ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5811
ตอบกลับ: 13
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

บรรพบุรุษของช้าง

[คัดลอกลิงก์]
บรรพบุรุษของช้าง



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-19 12:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างโมริธีเรียม



อายุ  สมัยอีโอซีนช่วงกลาง - โอลิโกซีน (43-24 ล้านปีก่อน)
การจำแนก  วงศ์โมริธีริอิดี (Moeritheridae)
สกุลและชนิด  Moeritherium lyonsi
ลักษณะทั่วไป  โมริธีเรียม จัดเป็นบรรพบุรุษของสัตว์งวง (Proboscidean) หรือบรรพบุรุษของช้างโบราณและช้างปัจจุบัน เคยอาศัยอยู่ในดินแดนอียิปต์ ตั้งแต่เมื่อ 43-24 ล้านปีก่อน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายหมู มีความสูงประมาณ 70 เซนติเมตร ลำตัวและกะโหลกยาว ฟันบนด้านหน้าคู่ที่สองมีขนาดใหญ่คล้ายงา ฟันกรามมีปุ่มด้านในและด้านนอกของแต่ละซี่ด้านละ 2ปุ่ม และปุ่มดังกล่าวเชื่อมต่อเป็นสันแนวขวาง 2 สัน ยังไม่มีงวงที่ชัดเจน
ถิ่นที่อยู่  อาจจะอาศัยอยู่ในที่ลุ่มชื้นแฉะ (swamp) และกินอาหารที่เป็นต้นไม้ลำต้นอ่อนอวบน้ำ
การกระจาย  ทวีปแอฟริกาทางเหนือ โดยพบซากดึกดำบรรพ์ครั้งแรกที่เมืองไฟยัม (Faiyum) ในทะเลทรายลิเบีย ห่างจากกรุงไคโรไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 90 กิโลเมตร


http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Sarayut%206-1/w/E.htm




ที่มาhttps://sites.google.com/site/bv540105/page2
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-19 12:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างพาลีโอมาสโตดอน

อายุ  สมัยอีโอซีนช่วงปลาย - โอลิโกซีน (37 - 24 ล้านปีก่อน)
การจำแนก  วงศ์พาลีโอมาสโตดอนติดี (Palaeomastodondtidae)
สกุลและชนิด  Palaeomastodon beadnelli
ชื่อทั่วไป  พาลีโอมาสโตดอน (Palaeomastodon)
ลักษณะทั่วไป  พาลีโอมาสโตดอน เป็นสกุลช้างที่วิวัฒนาการอยู่ในช่วงระยะที่ 2 ต่อจากโมริธีเรียมและอยู่ในสมัยเดียวกับช้างสกุล ฟิโอเมีย ข้อแตกต่าง คือ ช้างฟิโอเมียมีฟันกรามแบบ 3 สัน (three-lobed molar) ขณะที่พาลีโอมาสโตดอนหรือมาสโตดอนโบราณมีฟันกรามแบบ 2 สัน กะโหลกเป็นทรงสูงกว่าโมริธีเรียม รวมทั้งช่องเปิดจมูกถอยร่นไปจากด้านหน้า แสดงว่าได้มีการพัฒนางวงขนาดสั้นแบบสมเสร็จขึ้นแล้ว ฟันเขี้ยวและฟันตัด (ฟันหน้า) หายไปทั้งหมด ยกเว้นฟันตัดคู่ที่ 2 ซึ่งได้พัฒนาไปเป็นงา โดยงาจากขากรรไกรบนโค้งลงล่าง และมีชั้นเคลือบงาในทางด้านนอกของงาเหมือนโมริธีเรียม ส่วนขากรรไกรล่างค่อนข้างยาว และงามีลักษณะปลายแบบพาย ชี้ไปข้างหน้า
ถิ่นที่อยู่และการกระจาย  พบซากดึกดำบรรพ์ครั้งแรกในถิ่นเดียวกับ โมริธีเรียม คือ แถบเมืองไฟยัม (Faiyum) ประเทศอียิปต์

http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Sarayut%206-1/w/E.htm




4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-19 12:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างสี่งากอมโฟธีเรียม





