตรใหม่ คงใช้พระสุพรรณบัตรเดิม แต่ได้รับพระราชทานใบกำกับ พระสุพรรณบัตรใหม่งานพระนิพนธ์ของพระองค์มีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นงานแปลพระสูตรที่มีอยู่20 สูตร หนังสือเทศนามี  70  กัณฑ์  และเบ็ดเตล็ดมี  5 เรื่องพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ก็มิได้ทรงสถาปนา  พระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกเลยตลอดรัชสมัยเป็นเวลาถึง 11 ปี

12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต  ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2443  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯดำรงพระอิสริยยศ 22 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2464  พระชนมายุ 62 พรรษาพระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จในพระจอมเกล้า ฯและเจ้าจอมมารดาแพ  ประสูติ เมื่อปี พ.ศ. 2403  พระนามว่า  พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ เมื่อพระชนมายุได้ 8 พรรษา ทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลี จนสามารถแปลธรรมบทได้ก่อนทรงผนวชเป็นสามเณร นอกจากนี้ยังทรงศึกษาภาษาอังกฤษและโหราศาสตร์ อีกด้วย
เมื่อพระชนมายุได้ 14 พรรษา ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วมาประทับณ วัดบวรนิเวศวิหารอยู่ 2 เดือนจึงลาผนวช  ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2422  แล้วมาประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อทรงผนวชได้ 3 พรรษา ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมหน้าพระที่นั่ง ทรงแปลได้เป็นเปรียญ 5 ประโยค จากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ  ทรงสถาปนาพระอิสริยยศ   เป็น กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส  และเป็นเจ้าคณะรอง ในธรรมยุติกนิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2424  พระองค์ได้ครองวัดบวรนิเวศวิหารสืบต่อจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศ ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2434 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติ เมื่อปี พ.ศ. 2436ทรงเริ่มพัฒนาการพระศาสนา โดยเริ่มต้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้แก่ริเริ่มให้ภิกษุสามเณรที่บวชใหม่ เรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทยมีการสอบความรู้ด้วยวิธีเขียน ต่อมาจึงกำหนดให้เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับคณะสงฆ์ เรียกว่า  นักธรรม  ทรงจัดตั้ง  มหามงกุฎราชวิทยาลัย เป็นการริเริ่มจัดการศึกษาของพระภิกษุ สามเณรแบบใหม่คือ เรียนพระปริยัติธรรม ประกอบกับวิชาการอื่น ที่เอื้ออำนวยต่อการสอนพระพุทธศาสนา  ผู้ที่สอบได้จะได้เป็นเปรียญเช่นเดียวกับที่สอบได้ในสนามหลวง เรียกว่า  เปรียญมหามงกุฎ แต่ได้เลิกไปในอีก 8 ปีต่อมา  ทรงออกนิตยสาร ธรรมจักษุ ซึ่งเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนา ฉบับแรกของไทย

