ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 110970
ตอบกลับ: 25
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เปิด ” ป่าหิมพานต์ ”

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 07:50



ในสมัยเด็ก เรามักจะได้ยินบ่อยๆ ในเรื่องของ " กินรี " พญาครุฑ ตลอดจนป่าหิมพานต์ และเชื่อว่าทุกคนจะต้องหลงมนต์ชื่นชอบ อยากค้นหา ดินแดนมหัศจรรย์นี้ เหมือนกับฉัน ...ฉัน คิดเสมอว่า เรื่องนี้ " ต้องเป็นเรื่องจริง " ไม่ใช่ แค่เรื่องในตำนานอย่างที่ผู้ใหญ่บอกอย่างแน่นอน แต่อะไรล่ะ? ที่จะนำมาใช้ประกอบเป็นเหตุผล ในข้อสันนิษฐาน ของเด็กตัวเล็กๆคนหนึ่ง

จะตะโกนป่าวร้องบอกใครก็ไม่ได้ เดี๋ยวเค้าจะหาว่าเรา ” เพ้อเจ้อ ” แต่ถ้าใครจะคิดอย่างนั้น ก็คงจะไม่ผิดนัก จะว่าไป..ก็ไม่ใช่เพราะความเพ้อเจ้อนี้หรอกเหรอ? ที่ทำให้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับ ” ป่าหิมพานต์ “ มากมายขนาดนี้ ที่สำคัญ วรรณกรรมต่างๆในอดีต ก็ล้วนแต่มีเรื่องราวของป่าหิมพานต์มาเกี่ยวโยงทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น พระสุทน มโนรา ตลอดจน ละครจักรๆ วงศ์ ที่กำลังฉายผ่านทางจอแก้ว แม้จะพิสูจน์เป็นตุเป็นตะไม่ได้ว่าเป็นเรื่องจริง..มันก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้ใครเดือดร้อน เพราะฉะนั้น..รู้ไว้ใช่ว่า เผื่อวันหน้า มีโอกาสข้ามผ่านมิติไปถึงแดนทิพย์นี้จริงๆก็เป็นได้


ป่าหิมพานต์ หรือ หิมวันต์ เป็นป่าในวรรณคดีและความเชื่อในเรื่องไตรภูมิตามคติศาสนาพุทธและฮินดู มีความเชื่อว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเขาหิมพานต์หรือหิมาลายา (หิมาลัย) คำว่า “หิมาลายา” เป็นมีรากศัพท์จากภาษาสันสกฤตแปลว่าสถานที่ที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ เขาหิมพานต์ประดิษฐานอยู่ในชมพูทวีปมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์ (1 โยชน์ เท่ากับ 10 ไมล์ หรือ 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด มีสระใหญ่ 7 สระคือ
  • สระอโนดาต
  • สระกัณณมุณฑะ
  • สระรถการะ
  • สระฉัททันตะ
  • สระกุณาละ
  • สระมัณฑากิณี
  • สระสีหัปปาตะ
บรรดาสระใหญ่ทั้ง 7 นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง 5 คือ 1.เขาไกรลาศ 2.เขาจิตตะ 3.เขาคันธมาศ 4.เขาสุทัศนะ 5.เขากาฬกูฏ ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาทุกยอดมีส่วนสูงและสัณฐาน 200 โยชน์ กว้างและยาวได้ 50 โยชน์
ในป่าหิมพานต์นี้เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิด ซึ่งล้วนแปลกประหลาดต่างจากสัตว์ที่มนุษย์ทั่วไปรู้จัก เป็นสัตว์หลายอย่างผสมกันแล้วตั้งชื่อขึ้นใหม่ สัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของจิตรกรไทยโบราณที่ได้สรรค์สร้างภาพจากเอกสารเก่าต่าง ๆ บรรดาสัตว์ทั้งหมดที่อ้างถึงนี้เป็นที่รู้จักในนามของสัตว์หิมพานต์[1]


กินรีและนาค หนึ่งในสัตว์หิมพานต์


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 07:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 12:40




ในป่าหิมพานต์นี้ ไม่ว่าพืช หรือสัตว์ จะมีรูปร่างที่แปลกไปจากเมืองมนุษย์เรา โดยตำนาน กล่าวไว้ว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย (ประเทศอินเดีย)ทอดตัวต่ำลงมาใน แดนมนุษย์ ทับซ้อนมิติกันอยู่กับโลกมนุษย์ ในหลายประเทศ และแถบสุวรรณภูมิทั้งหมด หลายคนเคยสงสัยบ้างมั้ย? เมื่อเรา ได้ยิน ได้ฟัง คนโบราณพูดถึงแดนลับแล แดนสนธยา ป่าหิมพานต์ โลกทิพย์ เหล่านี้ ผู้รู้ได้กล่าวว่าดินแดนทั้งหลายเหล่านี้นั้น ก็คือ เป็นดินแดนที่อยู่บนโลกใบเดียวกันกับมนุษย์เรา เพียงแต่อยู่ต่างมิติกัน หรือ อยู่กันคนละคลื่นความถี่เท่านั้นเอง

