ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 10505
ตอบกลับ: 31
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม ฐานุสฺสโก) วัดดอนยายหอม ~

[คัดลอกลิงก์]

พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม ฐานุสฺสโก)
วัดดอนยายหอม
ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม


ประวัติและปฏิปทา

ชื่อเดิม
        
แช่ม อินทนชิตจุ้ย

ชาตะ
        
วันพุธที่ ๖ มีนาคม ๒๔๔๙ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเมีย ที่บ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายเนียม และนางอ่ำ อินทนชิตจุ้ย

อุปสมบท
        
     ที่อุโบสถวัดดอนยายหอม ในวันศุกร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ โดยมีพระครูอุตตรการบดี (สุข) วัดห้วยจรเข้ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูทักษิณานุกิจ (เงิน) วัดดอนยายหอม เป็นพระกรรมวาจารย์ และพระครูวินัยธร (ใย) วัดบางช้างใต้ เป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "ฐานุสฺสโก"

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-2 00:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การศึกษา

ในด้านพระปริยัติธรรม หลวงพ่อแช่ม สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ จากนั้นได้หันมาศึกษาด้านการปฎิบัติ โดยได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และพระเวทวิทยาคมต่างๆจากหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อรุ่ง วัดดอนยายหอม หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม และพระครูอุตตรการบดี (สุข) วัดห้วยจรเข้

สมณศักดิ์
        
- ปี พ.ศ. ๒๕๐๖   เป็นพระครูฐานานุกรมของพระราชธรรมาภรณ์ (เงิน) ในตำแหน่งพระครูปลัดแช่ม

- ปี พ.ศ. ๒๕๑๒   เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนา ที่ พระครูเกษมธรรมานันท์

- ปี พ.ศ. ๒๕๑๖   เป็นพระอุปัชฌาย์

- ปี พ.ศ. ๒๕๒๐   เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม

- ปี พ.ศ. ๒๕๒๔   ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอก วิปัสสนา พัดพุฒตาลขาว ในราชทินนามเดิม

ผลงานด้านการพัฒนา

สมัยที่หลวงพ่อเงินยังมีชีวิตอยู่ หลวงพ่อแช่มเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง สำคัญของหลวงพ่อเงินในการพัฒนาสร้างสรรค์สาธารณประโยชน์ต่างๆ มากมาย เมื่อหลวงพ่อเงินมรณภาพไปในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ หลวงพ่อแช่ม ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของหลวงพ่อเงินต่อไป

๑. การบูรณปฎิสังขรณ์เสนาสนะ กุฎิสงฆ์ และถาวรวัตถุต่างๆในวัดดอนยายหอม

๒. เป็นประธานอุปถัมภ์ในการสร้างวัดตะแบกโพรงสามัคคีธรรมที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

๓. สร้างโรงเรียนหลวงพ่อแช่มอุปถัมภ์ (ฉิมเกตุ อ่อนอุทิศ) ที่ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

๔. สร้างตึกคนไข้ ๔ ชั้น ที่โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

๕. จัดหาทุนสร้างหอประชุมอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-2 00:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ชื่อเสียงกิตติคุณ
        
เชื่อกันว่าหลวงพ่อแช่มสำเร็จเตโชกสิณตั้งแต่พรรษายังน้อย บางคนเชื่อว่าท่านสำเร็จฌานอภิญญามีพลังจิตเข้มขลัง ปรากฏการณ์ที่ทำให้ชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ก็คือ สามารถอธิษฐานจิตปลุกเสกจนน้ำมนต์เทไม่ออก วัตถุมงคลต่างๆที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสก มีพุทธคุณครบเครื่องทุกๆด้าน แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือ เมตตามหานิยม ปัจจุบันวัตถุมงคลชุดสำคัญๆของท่านเริ่มเป็นที่นิยมและสะสมกันมากขึ้น นอกจากพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆแล้ว น้ำพระพุทธมนต์ แป้งเจิม มงคลสวมคอ การผูกหุ่นพยนต์ และสาริกาลิ้นทอง เป็นวิชาเฉพาะตัวที่หลวงพ่อทำได้ขลังยิ่งนัก

มรณภาพ
        
วันพฤหัสบดีที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ รวมสิริมายุได้ ๘๗ ปี พรรษา ๖๗


