ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 8367
ตอบกลับ: 31
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตราแผ่นดิน

[คัดลอกลิงก์]
ตราแผ่นดิน
นพชัย วัดอักษร Ph.D.


บนธนบัตรแบบที่ ๑ ซึ่งเป็นธนบัตรแบบแรกของไทย มีการอัญเชิญตราแผ่นดิน หรือ ตราอาร์มแผ่นดิน มาพิมพ์ตรงเหนือคำว่าไว้ “รัฐบาลสยาม” และเป็นธนบัตรแบบเดียวที่มีการใช้ตรานี้พิมพ์บนธนบัตร
คลิกบนรูปเพื่อขยาย
ตราแผ่นดิน หรือ ที่เรียกกันว่า "อาร์มแผ่นดิน" ตามพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ ให้ความหมายเอาไว้ว่า คำนาม หมายถึงตราประจำประเทศ
ตราแผ่นดิน
คลิกบนรูปเพื่อขยาย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ เป็นตราที่รวมเอาสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของข้าราชการและชนชาวสยามเชื้อสายต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เพื่อแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสยามประเทศ ผู้ออกแบบคือเสวกเอกหม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนสีหราชวิกรม ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
ส่วนบนเป็นรูปไอราพต อันหมายถึง ทิพย์สมบัติ แต่บางท่านว่า หมายถึง สยามประเทศ ส่วน ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้
ส่วนล่างซีกซ้าย เป็นรูปช้างเผือก หมายถึง ประเทศลาว ส่วนล่างซีกขวา เป็นรูปกริช หมายถึง หัวเมืองมลายู (มาเลเซีย) ซึ่งอยู่ในขอบขัณฑสีมาในรัชสมัยนั้น แต่บางท่านก็ตีความรวมทั้งช้างเผือกและกริชว่า หมายถึง ราชสมบัติอันยิ่งใหญ่
เหนือโล่ห์ขึ้นไปเป็นรูปจักรและตรี อันหมายถึง พระบรมราชวงศ์จักรี อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ โดยมีฉัตร ๗ ชั้นอยู่ ๒ ข้าง ซึ่งพระมหาพิชัยมงกุฎและฉัตรนี้เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
ทางด้านซ้ายของโล่ห์เป็นรูปคชสีห์แบกพระแสงกระบี่อาญาสิทธิ์ อันหมายถึงฝ่ายทหาร อันเป็นหน่วยงานหลักในการรักษาประเทศ
ทางด้านขวาของโล่ห์เป็นรูปราชสีห์แบกพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ อันหมายถึงฝ่ายพลเรือน คือ มหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการรักษาประเทศอีกหน่วยหนึ่ง
รอบโล่ห์เป็นพระสังวาลของพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องพระราชกกุธภัณฑ์ประดับอยู่ในตราแผ่นดิน คือ ฉลองพระบาทอยู่ใต้ฉัตรทั้งสองข้าง พระแส้จามรีอยู่คู่กับพระแสงกระบี่อาญาสิทธิ์ทางด้านซ้าย ส่วนพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ทางด้านขวามีพัชนีฝักมะขามอยู่คู่กัน ทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนแท่นสี่เหลี่ยม
ด้านล่างของแท่นมีแถบผ้า จารึกคาถาบาลี ว่า “สพเพ สงฆ ภูตาน สามคคี วฑฒิ สาธิกา” ที่แปลว่า "ความพร้อมเพรียงของบุคคลทั้งปวงผู้อยู่เป็นหมวดหมู่กัน ย่อมเป็นเครื่องทำความเจริญให้สำเร็จ" พร้อมทั้งมีพระฉลองภูษาเต็มยศของพระมหากษัตริย์คลุมโอบจากเบื้องหลัง
ได้มีการใช้ตราแผ่นดินนี้มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้เปลี่ยนมาใช้ตรา“พระครุฑพ่าห์เป็นตราแผ่นดินแทน เพราะทรงติว่าตราอาร์มเป็นอย่างฝรั่งเกินไป และมูลเหตุในการเปลี่ยนตราประจำชาติ นอกจากที่จะระบุไว้ข้างต้นแล้ว เป็นไปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงตราแผ่นดินน่าจะมีมูลเหตุหลักมาจากการสูญเสียประเทศราชทั้งลาว เขมรและมลายูในรัชสมัยของพระองค์ จึงต้องเปลี่ยนแปลงตราเพื่อให้เหมาะกับกาลสมัย
อ้างอิง
ตราแผ่นดินของไทย http://th.wikipedia.org/wiki/ตราแผ่นดินของไทย  
      แก้ไขเมื่อ วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐; วันอังคารที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตราแผ่นดิน สถานีตำรวจภูธรตำบลพัทยา วันพฤหัสบดีที่
      ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ตราแผ่นดิน โรงเรียนนายเรืออากาศ วันอังคารที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐




2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 15:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ธนบัตรแบบที่ ๑ รุ่น ๒
เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๘
พิมพ์โดยบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ
พิมพ์เพียงด้านเดียว เรียกกันว่า "ธนบัตรหน้าเดียว" หรือ "ธนบัตรหลังขาว" เหมือนแบบ ๑ รุ่น ๑ ต่างกันตรงที่มีการนำตราครุฑพ่าห์มาใช้แทนตราอาร์มแผ่นดิน เนื่องจากในขณะนั้นได้ประกาศเปลี่ยนตราแผ่นดินจากตราอาร์มมาเป็นตราครุฑพ่าห์แทน
มี ๒ ชนิดราคา คือ ๑ บาท และ ๕๐ บาท (ปรับปรุงราคา) ที่แก้ไขจากธนบัตรชนิดราคา ๑ บาท
เหตุที่มีการพิมพ์ธนบัตรราคา ๑ บาทออกใช้ เพราะในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ราคาแร่เงินได้เพิ่มสูงมากกว่าราคาที่กำหนดไว้บนเงินเหรียญ ทำให้ชาวบ้านหลอมเหรียญเงินเป็นเงินแท่งแล้วส่งไปขายต่างประเทศ เงินเหรียญหนึ่งบาทจึงขาดตลาด รัฐบาลจึงต้องพิมพ์ธนบัตรชนิดราคา ๑ บาทออกใช้


