ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระองค์ที่ ๑๐ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

[คัดลอกลิงก์]
31#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-11 17:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ภิกษุสามเณรผู้เริ่มเรียน กว่าจะเรียนจบมูลปกรณ์ก็ช้านาน
มักเป็นที่ระอาเบื่อหน่ายแล้วละทิ้งเสีย แม้ถึงเรียนตลอดบ้างก็ไม่เข้าใจตลอดไปได้
เพราะธรรมดาคนเรียนใหม่ ไม่อาจเข้าใจฉบับเรียนที่พิสดารให้ตลอดไปได้
จะกำหนดจำได้แต่เพียงพอแก่สติปัญญา
เหมือนเด็กน้อยที่ผู้ใหญ่ป้อนอาหารคำโตกว่าปากขึ้นไป
รับบริโภคได้พอประมาณปากของตน

ฉะนั้น ท่านผู้ชำนาญในวิธีสอนบางท่านจึงได้คิดแต่งวิธีสอนผู้เริ่มเรียนใหม่
เรียกชื่อว่าบทมาลา ย่อบ้าง พิสดารบ้าง ตามความประสงค์ของท่าน
สำหรับสอนแทนมูลปกรณ์ เพื่อจะให้เวลาเรียนเร็วขึ้น

ส่วนการเรียนนั้น สถานที่หนึ่งก็มีครูคนหนึ่งสอนนักเรียนทุกชั้นไม่ได้ปันเป็นแผนก
จึงหาครูที่มีความรู้พอจะสอนได้ตลอดเป็นอันยาก
ทั้งเป็นที่ลำบากของครูผู้สอนจะสอนนั้นด้วย
ส่วนกำหนดเวลาสอบความรู้ ๓ ปีครั้งหนึ่ง หรือ ๖ ปีครั้งหนึ่งนั้น
เป็นการนาน ผู้ที่เรียนมีความรู้พอจะสอบได้
แต่ยังไม่ถึงสมัยที่จะสอบ หรือผู้ที่สอบตกแล้ว
มักสิ้นหวังที่จะรอคอยคราวสอบครั้งหน้า

แลนักเรียนคนหนึ่งสอบคราวหนึ่งก็ได้ไม่กี่ชั้นนัก
จึงไม่ใคร่จะมีเปรียญประโยคสูง จะหาครูที่สอนหนังสือชั้นสูงๆ
ได้ก็ยากเข้าทุกที ถึงจะมีผู้สอบชั้นสูงได้บ้าง
ก็คงต้องรับตำแหน่งยศพระราชาคณะเสียในระหว่างยังไม่ทันสอบชั้นสูง
ด้วยเหตุจำเป็น มีจะต้องเป็นเจ้าอาวาสเป็นต้น

เมื่อเป็นฉะนี้  ก็ไม่ค่อยมีนักเรียนที่สอบได้ถึงชั้นที่สุดตามแบบที่ตั้งไว้
ส่วนการแปลด้วยปากนั้น สอบวันหนึ่งไม่ได้กี่รูป
กว่าจะจบการสอบคราวหนึ่งถึง ๓ เดือน
เมื่อเป็นเช่นนี้ จะกำหนดการสอบให้เร็วเข้ามาก็ไม่ได้อยู่เอง
แลเปรียญที่สอบความรู้ได้ถึงชั้นนั้นๆ แล้ว
ก็มีความรู้พออ่านหนังสือเข้าใจได้เท่านั้น
ผู้สอบยังทราบไม่ได้ว่าเป็นผู้ทรงธรรมวินัย
สมควรจะปกครองหมู่คณะแล้วหรือไม่
อาศัยเหตุผลที่กล่าวมานี้ การเรียนพระปริยัติธรรมของภิกษุสามเณร
จึงนับว่าเจริญดีแล้วยังไม่ได้

เพื่อจะคิดแก้ไขให้การเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของภิกษะสามเณร
เจริญดีขึ้นทันเวลาที่เป็นอยู่บัดนี้
วิทยาลัยจึงได้จัดวิธีสอนแลสอบความรู้ดังนี้ ในเบื้องต้น
ให้เรียนบาลีไวยากรณ์ ซึ่งเป็นหนังสือชนิดเดียวกับบทมาลา แล้วจึงขึ้นคัมภีร์ต่อไป
แบบที่สำหรับสอบความรู้นั้น บาลีไวยากรณ์เป็นชั้นนักเรียนที่ ๓
อรรถกถาธรรมบท ความนิทาน เป็นชั้นนักเรียนที่ ๒
แก้กถาธรรมบทบั้นปลาย เป็นนักเรียนชั้นที่ ๑