ที่มา http://www.dharma-gateway.com/mo ... hist-index-page.htm
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-2 00:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ใครหาวัตถุมงคลของหลวงพ่อเงินไม่ได้แนะนำหลวงพ่อแช่มครับ
รับรองไม่แตกต่างกันครับ นอกจากราคาค่าบูชา
กราบหลวงปู่ครับ
ทางวัดเก็บสังขารท่านไว้หรือเปล่าครับ
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-4 19:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
      หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม เป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังเป็นพระอริยะสงฆ์ เป็นที่เคารพสักการะของชาวนครปฐม และพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป แม้แต่คนที่นับถือศาสนาอื่นก็ยังเคารพเลื่อมใส  จังหวัดนครปฐมถือได้ว่าเป็นดินแดนแห่งพระเกจิอาจารย์อาคมขลังขมังพระเวทตั้งแต่อดีตสืบทอดถึงปัจจุบัน มีพระเกจิอาจารย์นับจำนวนได้เกินร้อยรูปแต่ละรูปล้วนมีเกียรติคุณลือชาไปทั่วแคว้นแดนไทย หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม ก็ถือเป็นยอดแห่งพระเกจิอาจารย์แห่งยุคอีกรูปหนึ่ง ท่านเป็นที่ยอมรับในความที่มีอิทธิฤทธิ์ปฎิหารย์ตลอดทั้งบุญฤทธิ์ของท่านประจักษ์ตาประจักษ์ใจ ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวง ของหลวงพ่อแช่มได้เคยปรากฏให้ใครต่อใครได้พบเห็นมามากต่อมาก  ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ใครขอพรได้พรจากท่านแล้วมักจะมีความรุ่งเรืองสมประสงค์ทุกรายไป

กำเนิดหลวงพ่อแช่ม

         หลวงพ่อแช่มท่านมีนามเดิมว่า แช่ม อินทนชิตจุ้ย  ถือกำเนิดเกิดมาเมื่อวันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2449  ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย ณ.บ้านหลังหนึ่ง หมู่ที่ 1 ตำบลดอนยายหอม  อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ นายเนียม โยมมารดาชื่อ นาง อ่ำ  อินทนชิตจุ้ย มีพี่น้องร่วมสายโลหิตรวมทั้งสิ้น 7 คน หลวงพ่อแช่มเป็นคนที่ 3 พี่น้องร่วมสายโลหิตทั้ง 7 คน มีดังต่อไปนี้

                                     1. นายเอี่ยม  อินทนชิตจุ้ย
                                     2. นายอุ่ม     อินทนชิตจุ้ย
                                     3. หลวงพ่อแช่ม (ฐานุสสโก)
                                     4. นางช้อย    ลำวิไล
                                     5. นายพวง    อินทนชิตจุ้ย
                                     6. นางเจียก    สอดสุข
                                     7. นายพุ่ม      อินทนชิตจุ้ย

            พี่น้องทั้ง 7 คนดังกล่าวนี้  ปัจจุบันได้เสียชีวิตหมดแล้ว


พื้นฐานเดิมของครอบครัว

            อาชีพพื้นฐานเดิมของโยมบิดา-มารดา ของหลวงพ่อแช่ม ก็เหมือนกับอาชีพของครอบครัวอื่นๆ ในตำบลเดียวกัน ซึ่งเกือบจะทุกครอบครัวประกอบอาชีพในทางทำนาปลูกข้าว เลี้ยงเป็ด-ไก่ เล็กๆน้อยๆ เดื่อเป็นอาชีพเสริมในครัวเรือน โยมบิดา-มารดา มีพื้นที่นาทำกินหลายสิบไร่ ตำบลดอนยายหอมในสมัยนั้นยังไม่เจริญ ยังมีประชากรไม่มากนัก ที่ทางก็ไม่มีคนจับจอง สิ่งที่จำนำมาเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคนั้นยังมีอยู่ทั่วไป และไม่ค่อยจะมีใครหวงแหนเหมือนอย่างในสมัยปัจจุบันนี้ พืชผัก ปลา อาหารสมบูรณ์ การทำมาหากินต้องอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก กลางท้องทุ่งนาในสมัยก่อนยังเป็นป่าเป็นพง ยังไม่เป็นทุ่งโล่งเหมือนอย่างกับปัจจุบันนี้ โยมเนียมจึงพากเพียนหักล้างถางพงบุกเบิกไร่นาสะสมไว้เพื่อจะได้เป็นมรดกตกทอดสู่ลูกหลานต่อไป

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-4 19:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ชีวิตในปฐมวัย


