แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-7-8 15:55
วัตถุมงคลประเภทเครื่องรางของขลังของท่านที่โดดเด่นอีกอย่างก็คือ
"สีผึ้งดอนทอง"
0)
เป็นสีผึ้งสีปากอันมีคุณวิเศษยิ่งของวัดดอนทอง ตำรับสีผึ้งวิเศษของท่านมีดังนี้ สิทธิการิยะ
ถ้าจะหุงสีผึ้งสีปากให้เป็นมหาละลวยแก่ท้าวพระยามหาเสนามนตรี และสมณพราหมณ์ชี
บุรุษสตรีทั้งปวงท่านให้ทำได้ถึง สามไฟเป็นมหาวิเศษนักเลง
ถ้าทำได้แต่เพียงไฟหนึ่งเป็นอย่างตรี
ทำได้สองไฟเป็นอย่างโท
ถ้าทำได้ถึงสามไฟเป็นอย่างเอกแล
ท่านให้เขียนยันต์นี้ลงก้นขันสัมฤทธิ์ แล้วเอาสีผึ้งแท้มาฝานเป็นแผ่นบางๆ ใส่ลงในขันสัมฤทธิ์นั้น แล้วจึงเอาน้ำมันงาใส่ลงด้วยกัน
เอาไม้รักซ้อนมาทำเป็นพายสำหรับกวนขี้ผึ้ง
พระคาถานี้เสกในโบสถ์
"ยะธาพุทโมนะ ธาพุทโมนะยะ พุทโมนะยะธา โมนะยะพุท นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ ยาจามีฯ"
เสกกวนจนเข้ากันแล อันไฟหนึ่งเรียกว่าไฟธาตุ
และถ้าจะทำให้ได้สองไฟ ให้เอากระดาษมาลาด้วย "สัพเพ ธนา พะหู ชะนาฯ" แล้วเอาพระคาถานี้ลงประทับหลัง "พุทธัง ธัมมัง นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู สังฆัง" พระมารดาค้ำชูพระปิตาอุปถัมภ์ พระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจา พระอนุสาวนา เป็นกำแพงแก้ว 7 ชั้น กันโพยภัย อันตรายอุปัทวะทั้งหลาย มิให้เข้ามาใกล้กราย "สัพพะรัตติงทิวังฯ" ลงและม้วนเป็นไส้เทียน เอาขี้ผึ้งหนัก 1 บาท ควั่นเป็นเทียนเล่มหนึ่ง จุดไฟแล้วตั้งไว้ในโคม เอาขันสัมฤทธิ์ที่ใส่ขี้ผึ้งนั้นตั้งลงบนช่วงหลังโคมนั้น เสกด้วยพระคาถานี้จนกว่าจะสิ้น
วัตถุมงคล "สีผึ้งดอนทอง" ของหลวงพ่อเฮ็น วัดดอนทอง ต.ตะงาว อ.ดอน พุด จ.สระบุรี ท่านทำตามตำรับเฉพาะของท่าน มีกรรมวิธีขั้นตอนเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ เห็นแล้วน่าศรัทธา บทคาถาต่างๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ท่านใช้ปลุกเสกสีผึ้ง ผู้ที่รับสีผึ้งของท่านไปแล้วดียิ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้นไป
การหุงสีผึ้งของหลวงพ่อเฮ็นท่านหุงด้วยคาถาอาคมขนานแท้ มิใช่จะเอาสีผึ้งมาปลุกเสกแจกกันธรรมดาทั่วไป ดังนั้น สีผึ้งของท่านจึงมีความเข้มขลังผู้นำไปใช้แล้วจึงมีประสบการณ์ได้ผลดี โดยเฉพาะทางเมตตามหานิยมนั้นเป็นเลิศ เรียกว่า "ไม่ลองไม่รู้" เพราะนอกจากท่านจะหุงสีผึ้งขึ้นมาแล้ว ท่านยังผสมผงพุทธคุณลงในสีผึ้งของท่านอีกด้วย
เรื่องผงพุทธคุณต่างๆ อันได้แก่ผงอิทธิเจปถมัง มหาราชและตรีนิสิงเหนั่น หลวงพ่อเฮ็นท่านมีความชำนิชำนาญเป็นพิเศษ ท่านสามารถเรียกสูตรสนธิลงตัวทำผงได้แคล่ว คล่องและมีประสิทธิ์ยิ่งนัก เพราะตำราวิชาต่างๆ เหล่านี้ท่านศึกษามาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณราย อย่างเจนจบ ท่านทำผงต่างๆ เอาไว้มากมาย สะสมนานนับหลายปี
ส่วนหนึ่งท่านใช้ทำเป็นพระปิดตาแบบพระภวัมบดี
|