13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ทรงอำนวยการจัดการศึกษาหัวเมืองทั่วราชอาณาจักรเมื่อปี พ.ศ. 2441 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯที่จะขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปยังประชาชนทั่วราชอาณาจักร ทรงเห็นว่า วัดเป็นแหล่งให้การศึกษาแก่คนไทยมาแต่โบราณกาล เป็นการขยายการศึกษาได้เร็วและทั่วถึง เพราะมีวัดอยู่ทั่วไป ในพระราชอาณาจักร ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินงานนี้มีกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยสนับสนุน  พระองค์ดำเนินการอยู่ 5 ปี ก็สามารถขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ ชั้นประถมศึกษา ออกไปได้ทั่วประเทศจากนั้นจึงให้กระทรวงธรรมการ ดำเนินการต่อไป
ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยดี เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตนเอง และประเทศชาติจึงเกิด พ.ร.บ. ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ขึ้น ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับแรกของไทย  สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้จัดคณะสงฆ์ออกเป็น 4 คณะ คือ คณะเหนือคณะใต้ คณะกลาง และคณะธรรมยุติกา มีสมเด็จพระราชาคณะเป็นเจ้าคณะและมีพระราชาคณะรอง คณะละหนึ่งรูป รวมเป็น 8 รูป ทั้ง 8 รูปนี้ยกขึ้นเป็น มหาเถรสมาคม  เป็นองค์กรสูงสุดของคณะสงฆ์ และเป็นที่ปรึกษาในการพระศาสนา และการคณะสงฆ์ของพระมหากษัตริย์ มีเจ้าคณะปกครองลดหลั่นไปตามลำดับคือเจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง และเจ้าอาวาส มีเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  มหาเถรสมาคมเป็นเพียง ที่ทรงปรึกษา ขององค์พระมหากษัตริย์ ดังนั้นกระทรวงธรรมการจึงต้องทำหน้าที่สังฆราชโดยปริยาย พระองค์ได้เลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2449  และเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้ง  พระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสถาปนากรมหลวงวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จกรมพระยา ทรงสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะใหญ่แห่งพระสงฆ์ ทั้งกรุงเทพมหานครและหัวเมืองทั่วพระราชอาณาเขตในปีต่อมาคือ ปี พ.ศ. 2454 พระองค์ได้ทรงมีลายพระหัตถ์ถึงเสนาบดีกระทรวงธรรมการ มีความว่าควรถวายอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์แก่พระองค์  ในฐานะที่ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชให้เด็ดขาด  เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เรียบร้อย หลังจากนั้นอีก 6 เดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้ทรงมอบการทั้งปวงซึ่งเป็นกิจธุระพระศาสนา ถวายแด่พระองค์ผู้เป็นมหาสังฆปรินายกเมื่อปี พ.ศ. 2455พระองค์ได้ทรงปรับปรุงการพระศาสนา และทางคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ เป็นอันมากโดยเริ่มงาน    ตั้งแต่เสด็จไปตรวจการคณะสงฆ์ในหัวเมืองต่าง ๆ เกือบทั่วราชอาณาจักร โดยกระทำอย่างต่อเนื่องทุกปีเกือบ ตลอดพระชนม์ชีพ ทำให้ทรงทราบความเป็นไปของคณะสงฆ์ และของประชาชนในภูมิภาคต่างๆ เป็นอย่างดี  และนำข้อมูลและปัญหาต่าง ๆ มาปรับปรุง แก้ไขในทุก ๆ ด้าน พอประมวลได้ดังนี้1.  ด้านการพระศาสนา   พระองค์ได้พัฒนาภิกษุสามเณร ให้มีความรู้ความสามารถในพระธรรมวินัย เพื่อจะได้แนะนำสั่งสอนประชาชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมทรงผลิตตำราและหนังสือทางพระพุทธศาสนา ที่คนทั่วไปสามารถอ่านทำความเข้าใจได้ง่าย2.  ด้านการคณะสงฆ์   ทรงออกพระมหาสมณาณัติ ประทานพระวินิจฉัยและทรงวางระเบียบแบบแผน เกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรในด้านต่าง ๆ ให้ถูกต้องเป็นมาตรฐานเช่น ระเบียบเกี่ยวกับพระอุปัชฌาย์ การบรรพชาอุปสมบท การปกครองภิกษุสามเณรและศิษย์วัด การวินิจฉัยอธิกรณ์ ระเบียบเกี่ยวกับ สมณศักดิ์พัดยศ นิตยภัต ดวงตราประจำตำแหน่ง เป็นต้น3.   ด้านการศึกษา  ทรงปรับปรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ให้ทันสมัย ทรงจัดการศึกษาพระปริยัติ ธรรมเพิ่มขึ้นจากแบบเดิมที่ศึกษาภาษาบาลี โดยให้ศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาไทยเรียกว่า หลักสูตร  นักธรรม 4.   งานพระนิพนธ์   พระองค์ทรงรอบรู้ภาษาต่าง ๆ หลายภาษา คือ  ภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤต  ภาษาอังกฤษ  และภาษาฝรั่งเศส ได้ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก เช่น หนังสือหลักสูตรนักธรรมชั้นตรีโท เอก  หลักสูตรบาลี ไวยากรณ์ทั้งชุด  รวมพระนิพนธ์ทั้งหมดมีมากกว่า 200 เรื่องนอกจากนี้ยังทรงชำระ คัมภีร์บาลีไว้กว่า 20 คัมภีร์            มีเหตุการณ์สำคัญในสมัยของพระองค์ประการหนึ่ง คือ ตั้งแต่โบราณมา ตำแหน่งพระประมุขแห่งสังฆมณฑล ที่เรียกว่า สมเด็จพระสังฆราชนั้น  ไม่เคยมีพระราชวงศ์องค์ใดที่ทรงผนวชอยู่ได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งนี้ เพิ่งจะเริ่มมีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ซึ่งไม่ได้เรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช  แต่เรียกพระนามตามพระอิสริยยศ ในฝ่ายพระบรมราชวงศ์  ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำหน้าพระนาม เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า

