ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
พระ ประธาน
1 ...
7
8
9
10
11
12
13
14
15
... 22
/ 22 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: Metha
พระ ประธาน
[คัดลอกลิงก์]
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
101
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-20 21:37
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อคุ้ม พระประธานในอุโบสถ
วัดบางแตน ต.บางแตน อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=46490
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
102
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-20 21:40
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธรูปหลวงพ่อทุ่งคา วัดบูรพาราม จ.ปัตตานี
ประวัติหลวงพ่อทุ่งคา วัดบูรพาราม จ.ปัตตานี "หลวงพ่อทุ่งคา" วัดบูรพาราม อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นพระพุทธรูปโบราณปางมารวิชัย เป็นศิลปะสมัยเชียงแสนผสมอู่ทอง พุทธศตวรรษที่ 17 วัสดุหล่อด้วยทองสำริด มีขนาดหน้าตักกว้าง 55 เซนติเมตร สูง 71 เซนติเมตร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ให้ความเห็นว่า เป็นศิลปะอินเดียผสมเชียงแสน ด้วยพระเกตุมาลาเป็นต่อม พระกรรณยาว ขมวดพระเกศาเล็กละเอียด มีอุณาโลมเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองยะหริ่งมาร่วม 180 ปีเศษ
หลวงพ่อทุ่งคา วัดบูรพาราม มีอภินิหารเป็นที่ประจักษ์ล่วงมาแล้วถึง 3 ช่วงอายุคน ในทางพุทธคุณเมตตามหานิยมคุ้มครองป้องกันภยันตรายทั้งปวงได้ แคล้วคลาดจากเหตุร้ายต่างๆ เป็นที่เคารพสักการะนับถือบูชา เป็นพระประจำบ้าน ก็จะเป็นเกราะคุ้มครองป้องกันให้ปราศจากภัยพิบัติต่างๆ อันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ อัคคีภัย วาตภัย ให้ความร่มเย็นเป็นสุขเสริมความเป็นสิริมงคล จำเริญพูนผลด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ แก่ทุกๆ คน กล่าวกันว่า วัดบูรพาราม เป็นแหล่งที่ผู้คนมาพึ่งพิงหลวงพ่อทุ่งคา ทั้งชาวจีนอพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ ก่อนจะตั้งตัวได้ ชาวบ้านที่เป็นพุทธศาสนิกชน และชาวมุสลิมมักจะระลึกถึงหลวงพ่อทุ่งคาเมื่อมีความเดือดร้อนเสมอ วัดบูรพารามจึงเป็นศูนย์รวมที่หล่อหลอมให้เกิดวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันได้ อย่างกลมกลืน
หลวงพ่อทุ่งคา วัดบูรพารามมีประวัติกล่าวเป็นตำนานว่า พุทธศักราช 2302 หลวงพ่อทุ่งคาไหลมาตามกระแสน้ำที่ฝั่งแม่น้ำยามูตอนบน ในหมู่บ้านชาวมุสลิม ชาวมุสลิมพยายามลากขึ้นทุกวิถีทางก็ไม่อาจจะนำขึ้นมาจากน้ำได้ จึงได้บอกให้ชาวพุทธมานำขึ้น ชาวพุทธได้จุดธูปเทียนอธิษฐาน อัญเชิญขอด้วยความเคารพ ดึงขึ้นอย่างง่ายดาย เป็นที่อัศจรรย์ใจของชาวมุสลิม จึงได้พากันนับถือเลื่อมใสในความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่อทุ่งคา
ต่อมาสร้างวัดถวายชื่อว่า วัดบูรพาราม หลวงพ่อทุ่งคาประดิษฐานอยู่ได้ 60 ปี พุทธศักราช 2306 อัญเชิญไปสู่วัดในเมืองยะหริ่งเก่า พุทธศักราช 2411 อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดบูรพาราม เมืองยะหริ่งใหม่
อภินิหารเกี่ยวกับหลวงพ่อทุ่งคามักจะแสดงให้ปรากฏอยู่เสมอๆ พุทธศักราช 2412 ทางราชการประสงค์จะอัญเชิญเข้ามาในกรุงเทพมหานคร ระหว่างอยู่ในเรือเดินทางจากปัตตานีมายังเมืองสงขลา ปรากฏว่าเกิดลมพายุรุนแรงเป็นที่น่าหวาดกลัวอย่างยิ่ง ผู้คนในเรือต่างวิงวอนมิให้เกิดอันตราย ลมจึงสงบ เมื่อเรือแล่นมาถึงเมืองสงขลา
สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงให้อัญเชิญกลับวัดบูรพารามเช่นเดิม กล่าวว่า เกิดอภินิหารด้วยเพราะเหตุที่หลวงพ่อวัดทุ่งคาไม่ประสงค์จะย้ายถิ่น
พระพุทธรูปที่สำคัญของไทย
ที่มา :
http://www.tumsrivichai.com/index.php?l ... 8&Ntype=42
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
103
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-20 21:41
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ “หลวงพ่อโต” หรือ “ซำปอกง”
พระประธานในพระวิหารหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง วรวิหาร
ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19280
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
104
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-20 21:41
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระคันธารราฐ พระประธานในพระวิหารสรรเพชญ์หรือพระวิหารน้อย
วัดหน้าพระเมรุราชิการาม หรือวัดหน้าพระเมรุ (พระอารามหลวง)
ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=46471
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
105
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-20 21:42
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อดำ พระประธานในพระอุโบสถ วัดพุทไธศวรรย์
(พระอารามหลวง) อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=46022
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
106
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-20 21:44
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธไสยาสน์ พระประธานในถ้ำสุวรรณคูหา
วัดสุวรรณคูหา ต.กระโสม อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=41312
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
107
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-20 21:45
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
• พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง •
จังหวัดพัทลุง
พระกริ่งศรีวิชัย
วัดถ้ำสุมะโน จังหวัดพัทลุง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
108
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-20 21:47
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระนอนที่วัดถ้ำ
"วัดถ้ำสุมะโน" ได้ถูกค้นพบโดยพระอาจารย์เดช สุมโน เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ตรงกับวันอังคารขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ ขณะนั้นท่านมีอายุ ๓๖ ปี พรรษาที่ ๑๔ พื้นที่วัดถ้ำสุมะโนเป็นภูเขาลูกเล็กๆตั้งอยู่ที่ ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง อยู่บนเส้นทางพัทลุง-ตรัง ห่างจากตัวจังหวัดพัทลุง ๒๕ ก.ม. มีเนื้อที่กว่า ๕๐๐ ไร่ ครอบคลุมภูเขาสองลูกร่มรื่นด้วยพืชพันธ์ตามธรรมชาติทัศนียภาพรอบวัดเป็นเทือกเขาบรรทัดสลับซับซ้อน ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม ภายนอกมีลำธารไหลผ่านตลอดทั้งปี นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันวัดถ้ำสุมะโนยังได้รับคัดเลือกให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมดีเด่นของจังหวัดพัทลุงอีกด้วย
พระอาจารย์เดชเล่าว่า ก่อนหน้า
