...พระกาฬ...
ในความหมายดั้งเดิมของคนไทยสมัยก่อน
เปรียบเทียบได้กับเจ้าแห่งความตาย
คล้ายๆกับเมื่อได้ยินชื่อของพระยามัจจุราช หรือ พระยายม
ในปัจจุบันรูปเคารพ ...พระกาฬชัยศรี..
ถูกประดิษฐานอยู่บริเวณศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ
ท่านถือว่าเป็นเทพารักษ์ประจำเมืองที่มีคนมาเคารพบูชาอยู่มิน้อย
ศาลเดิมอยู่ใกล้เจ้าพ่อหอกลองหน้าวัดพระเชตุพน แต่ถูกรื้อลงในคราวเดียวกัน
เพื่อทำกรมทหารหรือกรมรักษาดินแดนในปัจจุบัน
คำว่า กาฬ แปลว่า สีดำ มึด
(หรืออาจจะหมายถึง ความตาย ,สิ่งที่น่ากลัว)
ซึ่งคนไทยโบราณมักจะเกรงกลัวพระกาฬมาก
จนพูดติดปากเป็นคำสบถสาบานว่า
" ให้พระแก้ว พระกาฬ มาหักคอซิเอ้า"
(พระแก้วในที่นี้น่าจะหมายถึง เจ้าพ่อเจตคุปต์
ท่านเป็นสมุห์บัญชีของพระยายมนั่นเอง )
ถ้าเอ่ยถึงพระกาฬเมื่อไรก็หมายถึง
" เทพแห่งความตายนั่นเอง "
แล้วเมื่อย้อนไปสมัย...ยุค 70-80 ปีก่อน
บรรดานักประพันธ์ นักข่าวหนังสือพิมพ์อาวุโส
มักจะพาดหัวข่าวว่า เรียกบรรดามือปืนรับจ้างฝีมือดี
ที่ปลิดชีวิตใครไม่เคยพลาด
ว่าเป็น "มือพระกาฬ" หรือ "ระดับพระกาฬ"
ทำให้คำนี้ถูกใช้จนติดหูในปัจจุบัน
แต่ความหมายก็ดูจะผิดแปลกไปกว่าเดิม
ประมาณว่า .....
เก่งไร้เทียมทาน ไม่มีใครสู้ได้
เช่น นักกีฬาระดับพระกาฬ สินค้าที่ยิ่งใหญ่ระดับพระกาฬ
เมนูอาหารพิเศษสุดระดับพระกาฬ
รวมไปถึงใช้เรียกผู้ที่มีฝีมือด้านต่างๆ ว่าเก่งระดับ "พระกาฬ"
|