แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2014-6-25 22:01
กำเนิดหนุมาน (ฉบับสยาม)
บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ เป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อใช้เล่นละคร จึงมิได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ทั้งเรื่อง ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนำมาแสดงละครได้เท่านั้น บางตอนทรงนิพนธ์ใหม่ทั้งเรื่อง ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนำมาแสดงละครได้เท่านั้น บางตอนทรงพระราชนิพนธ์เอง บางตอนก็โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ตรวจชำระและจัดพิมพ์ในงานพระราชกุศลฉลองพระตำหนักจิตรดารโหฐาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ และทรงพระราชนิพนธ์คำนำไว้ว่าเป็นหนังสือที่อ่านไม่เบื่อ เป็นภาษาไทยที่ดี และเป็นหนังสือสำคัญของชาติ
รามเกียรติ์ มีที่มาจากเรื่อง รามยณะ ที่ฤาษีวาลมิกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ มาแล้ว และได้แพร่หลาย จากอินเดียไปยังประเทศใกล้เคียง และได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียด ผิดแผกแตกต่างออกไปจากต้นฉบับเดิมไปไม่น้อย รามยณะเป็นปางหนึ่งในสิบปางของการอวตารมาปราบยุคเข็ญของพระนารายณ์ ที่มีชื่อว่า รามาวตาร
สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อใช้เล่นละคร จึงมิได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ทั้งเรื่อง ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนำมาแสดงละครได้เท่านั้น บางตอนทรงนิพนธ์ใหม่ทั้งเรื่อง ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนำมาแสดงละครได้เท่านั้น บางตอนทรงพระราชนิพนธ์เอง บางตอนก็โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ตรวจชำระและจัดพิมพ์ในงานพระราชกุศลฉลองพระตำหนักจิตรดารโหฐาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ และทรงพระราชนิพนธ์คำนำไว้ว่าเป็นหนังสือที่อ่านไม่เบื่อ เป็นภาษาไทยที่ดี และเป็นหนังสือสำคัญของชาติ
.ณ เชิงบันไดเขาไกรลาส มียักษ์นนทกคอยทำหน้าที่ล้างเท้าให้เหล่าเทวดาที่มาเฝ้าพระอิศวร
นนทกถูกเทวดาคอยกลั่นแกล้งตบหัวดึงผมเล่นอยู่เป็นประจำจนเส้นผมร่วงโกร๋น โล้นเตียน
สร้างความเจ็บช้ำและโกรธแค้นเป็นอย่างมาก
วัน หนึ่งเมื่อความอดทนขาดผึง นนทกจึงได้ ไปขอเข้าเฝ้าพระอิศวร
เพื่อให้ประทานนิ้วเพชรที่สามารถชี้ผู้ใดแล้วผู้นั้น ต้องตาย
พระอิศวรนึกสงสารจึงประทานพรให้ด้วยนนทกทำหน้าที่ด้วยดีมาตลอด
เมื่อได้รับพรให้มีนิ้วเพชรแล้ว นนทกก็เกะกะระรานใช้
นิ้วเพชรชี้เทวดาจนล้มตายเกลื่อนกลาด
บรรดาเทวดาน้อยใหญ่พากันเข้าเฝ้าพระอิศวรเพื่อร้องขอให้ปราบนนทก
พระอิศวรจึงทรงมีบัญชาให้พระนารายณ์ไปปราบนนทก
พระ นารายณ์แปลงกายเป็นนางอัปสรผู้มีสิริโฉมงดงามไปหลอกล่อ
ฝ่ายนนทกเห็นนางอัปสรก็ตามเกี้ยวพาราสี นางจึงชวนร่ายรำด้วยกัน
เมื่อร่ายรำจนถึงท่านาคาม้วนหาง นนทกเผลอใช้นิ้วเพชรชี้ที่ขาของตนเองจนหัก
นางอัปสรจึงกลายร่างเป็นพระนารายณ์ขึ้นยืนเหยียบที่ยอดอกของนนทก
นนทกเมื่อรู้ตัวว่าพลาดท่าเสียทีจึงร้องว่า
“ดูเอาเถิด ตัวรึมีถึงสี่กร ยังมารังแกเราได้ หรือว่าเกรงกลัวนิ้วเพชรของเราจึงไม่กล้าสู้กันซึ่งๆหน้า”
พระนารายณ์จึงท้านนทกไปว่า
" เหม่ เหม่ อ้ายยักษ์อวดดี..!!!
ข้าจะให้เอ็งไปเกิดใหม่มีสิบหน้า ยี่สิบมือ เหาะเหินเดินอากาศได้
มีอาวุธทั้งกระบองและธนู
ส่วนข้าจะเป็นเพียงคนธรรมดามีแค่สองมือแล้วลงไปฟาดฟันเอ็งบนโลกมนุษย์"
เมื่อกล่าวจบก็ใช้พระแสงตรีตัดหัวนนทกกระเด็นหลุดจากบ่า
เมื่อนนทกถูกพระนารายณ์ฆ่าแล้ว ก็กลับชาติมาเกิดเป็นทศกัณฐ์ ลูกท้าวลัสเตียน
เจ้าเมืองลงกา ทศกัณฐ์มีสิบหัว สิบหน้า ยี่สิบมือ
ดังที่พระนารายณ์พูดไว้แม่ของทศกัณฐ์ชื่อนางรัชดา มีลูก 6 คน
คือ กุมภกรรณ พิเภก ทูต ขร ตรีเศียร และคนสุดท้องเป็นหญิงชื่อ นางสำมนักขา
เมื่อพระนารายณ์ได้สำเร็จกิจชำระความ นนทก แล้ว
ได้นำความไปทูลรายงานแก่องค์พระอิศวรมหาเทพ
พระอิศวรใคร่ปรารถนายลโฉมนางฟ้าเทพอัปสร(พระนารายณ์แปลง)
พระนารายณ์จึงร่างเป็นเทพอัปสรและได้ร่ายรำให้พระอิศวรยล
ด้วยทิพยอำนาจพิศมัยรำจวนจิตพิสวาท แห่งนางอัปสร
พระอิศวรท่านเคลิ้มจนน้ำหฤหรรษ์เคลื่อนโดยไม่รู้ตัว
ท่านจึงเก็บน้ำหฤหรรษ์ ไว้ เพื่อการใหญ่ที่จะอุบัติในกาลหน้า
|