ที่มา http://www.tanabat-thai.com/terms_of_use211111.htm
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 15:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ธนบัตรแบบที่ ๒
เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๑
พิมพ์โดยบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ
เป็นธนบัตรที่เปลี่ยนจากการพิมพ์ระบบเส้นราบเป็นเส้นนูน
ด้านหน้าเป็นรูปลายรัศมี ๑๒ แฉก
ด้านหลังเป็นรูปพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ประชาชนทั่วไปจึงเรียกธนบัตรแบบที่ ๒ นี้ว่า "ธนบัตรแบบไถนา"
มี ๖ ชนิดราคา คือ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท

ที่มา http://www.tanabat-thai.com/terms_of_use211111.htm
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 15:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ธนบัตรแบบที่ ๒ รุ่น ๒
เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๗
โดยเปลี่ยนข้อความด้านหน้า จากเดิม "รัฐบาลสยามสัญญาว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู้นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม" เป็น "ธนบัตร์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย"
มี ๖ ชนิดราคา คือ คือ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท

ที่มา http://www.tanabat-thai.com/terms_of_use211111.htm
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 15:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

F คลิกเพื่อดูราคา
[size=+1]
ธนบัตรแบบที่
เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
พิมพ์โดยบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ
เป็นธนบัตรที่พิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ด้านหน้าเป็นครั้งแรก
มีลายน้ำเป็นรูปช้างสามเศียรไอราพต บริเวณพื้นวงกลมสีขาวด้านหลัง
ด้านหลังเป็นรูปพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
มี ๔ ชนิดราคา คือ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท และ ๒๐ บาท

ที่มา http://www.tanabat-thai.com/terms_of_use211111.htm
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 15:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

[size=+1]
  F คลิกเพื่อดูราคา
[size=+1]
ธนบัตรแบบที่ ๓ รุ่น ๒
เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๑
พิมพ์โดยบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ
เป็นธนบัตรที่มีลักษณะลวดลายเช่นเดียวกับแบบ ๓ รุ่น ๑ ต่างกันตรงที่เปลี่ยนพระบรมฉายาลักษณ์จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗)  เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) สมัยทรงพระเยาว์
มี ๔ ชนิดราคา คือ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท และ ๒๐ บาท


ที่มา http://www.tanabat-thai.com/terms_of_use211111.htm
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 15:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ธนบัตรแบบที่ ๔ รุ่น ๒
เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๕
พิมพ์โดยบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ
เป็นธนบัตรที่มีลักษณะลวดลายเช่นเดียวกับธนบัตรแบบที่ ๔ ต่างกันตรงที่เปลี่ยนคำว่า "รัฐบาลสยาม" เป็น "รัฐบาลไทย" ทุกชนิดราคา
มี ๔ ชนิดราคา คือ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท


ที่มา http://www.tanabat-thai.com/terms_of_use211111.htm
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 15:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

[size=+1]

ธนบัตรแบบที่ ๔ รุ่น กรมแผนที่
เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๕
พิมพ์โดยกรมแผนที่ทหารบก โดยใช้กระดาษจากโรงงานกระดาษกาญจนบุรี
เป็นธนบัตรที่มีลักษณะลวดลายเช่นเดียวกับธนบัตรแบบที่ ๔ ต่างกันตรงที่เปลี่ยนคำว่า "รัฐบาลสยาม" เป็น "รัฐบาลไทย" ในธนบัตรทุกชนิดราคา
มี ๔ ชนิดราคา คือ ๑ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท


ที่มา http://www.tanabat-thai.com/terms_of_use211111.htm
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 15:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ธนบัตรแบบที่
เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๘
พิมพ์โดยบริษัท มิตซุยบุชซันไกซา ประเทศญี่ปุ่น
เป็นธนบัตรที่ใช้ระบบพิมพ์แบบเส้นราบ ไม่มีลายน้ำ
ได้ย้ายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมาพิมพ์ไว้ทางด้านขวาของธนบัตร แทนที่จะพิมพ์ทางด้านซ้ายตามที่เคยปฏิบัติมา
เนื่องจากประเทศอยู่ในภาวะสงคราม กระดาษและหมึกพิมพ์ขาดแคลน การพิมพ์ธนบัตรแบบที่ ๕ ออกมาใช้แต่ละครั้งจึงมีสีเข้มแตกต่างกัน โดยเฉพาะด้านหลังจะเป็นสีเขียว
มี ๗ ชนิดราคา คือ ๕๐ สตางค์ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท


ที่มา http://www.tanabat-thai.com/terms_of_use211111.htm
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 15:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


[size=+1]
[size=+1]

ธนบัตรแบบที่ ๖
เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๗
พิมพ์โดยกรมแผนที่ทหารบก และ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ
เป็นธนบัตรที่มีลักษณะลวดลายเช่นเดียวกับธนบัตรแบบที่ ๔
ที่สั่งพิมพ์จาก บริษัทโทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ

มี ๒ ชนิดราคา คือ  ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท



ที่มา http://www.tanabat-thai.com/services8.htm
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้