ที่จะพบถ้ำแห่งนี้ เมื่อท่านเรียนจบ
ปริยัติธรรมสมความมุ่งหมายแล้ว
ท่านได้ออกธุดงค์ปฏิบัติตนเจริญ
รอยตามแนวทางขององค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กระทั้งช่วง
เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ พระ
อาจารย์เดช สุมโน ขณะที่ท่านได้
เจริญภาวนาภายในอุโบสถวัด
พระศรีรัตนศาสดาราม
(วัดพระแก้ว) ท่านได้ต้ังจิตอธิษ
ฐานขอให้พบถ้ำที่ถูกใจเพื่อให้
เป็นสถานที่ในการปฏิบัติธรรม
สร้างบารมีตามรอยขององค์สม
เด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาพถ้ำ
ก็ได้ปรากฎในนิมิตของท่าน
อย่างอัศจรรย์ด้วยเหตุนี้ท่านจึง
ได้ถือเอานิมิตนั้นออกธุดงค์เพื่อ
ค้นหาถ้ำตามสถานที่ต่างๆ
ทั้งทางภาคอีสาน ภาคเหนือ
ภาคกลาง แต่ก็ไม่พบ ต่อมาพระ
อาจารย์เดช สุมโน ได้เดินทาง
เข้ากรุงเทพฯ อีกครั้งเพื่อสอน
ปริยัติธรรมแก่ภิกษุสามเณร เพื่อตอบแทนคุณครูบาอาจารย์ เมื่อว่างจากกิจการวัดก็ออกธุดงค์เพื่อทำปณิธานของท่านให้เป็นจริง คือการค้นหาถ้ำที่ปรากฎในนิมิตกระทั้งปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ท่านได้ธุดงค์ไปจังหวัดนครพนม และตั้งจิตอธิษฐานต่อองค์พระธาตุพนมขอให้พบถ้ำดังกล่าวที่เคยปรากฎในนิมิต หลังออกพรรษาท่านก็ธุดงค์ลงใต้มาเรื่อยๆ โดยจำพรรษาที่จังหวัดภูเก็ต และในปีต่อมาขณะที่ท่านจำพรรษาที่วัดถ้ำเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ท่านได้ปฏิบัติจนเกิดสภาวะธรรมขึ้นในใจว่า "การค้นหาถ้ำภายนอกนั้นไม่มีประโยชน์อะไรมากนัก สู้หาถ้ำภายในคือสติจะดีกว่า" และในคืนนั้นเองขณะนั่งสมาธิก็ปรากฎนิมิตมีเทวดามาบอกท่านว่าถ้ำที่ท่านค้นหานั้นอยู่ที่จังหวัดพัทลุงใกล้บริเวณเทือกเขาบรรทัดทางไปจังหวัดตรัง
ต่อมาต้นปี ๒๕๓๐ ท่านได้ธุดงค์มาทางภาคใต้จนถึงจังหวัดภูเก็ต เวลานั้นท่านได้ชักชวนชาวภูเก็ตที่เลื่อมใสในตัวท่านให้มาปฏิบัติธรรมมากขึ้นจนเป็นที่เคารพสักการะของลูกศิษย์อย่างกว้างขวาง กระทั่งท่านมีดำริจะเดินทางไปจังหวัดพัทลุง เพื่อพิสูจน์ถ้ำตามที่เคยปรากฎในนิมิต และเพื่อทำตามมโนปณิธานให้สำเร็จเป็นจริง
วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านเดินทางมาจังหวัดพัทลุงพร้อมคณะศรัทธาชาวภูเก็ตเป้าหมายคือบริเวณผืนป่าหมู่บ้านน้ำใต้บ่อ หมู่บ้านนาวง ใกล้ปริเวณทางขึ้นเทือกเขาบรรทัดไปจังหวัดตรัง ครั้งแรกที่ท่านพบกับชาวบ้านผู้คนก็เข้าใจว่าท่านมาหาเหล็กไหล จึงไม่มีใครให้ความร่วมมือ แต่ต่อมาเมื่อได้ทราบความประสงค์ที่แท้จริงของท่านจึงช่วยพาคณะของท่านไปค้นหาถ้ำในบริเวณภูเขาใกล้หมู่บ้านนั้น ก็ได้พบถ้ำหลายถ้ำที่มีอยู่แล้ว เช่นถ้ำน้ำลอด ถ้ำน้ำใต้บ่อ แต่ล้วนไม่ใช่ถ้ำที่ปรากฎในนิมิต พระอาจารย์เดช สุมโนและคณะจึงได้เดินทางต่อไปยังเขารูปช้าง อำเภอปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา โดยไม่คิดจะย้อนกลับมาจังหวัดพัทลุงอีก ในขณที่พักอยู่นั้นท่านได้เจริญจิตภาวนาก็ปรากฎนิมิตมีเทวดามาบอกอีกว่าให้กลับไปหาถ้ำที่เดิม และต้องไปเพียงรูปเดียว ดังนั้นเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ พระอาจารย์เดช สุมโน และคณะก็เดินทางย้อนกลับมาที่จังหวัดพัทลุงและพักที่ถ้ำน้ำใต้บ่อ วันรุ่งขึ้นท่านและชาวบ้านได้เดินตามร่องน้ำ เป้าหมายคือภูเขาในป่ารกทึบเบื้องหน้า ในขณะที่คนอื่นๆกำลังสำรวจหาถ้ำที่ภูเขาลูกใหญ่อยู่นั้น ท่านก็ปลีกตัวมาสำรวจภูเขาลูกเล็กๆที่อยู่ใกล้กัน เมื่อท่านแหวกป่าเข้ามาถึง ก็พบโพรงหินเล็กๆมีดินกลบอยู่เกือบเต็ม เพียงพบเห็นครั้งแรกท่านก็ทราบได้ทันทีว่า นี่คือถ้ำที่ปรากฎในนิมิตเมื่อหลายปีก่อน ท่านจึงก้มลงเดินเข้าไปภายในมองไปรอบๆถ้ำด้วยความปลื้มปิติ พร้อมกับเปล่งวาจาตั้งสัจจะอธิษฐานว่า