          เมื่อโยมบิดา-มารดา ได้กำเนิดเด็กชายแช่มแล้ว ก็ทะนุถนอมเลี้ยงดูเยี่ยงเด็กสามัญชนทั่วไป ตามฐานะที่พ่อแม่จะพึงมี ในวัยเยาว์ เด็กชายแช่มจะเป็นลูกที่เลี้ยงง่าย ไม่ออดอ้อน งอแง เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยจะหายเร็ว ไม่ดื้อรัน เกเร ว่านอนสอนง่ายจึงเป็นที่รักและเอ็นดูของพ่อแม่ พี่ๆน้องๆ และเพื่อนบ้านในละแวกเดียวกัน เด็กชายแช่มชอบแสวงหาสันโดษเป็นเนืองนิตย์ ดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่ชอบการเอารัดเอาเปรียบใคร มีความเมตตา เสียสละและชอบช่วยเหลือเป็นห่วงเป็นใยต่อเพื่อนเด็กๆด้วยกัน ไม่ชอบทำบาป ไม่ยิงนก ตกปลา หักขาตั๊กแตน ซึ่งผิดวิสัยกับการกระทำของเด็กทั่วไป ตรงกันข้ามเด็กชายแช่มกลับมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนๆ รักความสะอาดเรียบร้อย ยิ่งกว่านั้นยังได้แสดงออก ซึ่งสัญลักษณ์แห่งความเป็นปรัตถจริยา คือชอบทำประโยชน์ให้กับคนอื่น ทั้งนี้สังเกตได้จากการร่วมเล่นระหว่างเพื่อนเด็กๆด้วยกัน เช่น แทนที่จะเล่นซ่อนหา ตี่จับ แต่เด็กชายแช่ม มักจะหาโอกาสชักชวนเพื่อนๆ ให้เล่นแข่งขันกันทำความสะอาด เช่น เล่นกวาดขยะบนถนน หน้าลานบ้าน เก็บเศษไม้ ตัดแต่งกิ่งไม้ที่เกะกะระรานทางเดิน แข่งขันกันรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น

         เมื่อเติบใหญ่เป็นวัยรุ่น นายแช่มต้องช่วยพ่อแม่ทำนาและเลี้ยงสัตว์ การทำนาก็ใช้วัวเป็นกำลังหลักสำคัญ นายแช่มเป็นคนรักสัตว์มาก ให้การเลี้ยงดูวัวของครอบครัวเป็นอย่างดียิ่ง แม้แต่จำใช้คำพูดคำจากับวัวก็ยังใช้ภาษาที่ไพเราะ เมื่อเสร็จจากการไถนาในแต่ละวันแล้ว ก็จะไล่ต้อนวัวไปกลางทุ่งเพื่อให้วัวได้กินหญ้าอ่อนตามประสาของมัน เมื่องานประจำวันที่รับผิดชอบมีมากและหลีกเลี่ยงไม่ได้ นายแช่มจึงไม่ค่อยได้มีโอกาศเที่ยวเตร่สนุกสนาน เฮฮา เถลไถล เกกมะเหรกเกเร เหมือนกับวัยรุ่นทั่วๆไปในชุมชนนั้น

         นายแช่มนับว่าเกิดมาโชคดีที่มีพ่อ-แม่ ซึ่งถือว่าเป็นพรหมของลูกได้รับการดูแลเอาใจใส่จากพ่อ-แม่อย่างเป็นธรรม พ่อเนียม แม่อ่ำ จะให้ความเป็นธรรมในการอบรมเลี้ยงดูลูกๆทุกๆคน การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะห้วหน้าครอบครัวตลอดจนการประพฤติปฏิบัติตน พ่อเนียมก็เป็นแบบฉบับเยี่ยงอย่างที่ดี นำมาซึ่งกำลังใจ และความอบอุ่นใจแก่ลูกเมียและญาติพี่น้องทุกคน การประพฤติดีและประพฤติชอบอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ความมีมุมานะบากบั่นขยันหมั่นเพียรในการทำมาหากิน ความมีคุณธรรมนั้น พ่อเนียมได้เป็นแบบอย่างที่ดีงามของลูกๆ และเพื่อนบ้านเสมอมา นายเช่มได้รับการอบรมสั่งสอนจากพ่อเนียมให้เห็นจริงเห็นจังในกรรมต่างๆ ที่จะมาเป็นผลสนองแก่การกระทำนั้นๆ ลูกๆของพ่อเนียมทุกคน เกรงกลัวต่อบาป จึงตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเหมือนพ่อเนียม การประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม โดยมุ่งหวังที่จะปลูกฝังจริยธรรมและสัมมาอาชีวะให้แก่บุตร-ธิดานั้น พ่อเนียมเห็นว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าการใฝ่หาทรัพย์สมบัติมาสะสมเป็นกองมรดกไว้ให้เสียอีก พ่อเนียมเห็นว่าทรัพย์นั้นผู้ถือกรรมสิทธ์ประพฤติไม่ดี แม้จะมีมากน้อยเพียงใด ก็ย่อมจะรักษาทรัพย์นั้นไว้ไม่อยู่ ย่อมอันตรธานหายไป หมดสิ้นไม่วันใดก็วันหนี่ง ส่วนคนประพฤติปฏิบัติดีนั้น แม้ทรัพย์สินมรดกจะมีน้อยหรือไม่มีเลย ก็อาจจะแสวงหาสะสมเก็บหอมรอมริบไว้มากได้ พ่อเนียมจึงมักจะบอกลูกให้คิดอยูเสมอว่า ?ใครมีปัญญาย่อมหาทรัพย์ได้ง่าย ถ้ารู้จักหา รู้จักเก็บ ก็คงไม่รู้จักจน การก่อสร้างครอบครัว ก้ต้องค่อยๆ ก้าวขึ้นทีละน้อยๆ อย่าคิดโลภมาก ผลีผลามตัดสินใจอะไรง่ายจนเกินไป อาจจะพลาดพลังได้ง่าย?