14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์

สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 11 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงอิสริยยศ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เมื่อปีพ.ศ. 2465 ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 16 พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. 2480 พระชนมายุได้  79  พรรษา
พระองค์มีพระนามเดิมว่า  หม่อมเจ้าภุชงค์   เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนเจริญผลกุล สวัสดิ์ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2402 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้ศึกษาที่เมืองสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. 2414 เป็นเวลา  9 เดือน เมื่อพระชนมายุได้  14 พรรษาทรงผนวชเป็นสามเณร ประทับอยู่ที่วัดราชบพิธ ฯ ศึกษาพระปริยัติธรรม เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม 2 ครั้ง ได้เป็นเปรียญ5 ประโยค ได้เป็นพระราชาคณะที่  พระสถาพรพิริยพรต  เมื่อปี พ.ศ. 2430 ทรงเป็นคณะกรรมการชุดแรกของมหามงกุฎราชวิทยาลัยซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2436พ.ศ. 2438   ได้เป็นพระราชาคณะ ผู้ใหญ่เสมอ ชั้นเทพพ.ศ. 2442   ได้เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมปาโมกข์พ.ศ. 2444   ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธ ฯ เป็นพระองค์ที่ 2พ.ศ. 2449   ได้เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพรหมมุนี เจ้าคณะรองในคณะกลาง และได้รับสถาปนาพระอิสริยยศ เป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพ.ศ. 2453   ได้รับสถาปนาพระอิสริยยศ เป็นพระวงรวงศ์เธอกรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนกลางพ.ศ. 2464   ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลสังฆปรินายก นับว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์แรกพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถ นับว่าเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ที่สำคัญพระองค์หนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนิพนธ์ตำรา  และหนังสือสำคัญทางพระพุทธศาสนาไว้มากเช่น พจนานุกรมภาษา  บาลีแปลเป็นไทย มหานิบาตชาดก ต้นบัญญัติสามเณรสิกขา เป็นต้น พระนิพนธ์เหล่านี้ ยังใช้เป็นคู่มือในการศึกษาภาษาบาลีและศึกษาพระพุทธศาสนาของภิกษุสามเณรมาจนถึงปัจจุบัน
15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระอริยวาศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)

สมเด็จพระสังฆราช (แพ  ติสฺสเทโว) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิตณ วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2481 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงดำรงค์ตำแหน่งอยู่ 6 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2487  พระชนมายุ  89 พรรษา
พระองค์มีพระนามเดิมว่าแพ ประสูติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2399  เป็นชาวสวนบางลำภูล่างอำเภอคลองสาน ธนบุรี เมื่อพระชนมายุได้ 7 ปี ได้ไปศึกษาอักษรสมัยที่  วัดทองนพคุณ  ในสำนักของสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปีพ.ศ. 2411  อุปสมบท แล้วมาอยู่ที่วัดสุทัศน์ ฯ  ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม 3 ครั้งได้เปรียญ 5 ประโยคพ.ศ. 2432   ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่  พระศรีสมโพธิ พ.ศ. 2439   ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอพระราชาคณะชั้นเทพในพระราชทินนามเดิมพ.ศ. 2441   ได้เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่  พระเทพโมลีพ.ศ. 2443   ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่  พระธรรมโกศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลนครไชยศรีพ.ศ. 2455   ได้รับพระราชทานหิรัญบัฏ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมมุนี เจ้าคณะรอง  คณะกลางพ.ศ. 2466   ได้รับพระราชทานสุพรรณบัฏ เป็นที่  สมเด็จพระพุฒาจารย์   ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ ฝ่ายอรัญญวาสีพ.ศ. 2473   ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะทักษิณ เป็นที่สมเด็จพระวันรัตเมื่อมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. 2484 เพื่อประสานนโยบายฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร ให้เป็นไปด้วยดีพระองค์ก็ได้บริหารงานคณะสงฆ์ให้ลุล่วงไป โดยแต่งตั้งพระมหาเถรานุเถระในสังฆสภา ให้ดำรงตำแหน่งตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฉบับดังกล่าวโดยครบถ้วนด้วยดีทุกประการ

16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 07:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์  ชื่น  สุจิตฺโต)

สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรณาณวงศ์  เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงดำรงตำแหน่งอยู่  14 พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี  พ.ศ. 2501 พระชนมายุ  86 พรรษา
พระองค์เป็นโอรสหม่อมราชวงศ์ถนอม และหม่อมเอม ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2415 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ ฯสยามมงกุฏราชกุมารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เป็น คะเดท ทหารม้าในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ ฯ มีหน้าที่ตามเสด็จรักษาพระองค์ ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบวรนิเวศ ฯ ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมกับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเข้าสอบไล่ครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2433   ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สอบไล่ได้เปรียญ 5 ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ทรงอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหารเมื่อปี  พ.ศ. 2435 สอบได้เปรียญ 7 ประโยค  เมื่อปี พ.ศ. 2437  ได้รับโปรดเกล้า ฯ ตั้งเป็นพระราชาคณะที่  พระสุคุณคณาภรณ์พระองค์ได้มีส่วนร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส มาตั้งแต่ต้น คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯมีพระราชประสงค์บำรุงการศึกษามณฑลหัวเมือง ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้าให้ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษา มีการจัดพิมพ์แบบเรียนต่าง ๆ พระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ไปไว้ใช้ฝึกสอนให้ยกโรงเรียนพุทธศาสนิกชนในหัวเมืองทั้งปวง มารวมขึ้นอยู่ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เพื่อจะได้เป็นหมวดเดียวกัน พระองค์ขณะที่ดำรงสมณศักดิ์พระสุคุณคุณาภรณ์ ได้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรีต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2445 ได้มีการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ. 121 อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการพระศาสนา และการศึกษาในหัวเมือง พระองค์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี

17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 08:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พ.ศ. 2446   ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นเทพที่  พระญาณวราภรณ์พ.ศ. 2455   ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมในพระราชทินนามเดิมพ.ศ. 2464   ได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษในพระราชทินนามเดิมพ.ศ. 2467   ได้เป็นเจ้าคณะมณฑลอยุธยาพ.ศ. 2471   โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะในพระราชทินนามพิเศษว่า  สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์พ.ศ. 2476   ทรงเป็นประธานมหาเถรสมาคม  บัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พ.ศ. 2485   ทรงเป็นประธานคณะวินัยธร ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์  พ.ศ. 2484พระองค์ทรงเป็นแม่กองสอบไล่พระปริยัติธรรมหลายครั้ง  ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัดเมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวร ฯ ชราและอาพาธ ก็ได้ทรงมอบหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติ ให้ทรงบัญชาการแทน เมื่อปี พ.ศ. 2477  และเมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ สิ้นพระชนม์เมื่อปีพ.ศ. 2480  พระองค์ก็ได้ทรงเป็น เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติสืบต่อมา  และให้ทรงจัดการปกครองคณะธรรมยุติที่สำคัญหลายประการเมื่อทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแล้ว ได้ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยจัดการปกครองคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายคือ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย  เมื่อปี พ.ศ. 2494  ดังนี้1.  การปกครองส่วนกลาง  คณะสังฆมนตรีคงบริหารรวมกัน แต่การปกครองบังคับบัญชาให้เป็นไปตามนิกาย2.  การปกครองส่วนภูมิภาคให้แยกตามนิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2499 ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาสมณศักดิ์ และฐานันดรศักดิ์พระองค์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ฯ ผลงานพระนิพนธ์มีอยู่เป็นจำนวนมาก พอประมวลได้ดังนี้เมื่อปี พ.ศ. 2470  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐพระองค์ได้ทรงชำระ 2 เล่ม คือ  เล่ม 25  และเล่ม 26เมื่อปี พ.ศ. 2467  ทรงชำระอรรถกถาชาดก ภาคที่ 3 จากจำนวน 10 ภาค ที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้าโปรดให้ชำระพิมพ์หนังสือที่ทรงรจนา ได้แก่ ศาสนาโดยประสงค์  พระโอวาทธรรมบรรยาย ตายเกิด ตายสูญ ทศพิธราชธรรม พร้อมทั้งเทวตาทิสนอนุโมทนากถาสังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร และขัตติยพละ พุทธศาสนคติ  บทความต่าง ๆ รวมเล่มชื่อว่า ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาตั้งแต่เบื้องต้น ทีฆาวุคำฉันท์ และพระธรรมเทศนาที่สำคัญได้แก่ธรรมเทศนาทศพิธราชธรรม ในการพระราชพิธีธรรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชพระธรรมเทศนาวชิรญาณวงศ์เทศนา 55 กัณฑ์
พระองค์ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จออกทรงผนวช เมื่อปี พ.ศ. 2499ในงานฉลองพุทธศตวรรษในประเทศไทย  รัฐบาลสหภาพพม่าได้ถวายสมณศักดิ์สูงสุดของพม่า คือ อภิธชมหารัฏฐคุรุแด่พระองค์เมื่อปี พ.ศ. 2500