อายุ สมัยไมโอซีนช่วงกลาง (16 -11 ล้านปีก่อน)
การจำแนก วงศ์กอมโฟธีริอิดี (Gomphotheriidae)
สกุลและชนิด Gomphotherium sp.
ชื่อทั่วไป  กอมโฟแธร์ (Gomphothere)
ลักษณะทั่วไป  กอมโฟธีเรียม บางคนเรียกในชื่อ ไตรโลโฟดอน เป็นตระกูลสัตว์งวงที่มีลักษณะค่อนข้างโบราณ ขากรรไกรล่างบางชนิดยาวถึง 2 เมตร มีงา 2 คู่ที่ค่อนข้างสั้น งอกจากขากรรไกรบนและล่าง ฟันกราม 2 ซี่แรก (M1, M2) ทั้งด้านบนและด้านล่างจะมีสันในแนวขวางจำนวนเท่ากัน คือ 3 สัน แต่ฟันกรามซี่สุดท้ายจะเพิ่มอีกหนึ่งสัน จำนวนของสันฟันอาจจะเพิ่มขึ้นได้ในบางตัวซึ่งเป็นกรณีข้อยกเว้น สันฟันดังกล่าวนี้เกิดจากการเรียงตัวของปุ่มฟัน (cusp) ในแนวขวาง แต่แนวสันฟันไม่ค่อยชัดเจนเหมือนในสกุล มาสโตดอน
ถิ่นที่อยู่ กอมโฟธีเรียมอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำทะเลสาบในเขตป่าที่ค่อนข้างแห้งแล้ง แต่บางชนิดอาศัยอยู่ตามที่ลุ่มชื้นแฉะคล้ายพวกสมเสร็จ โครงกระดูกที่สมบูรณ์ของกอมโฟธีเรียม พบใกล้เมือง Sansan ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งสามารถดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงปารีส
การกระจาย ส่วนใหญ่พบในยุโรปตะวันตก แหล่งพบอื่น ๆ ได้แก่ ทวีปแอฟริกา อเมริกาเหนือ และเอเชีย โดยแหล่งล่าสุด เมื่อ พ.ศ.2540 คือ แหล่งบ่อทรายตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา


http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Sarayut%206-1/w/E.htm





5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-19 12:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างงาเสียมโปรตานันคัส



อายุ  สมัยไมโอซีนช่วงกลาง (16-11 ล้านปีก่อน )
การจำแนก  วงศ์กอมโฟธีริอิดี (Gomphotheriidae)
สกุลและชนิด  cf . Protanancus chinjiensis
ชื่อทั่วไป  
ช้างงาเสียม (Shovel-tusked Gomphothere)
ลักษณะทั่วไป  เป็นช้าง 4 งา ตอนปลายงาคู่ล่างมีลักษณะแบนคล้ายเสียมและมีแถบเคลือบงากว้างตลอดถึงปลายงา งาบนยาว รูปทรงกระบอกและโค้งออก
ถิ่นที่อยู่  คาดว่าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้แหล่งน้ำ โดยใช้งาล่างขุดและแซะดิน กินพืชน้ำและรากไม้
การกระจาย  ช้างในสกุลนี้มี 2 ชนิด พบในทวีปแอฟริกาและเอเชีย


http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Sarayut%206-1/w/E.htm




6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-19 12:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างงาจอบโปรไดโนธีเรียม



อายุ  สมัยไมโอซีนช่วงกลาง (16 - 11 ล้านปีก่อน )
การจำแนก  วงศ์ไดโนธีริอิดี (Deinotheriidae)
สกุลและชนิด  Prodeinotherium pentapotamiae
ชื่อทั่วไป  ไดโนแธร์ (Deinothere)
ลักษณะทั่วไป  ไดโนแธร์เป็นกลุ่มของสัตว์ที่คล้ายช้างปัจจุบันและสูญพันธุ์ไปแล้ว ไม่มีงาจากกรรไกรบน แต่มีงาจากขากรรไกรล่าง และโค้งงอชี้ลงล่างคล้ายจอบ ปัจจุบันจำแนกช้างงาจอบออกเป็น 2 สกุล คือ Deinotherium ที่มีขนาดใหญ่ กับProdeinotherium ที่มีขนาดเล็กกว่า แต่มีอายุเก่ากว่า
ถิ่นที่อยู่  อาจอาศัยอยู่ในป่า และจากรูปแบบการสึกของงาจอบที่ปรากฏให้เห็น เชื่อว่าช้างไดโนแธร์ใช้งาในการขุดหารากไม้ หรือ ปอกเปลือกไม้
การกระจาย  พบซากดึกดำบรรพ์ในทวีปยุโรป เอเชียและแอฟริกา ในประเทศไทยพบซากฟันกรามและขากรรไกรเป็นแห่งแรกที่อำเภอปง จังหวัดพะเยา และต่อมาพบที่บ่อทราย ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา โดยที่พบเป็นสกุลโปรไดโนธีเรียม ในแอฟริกาพบในเขตแอฟริกาตะวันออก คือ ชนิด D.Hobleyi Andrews (Lower Miocene) ในยุโรปพบ 2 ชนิด คือ D.bavaricum Meyer (Upper Miocene) และชนิดใหญ่ที่สุดสูงถึง 3.8 เมตร ที่ระดับไหล่ คือ ชนิดD.giganteum Kaup (Lower Pliocene) และอินเดียพบชนิด D.indicum Falconer และ D.sindiense Lydekker



http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Sarayut%206-1/w/E.htm




7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-19 12:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างสี่งาเตตระโลโฟดอน



