ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

100

[คัดลอกลิงก์]
101#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 07:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
100. Furano Belly Button Festival : การเต้นนี้ไม่ได้เป็นประเพณีเก่าแก่แต่อย่างใด มันเพิ่งเกิดขึ้นที่ฮอกไกโดเมื่อปี 90 เท่านั้นเอง โดยผู้ชายที่เข้าร่วมงานต้องเปลือยด้านบนวาดรูปลงบนท้องแล้วเต้นระบำ ทั้ง ๆ ที่ใส่หมวกคลุมหน้าเอาไว้


102#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 07:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แปดสิบคำที่ควรรู้   
                                                                                                                    ที่มา  จากหนังสือร้อยคำที่ควรรู้
                                                                                                                  ดร.เสรี  พงศ์พิศ
1. กระบวนการ  (process) หมายถึง ชุดกิจกรรมการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลง พัฒนาการหรือหน้าที่ที่ต่อเนื่องอันก่อให้เกิดผลลัพธ์ เช่น กระบวนการในการทำบัตรประชาชน กระบวนการผลิตรถยนต์ กระบวนการสร้างจิตสำนึก หรือหมายถึงขั้นตอนที่ต่อเนื่อง ระยะเวลาการดำเนินการ เช่น กระบวนการพิจารณารางวัลยังไม่เสร็จสิ้น กระบวนการทางกฎหมายยัง อีกหลาย ขั้นตอน ไม่ควรสับสนระหว่างคำว่ากระบวนการ (process) กับขบวนการ (movement)