18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 08:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ)

สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์สถิต ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2503  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปีพ.ศ. 2505  พระชนมายุได้ 73 พรรษา
พระองค์มีพระนามเดิมว่าปลด ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2432  ที่กรุงเทพมหานคร  ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปีพ.ศ. 2444  ที่วัดพระเชตุพน ฯ ทรงเริ่มเรียนภาษาบาลีตั้งแต่พระชนมายุ 8 ปี เรียนมูลกัจจายน์ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้ประโยค 1 ได้รับโปรดเกล้า ฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ให้อยู่ที่วัดเบญจมบพิตร ฯ ต่อมาได้เข้าแปลประโยค 2 และประโยค 3 ได้  ทรงสอบได้ประโยค 4  เมื่อพระชนมายุได้ 13ปี  ประโยค 5 ถึงประโยค 7  เมื่อพระชนมายุได้ 14,15,16 ปี ตามลำดับ ทรงสอบประโยค 8 ได้เมื่อพระชนมายุได้19 ปี และประโยค 9 เมื่อพระชนมายุได้ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2451 ทรงอุปสมบท  ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. 2452พ.ศ. 2457 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่  พระศรีวิสุทธิวงศ์พ.ศ. 2466 เป็นราชาคณะชั้นราชที่  พระราชเวทีพ.ศ. 2468 เป็นเจ้าคณะแขวงกลาง  จังหวัดพระนครพ.ศ. 2469 เป็นราชาคณะชั้นเทพที่  พระเทพมุนีพ.ศ. 2471 เป็นเจ้าคณะมณฑลพายัพพ.ศ. 2472 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์พ.ศ. 2473 เป็นกรรมการเถรสมาคมพ.ศ. 2481 เป็นเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก และเป็นประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์ แทนองค์สมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทโว)พ.ศ. 2482 เป็นพระราชาคณะ ตำแหน่งเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏที่  พระพรหมมุนีพ.ศ. 2490 เป็นสมเด็จพระราชา คณะตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ ชั้นสุพรรณบัฎที่  สมเด็จพระวันรัตพ.ศ. 2494 เป็นสังฆนายกพ.ศ. 2501 เป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์ แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า และรักษาการในตำแหน่ง  สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ทรงกระทำกิจทางพระศาสนามาโดยตลอด ด้วยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก ตลอดพระชนมชีพ พอประมวลสรุปได้ดังนี้
19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 08:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

1. ด้านการปกครอง  เริ่มตั้งแต่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส เจ้าคณะแขวง เจ้าคณะมณฑล กรรมการเถรสมาคมประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์ แทนองค์สมเด็จพระสังฆราช สังฆนายก และรักษาการในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช2. ด้านการศึกษา  เริ่มตั้งแต่การศึกษาในสำนักวัดเบญจมบพิตร ฯ การศึกษาในมณฑลพายัพ ทั้ง 7 จังหวัดและแขวงกลางจังหวัดพระนคร เป็นกรรมการสอบพระปริยัติธรรมในสนามหลวง เป็นแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา3. ด้านการเผยแผ่ มีหนังสือธรรมที่ทรงนิพนธ์ พิมพ์ออกเผยแผ่ เป็นอันมาก เช่น มงคลภาษิต ปราภวภาษิตศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งงานพระธรรมเทศนา ในโอกาสต่าง ๆ ที่ได้รับการยอย่องว่า มีสำนวนโวหารง่ายๆ เป็นที่เข้าใจทราบซึ้ง
4. ด้านการต่างประเทศ  ได้เสด็จไปต่างประเทศเพื่อการพระศาสนาหลายครั้ง คือ
- พ.ศ. 2482 ไปตรวจการณ์คณะสงฆ์ ไทรบุรี และปีนัง แทนสมเด็จพระสังฆราช
- พ.ศ. 2498 เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมงานฉัฎฐสังคายนาจตุตถสันนิบาต (สมัยไทย) โดยเป็นประธาน กระทำพิธีเปิดประชุมสังคายนาณ สหภาพพม่า
- พ.ศ. 2499 เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมพิธีฉลอง  พุทธชยันตี  25 ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา ณ ประเทศลังกา และไปสังเกตการพระศาสนาในประเทศอินเดีย
- พ.ศ. 2501 เป็นหัวหน้าคณะไปเป็นประธานประกอบพิธีบรรจุพระบรมธาตุ ณ วัดบุปผาราม เมืองปีนังสหพันธรัฐมาลายา
- พ.ศ. 2502 เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมพิธีฉลองพระพุทธชยันตี 25 ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา ณ ประเทศญี่ปุ่นและในปีเดียวกันนี้ ได้นำพระสงฆ์ไทยไปอยู่ ณ วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดียและได้เสด็จไปมนัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง ที่อินเดีย
- พ.ศ. 2504 เสด็จไปสังเกตการพระศาสนา ในสหรัฐอเมริกา ตามคำทูลอาราชธนาของมูลนิธิเอเซีย
5.
งานด้านวิชาการและงานพิเศษ มีงานสำคัญคือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้รับมอบให้เป็นผู้ชำระคัมภีร์อรรถกถาพระสุตตันตปิฎกขุททกนิกาย 4 คัมภีร์ คือ อรรถกถาอุทาน อิติวุตตก มหานิเทศ และจุลนิเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ได้รับมอบให้เป็นผู้ชำระคัมภีร์พระสุตตันคปิฎก ขุททกนิกาย 3คัมภีร์ คือ มหานิเทศ จุลนิเทศ และชาดก และได้ชำระคัมภีร์ สารัตถทีปนี ฎีกาพระวินัยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เป็น  ประธานกรรมาธิการแปล  พระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย  จนจบพิมพ์เป็นเล่มได้จำนวน 80 เล่ม เมื่อปี พ.ศ. 2500เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้เป็นประธานสงฆ์ในงานรัฐพิธีฉลอง 25 พุทธศตวรรษของไทย

