ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระ ประธาน

[คัดลอกลิงก์]
111#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-20 21:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระพุทธชินราช พระประธานในพระวิหารใหญ่
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19299

~ พระพุทธชินราช
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=24657
112#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-20 21:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระเหลือ หรือ “หลวงพ่อเหลือ” หรือ “พระเสสันตปฏิมากร”
พระประธานในพระวิหารพระเหลือ หรือพระวิหารหลวงพ่อเหลือ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19715


113#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-20 21:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


หลวงพ่อทอง หรือ “หลวงพ่อวัดเขาตะเครา”
พระประธานในศาลาการเปรียญ วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19298
114#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-20 21:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


หลวงพ่อหกนิ้ว หรือ “พระหิ้วนก”
ประดิษฐานอยู่ด้านหลังพระประธานในพระอุโบสถ
วัดใหญ่สุวรรณาราม วรวิหาร ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=39898
115#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-20 21:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระพุทธมหาธรรมราชา พระประธานในมณฑป
วัดไตรภูมิ ถ.เพชรเจริญ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=46320
116#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-20 21:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธมหาธรรมราชา
พระประธานในมณฑป วัดไตรภูมิ
ถ.เพชรเจริญ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์


พระพุทธมหาธรรมราชา

พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ เคียงคู่กับ หลวงพ่อเพชรมีชัย พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง) จ.เพชรบูรณ์

วัดไตรภูมิ ตั้งอยู่ที่ ถ.เพชรเจริญ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เป็นวัดราษฎร์เก่าแก่และเป็นที่ประดิษฐาน“พระพุทธมหาธรรมราชา” พระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะลพบุรีทรงเครื่อง สร้างด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน สำหรับพุทธลักษณะนั้น พระพักตร์กว้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระเนตรมักจะเบิกอยู่เสมอ พระโอษฐ์แบะ แลดูน่าเกรงขาม พระกรรณยาวย้อยเกือบจรดพระอังสา พระเศียรทรงชฎาเทริด หรือมีกะบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด ทรงประคดเป็นลายสวยงาม ท่อนบนของพระวรกายอาจจะเปลือยเปล่าหรือบางครั้งครองจีวรห่มคลุม แต่ท่อนล่างจะใส่สบง สำหรับสบงนั้นทำเป็นขอบนูนขึ้นมาที่บั้นพระองค์ ซึ่งบางครั้งก็ทำเป็นรัดประคตคาดอยู่ ประดิษฐานบนโต๊ะบูชาในศาลาไม้ มีจำนวน 2 องค์ องค์จริงคือองค์บนสุด ส่วนองค์ที่อยู่ด้านล่างหล่อจำลองขึ้นใหม่เพื่อใช้ประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ เนื่องจากองค์จริงหล่อด้วยสัมฤทธิ์เมื่อนำลงดำน้ำบ่อยๆ เกรงว่าจะทำให้องค์พระหมองคล้ำหรือชำรุดเสียหาย

สาเหตุที่พระพุทธรูปองค์นี้ มีนามว่า พระพุทธมหาธรรมราชา เนื่องจากพระวรกายสวมใส่เครื่องประดับของกษัตริย์นักรบสมัยโบราณ ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานว่า “พระพุทธมหาธรรมราชา”

สันนิษฐานว่า พระพุทธมหาธรรมราชา สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.1600 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ในระหว่างที่สร้างนั้นก็ได้นิมนต์พระภิกษุที่เป็นพระเกจิอาจารย์มาปลุกเสกด้วย และยังมีเรื่องเล่ากันว่าพระเกจิอาจารย์บางรูปสามารถรู้ภาษาสัตว์ได้ หลังจากสร้างเสร็จแล้วก็มีการฉลองสมโภช 9 คืน 9 วัน

ครั้นเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชสมบัติต่อจากกษัตริย์องค์ก่อน ก็ได้พระราชทานพระพุทธมหาธรรมราชาให้กับพ่อขุนผาเมือง เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี นอกจากนี้ยังได้มอบพระราชธิดา พระนามว่า นางสุขรมหาเทวี และพระราชโอรสพระนามว่า กมรเตงอัญศรีทราทิตย์ หรือศรีอินทราทิตย์ ต่อมาพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนบางกลางหาว ได้กอบกู้กรุงสุโขทัยคืนจากขอมสมาดโขลญได้แล้วพ่อขุนผาเมือง จึงได้สถาปนาให้พ่อขุนบางกลางหาว เป็นกษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัย ทำให้นางสุขรมหาเทวีไม่พอพระทัย จึงได้โยนพระพุทธมหาธรรมราชาลงแม่น้ำป่าสัก และพระนางก็ได้กระโดดน้ำตาย เวลาผ่านไป ได้มีชาวประมงได้ไปหาปลาเวียงแห แต่แล้วก็ได้พระพุทธมหาธรรมราชา สถานที่พบนั้นคือ วัดโบสถ์ชนะมาร (ซึ่งวัดโบสถ์ชนะมารในสมัยนั้นยังไม่ได้สร้าง) ซึ่งอยู่ในเขต อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ชาวบ้านเห็นเป็นที่อัศจรรย์ คิดว่าพระพุทธรูปองค์นี้คงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จึงช่วยกันนำขึ้นมาจากแม่น้ำป่าสัก หลังจากนั้น ได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับวันสารทไทย ปรากฏว่าพระพุทธมหาธรรมราชาได้หายไปจากวัดไตรภูมิ