103#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 07:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
2. ผลลัพธ์ (output)ผลผลิตสุดท้าย สิ่งที่เป็นผลรูปธรรมที่สัมผัสได้ ผลิตภัณฑ์จำนวนหนึ่ง ผลอันเป็นปริมาณที่ผลิตได้ในระยะเวลาหนึ่ง ผลผลิตทางปัญญา     ผลผลิตทางศิลปะ ผลผลิตงานสร้างสรรค์พลังงานที่ผลิตได้โดยระบบหนึ่ง เช่น โรงงานแห่งนี้วางเป้าหมายให้ผลิตรถยนต์ให้ได้ ปีละ 5,000 คัน นี่คือผลลัพธ์      ตามแผนการดำเนินงานในทางคอมพิวเตอร์ ผลผลิตเกิดจากโปรแกรมเมื่อใส่ (input) ข้อมูลหรือบางสิ่งเข้าไป
104#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 07:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
3. ผลสัมฤทธิ์(outcome) หรือผลกระทบ หรือผลสุดท้ายที่เกิดขึ้น ผลที่เกิดจากเหตุการณ์หนึ่งหรือชุดหนึ่ง เช่น การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม สิ่งที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น  ผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์หนึ่ง เช่น โครงการนี้ทำให้คนตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพของตัวเองมากขึ้น
105#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 07:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
4. กระบวนทัศน์(paradigm) หมายถึงวิธีคิด วิธีปฏิบัติ วิธีให้คุณค่า ซึ่งตั้งอยู่บนฐานการมองโลกความเป็นจริงแบบหนึ่ง บางคนแปลว่า ทัศนะแม่บท เพราะเป็นทัศนะพื้นฐานที่เป็นตัวกำหนดวิธีคิด วิธีปฏิบัติ วิธีให้คุณค่าและวิถีชีวิตทั้งหมดของผู้คน  
      ตัวอย่าง การแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบันมาจากกระบวนทัศน์ที่แตกต่างกัน การแพทย์แผนไทยมองโลกมองชีวิตอย่างเป็นองค์รวมแบบหนึ่ง เป็นเรื่องของธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ อธิบายความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเรื่องของการขาดความสมดุล ขณะที่การแพทย์แผนปัจจุบันมาจากฐานคิดเรื่องโรคจากทฤษฏีว่าด้วยเชื้อโรคว่าด้วยเนื้อเยื่อ และมองชีวิตเป็นกลไกแยกส่วน ด้วยกระบวนทัศน์แตกต่างกันเช่นนี้ การดูแลรักษาโรคจึงแตกต่างกัน คำนี้มาจากหนังสือ Structure of Scientific Revolution ของ Thomas Kuhn ที่เขียนขึ้นเมื่อกลางศตวรรษที่แล้ว เขาบอกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradigm shift )ก็จะเกิดปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เช่นที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในยุคของนิวตัน  ในยุคของไอน์สไตน์ “ มองโลกด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ ” ในหนังสือจุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ ฟริตจอฟ คาปรา พูดเรื่องการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ไว้อย่างละเอียด วิเคราะห์ให้เห็นด้านลบของกระบวนทัศน์ตะวันตกที่ครอบงำโลกในปัจจุบัน ที่คิดแบบ แยกส่วน แบบลดทอน ทำลายสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของคนกับธรรมชาติ คนกับคน การเสื่อมสลายของชุมชนและสังคม คาปรา เขียนเรื่องเต๋าแห่งฟิสิกส์เพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าของแนวคิด แบบตะวันออกที่ควรเป็นฐานกระบวนทัศน์ใหม่ของสังคมใหม่เพราะเน้นที่ความสัมพันธ์ ความสมดุลและองค์รวมคล้ายกับฟิสิกส์สมัยใหม่
106#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 07:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
5. การพัฒนายั่งยืน  (sustainable  development) “ การพัฒนายั่งยืนหมายถึงการพัฒนา ที่ตอบสนองความต้องการของปัจจุบันโดยไม่ทำให้ผู้คนในอนาคตเกิดปัญหาในการตอบสนอง ความต้องการของตนเอง ” (นิยามของคณะกรรมการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา World Commission on  Environment and Development ในรายงาน Our Common Future 1987 หรือ Brundtland Report )
การพัฒนายั่งยืนรวมความถึง 3 ด้านคือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน โครงการพัฒนาใด ๆ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งสามด้านนี้
การพัฒนายั่งยืนเป็นอะไรที่ไกลกว่าเพียงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมเพื่อลดการบริโภคทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมลงไปในระดับที่ยังรักษา ความสมดุลที่ดี ทำให้คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ทำลายล้างอย่างที่ผ่านมาและยังทำกันอยู่หลายแห่ง ให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน อยู่ดีกินดี และอยู่เย็นเป็นสุข
    “  การพัฒนายั่งยืน ” เป็นคำที่ถูกใช้คู่ไปกับคำว่า “ ธรรมาภิบาล ” (good  governance) ถือว่าเป็นสองคำที่สัมพันธ์เกื้อหนุนกันอย่างแยกจากกันมิได้        โดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เห็นว่า การพัฒนาจะยั่งยืนได้ถ้าหากมีธรรมาภิบาล และธรรมาภิบาล ก่อให้เกิดการพัฒนายั่งยืน
การพัฒนามนุษย์ (human development) หมายถึงการเปิดทางเลือกมากมายให้ผู้คนในสังคม หมายความว่าให้ถือเอาผู้ชายผู้หญิง โดยเฉพาะคนจนและคนที่อยู่ในภาวะยากลำบากและเสี่ยงอันตรายเป็นศูนย์กลางของกระบวนการพัฒนา
      รายงานของ UNDP 1996 ได้แสดงให้เห็นว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้ เป็นหลักประกันการพัฒนายั่งยืนและไม่ได้ขจัดปัญหาความยากจนให้หมดไป เช่น บางประเทศมีรายได้ประชาชาติ ต่อหัวสูงกลับอยู่ในระดับต่ำของการพัฒนามนุษย์ มีปัญหาความเหลื่อมล้ำแตกต่างระหว่างประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน ระหว่างคนรวยกับคนจนในประเทศเดียวกัน ช่องว่างที่ถ่างออกไปเรื่อย ๆ การพัฒนามนุษย์แบบยั่งยืนมีอยู่ 5 ลักษณะ คือ
     1. การสร้างความเข้มแข็ง (empowerment) คือการเพิ่มขีดความสามารถในการเลือกและทางเลือกให้ผู้คนได้เป็นอิสระจากความหิวจากสิ่งที่พวกเขาขาดแคลน  และให้พวกเขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขา
     2. ความร่วมมือ (co -operation) ผู้คนสัมพันธ์กันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
     3. ความเท่าเทียม(equity) คนมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรการศึกษาการดูแลสุขภาพ การจัดการชีวิต ทรัพยากร ชุมชนของตนเอง
     4. ความยั่งยืน (sustainability)การพัฒนาวันนี้ไม่ทำลายทรัพยากรและโอกาสของคนรุ่นต่อ ๆ ไป แต่สร้างหลักประกันให้คนในอนาคตเป็นอิสระจากความยากจนและได้ใช้ความสามารถขั้นพื้นฐานของตนเอง                                                                                                                                

