ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
คณะศิษย์หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ (คศช.)
›
พูดคุยตามประสา คศช.
»
บรรพบุรุษของช้าง
1
2
/ 2 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: Metha
บรรพบุรุษของช้าง
[คัดลอกลิงก์]
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54527
11
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-7-19 12:44
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างสเตโกดอน
อายุ
สมัยไมโอซีนช่วงปลายสุด - ไพลสโตซีนช่วงต้น (
9 - 0.7 ล้านปีก่อน )
การจำแนก
วงศ์สเตโกดอนติดี (Stegodontidae)
สกุลและชนิด
Stegodon
spp
.
ชื่อทั่วไป
สเตโกดอน (Stegodon)
ลักษณะทั่วไป
เป็นช้างที่มีวิวัฒนาการต่อมาจากสเตโกโลโฟดอน และมีลักษณะร่วมกันระหว่างช้างสเตโกโลโฟดอนกับช้างเอลิฟาสที่เป็นสกุลช้างปัจจุบัน กะโหลกมีขนาดใหญ่ ขากรรไกรสั้น ไม่มีงาล่าง งาช้างสเตโกดอนบางชนิด เช่น
Stegodon magnidens
ในประเทศอินเดีย ยาวถึง 3.3 เมตร ฟันกรามประกอบด้วย สันฟันแนวขวาง 6 - 13 สัน ซากดึกดำบรรพ์สเตโกดอนในประเทศไทยหลายซากมีขนาดใหญ่ เช่น สเตโกดอน อินสิกนิส
(Stegodon insignis)
ในชั้นตะกอนลึก 25เมตร ของจังหวัดนครสรรรค์ และในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา สเตโกดอน
(Stegodon
sp
.)
บางตัวสูงมากกว่า 3 เมตร
ถิ่นที่อยู่
ช้างสเตโกดอนที่มีอายุเก่า จะพบเฉพาะในทางเอเชียตอนใต้และตะวันออกเฉียงใต้ แสดงว่าภูมิภาคเหล่านี้ อาจเป็นถิ่นกำเนิดของช้าง สเตโกดอน
การกระจาย
ทวีปเอเชียและแอฟริกา
http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Sarayut%206-1/w/E.htm
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54527
12
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-7-19 12:45
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างแมมมูธัส
อายุ
สมัยไพลโอซีน - โฮโลซีนช่วงต้น (
5 – 0.007 ล้านปีก่อน )
การจำแนก
วงศ์เอลิฟานติดี (Elephantidae)
สกุลและชนิด
Mammuthus
spp.
ชื่อทั่วไป
แมมมอธ (Mammoth)
ลักษณะทั่วไป
ช้างแมมมอธทั่วไป จะมีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกาปัจจุบัน ยกเว้น ช้างแมมมอธบางชนิด เช่น แมมมอธจักรพรรดิ (Imperial Mammoth หรือ
Mammuthus columbi
) จะมีขนาดที่ใหญ่โตมาก โดยแมมมอธหนุ่มบางตัวอาจจะสูงถึง5.2 เมตรที่ระดับไหล่ ( สูงกว่าช้างไทยเกือบเท่าตัว ) และมีน้ำหนักมากถึง 9.8 ตัน ช้างแมมมอธปรากฏขึ้นครั้งแรกในทวีปแอฟริก สมัยไพลโอซีน และได้แพร่กระจายไปสู่ยุโรป เอเชียและอเมริกาเหนือ – ใต้
ถิ่นที่อยู่
แมมมอธเป็นช้างที่กินหญ้าตามพื้นผิวดิน ในเขตทุ่งหญ้าสเต็ปป์ ทุ่งหญ้าแพรรี่ หรือตามป่าไม้พุ่มเตี้ย แมมมอธบางชนิดปรับตัวให้เข้ากับทุ่งหญ้าทุนดรา คือ มีหนังหนา ขนยาวปกคลุม มีหูเล็กและมีไขมันจำนวนมากสะสมที่หัวไหล่และใต้ผิวหนัง หนาถึงประมาณ 8 เซนติเมตร ได้มีการพบซากช้างแมมมอธแช่แข็งทั้งตัวในเขตอาร์คติกของไซบีเรีย
การกระจาย
พบซากดึกดำบรรพ์ในทวีปแอฟริกา ยุโรป เอเชียและอเมริกาเหนือ - ใต้
http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Sarayut%206-1/w/E.htm
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54527
13
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-7-19 12:45
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างแอฟริกา
อาย
ุ
สมัยไพลสโตซีน - ปัจจุบัน (
1.6 ล้านปีก่อน - ปัจจุบัน)
