|
ตะกรุดภุชงค์เบญจฤทธิ์ หลวงพ่อเฮ็น วัดดอนทอง สระบุรี
- เชือกดิบ ยุคต้นๆ ประมาณปี 2490 แต่เส้นนี้เป็นตะกรุด 4ดอก เส้นนี้
สภาพไม่เคยผ่านการใช้ สมบูรณ์สุดๆ ยุคแรกหายากมาก
ส่วนตะกรุดเชือกดิบ ตะกรุด 5ดอก แบบที่สมบูรณ์ๆ มีน้อยมากๆ
- เชือกขาว ยุคกลาง ประมาณปี 2510-2515 เชือกขาวนิยมสูงสุด ของเชือกสีต่างๆของท่าน
ตะกรุดทองแดง 4 ดอกจารนอก-จารใน ขนาดดอกละ 6 เซนฯ
- เชือกสีกัก (น้ำตาลเข้ม) ยุคปลาย ประมาณปี 2530-2543 เชือกสี(น้ำตาลเข้ม)
เชือกสีน้ำตาลเข้มไม่ค่อยเจอเลยครับ ที่เจอกันมากๆจะเป็น สีดำ,สีเขียว,สีแดง,สีน้ำเงิน
เส้นนี้ได้มาตอนที่น้ำท่วม จ.สระบุรี หลวงพ่อท่านอยู่ที่วัด เลยทำตะกรุดเอาไว้ในช่วงนั้น
และนี่เป็นหนึ่งในจำนวนนั้นครับ...
ชื่อภุชงค์เบญจฤทธิ์ก็คือมีฤทธิ์ 5 ประการ ตามตำราหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณราย เมืองกำปงธม
เดิมจะต้องมี 5 ตะกรุดทั้ง 5 ดอกจะมีสรรพคุณต่างกันไป เช่น แคล้วคลาด คงทน ไปจนถึงมหาอุด กำบังกาย เพราะฉะนั้นรุ่นแรก ๆ
ที่สร้างสมัยสงครามโลกถึงสงครามเวียดนาม ก็จะมี 5 ดอก (ท่านธุดงค์มาจำพรรษาอยู่ตั้งแต่ช่วงปี 247 กว่าๆ )
และก็เริ่มทำเครื่องรางประเภทเชือกคาดตั้งแต่รุ่นนั้นแล้ว แต่ยังไม่มีชื่อมากนัก เพราะที่วัดดอนทอง ก็มีหลวงพ่อแพ เป็นเจ้าอาวาสที่ชาวบ้านนับถือ
และถัดออกไปไม่ไกลกันนัก ก็มีวัดโคกโพธิ์ซึ่งพระอุปัชฌาย์กราน อินทโชติ เป็นเจ้าอาวาสอยู่
ช่วงนั้นหลวงพ่อกรานท่านก็มีชื่อในด้านการทำเชือกคาดเอวเช่นนี้เหมือนกัน แต่ท่านเรียนมาจากหลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ
ซึ่งชาวบ้านจะขึ้นของท่านมากกว่า เพราะหลวงพ่อเฮ็นตอนนั้นพรรษายังไม่มาก จนตอนหลังๆ
มีคนใช้เชือกคาดภุชงค์เบญจฤทธิ์แล้วปรากฏว่าแรงฤทธิ์จริง ๆ สมชื่อ
จนไปเป็นนักเลงอันธพาลเป็นโจรกันไปหลายคน เดือดร้อนเจ้าหน้าที่ทางการยากแก่การปราบปราม
คนทั่วไปใช้แล้วก็ร้อนมีเรื่องกันง่าย ๆ หลวงพ่อท่านเลยลดออกดอกหนึ่งเหลือแค่ 4 ดอก
เพราะเห็นว่าตอนหลังไม่ได้มีศึกสงครามต้องไปรบพุ่งกันเหมือนก่อน
จะได้เย็นขึ้นโดยท่านจะตัดตะกรุดดอกสำคัญออกไป 1 เพื่อผ่อนฤทธิ์ลง แต่ที่เห็นรุ่นหลังๆที่เป็น 5 ดอกก็มีเพราะบางคนขอท่าน ท่านก็อนุโลมให้
เดิมท่านจะถักเองทุกเส้นขมวดปมบริกรรมคาถา ตะกรุดก็จะจารเอง จนรุ่นท้ายๆก่อนมรณภาพได้ออกมามากเพราะได้ศิษย์ช่วยทำด้วย
ทุกวันนี้มีคนได้เรียนการถักเชือกคาดภุชงค์เบญจฤทธิ์จากท่านไปจริง ๆ เพียงแค่ 2 คนเท่านั้น
จากประสบการณ์ตรง หลวงพ่อเฮ็นท่านเป็นพระที่น่านับถือมาก
|
ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง
คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน
x
|