อายุ สมัยไมโอซีนช่วงกลาง - สมัยไพลโอซีน (16-1.6 ล้านปีก่อน )
การจำแนก วงศ์กอมโฟธีริอิดี (Gomphotheriidae)
สกุลและชนิด เตตระโลโฟดอน ( Tetralophodon sp .)
ชื่อทั่วไป กอมโฟแธร์ (Gomphothere)
ลักษณะทั่วไป
เตตระโลโฟดอน เป็นตัวแทนของกลุ่มบรรพบุรุษดั้งเดิมของช้างแท้ในปัจจุบัน ความสูงประมาณ 2.5 เมตร หัวของ เตตระโลโฟดอน มีลักษณะยาว ขากรรไกรบนและล่างยาวปานกลาง ( สั้นกว่า กอมโฟธีเรียม ) มีงา 4 อันหรือ 2 คู่จากขากรรไกรบนและล่าง ฟันกราม 2 ซี่แรก มีสันฟันในแนวขวาง 4 สัน ( ถ้า 3 สัน คือ กอมโฟธีเรียม ) แต่ฟันกรามซี่สุดท้ายจะมี 5 สัน และเชื่อว่า เตตระโลโฟดอน เป็นสัตว์ที่กินหญ้าอ่อนลำต้นสูง ซึ่งสูงเกินกว่าที่สัตว์อื่น ๆ จะกินได้
การกระจาย พบซากดึกดำบรรพ์ในยุโรป เอเชียและอเมริกาเหนือ ในประเทศไทยพบขากรรไกร ฟันและงา ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา


http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Sarayut%206-1/w/E.htm




8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-19 12:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างสเตโกโลโฟดอน



อายุ สมัยไมโอซีนช่วงปลายสุด - สมัยไพลโอซีนช่วงต้น (9 - 3 ล้านปีก่อน )
การจำแนก  วงศ์สเตโกดอนติดี (Stegodontidae)
สกุลและชนิด Stegolophodon cf. stegodontoides
ชื่อทั่วไป  สเตโกโลโฟดอน
ลักษณะทั่วไป  สเตโกโลโฟดอน เป็นช้างที่มีลักษณะอยู่ระหว่างช้างมาสโตดอน กับช้างเอลิฟาสปัจจุบัน โดยมีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษของช้างมาสโตดอนและเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของช้าง สเตโกดอน มีขากรรไกรล่างสั้น มี 4 งา งาบนมีขนาดใหญ่และมีเคลือบงาในช้างวัยหนุ่ม งาล่างมีขนาดเล็กมีหน้าตัดกลมรีแบบลูกสาลี่ ฟันเรียงตัวเป็นสัน เพราะการแยกออกของปุ่มฟันรูปทรงกรวยขนาดใหญ่เป็นขนาดเล็กและเรียงอยู่ในแนวขวาง ฟันกรามซี่ที่ 1 และ 2 มี 4 สัน ซี่ที่ 3 มี 5 – 6สัน มีร่องแนวยาวกึ่งกลางฟันกรามชัดเจน การกระจาย พบซากดึกดำบรรพ์สเตโกโลโฟดอนในจีน อินเดีย พม่า ในประเทศไทย พบในเมืองถ่านหินที่จังหวัดลำปาง ลำพูน พะเยา ส่วนที่จังหวัดนครราชสีมา พบในบ่อดูดทรายริมแม่น้ำมูล อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เมื่อ พ . ศ . 2540



http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Sarayut%206-1/w/E.htm




9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-19 12:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างแมมมัต/มาสโตดอน



