ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

>> พระแก้ว พระกาฬ พญายมราช ท้าวเวสสุวรรณ เทพหลังความตาย <<

[คัดลอกลิงก์]
ขอกราบสักการะพระแก้วพระกาฬขอให้กาลนี้
สำเร็จ สัมฤทธิ์. สมหวัง
ดั่งตั้งจิตด้วย เทอญ

กาลกำเนิดตะกรุดมหากาฬครั้งนี้รับรองได้ว่ามหากาฬสมชื่อแน่

.ซิกเซ้นส์ บอกว่ามาครบกันทุกพระองค์แน่นอน


13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-22 17:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พร้อมทั้งท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ทิศ
ด้วยหรือเปล่าครับ คุณ นาคปรก





ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขอบารมีทุกๆพระองค์ช่วยให้สำเร็จด้วยนะครับ
สาธุ สาธุ สาธุ
5 จุดสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใน ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร [ไหว้พระ]

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร หรือบ้างก็เรียกว่า  ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง, หลักเมือง เป็นอีกหนึ่งจุด ที่ประชาชนคนไทย ไหว้พระ 9 วัด มักจะมาสักการะกันในช่วงปีใหม่  การไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ ก็เพื่ออธิษฐานขอพระ เสริมหลักชัยให้ชีวิต นั่นเอง ตัวศาลหลักเมือง ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดพระแก้ว เดินข้ามฝั่งก็ถึงแล้ว เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพิ่งไป บูชาสักการะองค์พระหลักเมือง เพิ่งรู้ว่า จริงๆ แล้วการไหว้ที่นี่นั้น ต้องไหว้ถึง 5 จุด ด้วยกัน โดยตรงลำดับกันไป ดังนั้นเลยนำวิธีการไหว์หลักเมืองมาฝาก เผื่อใครที่กำลังจะไปไหว้ในช่วงปีใหม่นี้ จะได้ไม่สับสน ไหว้ผิดไหว้ถูก เรียงลำดับได้ถูกต้องครบถ้วนกัน

ลำดับขั้นตอนการสักการะ ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร

จุดที่ 1 หอพระพุทธรูป
มาถึงให้ไปกราบไหว้พระพุทธรูป ในหอพระพุทธรูปกันก่อน ถวายดอกบัวด้วยก็ได้ หรือจะใส่บาตรพระประจำวันเกิดก็ตามสะดวก


จุดที่ 2 องค์พระหลักเมืองจำลอง

เสร็จจากหอพระพุทธรูปแล้วค่อยเดินไปซื้อ ชุดสักการะ ธูป เทียน พวงมาลัย ผ้าแพรสี ที่จุดจำหน่าย ครบชุดก็ราคา 60 บาท

จุด ธูป เทียน ไหว้พระหลักเมืองจำลอง

ตามคำกล่าวบูชาตามรูปด้านล่าง ซึ่งป้ายนี้ส่วนใหญ่จะโดนคนมาสักการะบัง เซพรูปด้านบนนี้ไว้ในมือถือ แทบเล็ต เพื่อจะได้ไม่ต้องชะเง้อป้าย ก็สะดวกดีนะ ไหว้เสร็จก็ไปปิดทอง ส่วนพวงมาลัยดาวเรืองให้เก็บไว้ถวายที่จุดที่ 3

จากนั้นก็ผูกผ้าแพรสี 3 สี ที่ องค์พระหลักเมืองจำลอง หลักไหนก็ได้ตามสะดวก วิธีผูกให้ผูกผ้าแพรสี 3 สีพร้อมกันไปเลย ไม่ต้องแยกทีละสี

จุดที่ 3 องค์พระหลักเมืององค์จริง

ภายในเราจะไม่สามารถจุดธูป เทียนได้ ให้นำพวงมาลัยไปถวายแทน 1 พวง

จุดที่ 4 หอเทพารักษ์ทั้ง 5


กราบไหว้ด้วยการถวายพวงมาลัย 5 พวง

จุดที่ 5 เติมน้ำมันพระประจำวันเกิด และสะเดาะเคราะห์

วันที่ไปไหว้ เห็นทางศาลหลักเมือง เขาจัดไว้สองจุด น่าจะเพื่อความสะดวก ให้เทน้ำมัน เพียงครึ่งขวด ตามพระประจำวันเกิดของเราก่อน แล้วอีกครึ่งขวดที่เหลือ เทที่ตะเกียงสะเดาะเคราะห์



ศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ (Bangkok City Pillar Shrine)

เป็นศาลที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 พร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ร.1 ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เวลา 6.45 นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่าพ ระราชพิธีนครฐานใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วย ไม้แก่นจันทน์ ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา 29 เซนติเมตร สูง 187 นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 108 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมืองตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ ซึ่งเชื่อว่าก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น

ปัจจุบันมีประชาชนจากทั่วทิศหลั่งไหลกันไปสักการะบูชา และไหว้เพื่อ เสริมสิริมงคลกับชีวิต ขอพรให้เป็นหลักชัยของชีวิต ให้มีหน้าที่การงานที่มั่นคงดังหลักชัย และขอพรให้สมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนา หรือมาบนบาลกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สมปรารถนา

สิ่งของหลักๆ ที่ใช้ไหว้พระศาลหลักเมืองก็คือ ธูป เทียน แผ่นทอง พวงมาลัย ดอกบัว และผ้าสี สำหรับผู้ที่บนบาลสำเร็จมักจะจัดแสดงการรำแก้บนหรือลิเกแก้บน ซึ่งคณะลิเก หรือนางรำก็จะแสดงประจำอยู่ภายในบริเวณศาลหลักเมืองด้วย

เกร็ด : หลักเมืองทำไมมี  2 เสา ?

เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริว่า “เสาหลักเมือง” ทรุดโทรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นใหม่ เนื่องจากพระองค์ทรงเชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ จึงทรงแก้ไขดวงเมือง โดยทรงประกอบพิธีจารึกดวงพระชันษาพระนครลงบนแผ่นทองคำหนัก 1 บาท ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และให้สร้างศาลขึ้นใหม่ โดยก่อสร้างเป็นยอดปรางค์ตามอย่างศาลาที่กรุงศรีอยุธยา จากนั้นบรรจุดวงพระชันษาพระนครไว้ที่ “เสาหลักเมือง” แล้วจัดให้มีการสมโภชฉลองด้วย

ด้วยเหตุนี้ภายในศาลหลักเมืองจึงมีเสาหลักเมืองอยู่ 2 ต้น โดยเสาต้นสูงคือครั้งรัชกาลที่ 1 ซึ่งได้ทำพิธีถอนเสาแล้ว ส่วนเสาต้นที่สูงทอนลงมาเป็นเสาหลักเมืองครั้งรัชกาลที่ 4 นั่นเอง

เกร็ด : เทพารักษ์ทั้ง ๕
  • พระเสื้อเมือง มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูมารุกรานไหว้หลักเมือง เสริมหลักชัยให้กับชีวิต
  • พระทรงเมือง มีหน้าที่รักษาการปกครองและกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี
  • พระกาฬไชยศรี เป็นบริวารพระยมมีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก
  • เจ้าพ่อเจตคุปต์ เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไปและอ่านประวัติผู้ตายเสนอพระยม
  • เจ้าพ่อหอกลอง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้นว่าคอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ และเที่ยงคืน เกิดอัคคีภัย หรือมีข้าศึกศัตรูมาประชิดพระนคร
การเดินทางไป ศาลหลักเมืองกทม.

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิดเวลา 05.30 – 19.30 น. ทุกวัน
การเดินทางด้วยรถประจำทาง สาย 2, 3, 6,82, 59, 201, 91,60, 512, 25, 32, 33, 70, 203 รถปรับอากาศ สาย ปอ.3,6,82,59,201,91,60,512,2,25,32,33,70,203

Share and Enjoy
ใครไปไหว้ศาลหลักเมือง ควรเช่าบูชาเหรียญชุดนี้นะครับ

ขอบคุณครับ นอกจากพระภิกษุและฤาษีและเทพแล้ว พระกาฬเป็นชื่อหนึ่งที่ยายผมนับถือ ทุกครั้งที่ทำบุญ ผมต้องเอยชื่ออุทิศให้ท่านทุกครั้ง เพราะได้รับสืบทอดความเชื่อว่า ท่านดูแลอยู่และปกปักษาอยู่  
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้