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
109
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-20 21:48
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
"ข้าพเจ้าจะพัฒนาถ้ำแห่งนี้ให้เป็นที่รวมญาติสายโลหิตแห่งธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"
เมื่อท่านจบคำอธิษฐานก็ได้ยินเสียง สาธุ สาธุ สาธุ ดังกึกก้องพร้อมกันทั่วบริเวณถ้ำ ชาวคณะและชาวบ้านเมื่อทราบว่าท่านพบถ้ำในนิมิตแล้วก็ต่างพากันดีใจเป็นการใหญ่ ชาวบ้านในพื้นที่บางคนกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นภูเขาลูกเล็กมีโพรงหินพอเข้าไปได้เคยเห็นกันมานมนานแล้ว แต่ก็ไม่คิดว่าจะเป็นถ้ำคิดว่าเป็นแค่โพรงหินเท่านั้น และคิดไม่ออกว่าพระอาจารย์เดช สุมโน จะพัฒนาให้เป็นถ้ำใหญ่ได้อย่างไร ต่อมาในวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ พระอาจารย์เดช สุมโน และคณะคุณณรงค์ นพดารา รวมทั้งพุทธศาสนิกชนชาวภูเก็ต ได้เริ่มพัฒนาถ้ำเป็นครั้งแรก ดินที่กลบอยู่ภายในถ้ำได้ถูกขุดขนออกมาเรื่อยๆ เผยให้เห็นความใหญ่โตสวยงามของถ้ำขึ้นเป็นลำดับ ลักษณะของถ้ำจึงอยู่ต่ำกว่าพื้นดินหลายเมตร มองข้างนอกจะไม่ค่อยเห็น แต่ถ้ายืนที่ปากถ้ำแล้วมองลงไปจะเห็นความอลังการของถ้ำซ่อนอยู่ พื้นของถ้ำปูด้วยอิฐซีเมนต์ทำให้ดูดซับน้ำเวลาฝนตกได้ดี ภายในถ้ำจุคนได้หลายร้อยคน โถงถ้ำแห่งนี้ถูกต้ังชื่อว่าปราสาทนพดารา ตามชื่อของโยมที่บริจาคในการพัฒนาถ้ำครั้งแรกเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าภาพ แต่คนส่วนมากก็รู้จักกันในนาม "ถ้ำสุมะโน" ตามฉายาของพระอาจารย์เดช และเรียกกันติดปากว่า"ถ้ำสุมะโน"เช่นเดียวกัน
ต่อมาผู้มีจิตศรัทธาได้รวบรวมปัจจัยซื้อที่ดินรอบภูเขาถวาย และได้รับการแต่งตั้งเป็น "วัดถ้ำสุมะโน" ตามฉายาของพระอาจารย์เดช สุมโน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ และท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก นำพาพุทธศาสนิกชนสร้างบารมีธรรมสมดังเจตนารมณ์ที่ท่านตั้งใจปรารถนาไว้แล้วทุกประการ
นับแต่นั้นเป็นต้นมาวัดถ้ำสุมะโนได้รับการพัฒนาขึ้นโดยลำดับไม่ว่าจะเป็นถ้ำต่างๆสถานที่เสนาสนะ กฏิที่พักพระสงฆ์ เพื่อให้เพียงพอแก่ผู้มาเยือนถ้ำแห่งนี้ ทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพัทลุง ในแต่ละวันก็มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมอย่างไม่ขาดสาย บ้างก็มาปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะวันหยุดหรือเทศกาลสำคัญต่างๆก็จะมีผู้คนมาเที่ยวชมสถานที่มากเป็นพิเศษ ผู้ที่มาวัดถ้ำสุมะโนจึงได้ทั้งมิติแห่งการท่องเที่ยว และมิติในด้านการปฏิบัติธรรม
ที่มา :
http://www.wattumsumano.com/index.php?o ... &Itemid=28
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
110
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-20 21:49
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อเพชร พระประธานในพระอุโบสถ
วัดท่าหลวง (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19301
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1 ...
7
8
9
10
11
12
13
14
15
... 22
/ 22 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...