ซึ่งหากมนุษย์คนใดสามารถปรับจูนให้คลื่นความถี่ ของจิตตรงกันได้ เขาคนนั้นก็สามารถพบเห็นดินแดนต่างๆที่อยู่ซ้อนกันกับเราได้ ซึ่งบางพวก บางเหล่าก็เป็นมนุษย์เหมือนกันกับเรา มีเลือดเนื้อ มีชีวิตจิตใจเหมือนเราทุกประการ เช่น มนุษย์ที่อยู่ในเมืองลับแล เขาเหล่านี้มีการใช้ชีวิตที่คล้ายคลึงเราทุกอย่าง จะต่างกันก็ตรงทุกคนในเมืองลับแลอยู่แบบธรรมชาติ ไม่เบียดเบียนซึ่งกัน และกันเคร่งครัดในศีล 5 มากกว่ามนุษย์โลก แดนหิมพานต์ ถือเป็นดินแดนที่ศักสิทธิ์ เป็นที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์ที่มีรูปร่าง แปลกประหลาดมีอิทธิฤทธิ์

ไม่ว่าพืชหรือสัตว์ ตลอดจนแร่ธาตุต่างๆ ล้วนมีพลังอำนาจมหัศจรรย์ อีกทั้งยังเป็นที่อยู่ของบรรดานักสิทธิ์ วิทยาธร คนธรรพ์ ยักษ์ ฤษี ชีไพร ผู้ทรงอภิญญาทางจิตกล้าแข็งทั้งหลาย อยู่กันอย่างสันติภาพไม่เบียดเบียนกัน ในบ้านเรานั้นมีอยู่หลายจังหวัดที่เป็นรอยต่อเชื่อม ซึ่งเรียกว่า ประตูผ่านมิติ บางคนอาจจะเคยได้ยินว่ามีคนพลัดหลงเข้าไปยังดินแดนต่างมิติกับเรา เช่น หนองคายเป็นรอยต่อกับเมืองบาดาล อุตรดิษฐ์เป็นรอยต่อกับเมืองลับแล บริเวณป่าแถบกาญจนบุรีเป็นรอยต่อกับป่าหิมพานต์ เป็นต้น



สัตว์หิมพานต์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สัตว์หิมพานต์ คือสัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา

จำแนกตามชนิดสัตว์
นก
อสูรปักษา
อสุรวายุพักตร์
นกการเวก
ครุฑ
กินรี
เทพปักษี
นกทัณฑิมา
หงส์
หงส์จีน
คชปักษา
มยุระคนธรรพ์
มยุระเวนไตย
สินธุปักษี
สีหสุบรรณ
สุบรรณเหรา
มังกรสกุณี
นาคปักษี
นาคปักษิณ
นกหัสดี
นกอินทรี
นกสัมพาที
กินนร
สกุณเหรา
นกเทศ
พยัคฆ์เวนไตย
นกสดายุ
เสือปีก
อรหัน
-
-
-
สิงห์
สิงห์ผสม
บัณฑุราชสีห์
กาฬสีหะ
ไกรสรราชสีห์
ติณสีหะ
-
-
-
-
เกสรสิงหะ
เหมราช
คชสีห์
ไกรสรจำแลง
ไกรสรคาวี
เทพนรสีห์
ฑิชากรจตุบท
โต
ไกรสรนาคา
ไกรสรปักษา
โลโต
พยัคฆ์ไกรสร
สางแปรง
สิงหคาวี
สิงหคักคา
สิงหพานร
สกุณไกรสร
สิงห์
สิงโตจีน
สีหรามังกร
โตเทพสิงฆนัต
ทักทอ
นรสิงห์
-
ม้า
ปลา
ช้าง
กิเลน
กวาง
ดุรงค์ไกรสร
ดุรงค์ปักษิณ
เหมราอัสดร
ม้า
ม้าปีก
งายไส
สินธพกุญชร
สินธพนที
โตเทพอัสดร
อัสดรเหรา
อัสดรวิหก
-
-
-
-
-
เหมวาริน
กุญชรวารี
มัจฉนาคา
มัจฉวาฬ
นางเงือก
ปลาควาย
ปลาเสือ
ศฤงคมัสยา
เอราวัณ
กรินทร์ปักษา
วารีกุญชร
ช้างเผือก
-
-
-
-
กิเลนจีน
กิเลนไทย
กิเลนปีก
-
-
-
-
-
มารีศ
พานรมฤค
อัปสรสีหะ
-
-
-
-
-
มนุษย์
จระเข้
ลิง
วัวควาย
แรด
สุนัข
ปู
นาค
คนธรรพ์
มักกะลีผล
กุมภีนิมิตร
เหรา
กบิลปักษา
มัจฉาน
มังกรวิหค
ทรพา ทรพี
แรด
-
สุนัข
-
ปู
-
นาค
-