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-4 19:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การศึกษาเบื้องต้น

             ในสมัยนั้นตำบลดอนยายหอมยังไม่มีโรงเรียนเหมือนอย่างในสมัยปัจจุบัน ชาวบ้านไม่รู้จักหนังสืออ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ จึงมีมาก โดยเฉพาะผู้หญิงจะไม่มีโอกาศรู้หนังสือเลย คนที่พอจะอ่านออกเขียนได้ส่วนมากมักจะมีหลวงอาตาปู่ เป็นสมภารเจ้าวัด พ่อ-แม่ที่มองการไกลเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา รู้คุณค่าของการรู้จักหนังสือ ก็จะนำบุตรหลานไปฝากไว้กับพระที่วัด เพื่อมอบหมายให้ปรนนิบัติรับใช้ เวลาว่างก็ศึกษาเล่าเรียนกับพระไปด้วย เป็นการศึกษานอกรูปแบบ ถนัดอย่างไรก็เล่าเรียนไปตามนั้น คนทั่วๆไปมักจะคิดว่า หนังสือไม่สำคัญต้มแกงกินไม่ได้ จะอ่านเขียนไปทำไม ไม่รู้หนังสือก็ไม่เห็นติดคุกติดตราง เมื่อบุตรหลานเติบโตก็ควรจะฝึกหัดให้ถือหางคันไถฝึกฝนให้ทำไร่ไถนา จะเหมาะสมและมีประโยชน์มากกว่า ทางราชการและกฎหมายบ้านเมืองก็ยังไม่ได้ออกระเบียบกฎเกณฑ์การบังคับให้เข้าโรงเรียน การเรียนรู้หนังสือจึงถือว่าไม่จำเป็น และสำคัญเท่ากับการเรียนรู้เรื่องทำไร่ไถนา หว่านพืชพันธุ์ เด้กๆมีหน้าที่อย่างเดียว คือเมื่อตื่นนอนแล้วต้องต้อนวัวออกไปทำนากลางท้องทุ่งนา แต่พ่อเนียมไม่ได้คิดอย่างชาวบ้านทั่วไป คิดอยู่เสมอว่าลูกๆของพ่อเนียม(โดยเฉพาะลูกชาย) จำเป็นต้องเรียนรู้หนังสือ เพราะจะต้องบวชเรียนในภายภาคหน้า เมื่อมีอายุครบกำหนด คนที่ไม่รู้หนังสือคือคนตาบอด พ่อเนียมจึงหาวิธีการต่างๆทำให้ลูกๆ ไม่เบื่อบ้าน โดยหารูปภาพสวยๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์ ผลไม้หรือธรรมชาติมาให้ดูแล้วอธิบายให้ลูกๆฟัง หานิทานแปลกๆที่น่าขันและเป็นคติสอนใจมาเล่าให้ลูกๆฟังในยามว่างหรือก่อนเข้านอนในตอนกลางคืน ให้ลูกๆเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา สั่งสอนให้ลูกสวดมนต์ท่องศีลห้าอยู่เป็นประจำ เมื่อเด็กชายแช่มเติบโตพอสมควร พ่อเนียมก็นำไปฝากไว้กับพระที่วัดดอนยายหอม เพื่อปรนนิบัติรับใช้ และศึกษาเล่าเรียนทั้งทางโลกและทางธรรมควบคู่กันไปด้วย การเรียนกับพระในสมัยนั้นกว่าจะอ่านออกเขียนได้ต้องใช้เวลาเป้นปี เพราะพระที่สอนไม่ได้จบการศึกษา ไม่มีประกาศนียบัตร ไม่มีปริญญาบัตร จึงไม่รู้หลักไม่รู้เทคนิคการสอน มุ่งสอนให้ท่องจำอย่างเดียว ไม่มีจิตวิทยาในการสอน ไม่มีระเบียบแบบแผนในการสอน สอนหลัก ก.ข. กา กิ กี แม่กก กน กม และมูลบทบรรพกิจ อุปกรณ์การสอนการเรียนก็ไม่มี อย่างดีก็มีแต่กระดานไม้ แล้วใช้ถ่านหุงต้มเขียน เมื่อเต็มแผ่นไม้กระดาน ก็ลบ-ล้างแล้วเขียนใหม่ เด้กชายแช่มได้รับการศึกษาอักษรสมัยภาษาไทยจากพระตามความนิยมของคนในสมัยนั้น โดยการเรียนที่เรียกว่า?หนังสือวัด? มีความรู้เบื้องต้นพออ่านออกเขียนได้ และมาศึกษาเพิ่มเติมอย่างแตกฉานเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-4 19:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สู่ร่มกาสาวพัสตร์

