ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 21806
ตอบกลับ: 23
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงพ่อเฮ็น สิริวังโส วัดดอนทอง ~

[คัดลอกลิงก์]

หลวงพ่อเฮ็น สิริวังโส วัดดอนทอง จ.สระบุรี

ประวัติ หลวงพ่อเฮ็น สิริวังโส วัดดอนทอง

"หลวงพ่อเฮ็น สิริวังโส" หรือ พระครูอรรถธรรมาทร วัดดอนทอง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี เป็นพระเถราจารย์มีเชื้อสายเขมร ที่มีวิทยาคมแก่กล้ารูปหนึ่ง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนและคณะศิษยานุศิษย์อย่างยิ่ง

อัตโนประวัติ หลวงพ่อเฮ็น เกิดในสกุล ศิริวงษ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับปีกุน ที่หมู่บ้านจางคาง เมืองปาดวง กำปงธม ซึ่งเป็นเมืองชายแดนขึ้นอยู่กับไทย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเสียดินแดนแถบนั้นไป โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายอยู่และนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งเป็นชาวกัมพูชาอยู่หมู่บ้านจางคาง

เมื่ออายุครบ 20 ปี ตรงกับ พ.ศ.2474 ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดพรรณราย เมืองกำพงธม มีหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณราย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์กุ่ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์หมั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า สิริวังโส

หลังอุปสมบท ได้ศึกษาพุทธาคมและพระธรรมวินัยและไสยาคมกับหลวงพ่อแก้ว เมื่อเรียนวิชาจนสำเร็จแล้ว ท่านได้ออกธุดงค์มายังเมืองไทย

ระหว่างการเดินธุดงค์ตามป่าเขา ได้พบพระธุดงค์ด้วยกันหลายรูป จึงแลกเปลี่ยนวิชากัน อาทิ หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง จ.นครราชสีมา, พระอาจารย์ต่วน วัดกล้วย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

หลวงพ่อเฮ็น เคยปรารภว่า ได้ออกท่องธุดงค์รอนแรมตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติวิปัสสนาระหว่างทางในป่าเขาให้ถ้ำบ้าง ขุนเขาบ้างเป็นที่พำนัก รักษาศีล และเจริญวิปัสสนา ได้พบกับความยากลำบากต่างๆ นานา พบกับภัยธรรมชาติก็อาศัยสรรพวิชาที่ได้ร่ำเรียนมากับอาจารย์สามารถปัดเป่าไปได้ ระหว่างทางพบกับความลี้ลับมหัศจรรย์มากมาย

"สมัยเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว ระหว่างชายแดนด้านประเทศเขมร มีแต่ป่าดงดิบทั้งนั้น ใครไม่แน่จริง เดินเข้าไปก็ไม่สามารถออกมาได้ กลายเป็นผีเฝ้าป่าไปเท่านั้น"

หลวงพ่อเฮ็น เล่าว่า ในป่าดงดิบแถบนั้น การเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ เป็นเรื่องมิใช่ง่าย นอกจากต้องมีพลังจิตกล้าแข็งแล้ว การผจญกับสัตว์ป่านานาชนิด บางครั้งต้องใช้วิชาไสยศาสตร์แก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าไปด้วย

ท่านใช้เวลาธุดงค์ยาวนานหลายปีวนเวียนอยู่ในป่าเขา จนการปฏิบัติวิปัสสนาก้าวหน้ากล้าแข็งดีแล้ว จึงธุดงค์เข้ามาในเขตประเทศไทย ได้พบพระคณาจารย์ต่างๆ ของไทยหลายรูปที่ธุดงควัตรอยู่ในป่า ได้ศึกษาสนทนาธรรมแลกเปลี่ยนกัน และธุดงค์เรื่อยเข้ามาผ่านเข้ามาทาง ทุ่งนาบ้าง บ้านคนบ้าง จนกระทั่งถึงเมืองสระบุรี ท่านเดินทางไปถึงบ้านดงตะงาว กิ่งอำเภอดอนพุด ได้พบวัดดอนทอง เห็นเป็นวัดที่มีความสงบวิเวกดี มีบ้านเรือนชาวบ้านอยู่ไม่มากนัก