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 07:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 08:01

มีสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ขนาดใหญ่อยู่ 7 สระ คือ

1. สระอโนดาต
- มีความหมายว่า... ไม่ถูกแสงส่องทำให้ร้อน
- ธารน้ำจากภูเขาต่าง ๆ จะไหลลงสู่ที่สระแห่งนี้ และหลังจากนั้นน้ำก็จะไหลออกเป็น 4 สาย ๆ ละ ทิศ ไหลรอบ ๆ นอกของเขาหิมพานต์ ก่อนที่จะไหลลงสู่มหาสมุทร ... คือ
สายที่1 - สีหมุข... ปากแม่น้ำแดนราชสีห์ (เป็นถิ่นที่ราชสีห์อาศัยอยู่มาก )
สายที่ 2 - หัตถีมุข... ปากแม่น้ำแดนช้าง ( เป็นถิ่นที่ช้างอาศัยอยู่มาก )
สายที่ 3 - อัสสมุข... ปากแม่น้ำแดนม้า ( เป็นถิ่นที่ม้าอาศัยอยู่มาก )
สายที่ 4 - อุสภมุข... ปากแม่น้ำแดนโคอุสภะ ( เป็นถิ่นที่โคอาศัยอยู่มาก )

นอกจากนี้ แม่น้ำ 4 สาย ของสระอโนดาตนี้ ก็จะไหลแยกไปตามทิศทางต่าง ๆ ทั้ง 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก หลังจากนั้นก็จะเลี้ยวขวาอีก 3 เลี้ยว โดยจะไม่ไหลมาชนกันกับ 3 สายที่เหลือ เนื่องจาก แม่น้ำทั้ง 4 สายจะ ไหลลอดอุโมงค์หิน หรือ ลอดภูเขา แล้วค่อยไหลค่อยไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ต่าง ๆ ที่อยู่ด้านรอบนอกเขาหิมพานต์ก่อนที่จะไหลจะลงสู่มหาสมุทรต่อไป
ยกเว้นสายน้ำที่ไหลไปทางทิศใต้ ที่จะไหลไปเป็นทางยาวประมาณ 60 โยชน์ หลังจากนั้นก็จะไหลออกมาทางใต้แผ่นหินซึ่งมีลักษณะที่เป็นหน้าผาแล้วค่อยไหลลงมา ดังนั้นบริเวณนี้จึงกลายเป็นน้ำตกที่มีความสูงขนาด 60 โยชน์เลยทีเดียว และเนื่องจากแรงกระแทกของสายน้ำตกที่ไหลหล่นลงมากระทบยังแผ่นหินเบื้องล่าง จึงทำให้แผ่นหินแตกกระจายออก กลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ ชื่อว่า " ติยัคคฬา " และต่อมาพอน้ำมีมากขึ้นก็ได้ทำให้หินด้านหนึ่งแตกออกไป สายน้ำก็ได้กัดเซาะหินที่ไม่ค่อยแข็งจนกระทั่งกลายเป็นอุโมงค์หิน และก็ได้เซาะในส่วนที่เป็นดินจนกระทั่งเป็นอุโมงค์ดิน หลังจากนั้นน้ำก็ได้ไหลจนถึงภูเขาหินที่ชื่อ " วิชฌะ " ซึ่งตั้งขวางอยู่ ( ติรัจฉานบรรพต = ภูเขาขวาง ) และเมื่อสายน้ำไปโดนหิน ก็เลยไม่สามารถผ่านไปได้ง่าย ๆ เหมือนที่ผ่านมา หลังจากนั้นแรงน้ำก็ได้ดันจุดที่อ่อนที่สุดได้ 5 จุด ไหลเป็นทางแยกต่าง ๆ กัน ซึ่งก็ได้กลายเป็นต้นน้ำสำคัญของมนุษย์ 5 สาย ที่ใช้ในปัจจุบัน คืด แม่น้ำคงคา, แม่น้ำยมุนา, แม่น้ำอจิรวดี, แม่น้ำสรภู, แม่น้ำมหิ
- พื้นสระ เป็นแผ่นหินกายสิทธิ์ ชื่อ " มโนศิลา "
- พื้นดินกายสิทธิ์ชื่อ " หรดาล " ( สามารถใช้ถูตัวได้ )
- น้ำใสสะอาด
- มีท่าอาบน้ำมากมาย สำหรับ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย
และผู้วิเศษที่มีฤทธิ์ต่าง ๆ อาทิ ฤๅษี วิทยาธร ยักษ์ นาค

