ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตราแผ่นดิน

[คัดลอกลิงก์]
21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 16:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

[size=+1]
ธนบัตรแบบที่ ๑๓
เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒
พิมพ์โดยโรงพิมพ์ธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
มี ๒ ชนิดราคา คือ ๕๐ บาท  และ ๕๐๐ บาท
ชนิดราคา ๕๐ บาท นำออกใช้เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘
ชนิดราคา ๕๐๐ บาท นำออกใช้เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐


ที่มา http://www.tanabat-thai.com/services6.htm
22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 16:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

[size=+1]
[size=+1]
ธนบัตรแบบที่ ๑๔
เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕
พิมพ์โดยโรงพิมพ์ธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนบัตรแบบนี้จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
มี ๓ ชนิดราคา เรียงตามลำดับการประกาศใช้ ดังนี้ ๑,๐๐๐ บาท  ๑๐๐ บาท และ ๕๐๐ บาท

อ้างอิง: ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา http://www.tanabat-thai.com/services6.htm
23#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 16:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

[size=+1]


[size=+1]


[size=+1]


[size=+1]


ธนบัตรแบบที่ ๑๕
เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
พิมพ์โดยโรงพิมพ์ธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนบัตรแบบนี้จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
มี ๕ ชนิดราคา เรียงตามลำดับการประกาศใช้ คือ ๕๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท
๕๐๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท


อ้างอิง: ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา http://www.tanabat-thai.com/services6.htm
24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 16:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

[size=+1]
[size=+1]
ธนบัตรแบบที่ ๑๕ ปรับปรุง
เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
พิมพ์โดย โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนบัตรแบบนี้จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์
แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่ทรงมีคุณูปการกับประเทศในด้านต่าง ๆ

มี ๓ ชนิดราคา ตามลำดับการประกาศใช้ ดังนี้ ๕๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท
และ ๑๐๐ บาท


อ้างอิง: ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา http://www.tanabat-thai.com/services6.htm
25#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 16:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

[size=+1]


ธนบัตรแบบที่ ๑๖
ธนบัตรชนิด ๕๐ บาท เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ธนบัตรชนิด ๒๐ บาท เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖

พิมพ์โดยโรงพิมพ์ธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนบัตรแบบนี้จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณูปการแก่ประเทศชาติ
มี ๒ ชนิดราคา เรียงตามลำดับการประกาศใช้ คือ ๕๐ บาท และ ๒๐ บาท

อ้างอิง: ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา http://www.tanabat-thai.com/services6.htm
26#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 16:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

[size=+1]
[size=+1]
[size=+1]
[size=+1]
[size=+1]
[size=+1]
ธนบัตรแบบพิเศษ
จัดพิมพ์ขึ้นใช้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ ๒๕ มิถุนายน๒๔๘๕ ถึงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๔๘๖
แบบพิเศษ ชนิดราคา ๑ บาท จัดพิมพ์โดยกรมแผนที่ทหารบก นำออกมาใช้เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
แบบพิเศษ ชนิดราคา ๑,๐๐๐ บาท จัดพิมพ์โดยกรมแผนที่ทหารบก นำออกใช้เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
แบบพิเศษ ชนิดราคา ๕๐ บาทนำออกใช้เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ๒๔๘๘ โดยนำธนบัตรที่พิมพ์เพื่อใช้ในรัฐ ไทรบุรี ปลิศ กลันตัน และตรังกานู ซึ่งเคยเป็นของไทย และญี่ปุ่นมอบคืนให้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองมาใช้ในเวลาที่ธนบัตรในประเทศขาดแคลน
การพิมพ์หมึกดำคาดทับข้อความที่ไม่ต้องการให้ปรากฏบนธนบัตร ประชาชนจึงเรียกธนบัตรนี้ว่า "ธนบัตรไว้ทุกข์"
ธนบัตรแบบ "บุก" ราคาหนึ่งบาท (One Baht) เป็นธนบัตรที่รัฐบาลอังกฤษจัดพิมพ์ เพื่อเตรียมนำใช้หากยึดประเทศไทยจากญี่ปุ่นได้ ซึ่งเมื่อสงครามเลิกจึงได้มอบให้รัฐบาลไทยนำมาใช้ รัฐบาลไทยจึงพิมพ์ภาษาไทยว่า "รัฐบาลไทย ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" พร้อมลายเซ็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงบนด้านหน้าธนบัตร