จากนั้นจึงได้อยู่จำพรรษาที่ "วัดดอนทอง" เมื่อปี พ.ศ.2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพ ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา

พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูอรรถธรรมทร"

ในชีวิตหลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ท่านจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

กล่าวกันว่า ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ หลวงพ่อเฮ็นนั้น มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง โดยเฉพาะในทางเมตตามหานิยมเป็นเลิศ มีกิตติคุณกว้างไกล ท่านสร้างขึ้นตามตำรับโบราณ ด้วยพุทธาคมและพลังจิตอันกล้าแข็ง ด้วยได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อแก้ว แห่งวัดพรรณราย

หลวงพ่อเฮ็น เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านดอนทองอย่างยิ่ง แม้กระทั่งทหารนักรบที่อาสาไปรบในสงครามเวียดนาม ต่างมาขอวัตถุมงคลจากท่าน เพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตราย

หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

แม้วันนี้หลวงพ่อเฮ็นจะละสังขารไปนานแล้ว แต่คุณงามความดียังคงปรากฏอยู่สืบไป

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 16:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในชีวิต "หลวงพ่อเฮ็น" วัดดอนทอง ต.ดงตะงาว อ.ดอนพุด จ.สระบุรี ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ท่านจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

กล่าวกันว่า ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ หลวงพ่อเฮ็นนั้น มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง โดยเฉพาะในทางเมตตามหานิยมเป็นเลิศ มีกิตติ คุณกว้างไกล ท่านสร้างขึ้นตามตำรับโบราณ ด้วยพุทธาคมและพลังจิตอันกล้าแข็ง ด้วยได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อแก้ว แห่งวัดพรรณราย

หลวงพ่อเฮ็น เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านดอนทองอย่างยิ่ง แม้กระทั่งทหารนักรบที่อาสาไปรบในสงครามเวียดนาม ต่างมาขอวัตถุมงคลจากท่าน เพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตราย

หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภา พันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

สำหรับวัตถุมงคล "ผ้ายันต์อุษาสวรรค์" นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังได้จัดสร้าง "เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529" ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เหรียญรุ่นแรกคณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง ในปี พ.ศ.2529



ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า "หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา" ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า "พ.ศ.๒๕๒๙" ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า "อายุ ๗๕ ปี" ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า "วัดดอนทอง" ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า "ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระ บุรี"

เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน

วัตถุมงคลประเภทเครื่องรางของขลังของท่านที่โดดเด่นอีกอย่างก็คือ "สีผึ้งดอนทอง" เป็นสีผึ้งสีปากอันมีคุณวิเศษยิ่งของวัดดอนทอง ตำรับสีผึ้งวิเศษของท่านมีดังนี้ สิทธิการิยะ ถ้าจะหุงสีผึ้งสีปากให้เป็นมหาละลวยแก่ท้าวพระยามหาเสนามนตรี และสมณพราหมณ์ชี บุรุษสตรีทั้งปวงท่านให้ทำได้ถึงสามไฟเป็นมหาวิเศษนักเลง ถ้าทำได้แต่เพียงไฟหนึ่งเป็นอย่างตรี ทำได้สองไฟเป็นอย่างโท ถ้าทำได้ถึงสามไฟเป็นอย่างเอกแล ท่านให้เขียนยันต์นี้ลงก้นขันสัมฤทธิ์ แล้วเอาสีผึ้งแท้มาฝานเป็นแผ่นบางๆ ใส่ลงในขันสัมฤทธิ์นั้น แล้วจึงเอาน้ำมันงาใส่ลงด้วยกัน เอาไม้รักซ้อนมาทำเป็นพายสำหรับกวนขี้ผึ้ง