- รอบสระอโนดาต มียอดเขารายรอบอยู่ 5 ยอด ได้แก่

1. ยอดเขาสุทัสสนะ ( สุทัสสนกูฏ )
- เป็นทองคำ
- รูปทรงโค้งตามแนวสระอโนดาต
- ปลายยอดเขา มีลักษณะโค้งงุ้มเหมือนปากของกา ซึ่งจะทำหน้าที่โอบปิดด้านบน ไว้ไม่ให้โดนแสงอาทิตย์ และ แสงจันทร์โดยตรง

2. ยอดเขาจิตตะ ( จิตรกูฎ )
- เป็นรัตนะ
- ลักษณะคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ


3. ยอดเขากาฬะ ( กาฬกูฎ )
- เป็นแร่พลวง
- หินแห่งยอดเขาสีนีล
- รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ

4. ยอดเขาคันธมาทน์ ( คันธมาทนกูฏ )
- รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ
- ด้านบนยอดเขา เป็นพื้นราบเรียบ ( เหมือนภูกระดึง )
- มีไม้หอมมากมายหลากหลายพันธ์
- ไม้รากหอม
- ไม้แก่นหอม
- ไม้กระพี้หอม
- ไม้เปลือกหอม
- ไม้สะเก็ดหอม
- ไม้รสหอม
- ไม้ใบหอม
- ไม้ดอกหอม
- ไม้ผลหอม
- ไม้ลำต้นหอม
- อุดมด้วยไม้โอสถต่าง ๆ
- ในวันอุโบสถ ( วันพระ ) ข้างแรม ยอดเขานี้จะเรืองแสงเหมือนถ่านไฟคุ
ส่วนวันที่เป็นข้างขึ้น แสงยิ่งเปล่งรัศมีโชติช่วงกว่าเดิม...
- ถ้ำนันทมูล ที่บนยอดเขาคันธมาทน์ เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งมี 3 ถ้ำ อยู่ด้านใน คือ ถ้ำทอง ถ้ำแก้ว และ ถ้ำเงิน


5. ยอดเขาไกรลาส ( ไกรลาสกูฏ )
- ยอดเขาไกรลาส เป็นภูเขาเงิน รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ วิมานฉิมพลีแห่งพญาครุฑ ก็อยู่ที่เขาไกรลาสนี้
- โดยแต่ละยอดมีความสูงและสัณฐาน 200 โยชน์ กว้างและยาวได้ 50 โยชน์
- มีเทวดารวมถึงนาค เป็นผู้ดูแลรักษา

2. สระกัณณมุณฑะ
3. สระรถการะ
4. สระฉัททันตะ
5. สระกุณาละ
6. สระมัณฑากิณี
7. สระสีหัปปาตะ


ความเชื่อเรื่องการเดินทางไปป่าหิมพานต์

หากใครสามารถที่จะปรับหรือจูนคลื่นความถี่ ของจิตตรงให้ตรงกัน ก็จะสามารถมองเห็นหรือเดินทางไปยังดินแดนแห่งนี้ได้
มี 2 วิธี 1 ต้องหาคนนำทางที่พาไปได้   2 ต้องได้อภิญญา 5

สุคนธไม้หอม 10 ชนิด ในป่าหิมพานต์
1. มูลคันธะ - รากหอม
2. สารคันธะ - แก่นหอม
3. เผคคุคันธะ - กระพี้หอม
4. ตจคันธะ - เปลือกหอม
5. ปัปปฏกคันธะ - สะเก็ดหอม หรือ กะเทาะหอม
6. รสคันธะ - ยางหอม
7. ปัตตคันธะ - ใบหอม
8. ปุปผคันธะ - ดอกหอม
9. ผลคันธะ - ลูกหอม
10. สัพพคันธะ - หอมทุกอย่าง