อายุ สมัยไมโอซีนช่วงกลาง - โฮโลซีนช่วงต้น (16-0.008 ล้านปีก่อน )
การจำแนก  วงศ์แมมมูติดี (mammutidae)
สกุลและชนิด  
Mammut americanum
          ในการจำแนกขั้นวงศ์และสกุล ชื่อ " ช้างแมมมัต " อาจทำให้เกิดการสับสน เพราะคล้ายกับชื่อ " ช้างแมมมอธ " ทั้งที่เป็นคนละชนิดกันและต่างสกุลกัน ดังนั้น การใช้ชื่อทั่วไปว่า " มาสโตดอน " จะทำให้เห็นความแตกต่างในชื่อชัดเจนกว่า
ชื่อทั่วไป  มาสโตดอน (Mastodon) หรือมาสโตดอนแท้ (True Mastodon)
ลักษณะทั่วไป
มาสโตดอน มาจากภาษากรีก หมายถึง ช้างที่มีฟันเป็นปุ่มคล้ายเต้านมสตรี โดยฟันกรามจะมีปุ่มฟันเรียงเป็นสันชัดเจนขนานกัน 3 สันหรือมากกว่า ไม่มีปุ่มฟันแทรกอยู่ในร่องระหว่างสันฟัน มีเคลือบฟันหนา  
ขากรรไกรล่างสั้น ไม่มีงาล่าง ไม่มีเคลือบงา มีขนาดรูปร่างเล็กกว่าเล็กน้อยหรือขนาดใกล้เคียงกับช้างเอเชีย ถิ่นที่อยู่ มาสโตดอนเป็นช้างที่อาศัยอยู่ในป่า แต่บางเวลาอาจอยู่ในน้ำด้วย ดังนั้น จึงอาจอาศัยอยู่ในระบบนิเวศแบบฮิปโปโปเตมัส อาหารของมาสโตดอนจะเป็นพวกกิ่ง ก้าน ใบของต้นเฮมล็อค สปรูซและต้นไม้ใบเขียวตลอดปี รวมทั้งพืชลำต้นอ่อนอื่น ๆ
การกระจาย  ช้างมาสโตดอน อาศัยตั้งแต่เขตยุโรป และข้ามเอเชียทางอลาสก้าลงสู่ทิศใต้ ผ่านดินแดนสหรัฐอเมริกาจนถึงเม็กซิโก ซากมาสโตดอนส่วนใหญ่พบในบริเวณที่มีการขุดร่องระบายน้ำในพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่มชื้นแฉะหรือมีโคลนตม(swamp, bog) ซึ่งเป็นที่ที่ช้างติดหล่ม จมโคลน และซากถูกรักษาไว้ตามธรรมชาติโดยไม่สลายตัวไปทั้งหมดโดยเฉพาะในพื้นที่รัฐนิวยอร์ค อินเดียนา โอไฮโอ อิลลินอยส์


http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Sarayut%206-1/w/E.htm





10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-19 12:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างซิโนมาสโตดอน




อายุ  สมัยไมโอซีนช่วงปลาย – สมัยไพลสโตซีนช่วงต้น (11 – 0.7 ล้านปีก่อน)

การจำแนก  วงศ์กอมโฟธีริอิดี (Gomphotheriidae) สกุลและชนิด  ซิโนมาสโตดอน (Sinomastodon sp.)
ชื่อทั่วไป  ซิโนมาสโตดอน (Sinomastodon)
ลักษณะทั่วไป  เป็นช้างที่มีงาคู่บน 1 คู่ สัณฐานของขากรรไกรล่างเป็นแบบ เอลิฟานตอย (Elephantoid mandible) หรือแบบที่พบเห็นในช้างปัจจุบัน ฟันกรามประกอบด้วยปุ่มฟันกลมมนรูปทรงกรวยทู่ (bonodont molars) ฟันหน้ากราม P4 และฟันกราม M1 , M2 มีลักษณะการเรียงตัวของปุ่มฟันเป็น 3 สัน (trilophodont) ไม่มีซีเมนต์หรือมีเพียงเล็กน้อยในร่องระหว่างสันฟัน ฟันกรามบน M3 มี 5 – 6.5 สัน ฟันกรามล่าง M3 มี 4 – 6 สัน ฟันกรามที่ยังไม่สึกจะเห็นสันฟันที่ประกอบด้วย 2 ปุ่มใหญ่ และมีลักษณะของกรามส่วนเสริม (talon หรือ talonid)
การกระจาย  ซิโนมาสโตดอน พบในบริเวณกว้างของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวคือ พบในจังหวัด Shansi ทางเหนือ กับจังหวัด Yunan และ Kwangsi ทางใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 1,400 กิโลเมตร และอาจเป็นระยะทางมากกว่านั้น เพราะปัจจุบัน ได้พบซิโนมาสโตดอนเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ในบ่อทรายริมแม่น้ำมูล เขตตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมาด้วย



http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Sarayut%206-1/w/E.htm




ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้