ที่มา http://www.tanabat-thai.com/services6.htm
27#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 16:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตราแผ่นดินของไทยตราแผ่นดินของไทย คือตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เทพพาหนะของพระนารายณ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติและเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ตามแนวคิดสมมุติเทพ โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่หลังพ.ศ. 2436 เป็นต้นมา แต่มาใช้อย่างเต็มที่แทนตราแผ่นดินเดิมทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2453

ประวัติตราพระครุฑพ่าห์[แก้]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ใช้ตราอาร์มเป็นตราแผ่นดินใน พ.ศ. 2416 ต่อมาพระองค์มีพระราชดำริว่า ตราอาร์มที่ใช้เป็นตราแผ่นดินในเวลานั้นเป็นอย่างฝรั่งเกินไป และทรงระลึกได้ว่า พระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาเคยใช้ตราพระครุฑพ่าห์มาก่อน (ตราที่กล่าวถึงคือตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์องค์เดิม) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเขียนพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ขึ้นเป็นตราแผ่นดินเพื่อใช้แทนตราอาร์ม โดยครั้งแรกทรงเขียนเป็นรูปตราพระนารายณ์ทรงครุฑจับนาค ตรานี้ได้ใช้อยู่ระยะหนึ่งก็โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเขียนตราครุฑขึ้นใหม่อีกครั้งเป็นตราวงกลม โดยยกรูปพระนารายณ์และนาคออกเสีย คงเหลือแต่รูปครุฑ ซึ่งเขียนเป็นรูปครุฑรำตามแบบครุฑเขมร พื้นเป็นลายเปลวไฟ เมื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายก็ชอบพระราชหฤทัย และมีพระราชประสงค์ที่จะให้ใช้ตรานี้เป็นตราแผ่นดินถาวรสืบไป จะได้ไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่เมื่อเปลี่ยนรัชกาล
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมศิลปชัย) เป็นผู้เขียนตราครุฑถวายใหม่ โดยยังคงใช้ตราครุฑเดิมแบบสมัยรัชกาลที่ 5 เพียงแต่เพิ่มพระปรมาภิไธยตามขอบพระราชลัญจกร และเปลี่ยนพระปรมาภิไธยที่ขอบพระราชลัญจกรให้ตรงตามรัชกาล และให้ยึดถือเป็นแบบอย่างต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำรัชกาลจะสร้างขึ้นใหม่เมื่อพระมหากษัตริย์ได้รับการบรมราชาภิเษกแล้วเท่านั้น ในสมัยรัชกาลที่ 8 จึงไม่มีการสร้างพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำรัชกาลขึ้น เนื่องจากพระองค์มิได้กระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คงมีแต่พระราชลัญจกรประจำรัชกาลเท่านั้น และเชิญพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัชกาลที่ 5 ออกประทับแทน


ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ตราแผ่นดินของไทย
28#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 16:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การใช้ตราพระครุฑพ่าห์[แก้]
พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์นี้ใช้สำหรับประทับกำกับพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์หรือกำกับนามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งลงนามแทนในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ก็ยังใช้เป็นตราประจำสถานที่ราชการต่างๆ ของรัฐบาลไทย ใช้พิมพ์เป็นตราบนหัวหนังสือและเอกสารต่างๆ ของทางราชการ และใช้เป็นตราสำหรับประทับในหนังสือราชการของกรมกองต่าง ๆ
อนึ่ง บริษัทห้างร้านใดที่จดทะเบียนโดยชอบตามกฎหมายที่ติดต่อค้าขายกับทางราชสำนัก ซึ่งปรากฏว่ามีฐานะทางการเงินดี เป็นที่เชื่อถือแก่มหาชน ไม่มีหนี้สินรุงรังนอกจากหนี้สินปกติจากการค้าขาย และจะต้องประกอบการค้าโดยสุจริต อาจได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประดับตราพระครุฑพ่าห์เป็นตราตั้งห้างไว้ที่ห้างร้านของตนได้ โดยพระมหากษัตริย์ทรงไว้ในสิทธิที่จะเรียกคืนตราดังกล่าวได้
ภาพตราครุฑรูปแบบต่าง ๆ[แก้]


  • ตราพระครุฑพ่าห์ แบบที่ใช้เป็นหน้าปกราชกิจจานุเบกษาหนังสือเดินทาง รวมทั้งใช้เป็นตราราชการของกรมราชองครักษ์ และหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศ





  • ตราพระครุฑพ่าห์ สำหรับใช้เป็นตราหัวหนังสือราชการไทย (แบบที่นิยมใช้กันมาก)





  • ตราพระครุฑพ่าห์ สำหรับใช้เป็นตราหัวหนังสือราชการไทย (แบบที่นิยมใช้กันมากอีกแบบหนึ่ง)





  • ตราพระครุฑพ่าห์ สำหรับใช้เป็นตราหัวหนังสือราชการไทย (แบบปีกครุฑกว้าง)





  • ครุฑตราตั้งห้าง





  • ครุฑในธงมหาราช









ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ตราแผ่นดินของไทย
29#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 16:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตราแผ่นดินของไทยในอดีต
ก่อนหน้านั้นประเทศไทยไม่มีการกำหนดตราแผ่นดินที่ชัดเจนนัก มีแต่ตราประจำรัชกาลที่ประทับลงบนเงินพดด้วงซึ่งจะเปลี่ยนไปตามรัชกาลของพระมหากษัตริย์
นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าสยามนำรูปครุฑพ่าห์มาใช้เป็นตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยนำแบบอย่างการใช้ตรามาจากประเทศจีน โดยอ้างอิงจดหมายเหตุลาลูแบร์ ซึ่งบันทึกว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น พระมหากษัตริย์มีตราประจำพระองค์ ในจดหมายเหตุดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าตราเป็นรูปอะไร จึงสันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็น ตราครุฑพ่าห์ คือ รูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ทั้งนี้เพื่อให้เข้ากับคตินิยมที่ถือเอาองค์พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีบุญบารมีเทียบเท่าพระนารายณ์ผู้ทรงครุฑเป็นพาหนะ
ในสายตาชาวต่างประเทศนั้นถือว่าประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรแห่งช้างเผือก จึงกำหนดรูปช้างเผือกลงในโล่ทำนองเดียวกับตราประจำตระกูลหรือตราแผ่นดินในยุโรป เพื่อสื่อความหมายถึงราชอาณาจักรสยาม ซึ่งดูได้จากแผนที่โบราณฉบับต่างๆ ที่กล่าวถึงสยามในบางฉบับ (ดูตัวอย่างได้ ที่นี่) เนื่องจากไม่ทราบชัดเจนว่าสยามใช้เครื่องหมายอะไรเป็นตราประจำประเทศ
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ เสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม ผูกตราประจำประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2416 โดยอิงกับหลักการผูกตราของทางยุโรปที่เรียกกันว่า Heraldry(หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยแปลคำนี้ลงในหนังสือเรื่อง ฝรั่งศักดินา เอาไว้ว่า “มุทราศาสตร์”) ตรานี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า ตราแผ่นดินหรือตราอาร์ม อันมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ส่วนบนสุดตรงกลาง คือ ภาพพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี หมายถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกฎเป็นภาพจักรและตรีไขว้ เรียกว่า ตรามหาจักรี อันเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแทนนามราชวงศ์จักรี ความหมายโดยรวมจึงแปลว่า พระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี
  • ทางด้านซ้ายและขวาของพระมหาพิชัยมงกฎเป็นรูปฉัตร 7 ชั้น อันเป็นเครื่องหมายแห่งราชาธิปไตย ที่เป็นฉัตร 7 ชั้น ก็เพราะว่าเป็นฉัตรสำหรับใช้ประกอบกับนพปฏลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร 9 ชั้น) ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงพระราชอิสริยศของพระมหากษัตริย์ การใช้รูปดังกล่าวจึงเป็นการประกาศให้รู้ว่า ดินแดนสยามอยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นสยามินทราธิราช
  • ใต้ลงมาเป็นรูปโล่แบ่งออกเป็น 3 ห้อง โดยส่วนบนแบ่งเป็น 1 ห้อง ส่วนล่างเป็น 2 ห้อง มีความหมายดังนี้