ช้าง 10 ตระกูล ในป่าหิมพานต์
1. กาฬวกหัตถี - สีดำ
2. คังไคยหัตถี - สีน้ำ
3. ปัณฑรหัตถี - สีขาวดังเขาไกรลาส
4. ตัมพหัตถี - สีทองแดง
5. ปิงคลหัตถี - สีทองอ่อนดังสีตาแมว
6. คันธหัตถี - สีเหมือนไม้กฤษณา มีกลิ่นหอม
7. มังคลหัตถี - สีนิลอัญชัน กริยาท่าทางเดินงดงามมาก
8. เหมหัตถี - สีเหลืองดังทอง
9. อุโบสถหัตถี - สีทองคำ
10. ฉัททันตหัตถี - สีกายขาวบริสุทธิ์ดังเงิน ปากและเท้ามีแดง

***** ช้างแต่ละเชือกใน 10 ตระกูลนี้ มีกำลังยิ่งกว่ากันเป็น 10 ๆ เท่า โดยลำดับ

ลักษณะเสือและราชสีห์ในป่าหิมพานต์
1. ติณราชสีห์ - กินหญ้าเป็นอาหาร
2. กาฬสิงหะ - มีลายดำ
3. ปัณฑุสุระ - มีลายเหลืองกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร
4. ไกรสรสิงหราช - ปากหาง เท้า ปาก มีสีแดงเหมือนครั่ง มีลายผ่านกลางสีแดงเหมือนทาชาด ชอบอยู่มนถ้พ พอตะวันบ่าย ก็ออกเที่ยวหากิน ชอบแผดเสียงร้องกึกก้องระงมไพร เสือและราชสีห์ทั้ง 4 ชนิด นี้ รูปร่างโตดั่งโค มีลายต่าง ๆ กัน

ที่มา http://www.7wondersthailand.com


4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 08:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วรรณกรรมกับตำนานป่าหิมพานต์

สัตว์ส่วนใหญ่ที่ถูกกล่าวถึงในศิลปะและวรรณกรรมของ ประเทศอินเดียและประเทศไทยอาศัยอยู่ในป่า หิมพานต์ป่านี้มีที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตประเทศอินเดีย และเนปาล เหนือป่าหิมพานต์ขึ้นไปเป็นสวรรค์ในตำนานของชาวพุทธ ว่ากันว่าคนสามัญธรรมดาไม่ สามารถมองเห็นและ ย่างกรายเข้ามายังป่าแห่งนี้ได้ สัตว์หิมพานต์เหล่านี้นี่เอง ที่ได้ถูกนำมาประยุกต์เป็น ลวดลายงดงามไม่ว่า จะเป็นรูปปั้น รูปวาด รูปแกะสลัก หรือ เครื่องประดับต่างๆ .



รามายณะ:
นักปราชญ์ชาวอินเดียชื่อวาลมีคิได้ประพันธ์มหา กาพย์รามายณะ เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีที่แล้วและได้ ถูกเผยแพร่ไปยังหลาย ประเทศในแถบทวีปเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเอง ก็มีเรื่องที่ถูก ดัดแปลงมาจากเรื่องรามานณะเช่นกันโดยใช้ชื่อว่า “รามเกียรติ์”

เรื่องราวโดยรวมของรามายณะนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้ ระหว่างเมืองอยุธยาซึ่งเป็นเมืองของ ฝ่ายเทวดาและเมืองลังกา ซึ่งเป็นนครของฝ่ายยักษ์ ตัวเอกของเรื่องคือพระราม (ราม) แห่งเมืองอยุธยามี พระมเหสีชื่อนางสีดา (สิตา) แต่นางสีดา ถูกลักพาตัว โดยพญายักษ์ผู้ครองเมืองลังกาชื่อทศกัณฑ์ (ราวะณะ) ท้ายที่สุดฝ่ายยักษ์ก็ปราชัยโดยทางฝ่าย พระรามมีน้องชาย ชื่อพระลักษณ์ (ลัคชมะณะ) และพญาลิงหนุมานช่วยในการทำศึก
  
มีตัวละครหลายตัวในมหากาพย์เรื่องนี้ถูกจัดว่าเป็น สัตว์หิมพานต์ บางตัวก็มีส่วนช่วยฝ่ายพระรามในการทำศึก และบางตัว สวามิภักดิ์ต่อฝ่ายทศกัณฑ์   




ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 08:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 08:19

ตำนานป่าหิมพานต์ที่มีกล่าวถึงในพระพุทธศาสนา




พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคดมเป็นพระศาสดาของศาสนา พุทธ ทรงเจริญในศากยสกุล จึงมีอีกพระนามหนึ่งว่า “พระศากยะมุนี” ทรงประสูติเมื่อ ๕๖๓ ปีก่อนคริสต์กาล ที่สวนลุมพินีในพระนครกบิล พัสดุ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตของประเทศเนปาล)