     5. ความมั่นคงปลอดภัย  (security)  ในชีวิต  ทรัพย์สิน  การคุกคามจากโรคและภัยอันตราย
107#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 07:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
6. การพึ่งตนเอง  (self - reliance)  “  การพึ่งตนเองเป็นสภาวะอิสระ  หมายถึง  ความสามารถของคนที่จะช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด  โดยไม่เป็นภาระคนอื่นมากเกินไป  มีความสมดุล  ความพอดีในชีวิต เป็นสภาวะทางกายที่สอดคล้องกับสภาวะทางจิตที่เป็นอิสระ  มีความพอใจในชีวิตที่เป็นอยู่มี สิ่งจำเป็นปัจจัยสี่พอเพียง เป็นความพร้อมของชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ”   “ การพึ่งตนเองหมายถึงการจัดชีวิตให้สัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับคน กับสังคมกับธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรา การพึ่งตนเองหมายถึงการมีสวัสดิการและความมั่นคงในชีวิตในปัจจุบันถึงอนาคต  สวัสดิการที่พร้อมตอบสนองเราทันที  โดยที่เราไม่ต้องไปเรียกให้ใครมา   จัดสวัสดิการให้  หรือให้ใครมาช่วยเหลือ ” (จากชีวิตและแนวคิดของผู้ใหญ่วิบูลย์  เข็มเฉลิม ) เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นรากฐานของการพึ่งตนเองทั้งระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  และระดับสังคมโดยรวม ดังที่ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517           ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่า “ การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการเมื่อได้พัฒนาบนความมั่งคงพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว ค่อยสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขั้นสูงในลำดับต่อไป  ”
108#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 07:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
7. การวิเคราะห์  (analysis) หมายถึง การแยกแยะทางความคิดหรือทางวัตถุของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อให้เห็นองค์ประกอบเพื่อศึกษาแต่ละองค์ประกอบ หรือว่าแยกแยะเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเป็นสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้น
ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์ปัญหาความยากจน การวิเคราะห์เรื่องโรคเอดส์ การวิเคราะห์ โครงการพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา (การวิเคราะห์) น้ำประกอบด้วยออกซิเจน และไฮโดรเจน ( การสังเคราะห์)  ออกซิเจนกับไฮโดรเจน รวมกันเข้ากลายเป็นน้ำ การวิเคราะห์โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่าตัวอย่างน้ำมีเชื้อโรคหลายชนิด
จิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) คือวิธีการในการค้นหาสาเหตุที่ฝังลึกในสำนึกและวิธีการใน  การบำบัดความผิดปกติทางจิต โดยอาศัยแนวคิดทางจิตวิทยาของซิกมุนด์ ฟรอยด์