แก้กถาธรรมบทบั้นต้น เป็นชั้นเปรียญที่ ๓
(ต่อไปถ้ามีกำลังจะพิมพ์มังคลัตถทีปนีได้ จะใช้เป็นแบบสำหรับสอบชั้นเปรียญที่ ๓)
พระบาลีพระวินัยมหาวัคค์และจุลลวังคค์ กับบาลีพระอภิธรรมบางเล่ม
เป็นชั้นเปรียญที่ ๑ กำหนดสอบไล่ทุกปี วิธีสอบไล่นั้นใช้เขียน
แต่ยอมให้ผิดได้ไม่เกินกำหนด ถ้าได้ชั้นไหนแล้วก็เป็นอันได้
วิทยาลัยได้รับพระบรมราชานุญาตให้สอบไล่ได้โดยวิธีที่จัดนี้ เป็นส่วนพิเศษ  

๒. การที่ประชุมชนจะเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ชัดเจนมีอยู่ ๓ ทาง
คือ ด้วยได้ฟังธรรมเทศนา ด้วยได้สนทนาธรรม ด้วยได้อ่านหนังสือที่เป็นคำสั่งสอน

การเทศนานั้นมีที่วัดตามกำหนดวันพระบ้าง มีที่โรงธรรมในที่นั้นๆ บ้าง
มีด้วยกิจนิมนต์ในมังคลามังคลสมัยบ้าง เทศที่จัดตามกำหนดวันพระนั้น
จะได้ฟังก็แค่คนที่เข้าวัดเท่านั้น
ส่วนเทศนาในโรงธรรมนั้นตั้งขึ้นที่ไหนก็มีแต่คนในจังหวัดนั้น
และมักจะเทศนาแต่เรื่องนิทานนิยายอะไรต่างๆ
ไม่เป็นทางที่จะให้เข้าใจในพระพุทธศาสนาดีขึ้น

การเทศนาด้วยกิจนิมนต์ในมังคลามังคลสมัยนั้นก็มักมีแบบไว้สำหรับพิธีนั้นๆ
ใครเคยฟังเรื่องใดก็ฟังเรื่องนั้นซ้ำๆ อยู่นั่น ไม่ค่อยจะได้ฟังเรื่องที่แปลกจากนั้น
ส่วนการสนทนาธรรมนั้น เป็นทางที่จะเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ชัดเจน
เพราะผู้ฟังถามข้อที่ตัวไม่เข้าใจหรือสงสัยอยู่ได้
แต่จะหาผู้ที่เข้าใจในการสนทนานี้ยากยิ่งนัก
32#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-11 17:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ส่วนการอ่านหนังสือที่เป็นคำสั่งสอนนั้น
เป็นที่เข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ดีกว่าฟังเทศนา
เพราะอ่านเองมีเวลาที่จะกำหนดตรึกตรองได้ตามชอบใจ
และถ้าจำได้แล้วลืมเสียกลับดูอีกก็ได้
แต่หนังสือที่สำหรับจะอ่านเช่นนั้นยังไม่มีแพร่หลายพอที่ประชุมชนจะแสวงหาไว้อ่านได้
หนังสือที่มีอยู่แล้วก็ยังไม่ได้แสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาให้สิ้นเชิง
เป็นแต่แสดงบางข้อความตามประสงค์ของผู้แต่งหนังสือนั้นๆ
ความยินดีในธรรมของคนก็ต่างกัน

บางคนยินดีในธรรมที่ลึกซึ้ง บางคนยินดีในธรรมที่ไม่ลึกซึ้ง
ถ้าถูกอัธยาศัยก็พอใจอ่าน ถ้าไม่ถูกอัธยาศัยก็ไม่พอใจอ่าน
หนังสือสำหรับสั่งสอนประชุมชน
ควรจะมีหลายอย่างตามอัธยาศัยของคนต่างๆ กัน  