พระองค์ทรงตรัสรู้ใต้ร่มต้นโพธิ์ เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา และได้ชื่อว่า “โคดมพุทธ” “พระพุทธเจ้า” หรือ “พระผู้ตรัสรู้”

ในศาสนาพุทธมีด้วยกันหลาย แขนงนิกาย แต่นิกายหลักๆ ที่ถือปฎิบัติกันอย่างแพร่หลายมีด้วยกัน ๓ นิกายคือ นิกายมหายาน (เป็นนิกายที่มี เรื่องราวพิสดารรวมอยู่ในพระคัมภีร์) นิกายหีนยานหรือเถรวาท (เป็นนิ กายที่เคร่งในทางปฎิบัติ) และนิกายวัชรยาน (นิกายที่ได้รับการยอมรับ นับถืออย่างสูงในประเทศทิเบต)

สัตว์หิมพานต์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธโดยตรงคือพญานาค อันจะเห็นได้จากรูปปั้นพระพุทธเจ้าปางนาคปรกซึ่งมีให้พบเห็นอยู่ทั่ว ไปตามวัดวาอารามของพระภิกษุของชาวพุทธ

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 08:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อิทธิพลจากศาสนาฮินดูต่อตำนานป่าหิมพานต์




ศาสนาฮินดู หรือศาสนาพราห์มเป็นหนึ่งในศาสนาที่ เก่าแก่ที่สุดในโลกมีการนับถือเทพเจ้าหลายองค์หรือที่เรียกกันว่า “พหุเทวนิยม” แบ่งการบูชาเทวะเป็น ๒ ประเภทคือ การบูชาเทพธรรมชาติและการบูชา พราห์มเทพ

การบูชาพราห์มเทพถือปฏิบัติกันมากว่า ๑,๕๐๐ ปีก่อนคริสต์กาล
โดยมีประเพณีการบูชาเทพ เจ้าหลัก ๓ พระองค์คือ พระพรหม
(พระผู้สร้าง) พระวิษณุ (พระผู้รักษาและคุ้มครอง) และพระศิวะ
(พระผู้ทำลาย) ผู้นับถือศาสนาฮินดูเรียกเทพเจ้าทั้ง สามองค์ว่า
“ตรีเทพ” จากการนับถือเทพเจ้าหลายองค์นี่เองที่เป็นบ่อเกิด แห่งตำนานมากมายรวมถึงตำนานเกี่ยวกับสัตว์วิเศษต่างๆที่เกี่ยว
กับเทพเจ้าเช่นพระวิษณุมีพญาครุฑเป็น พาหนะและพญานาค
เป็นอาสนะยามพระองค์ประทับนั่ง .

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 08:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ความเชื่ออื่นที่คล้ายคลึงกับตำนานป่าหิมพานต์
เทพเจ้าหลายองค์ของอียิปต์มีร่างกายเป็นมนุษย์และ มีหัวเป็นสัตว์ประเภทต่างๆ ดูไปแล้วคล้ายกับสัตว์ในป่าหิมพานต์ มีหลายคนเชื่อว่าตำนานเทพเจ้าอียิปต์ อาจจะเป็นแรงบันดาลใจ และต้นกำเนิดของสัตว์หิม-พานต์ ตัวอย่างเทพเจ้าที่มีร่างกาย บางส่วนเป็นสัตว์มีดังนี้

อนูบิส—เทพเจ้าแห่งความตายของอียิปต์ ตามรูป เขียนทำเป็น มนุษย์มีเศียรเป็นหมาไนสีดำ
บัสต์—เทวีแห่งแมว
ฮาเธอร์—เทวีวัว
โฮรุส—เทพเจ้าของอียิปต์ ตามรูปมีร่างเป็นมนุษย์ เพศผู้์มีเศียร เป็นนกเหยี่ยว
เคนชู—เทพเจ้าแห่งการสื่อสารและดวงจันทร์
คนุม—เทพเจ้าแห่งน้ำ ตามรูปมีร่างเป็นมนุษย์เพศผู้มีเศียรเป็นแพะ
รา—เทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์และเทพเจ้าแห่งการ สร้าง ร่างเป็นมนุษย์เพศผู้์มีเศียรเป็นนกเหยี่ยว
เสเบ็ก—เทพเจ้าจระเข้ ตามรูปมีร่างเป็นมนุษย์เพศผู้มีเศียรเป็นจระเข้
เซต—เทพเจ้าแห่งความวุ่นวาย ีร่างเป็นมนุษย์เพศผู้มีเศียรเป็นตัวกินมด
เคบ—เทพเจ้าแห่งผืนดิน
ธอธ—เทพเจ้าแห่งความฉลาดมีร่างเป็นมนุษย์เพศผู้มีเศียร เป็นนกกระสา มงกุฏเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว


สัตว์พิศดารในตำนานกรีกสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ “สัตว์ผสม” และ “สัตว์ประหลาด”
สัตว์ผสม หมายถึงสัตว์ ที่มีลักษณะผสมระหว่างสัตว์ ธรรมดาตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไป โดยปกติจะมีเป็นเผ่าพันธุ์
สัตว์ประหลาดหมายถึงสัตว์พิเศษที่มีลักษณะเฉพาะ ตัวที่ไม่มีสัตว์อื่นเหมือน สัตว์ประหลาดส่วนใหญ่ใน ตำนานมักเป็นเพื่อนหรือศัตรูกับวีรบุรุษ
เซนธอร์—สัตว์ผสมชนิดหนึ่งระหว่างมนุษย์กับม้า
เซอเบรุส—สัตว์ประหลาดผู้เฝ้าปากทางนรก รูปร่างเป็นสุนัข ๓ หัว
ไคเมร่า—สัตว์ประหลาดในตำนานมีร่างกายแบบ ผสม โดยมีช่วงหัวเป็นสิงโต ช่วงตัวเป็นแพะเพศเมีย และช่วงหางเป็นงู
เอคิดน่า—สัตว์ประหลาดในตำนานมีร่างกายแบบ ผสม โดยมีช่วงบนเป็นสตรีงามและช่วงล่างเป็นงู เอคิดน่าเป็นผู้ให้กำเนิดสัตว์ประหลาดหลายตัว
ฮาปิ—สัตว์ผสมชนิดหนึ่งระหว่างมนุษย์กับนกแร้ง
ไฮดร้า—สัตว์ประหลาดในตำนานมีร่างกายเป็นงู หลายหัว อาศัยอยู่ในน้ำ เมดูซ่า—สัตว์ประหลาด หัวเป็นสตรีมีผมเป็นงู
มิโนทัว—สัตว์ประหลาด หัวเป็นวัว
เปกาซัส—สัตว์ประหลาดรูปร่างเป็นม้ามีปีก
สฟิงค์—สัตว์ประหลาดมีหัวเป็นสตรีตัวเป็นสิงโต.



8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 08:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 08:26

+ สัตว์ประเภทกิเลน

- กิเลนจีน



ในตำนานจีน กิเลนมีหัวเป็นมังกร มีเขาเดียว (เขาแบบกวาง) มีร่างกายแบบกวาง แต่ผิวปกคลุมไปด้วยเกล็ด หางเหมือนหางวัว และมีกีบเหมือนม้า สัตว์วิเศษนี้ประกอบไปด้วบเบญจธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ และ โลหะ กล่าวกันว่า กิเลนมีชีวิตยืนยาวหลายพันปี

พจนานุกรมจีน อธิบายกิเลนต่างออกไป ว่า กิเลนมีหัวเหมือนสุนัข แต่มีกายเป็นกวาง หางเป็นวัว กีบเหมือนม้า มีขนแผงคอหลากสี ขนใต้ท้องมีสีเหลือง มีสีกาย ๕ สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ขาว และ ดำ ตัวผู้มีเขา ๑ เขา ส่วนตัวเมียไร้เขา กิเลนสามารถเดินบนผิวน้ำได้

มีเรื่องเล่าว่า สมัยราชวงศ์เมง ชาวจีนได้เห็นยีราฟเป็นครั้งแรก-ราวปี พ.ศ. ๑๙๕๗ จิตรกรจีนได้วาดภาพยีราฟไว้และเขียนกำกับชื่อภาพว่า กิเลน อาจเป็นเพราะยีราฟมีรูปร่างแปลก แถมยังมี เขาอ่อนเหมือนกวางบางชนิด




      
- กิเลนไทย


แม้ว่ากิเลนจะได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน วัดหลายแห่ง ในไทยก็มี กิเลนเช่นกัน แบบฉบับของกิเลนไทย แตกต่างจากแบบจีนบ้าง โดยปกติแล้ว กิเลนไทยมีเขา ๒ เขา และมีกีบคู่ ต่างจากแบบดั้งเดิม


      
- กิเลนปีก



กิเลนปีกดูแปลกตากว่ากิเลนอีก ๒ ชนิด โดยกิเลนปีก ไม่มีเขาแม้แต่เขาเดียว แต่มีปีกคล้ายนก ๑ คู่ อีกอย่างที่ผิดแผกไป ก็คือเท้าที่เป็นกรงเล็บ ไม่เหมือนเท้าแบบกีบเหมือนกิเลนอีก ๒ ชนิด
  