30#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-29 16:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
          • ความหมายโดยรวมของรูปสัญลักษณ์ภายในโล่จึงหมายถึงขอบขัณฑสีมาทั้งหมดของประเทศสยามในเวลานั้น
          • ต่อจากฉัตรทางด้านขวาเป็นภาพคชสีห์ประคองฉัตร ส่วนทางด้านซ้ายเป็นภาพราชสีห์ประคองฉัตร คชสีห์หมายถึงข้าราชการฝ่ายกลาโหม ซึ่งเป็นใหญ่ทางฝ่ายทหาร ส่วนราชสีห์หมายถึง ข้าราชการฝ่ายมหาดไทย ซึ่งเป็นใหญ่ทางฝ่ายพลเรือน ทั้งสองฝ่ายนี้มีหน้าที่ป้องกันพระราชอาณาจักรและค้ำจุนพระราชบัลลังก์
          • ส่วนขอบโล่ด้านล่างสุดล้อมรอบด้วยพระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ หมายถึง พระพุทธศาสนา มีที่มาจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดนี้ด้วย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่กระทำคุณงามความดีต่อชาติอย่างใหญ่หลวง โดยเงื่อนไขสำคัญในการพระราชทานนั้นกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า จะพระราชทานให้แก่บุคคลที่เป็นพุทธมามกะเท่านั้น

            ตราแผ่นดินของสยามซึ่งตีพิมพ์ในเอกสารของทางราชการ (ในภาพ เป็นประกาศนียบัตรกระทรวงธรรมการ ตั้งเปรียญธรรม 3 ประโยค พ.ศ. 2453)



            • ส่วนใต้พระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ คือ สายสร้อยจุลจอมเกล้าพร้อมดวงตรา หมายถึงการบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ อันเป็นภาษิตของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ที่ปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน และพระบรมราชวงศ์ และบุตรทายาทของผู้ปฏิบัติราชการ โดยพระราชทานสืบสกุลลงไปจนสิ้นสายบุตรชายเพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล และเพื่อให้ผู้สืบสกุลกระทำความชอบต่อแผ่นดิน และสามัคคีกันรับใช้ชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
            • ส่วนล่างสุดของภาพ คือ คาถาภาษาบาลี จารึกบนแพรแถบด้วยอักษรไทย เป็นข้อความว่า "สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฒิ สาธิกา" แปลว่า "ความพร้อมเพรียงของบุคคลทั้งปวงผู้อยู่เป็นหมวดหมู่กัน ย่อมเป็นเครื่องทำความเจริญให้สำเร็จ" คาถาบทนี้เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ซึ่งได้ใช้เป็นข้อเตือนใจประจำโรงเรียนเตรียมทหารในเวลาต่อมาอีกด้วย
            • เครื่องหมายอื่นๆ ที่แทรกอยู่ในตรา แต่เห็นได้ไม่สู้ชัดเจนนัก คือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง 5 อันเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยสมบูรณ์ ดังบรรยายต่อไปนี้






ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้