พระคาถานี้เสกในโบสถ์ "ยะธาพุทโมนะ ธาพุทโมนะยะ พุทโมนะยะธา โมนะยะพุท นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ ยาจามีฯ" เสกกวนจนเข้ากันแล อันไฟหนึ่งเรียกว่าไฟธาตุ และถ้าจะทำให้ได้สองไฟ ให้เอากระดาษมาลาด้วย "สัพเพ ธนา พะหู ชะนาฯ" แล้วเอาพระคาถานี้ลงประทับหลัง "พุทธัง ธัมมัง นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู สังฆัง" พระมารดาค้ำชูพระปิตาอุปถัมภ์ พระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจา พระอนุสาวนา เป็นกำแพงแก้ว 7 ชั้น กันโพยภัย อันตรายอุปัทวะทั้งหลาย มิให้เข้ามาใกล้กราย "สัพพะรัตติงทิวังฯ" ลงและม้วนเป็นไส้เทียน เอาขี้ผึ้งหนัก 1 บาท ควั่นเป็นเทียนเล่มหนึ่ง จุดไฟแล้วตั้งไว้ในโคม เอาขันสัมฤทธิ์ที่ใส่ขี้ผึ้งนั้นตั้งลงบนช่วงหลังโคมนั้น เสกด้วยพระคาถานี้จนกว่าจะสิ้น

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 16:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตะกรุดภุชงค์เบญจฤทธิ์ หลวงพ่อเฮ็น วัดดอนทอง สระบุรี



- เชือกดิบ ยุคต้นๆ ประมาณปี 2490 แต่เส้นนี้เป็นตะกรุด 4ดอก เส้นนี้

สภาพไม่เคยผ่านการใช้ สมบูรณ์สุดๆ ยุคแรกหายากมาก

ส่วนตะกรุดเชือกดิบ ตะกรุด 5ดอก แบบที่สมบูรณ์ๆ มีน้อยมากๆ   



- เชือกขาว ยุคกลาง ประมาณปี 2510-2515 เชือกขาวนิยมสูงสุด ของเชือกสีต่างๆของท่าน

ตะกรุดทองแดง 4 ดอกจารนอก-จารใน ขนาดดอกละ 6 เซนฯ



- เชือกสีกัก (น้ำตาลเข้ม) ยุคปลาย ประมาณปี 2530-2543 เชือกสี(น้ำตาลเข้ม)



เชือกสีน้ำตาลเข้มไม่ค่อยเจอเลยครับ ที่เจอกันมากๆจะเป็น สีดำ,สีเขียว,สีแดง,สีน้ำเงิน



เส้นนี้ได้มาตอนที่น้ำท่วม จ.สระบุรี หลวงพ่อท่านอยู่ที่วัด เลยทำตะกรุดเอาไว้ในช่วงนั้น



และนี่เป็นหนึ่งในจำนวนนั้นครับ...



ชื่อภุชงค์เบญจฤทธิ์ก็คือมีฤทธิ์ 5 ประการ ตามตำราหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณราย เมืองกำปงธม

เดิมจะต้องมี 5 ตะกรุดทั้ง 5 ดอกจะมีสรรพคุณต่างกันไป เช่น แคล้วคลาด คงทน ไปจนถึงมหาอุด กำบังกาย เพราะฉะนั้นรุ่นแรก ๆ

ที่สร้างสมัยสงครามโลกถึงสงครามเวียดนาม ก็จะมี 5 ดอก (ท่านธุดงค์มาจำพรรษาอยู่ตั้งแต่ช่วงปี 247 กว่าๆ )

และก็เริ่มทำเครื่องรางประเภทเชือกคาดตั้งแต่รุ่นนั้นแล้ว แต่ยังไม่มีชื่อมากนัก เพราะที่วัดดอนทอง ก็มีหลวงพ่อแพ เป็นเจ้าอาวาสที่ชาวบ้านนับถือ

และถัดออกไปไม่ไกลกันนัก ก็มีวัดโคกโพธิ์ซึ่งพระอุปัชฌาย์กราน อินทโชติ เป็นเจ้าอาวาสอยู่