ในการที่จะแนะนำให้ประชุมชนเข้าใจในพระพุทธศาสนาชัดเจนดีนั้น
เป็นกิจที่วิทยาลัยควรจุด ๒ อย่าง คือ
มีธรรมเทศนาที่วัดตามกำหนดวันพระอย่างหนึ่ง
จัดพิมพ์หนังสือแสดงคำสั่งสอนอย่างหนึ่ง

ส่วนการมีเทศนาตามกำหนดวันพระนั้น ได้เคยมีเป็นประเพณีของวัดมาแล้ว
ส่วนการพิมพ์หนังสือแสดงคำสอนนั้นวิทยาลัยจะจัดขึ้นตามกำลังที่จะจัดได้
  
๓. การฝึกสอนเด็กชาวเมืองนั้น วิทยาลัยจะจัดให้มีโรงเรียนสำหรับสอนหนังสือไทย
แลเลขแลฝึกกิริยาเด็กให้เรียบร้อย สอนให้รู้จักดีชั่วตามสมควร

ใน ๓ ข้อที่กล่าวแล้วนี้ การเล่าเรียนของภิกษุสามเณร วิทยาลัยได้จัดแล้ว
ส่วนอีก ๒ ข้อนั้นอาจจัดได้เมื่อใด ก็จะจัดเมื่อนั้นตามลำดับ

จากพระอธิบายข้างต้นนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงชี้ให้เห็นว่า
การศึกษาของพระสงฆ์เท่าที่ผ่านมาไม่เจริญก้าวหน้า
เพราะสาเหตุหลายประการ กล่าวคือ

        (๑) ตำราเรียนบางส่วนไม่เหมาะสม ทำให้ผู้เรียนต้องใช้เวลาเรียนนานเกินจำเป็น
จนผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเรียนไปไม่ค่อยตลอด
        (๒) เนื่องจากตำราเรียนยากเกินความจำเป็น
แม้ผู้ที่เรียนผ่านไปได้ก็มักจะไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน
(๓) การเรียนไม่มีการจัดเป็นชั้นอย่างเป็นระบบ ครูคนเดียวสอนหมดทุกอย่าง
เป็นเหตุให้หาครูที่สอนได้อย่างสมบูรณ์ตามหลักสูตรยาก
        (๔) การสอบไม่มีกำหนดที่แน่นอนและทิ้งระยะนานเกินไป
คือ ๓ ปีครั้งบ้าง ๖ ปีครั้งบ้าง
        (๕) วิธีการสอบยังล้าหลัง คือสอบด้วยวิธีแปลด้วยปาก
ซึ่งการสอบแต่ละครั้งต้องใช้เวลามาก แต่สอบนักเรียนได้จำนวนน้อยคน  
  
        เนื่องจากสาเหตุต่างๆ ดังกล่าวนี้นั่นเอง
ที่ทำให้ผู้ที่ผ่านการสอบได้แล้วก็มั่นใจไม่ได้ว่าเป็นผู้รู้พระธรรมวินัยดี
เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจในสิ่งที่ตนเรียน
และเรื่องที่เรียนในชั้นนั้นๆ บางทีก็ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นจะต้องรู้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้
หากกล่าวโดยสรุปก็คือ เป็นปัญหาเกี่ยวกับวิธีสอนและวิธีสอบนั่นเอง
  
วิธีที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงพระดำริขึ้น
เพื่อแก้ไขการศึกษาของภิกษุสามเณรให้เจริญทันกาลสมัย
ดังที่ได้จัดขึ้นในมหามกุฏราชวิทยาลัย

ก็คือในด้านการสอนนั้นจัดหลักสูตรให้มีน้อยชั้น
สามารถเรียนให้จบได้ในเวลาอันสั้น เรียนได้ง่ายขึ้น
แต่ได้ความรู้พอเพียงแก่ความต้องการ
ส่วนการสอบนั้น ให้มีการสอบทุกปีและสอบด้วยวิธีเขียน
กล่าวโดยสรุปก็คือจัดหลักสูตรให้เหมาะสม ใช้เวลาเรียนสั้น
เรียนง่ายได้ความรู้มาก และวัดผลได้แม่นยำ

33#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-11 17:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย


ข้อมูลพื้นฐานปัจจุบันของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ชื่อมหาวิทยาลัย

ภาษาไทย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยอักษรย่อ คือ มมร.
ภาษาอังกฤษ : Mahamakut Buddhist University อักษรย่อ คือ MBU

ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุเส
ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์