ทำให้เจ้าอาวาส พระลูกวัด และชาวบ้านต่างพากันค้นหา ในที่สุดก็พบ พระพุทธมหาธรรมราชา ดำผุดดำว่ายอยู่บริเวณที่พบครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 จึงมีการแห่พระพุทธมหาธรรมราชาไปรอบเมือง จนถึงบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเพชรบูรณ์ จะเป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชา ลงดำน้ำทั้ง 4 ทิศ ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด จนกลายเป็นประเพณีอุ้มพระดำน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์ จนถึงทุกวันนี้


117#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-20 21:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

ชาวเมืองเพชรบูรณ์มีความเชื่อว่า “ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ” จะทำให้ข้าวกล้าในท้องนา พืชผลทางการเกษตร เจริญงอกงาม ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล จนกลายเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อในการอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาดำน้ำ ผู้ที่อัญเชิญจะต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น ทั้งนี้ ด้วยตำแหน่งดังกล่าวเทียบได้กับเจ้าเมืองในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นใหญ่ที่สุดในเมือง ความเสียสละของผู้เป็นใหญ่ในนครที่มีความห่วงใยในทุกข์สุขของราษฎร และได้ชื่อว่าเป็นผู้ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้จะให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าเมืองอัญเชิญไปดำน้ำแทนไม่ได้ หากปีใดไม่มีการอัญเชิญพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวไปดำน้ำ ชาวเพชรบูรณ์เชื่อกันว่าปีนั้นบ้านเมืองจะเกิดความแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง และพระพุทธรูปองค์นี้จะหายไปด้วย ประเพณีอุ้มพระดำน้ำยังสะท้อนให้เห็นความร่วมมือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวเพชรบูรณ์ ที่ต้องการสืบทอดและรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันนี้ไว้อย่างทรงคุณค่าตลอดกาลนาน

ปัจจุบัน พระพุทธมหาธรรมราชา ประดิษฐานเป็นพระประธานในมณฑปวัดไตรภูมิ จ.เพชรบูรณ์ เฉพาะในช่วงเทศกาลสารทไทยของทุกปี ที่จะถูกอัญเชิญไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ ส่วนวันปกติประดิษฐานไว้ในมณฑป เพื่อให้ประชาชนได้บูชาสักการะอธิษฐานจิตขอพร ปรากฏเป็นที่เลื่องลือว่า ใครได้มากราบไหว้บูชาพระพุทธมหาธรรมราชา จะเกิดความสบายใจ ประสบความสำเร็จสมหวังในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ

118#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-20 21:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ความเป็นมาของ “พระพุทธมหาธรรมราชา” องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

โครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 จังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกับประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้จัดสร้าง “พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” เป็นพระพุทธรูปเนื้อโลหะหล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์ ขนาดองค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์และใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อประดิษฐานเป็นองค์พระประธาน ณ พุทธอุทยานเพชบุระ (ตรงข้ามสถาบันการพลศึกษา) ถ.สายสระบุรี-หล่มสัก (ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21) ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ที่ยอดพระเกตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีขนาดหน้าตัก 11.984 เมตร มีความหมายว่า

1 หมายถึง...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์เอก หนึ่งในดวงใจของชนชาวไทย

1 หมายถึง...พระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในโลก เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเพชรบูรณ์ เป็นองค์พระที่อัญเชิญมาประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ของเมืองเพชรบูรณ์

9 หมายถึง...รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

84 หมายถึง...วโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา

สำหรับองค์พระพุทธรูป มีขนาดหน้าตัก 11.984 เมตร สูง 16.5899 เมตร สูงจากพื้นดิน 35 เมตร หนักกว่า 45 ตัน เงินทุนในการก่อสร้างมาจากแรงศรัทธาของประชาชนต่อองค์พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติฯ รวมทั้งสิ้นเป็นเงินบริจาคกว่า 27 ล้านบาท (ไม่รวมอาคารฐานและภูมิทัศน์) โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการแต่อย่างใด และที่สุดแห่งมหามงคลคือ ในวันที่ 26 กันยายน 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ปลายยอดจุลมงกุฎ และเบิกพระเนตรองค์พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติฯ ณ พุทธอุทยานเพชบุระ จ.เพชรบูรณ์





พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติฯ
ณ พุทธอุทยานเพชบุระ ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์


119#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-20 21:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




ขอขอบพระคุณที่มาของข้อมูลและรูปภาพ
หนังสือ...มหาพุทธานุสรณ์บนแผ่นดินเพชรบูรณ์
พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติฯ “หนึ่งเดียวในไทย ร่วมถวายองค์ราชัน”
http://www.phetchabunpao.go.th/index.ph ... 1-03-55-45
https://www.facebook.com/media/set/?set ... 388&type=1
http://www.skyscrapercity.com/showthrea ... 94&page=31

ประเพณี “อุ้มพระดำน้ำ” ตำนานมหัศจรรย์ “เพชรบูรณ์”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13691



120#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-20 22:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระนอน หรือ “พระพุทธไสยาส”
ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าทางเข้าวัด วัดพระธาตุสุโทน จ.แพร่
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้