ช่วงนั้นหลวงพ่อกรานท่านก็มีชื่อในด้านการทำเชือกคาดเอวเช่นนี้เหมือนกัน แต่ท่านเรียนมาจากหลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ

ซึ่งชาวบ้านจะขึ้นของท่านมากกว่า เพราะหลวงพ่อเฮ็นตอนนั้นพรรษายังไม่มาก จนตอนหลังๆ

มีคนใช้เชือกคาดภุชงค์เบญจฤทธิ์แล้วปรากฏว่าแรงฤทธิ์จริง ๆ สมชื่อ

จนไปเป็นนักเลงอันธพาลเป็นโจรกันไปหลายคน เดือดร้อนเจ้าหน้าที่ทางการยากแก่การปราบปราม

คนทั่วไปใช้แล้วก็ร้อนมีเรื่องกันง่าย ๆ หลวงพ่อท่านเลยลดออกดอกหนึ่งเหลือแค่ 4 ดอก

เพราะเห็นว่าตอนหลังไม่ได้มีศึกสงครามต้องไปรบพุ่งกันเหมือนก่อน

จะได้เย็นขึ้นโดยท่านจะตัดตะกรุดดอกสำคัญออกไป 1 เพื่อผ่อนฤทธิ์ลง แต่ที่เห็นรุ่นหลังๆที่เป็น 5 ดอกก็มีเพราะบางคนขอท่าน ท่านก็อนุโลมให้

เดิมท่านจะถักเองทุกเส้นขมวดปมบริกรรมคาถา ตะกรุดก็จะจารเอง จนรุ่นท้ายๆก่อนมรณภาพได้ออกมามากเพราะได้ศิษย์ช่วยทำด้วย

ทุกวันนี้มีคนได้เรียนการถักเชือกคาดภุชงค์เบญจฤทธิ์จากท่านไปจริง ๆ เพียงแค่ 2 คนเท่านั้น

จากประสบการณ์ตรง หลวงพ่อเฮ็นท่านเป็นพระที่น่านับถือมาก

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 16:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

"ภุชงค์" นั้นมีความหมายถึง งู หรือนาค "เบญจ" นั้นคือ ห้า และ "ฤทธิ์" ย่อมเป็นอื่นไม่ได้นอกจาก

ความหมายแห่ง อำนาจ หรือเดช พลันเข้าใจมากขึ้น เมื่อรู้ว่า "ภุชงค์เบญจฤทธิ์" คือ เชือกรวมกับตะกรุดคาดเอวของหลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด

ที่สร้างขึ้นตามตำรับตำราดั้งเดิมของหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณราย เมืองกำปงธม ประเทศกัมพูชา ผู้เป็นอาจารย์ของหลวงพ่อเฮ็น

** เชือกคาดเอว "ภุชงค์เบญจฤทธิ์" สร้างขึ้นโดยการจารแผ่นตะกรุดทองแดง เงิน หรือทองคำ ด้วยอักขระยันต์อันมีพุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด อิทธิฤทธิ์ อานุภาพ จำนวน 4 แผ่น

แล้วม้วนเป็นตะกรุด 4 ดอก และเขียนยันต์ประทับหน้าหลัง ด้วยลายมือของหลวงพ่อเฮ็นเอง ลงบนผ้าสำหรับพับยัดไว้ในส่วนหัวตะกรุด

** จากนั้นจึงนำเชือกมาถักตะกรุดสำหรับคาดเอว โดยเริ่มถักจากปลายสายก่อน ลักษณะการถักเป็นลายแบบกระดูกงู ระหว่างถักหลวงพ่อเฮ็นจะภาวนาคาถากำกับตลอดเวลา

จนกว่าจะหมดบทเวทมนต์การถักจึงจะเสร็จสิ้น โดยส่วนด้านหัวหลวงพ่อจะเขียนยันต์ประทับหน้าประทับหลังด้วยลายมือแล้วขมวดยัดถักลายล้อมหุ้มแผ่นผ้ายันต์เอาไว้