              ด้วยจิตใจที่ฝักใฝ่  ด้านการศึกษาทางธรรม  พออายุครบบวช คืออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ นายแช่มไม่รีรอปรึกษารบเร้าให้พ่อเนียม แม่อ่ำจัดแจงบวช เพราะเห็นว่าการใช้ชีวิตในการทำนาเข้าทำนองว่าหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน นั้นคงไม่สามารถจะแสวงหาความสงบสุขบรรลุถึงจุดมุ่งหมายทั้งในด้านการศึกษาและการช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้ อย่างดีก็แค่ต้อนวัวออกจากคอกไปทำนากลางท้องทุ่งในตอนเช้า พอตกตอนเย็นก็ต้อนวัวกลับเข้าคอก  ประกอบกับนายแช่มเป็นคนนิสัยโอบออ้มอารีมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ชอบช่วยเหลือเพื่อนบ้านเสมอเมื่อมีโอกาส และช่วยเหลือด้วยความยินดีและเต็มใจ นายแช่มคิดว่าความสุขที่แท้จริง น่าจะเป็นความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติทางธรรม

        พ่อเนียม แม่อ่ำ ได้พานายแช่มไปหาเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ซึ่งขณะนั้นก็คือ หลวงพ่อเงิน จันทสุวัณโณ  เพิ่งจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ปกครองพระภิกษุสามเณรได้เพียง 3-4 ปี เท่านั้น  หลวงพ่อเงินท่านมีศักดิ์เป็นอาของนายแช่มอีกด้วย  พ่อเนียมได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับพิธีการและฤกษ์ยามในการบวช โดยกำหนดวันอุปสมบทในวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2470 ตรงกับวันศุกร์ เดือนหก ขึ้นหกค่ำปีเถาะ ณ.พัทธสีมาวัดดอนยายหอม โดยมีพระครูอุตตรการบดี(หลวงพ่อสุข) วัดห้วยจระเข้ เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีหลวงพ่อเงิน เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เป็นพระกรรวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า ฐานุสสโก

      เมื่อได้อุปสมบทแล้วภิกษุแช่มก็จำพรรษาที่วัดดอนยายหอม ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและศึกษาวิชาการทางด้านพุทธศาสนาอย่าจริงจัง ท่านเป็นพระนวกะ(พระบวชใหม่) ที่มีความมานะอดทน มีวิริยะอุตสาหเป็นเลิศ ตั้งใจศึกษาด้านปริยัติธรรมอย่างจริงจังไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากแต่ประการใด และในขณะนั้นหลวงพ่อเงินซึ่งเป็นสมภารหนุ่มมีอายุเพียง 33 ปี พรรษาที่ 13 มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะส่งเสริมการศึกษาด้าน พระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง มีความตั้งใจที่จะสร้างสำนักเรียนวัดดอนยายหอมให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป จึงพยายามให้ภิกษุสามเณรได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเข้มงวด หลังจากที่พระภิกษุแช่มอุปสมบท ได้เพียงพรรษาแรก ก็สามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้จากสนามหลวงคณะจังหวัดนครปฐม และต่อมาได้รับความไว้วางใจจากหลวงพ่อเงินไพระภิกษุแช่มเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรภายในวัดดอนยายหอมสืบต่อมาเป็นเวลานานหลายปี เมื่อสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้ภายในปีเดียว ยิ่งเพิ่มกำลังใจให้ภิกษุแช่มได้มีความมุมานะในการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมมากขึ้นอีก จนกระทั้งสามารถเข้าสอบพระปริยัติธรรมแผนกธรรมได้นักธรรมชั้นเอกที่สนามหลวง

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้