สีประจำมหาวิทยาลัย

สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี อันเป็นวันพระราชสมภพ

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ต้นโพธิ์ ต้นไม้ที่ประทับตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา

ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์


34#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-11 17:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย
   
พระมหามงกุฏ  :
หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔
พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม “มหามกุฏราชวิทยาลัย”

พระเกี้ยวประดิษฐานแบบหมอนรอง :
หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
ซึ่งทรงเป็นผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย
และพระราชทานทรัพย์บำรุงปีละ ๖๐ ชั่ง

หนังสือ :
หมายถึง คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา
โดยที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์และตำรา
ทางพระพุทธศาสนา สำหรับส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ปากกาปากไก่ ดินสอ และม้วนกระดาษ :
หมายถึง อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน ตลอดถึงอุปกรณ์ในการผลิตคัมภีร์
และตำราทางพระพุทธศาสนา เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาและแหล่งผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา

ช่อดอกไม้แย้มกลีบ ในทางการศึกษา :
หมายถึง ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาความรู้
แต่ในทางพระศาสนาหมายถึง กิตติศัพท์ กิตติคุณ
ที่ฟุ้งขจรไปดุจกลิ่นแห่งดอกไม้โดยมีความหมายรวม
คือความเจริญรุ่งเรืองและเกียรติยศ อิสริยยศ บริวารยศ

พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ :
หมายถึง มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคง
และแพร่หลายของพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่

วงรัศมี :
หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
ที่บังเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมหามกุฏราชวิทยาลัย
ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย

มหามกุฏราชวิทยาลัย :
หมายถึง สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี, โท, เอก
ปัจจุบัน คือ “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”    

วัตถุประสงค์หลัก (Objectives)

          (๑) ผลิตบัณฑิตพระภิกษุ สามเณร ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ
ตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ

          (๒) ผลิตบัณฑิตคฤหัสถ์ทุกคน ให้เป็นคนดี คือ คิดดี พูดดี และทำดี
ตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา

          (๓) บริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาแก่สังคมให้เกิดผลสัมฤทธิ์
เป็นประจักษ์ชัดเจน ต่อสังคมไทยและสังคมโลก

          (๔) ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งทางสังคมศาสตร์
และมีคุณภาพทั้งด้านความรู้และความประพฤติ

          (๕) ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา
การเรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางทางวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาท

          (๖) ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งสมานฉันท์
ความเอื้ออาทรต่อกันและความสามัคคี โดยใช้หลักสาราณียธรรมและพรหมวิหารธรรม

(๗) สร้างระบบการบริหารองค์การให้เป็นองค์การที่มีลักษณะของความเป็น
มหาวิทยาลัยเฉพาะทางพระพุทธศาสนาและมีมาตรฐานระดับสากล
35#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-11 17:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พันธกิจ (Mission Statements)

(๑) ผลิตบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนาให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย
และกระจายโอกาสให้พระภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ และผู้สนใจมีโอกาสศึกษามากขึ้น

             (๒) ให้บริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาแก่สังคม ชุมชน และท้องถิ่น
โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อมุ่งเน้นการเผยแผ่พุทธธรรม
การแก้ปัญหาสังคม การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดสันติสุข
การชี้นำสังคมในทางสร้างสรรค์ และการยุติข้อขัดแย้งด้วยหลักวิชาการพระพุทธศาสนา

             (๓) วิจัยและพัฒนางานวิชาการเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนา
เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ๆ
ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
และเผยแผ่องค์ความรู้ในระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัย

             (๔) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้า ทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น
รวมทั้งสร้างชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม

ปณิธาน (Aspiration)

มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ
ตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม  
ชี้นำและแก้ปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ  




* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

หมายเหตุ : โปรดติดตามอ่าน

วัดประจำรัชกาลที่ ๖ : วัดบวรนิเวศวิหาร

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19342

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
หนังสือชุดพระเกียรติคุณ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ :  
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ)
วัดบวรนิเวศวิหาร, สุเชาวน์ พลอยชุม เรียบเรียง, มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
http://www.dharma-gateway.com/
http://mahamakuta.inet.co.th/
http://www.mbu.ac.th/
http://www.watbowon.org/
http://www.watbowon.com/


กระทู้ในบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13562

....................................................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=21082

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้