แต่ละเส้นของเชือกคาดเอว "ภุชงค์เบญจฤทธิ์" จึงใช้ระยะเวลาค่อนข้างมาก นับแต่การลงจารบนแผ่นโลหะที่ทำตะกรุด ทั้ง 4 แผ่น

และผ้าที่ลงยันต์อักขระสำหรับส่วนหัวตะกรุด  ระหว่างการถักเชือกยังต้องภาวนาคาถากำกับอยู่ตลอดเวลา

เมื่อถึงช่วงกำหนดจึงร้อย

ตะกรุดดอกที่ 1 เข้าไปแล้วถักเชือกต่อจนถึงช่วงมนต์คาถาที่กำหนดจึงร้อย

ตะกรุดดอกที่ 2 เข้าไป และภาวนาจนถึงช่วงร้อย

ตะกรุดดอกที่ 3 และดอกที่ 4 ตามตำรับการสร้าง

เมื่อเสร็จสิ้นแล้วยังคงนำไปปลุกเสกอีกครั้ง

** ดังนั้นอานุภาพแห่ง "ปาฏิหาริย์" ของ "ภุชงค์เบญจฤทธิ์" ที่ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อเฮ็นได้ประสบพบเห็น

จึงเป็นความเชื่อเพราะเชือกคาดเอวของหลวงพ่อเฮ็น ดังเช่นเหตุการณ์อันระทึกที่ลูกศิษย์หลวงพ่อเฮ็น ชื่อนายประพันธ์ ประสบเนตร หรือ แก่น

ซึ่งมีบ้านอยู่ที่ตำบลบ้านแพรก อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ประสบมา ถึง 3 ครั้ง 3 ครา

{ ครั้งแรก } ขณะในหมู่บ้านได้จัดให้มีงานเลี้ยงฉลองขึ้น ขณะกำลังสนุกสนานกันอย่างเต็มที่ นายแก่นซึ่งไม่รู้ตัวว่าถูกเพื่อนบ้านเขม่นยังเฮฮาไปตามปกติ

จนเมื่องานเลี้ยงฉลองเลิกแล้ว นายแก่นกำลังเดินกลับบ้านก็ต้องสะดุ้งสุดตัวเมื่อไม้ขนาดหน้าสามสัมผัสลงบนบริเวณกกหู ถึงกลับทรุดลงมึนงง

หากยังไม่ทันปกป้องกันตัวก็ถูกกระหน่ำด้วยไม้หน้าสามอีกคราว แต่คราวนี้นายแก่นสามารถยื้อแย่งไม้จากมือคู่อริได้ จึงได้เข้าตะลุมบอนกับคู่อริที่มีมาถึง 7 คน

จนกระเจิดกระเจิงกันไปคนละทาง

** นายแก่นเล่าว่า เมื่อถูกไม้หน้าสามฟาดเข้าบริเวณกกหูนั้น ขณะสติสัมปชัญญะกำลังจะหลุดลอย พลันให้นึกถึงตะกรุดภุชงค์เบญจฤทธิ์ของหลวงพ่อเฮ็นขึ้นมาได้

จึงได้เกิดกำลังใจฮึดสู้เมื่อเขาควงไม้หน้าสามไล่ฟาดฝ่ายตรงกันข้ามจนกระเจิดกระจายไป
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 16:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
{ ครั้งที่สอง } ที่ตลาดบ้านแพรกมีงานงิ้วฉลองศาลเจ้าประจำปี คณะกรรมการจัดเลี้ยงโต๊ะจีนในวันนั้นมีการเปียของเจ้า นายแก่นได้ไปร่วมงานด้วย

ขณะเดียวกันนายโฮ้ง ผู้เป็นอริกับนายแก่นมาช้านานก็ไปร่วมงานด้วยเช่นกัน เมื่อขณะกรรมการยกเหล้าขึ้นมาให้เปีย ทั้งนายแก่นและนายโฮ้งได้แย่งกันเปีย