109#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 07:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
8. การสังเคราะห์ (synthesis) หมายถึง กระบวนการหรือผลของการนำเอาปัจจัยสองอย่างหรือมากกว่าที่แยกกัน โดยเฉพาะความคิดนำมารวมกันเข้าเป็นหนึ่ง     ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น เป็นความรู้ใหม่ เครื่องมือใหม่ทางความคิด เช่น การรวมกันให้เป็นทฤษฎี หรือระบบ
การสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น ไฮโดรเจนและออกซิเจนรวมกันเข้าเป็นน้ำ การผสานความคิดให้กลายเป็นองค์รวมที่ซับซ้อนขึ้น บูรณาการให้เป็นองค์รวม        ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมาจากกระบวนการดังกล่าว
ในแนวคิดวิภาษวิธีของเฮเกล การสังเคราะห์เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการทางประวัติศาสตร์ เมื่อปรากฏการณ์หนึ่ง (thesis) ถูกแย้งจากอีกปรากฏการณ์หนึ่ง (anti- thesis) ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้น (synthesis) และปรากฏการณ์นี้ก็จะกลายเป็นตัวตั้ง ( thesis ) ที่ถูกแย้งจากอีกปรากฏการณ์หนึ่ง และสังเคราะห์เป็นปรากฏการณ์ใหม่ เช่นนี้เรื่อยไป
110#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 07:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
9. การคิดเชิงระบบ (systems thinking) การคิดเชิงระบบเป็นวิธีการเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างสัมพันธ์กันอย่างไร เป็นวิธีมองที่ก้าวข้ามเหตุการณ์ที่เกิด เพื่อดูรูปแบบของพฤติกรรม  เพื่อค้นหาระบบความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่อันเป็นที่มาของเหตุการณ์และพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
       การคิดเป็นระบบอยู่บนฐานการมองโลกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นพื้นฐานการตีความ หรืออธิบายความสัมพันธ์ภายในระบบ ความสัมพันธ์ที่เป็นตัวการของการดำเนินไปของระบบ ความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดรูปแบบต่าง ๆ ของพฤติกรรมและเหตุการณ์ที่เรามองเห็นเป็นการมองรอบด้าน
การคิดเชิงระบบเป็นเรื่องยากเพราะเราถูกครอบงำจากวิธีคิดแบบวิเคราะห์และแยกส่วนตลอดสามร้อยปีที่ผ่านมา เราถูกสอนให้คิดแบบเส้นตรง (linear thinking)  หรือคิดด้วยหลักเหตุและผลซึ่งเป็นวิธีคิดที่ค่อนข้างจำกัดทำให้คิดเป็นกลไก มองโลกเป็นเครื่องจักรใหญ่ มีกลไกการทำงาน มองชีวิตเป็นกลไกแก้ไขปัญหาแบบแยกส่วน เช่น การแพทย์ที่มองส่วนต่าง ๆ แยกจากกัน มองเห็นไข้แต่ไม่เห็นคน
      การก้าวข้ามวิธีคิดแบบเส้นตรง หรือการคิดเชิงเหตุและผลไปสู่การคิดเชิงระบบ คือการปรับการมองความเป็นจริงแบบองค์รวมศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ของระบบทั้งหมด วิธีคิดแบบนี้ทำให้เข้าใจลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นว่าสิ่งต่าง ๆ ดำเนินการไปอย่างไร
ระบบ คือ สิ่งหนึ่งหรือรูปธรรมหนึ่งที่เป็นอยู่เพราะองค์ประกอบของมันมีปฏิสัมพันธ์กัน
      ระบบไม่ใช่เอาสิ่งของมากองไว้ แต่เป็นปฏิสัมพันธ์ (interaction) ปฏิสัมพันธ์นี้เป็นหัวใจของระบบ ไม่ใช่ส่วนประกอบต่าง ๆ ระบบเกิดขึ้นเพราะมีการเชื่อมโยงทุกส่วนเข้าด้วยกัน เหมือนดอกไม้หลายชนิดนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยสวยงาม  เหมือนส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ที่ประกอบกันเข้าถูกที่ถูกทางกลายเป็นรถยนต์และสามารถวิ่งได้ ระบบมีความหมายในตัวเมื่อความสัมพันธ์ลงตัว การคิดเชิงระบบคือการเชื่อมโยงองค์ประกอบต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กันอย่างลงตัว

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้