การจำแนก
วงศ์เอลิฟานติดี (Elephantidae)
สกุลและชนิด
โลโซดอนตา แอฟริกานา (Loxodonta africana)
ชื่อทั่วไป
ช้างแอฟริกา
ลักษณะทั่วไป
ปัจจุบันช้างสกุลโลโซดอนตา มีชนิดเดียว คือ ช้างแอฟริกา แต่มี 2 สายพันธุ์ คือ bush elephant มีรูปร่างสูงใหญ่กำยำ ชอบอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า และ forest elephant มีขนาดเล็กกว่า อาศัยอยู่ในป่าตอนกลางของทวีป โดยทั่วไป ช้างแอฟริกาจะมีขนาดใหญ่กว่าช้างเอเชีย ความสูงถึงไหล่ราว 3 เมตร หนักมากกว่า 5 ตัน บางตัวอาจถึง 6.5 ตัน หลังแอ่น ก้นลาดเทไปทางหาง หัวเล็กแต่ใบหูใหญ่กว่าช้างเอเชียมาก ใช้โบกเพื่อระบายความร้อนออกจากเส้นโลหิตฝอยที่มีระบบมากมายในแผ่นใบหู
ถิ่นที่อยู่และการกระจาย
ช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ทั้งบนภูเขาและที่ราบต่ำ ทั้งบริเวณที่เป็นแนวหินและป่าทึบ สามารถข้ามลำธาร ว่ายน้ำหรือปืนภูเขาสูงได้ดี ชอบอาบน้ำ คลุกโคลนหรือคลุกดินหรือทราย ชอบใช้งวงพ่นดินหรือทรายไปทั่วตัว ชอบอยู่ในป่าโปร่ง ไม่กลัวแสงแดด ค่อนข้างดุ แต่ปกติจะไม่ทำร้ายคน ยกเว้นได้รับบาดเจ็บ อาศัยอยู่ทั่วไปในทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา หรือในแอฟริกากลาง เช่น แถบทะเลสาบชาด (chad) สมัยโบราณ ชาวอียิปต์มีความสามารถในการจับช้าง และพวกคาร์เธจ เคยใช้เป็นช้างศึกในสงครามปิวนิค (Punic war) ส่วนพวกโรมันเคยซื้อไปใช้เล่นละครสัตว์ แต่ภายหลังนิยมใช้ช้างเอเชียมากกว่า เพราะฉลาดและฝึกได้ง่ายกว่า
http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Sarayut%206-1/w/E.htm
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54527
14
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-7-19 12:46
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างเอเชียหรือช้างอินเดีย
อายุ
สมัยไพลโอซีน
– ปัจจุบัน (5 ล้านปีก่อน - ปัจจุบัน)
การจำแนก
วงศ์เอลิฟานติดี (Elephantidae)
สกุลและชนิด
เอลิฟาส แมกซิมัส (Elephas maximus)
ชื่อทั่วไป
ช้างเอเชียหรือช้างอินเดีย
ลักษณะทั่วไป
ปัจจุบัน ช้างสกุลเอลิฟาสมีชนิดเดียว คือ ช้าง เอเชีย โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อ ช้างอินเดีย มีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกาเล็กน้อย (ยกเว้นบางตัวอาจมีขนาดใหญ่กว่า) ความสูงถึงไหล่ราว 2.7 เมตร น้ำหนักตัวราว 3-4 ตัน
หลังจะเป็นหนอกบริเวณ ก้นไม่ลาดแหลมมากอย่างช้างแอฟริกา กระดูกตรงไหล่และเอวไม่สูง มีงาเฉพาะช้างพลาย ช้างพังก็มีแต่จะสั้นมาก และยาวออกมาเพียงริมฝีปาก หัวใหญ่แต่หูเล็กกว่าช้างแอฟริกา มีฟันกรามประกอบด้วยแผ่นฟันในแนวขวางที่มีลักษณะยาวลึกจำนวน
12-27 แผ่น อัดแน่นและเชื่อมยึดด้วยสารซีเมนต์
ถิ่นที่อยู่
ช้างเอเชียดำรงชีวิตอยู่ในป่าดงดิบ ชอบอากาศเย็น ไม่ชอบแสงแดด แต่ก็สามารถปรับตัวอยู่กับพื้นที่หลายสภาพ เช่น ทุ่งหญ้า ป่าไม้พุ่มสลับกับทุ่งหญ้า ที่ลุ่มชื้นแฉะ และมักชอบอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ เพราะจะต้องดื่มน้ำมากถึง 50แกลลอนต่อวัน
การกระจาย
ช้างเอเชียพบในอินเดียแถบเทือกเขาหิมาลัย และในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ พม่า ไทย มาเลเซีย เวียดนามตอนใต้ ศรีลังกา บอร์เนียวและสุมาตรา
http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Sarayut%206-1/w/E.htm
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
1
2
/ 2 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...