ต่างฝ่ายไม่ยอมซึ่งกันและกันกระทั่งมีปากเสียงทะเลาะท้าทายกัน หลังงานเลิกแล้วนายโฮ้งได้ชี้หน้าอาฆาตนายแก่นให้ระวังตัวไว้

นายแก่นเห็นเช่นนั้นก็ได้ท้าทายไปว่าแน่จริงให้เข้ามา

หลังจากนั้นนายโฮ้งก็รีบจ้ำก้าวไปยังบ้านที่อยู่บริเวณท้ายตลาด คว้าปืน 11 ม.ม. จากบ้านตรงไปยังบ้านนายแก่นทันที

โดยไม่ทันระมัดระวังตัวนายแก่นก็ถูกนายโฮ้งถีบล้มลง แล้วจ่อปืนยิงเผาขนจนลูกกระสุนหมด ท่ามกลางสายตาของเมียและลูกชายของนายแก่น

กระสุนนัดแรกและนัดที่สองไม่ถูก แต่นัดที่สามโดนเข้าโคนขา นัดที่สี่พุ่งเข้าบริเวณหน้าอก นัดที่ห้า หก เจ็ดนั้นเฉี่ยวไปเฉี่ยวมา

ทว่ากระสุนที่ต้องร่างของนายแก่นนั้น หาได้เจาะร่างกายเข้าไปไม่ ที่หน้าอกเป็นเพียงรอยไหม้ของกระสุนปืน เช่นเดียวกับที่บริเวณโคนขา

ขณะที่นายโฮ้งกระหน่ำยิงนายแก่น ทั้งลูกทั้งเมียนายแก่นตกใจตะโกนร้องให้คนช่วย ชาวบ้านซึ่งทยอยกลับจากงานที่ศาลเจ้าได้ยินเสียงเอะอะก็วิ่งกันมาดู

ระหว่างนั้นนายแก่นได้สติ รีบวิ่งไปคว้าขวานมาไล่ฟันนายโฮ้ง จนนายโฮ้งต้องวิ่งหนีไป

ชาวบ้านที่มาทันเห็นเหตุการณ์ ต่างสอบถามกันวุ่นไปหมด และเมื่อทราบว่าที่นายแก่นรอดคมกระสุนปืนในคืนนั้น เพราะมีตะกรุด
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 16:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คาถา เมตตาของหลวงปู่เฮ็น นั้น มีวิธีใช้ดังนี้ครับผม



ตั้ง นะโม ๓ จบ ภาวนาว่า


" นะพระอรหังเมตตาจิตตัง โมพระอรหังกรุณา พุทธพระอรหังมุทิตา ธาพระอรหังปราณี


ยะ พระอรหังยินดี นะชาลิติ เอหิภะควา มะอะอุสิวัง พรหมมาจิตตังมานิมามา "



ใช้ภาวนา เสกเเป้ง น้ำหอม ไว้ทาตัวครับเป็น เมตตา มหาเสน่ห์ชั้นสูง ในสายพระคาถานี้ เป็นสายพระคาถาเขมร

โบราณเเท้ ๆเลยครับ หรือจะใช้เสกธูปหอม เอาไว้เรียกลูกค้าเข้ามาในร้านค้า

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 16:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คำเตือน

เมื่อได้อ่านตะกรุดภุชงค์เบญจฤทธิ์ ของหลวงพ่อเฮ็นแล้ว

อย่าพึ่งด่วน ตัดสินใจเช่าหาบูชา ของจริงมีน้อยมาก

เมื่อหลวงพ่อเฮ็นท่านละสังขารแล้ว

มีตะกรุดภุชงค์ฯ ออกมาอีกมากมาย

ทุกวันนี้ก็ยังมีการทำส่งให้เซียนพระ

ในอัตราเส้นละ 1000

ส่วนคนรับมาจะเอามาออกต่อเส้นละ2500-5000

ที่นำประวัติมาให้ศึกษาเพื่อเป็นความรู้

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล

ขอบคุณครับสำหรับคำเตือน

ขอบคุณครับ
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-12-11 00:20
ขอบคุณครับ

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้