20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 08:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ฯ (อยู่  ญาโณทโย)

สมเด็จพระสังฆราช (อยู่  ญาโณทโย) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 15 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิตณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2506 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 พรรษา สิ้นพระชนมเมื่อปี พ.ศ. 2508 พระชนมายุ91 พรรษา
พระองค์มีพระนามเดิมว่า อยู่  ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2417 ที่อำเภอบางกอกใหญ่ ธนบุรี ได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักของบิดาต่อมาได้มาศึกษาที่วัดสระเกศ จนได้บรรพชาเป็นสามเณร จึงได้ศึกษาภาษาบาลี มูลกัจจายน์พ.ศ. 2433  และ 2436 ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ได้เป็นเปรียญ 3 ประโยค และ 4 ประโยค ตามลำดับพ.ศ. 2437 ทรงอุปสมบทที่วัดสระเกศพ.ศ. 2411,2443,2444 และ 2445 ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม ได้เป็นเปรียญ 5,6,7,8 และ9 ประโยคตามลำดับ ทรงเป็นเปรียญ 9 ประโยค เมื่อพระชนมายุ 28 พรรษา และเป็นเปรียญ9 ประโยคองค์แรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ จึงได้รับพระมหากรุณา ให้นำรถยนต์หลวงมาส่งถึงอารามเป็นพิเศษ และได้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบันเมื่อได้เปรียญ 9  ประโยคแล้ว  พระองค์ก็ทรงดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสนามหลวง สอบไล่พระปริยัติธรรมตลอดมาพ.ศ. 2451  ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่  พระปิฎกโกศล พ.ศ. 2462,2468  เป็นแม่กองธรรมสนามจังหวัดนครราชสีมาพ.ศ. 2464  เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่  พระราชเวที   และเป็นแม่กองธรรมสนามจังหวัดกาญจนบุรีพ.ศ. 2465,2467 เป็นแม่กองธรรมจังหวัดภูเก็ตพ.ศ. 2466 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่  พระเทพเวทีพ.ศ. 2467 เป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเหนือ จังหวัดธนบุรีพ.ศ. 2470 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่  พระธรรมเจดีย์ และเป็นกรรมการเถรสมาคม พ.ศ. 2488  ได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนา เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์พระองค์ทรงอุปถัมภ์ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกบาลี และนักธรรม ให้เจริญก้าว หน้ายิ่งขึ้น  เป็นองค์อุปภัมภ์กิตติมศักดิ์ของมหาจุฬาราชวิทยาลัยตั้งแต่เริ่มเปิดการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2490 ตลอดมา ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง วัดสระเกศ) จนสำเร็จเรียบร้อยดังที่เห็นอยู่ปัจจุบัน เป็นปูชนียสถานที่เริ่มสร้างมาแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นศรีสง่าแก่กรุงเทพมหานครมาจวบถึงปัจจุบัน

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้