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 08:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 13:30

+ สัตว์ประเภทกวาง

- มารีศ



มารีศ เป็นหนึ่งในตัวละครยักษ์ในเรื่อง รามายนะ (รามเกียรติ์). มารีศเป็นบุตรของนางยักษ์ชื่อ กากนาสูร และเป็นญาติของทศกัณฑ์ (ตัวร้ายหลักของเรื่อง) ในเรื่อง ทศกัณฑ์ต้องการจับตัวนางสีดา จึงสั่งให้มารีศให้จำแลงกาย เป็นกวางทองไปล่อนาง แผนนี้เกือบสำเร็จลุล่วง แต่ท้ายที่สุด มารีศก็โดนพระรามแผลงศรใส่ ในรูปวาดมารีศจึงเป็นรูปสัตว์ประหลาด กึ่งยักษ์กึ่งกวาง




- พานรมฤค


พานรมฤคมีร่างท่อนบนเป็นลิงและมีกายท่อนล่างเป็นกวาง, this creature possesses the agility of a deer-like animal but able to fully utilize its functional hands for grabbing objects. Panorn Marueks also have exceptional sense of hearing as a trait from monkeys. Like monkeys, Panorn Marueks prefer fruits such as banana and coconuts to grasses. Written in the legend of Himmapan, Panorn Marueks generally have a greenish body color.

- อัปสรสีหะ

มักเขียนเป็นรูปมนุษย์ผู้หญิงครึ่งบนช่วงล่างเป็นกวาง เป็นจินตนาการของช่างอีกอย่างหนึ่ง เมื่องานพระเมรุสมเด็จพระพี่นางฯที่ผ่านมาก็มีการทำอัปสรสีหะประกอบพระเมรุด้วยแถมยังทำใส่นาฬิกหน้าฝรั่งเสียด้วยจนถูกเรียกว่าลูกครึ่ง




10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 08:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
+ สัตว์ประเภทสิงห์

- บัณฑุราชสีห์


บัณฑุราชสีห์ เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ บัณฑุราชสีห์มีผิวกายสีเหลืองและ เป็นสัตว์กินเนื้อ บัณฑุราชสีห์จัดได้ว่าเป็นสัตว์นักล่าขนาดใหญ่สัตว์ ที่ถูกล่า มีตั้งแต่สัตว์ประเภทกวาง ควาย ช้าง หรือแม้แต่มนุษย์ ในเอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับป่าหิมพานต์ระบุว่า มี ร่างกาย เหมือนสีใบไม้เหลืองและใหญ่เท่ากับวัวหนุ่ม




- กาฬสีหะ


กาฬสีหะ เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ยังเป็นราชสีห์ที่กินพืชเป็นอาหารเท่านั้น กาฬสีหะมีกายดำสนิท และใหญ่ราวโคหนุ่ม (คำว่า "กาฬ" แปลว่าดำ)

ถึงแม้กาฬสีหะจะกินเฉพาะพืช แต่ก็ใช่ว่าจะมีกำลังวังชา ด้อยไปกว่าราชสีห์ชนิดอื่น ราชสีห์ทุกชนิดมีเสียงคำราม อันทรงพลัง ในตำนานกล่าวว่าเพียงเสียงคำรามของราชสีห์ก็สามาารถทำให้ สัตว์อื่น เจ็บได้





- ไกรสรราชสีห์

ในตำนานพระเวสันดร มีตอนหนึ่งกล่าวถึงไกรสรราชสีห์ ในเรื่องบรรยายว่าเป็นสัตว์ทรงพลัง กายเป็นสิงห์ มีขนแผงคอ ริมฝีปาก ขนหาง และเล็บเป็น สีแดงดั่งผ้ารัตนกัมพล

ไกรสรราชสีห์เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ ในตำนานกล่าวว่าไกรสรราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังแรงกล้า เป็นนักล่าชั้นเยี่ยมและกินสัตว์ใหญ่น้่อยเป็นอาหาร



- ติณสีหะ



ติณสีหะมีกายสีแดง เป็นราชสีห์อีกชนิดที่กินแต่พืชเป็นอาหาร ลักษณะเด่นอีกอย่างของ ติณสีหะคือมีเท้าเป็นกีบแบบม้า

- เกสรสิงห์



เกสรสิงห์ หรือกาสรสิงห์เป็นสิงห์ืี่มีส่วนผสม ระหว่างราชสีห์ กับสัตว์ประเภทวัวควาย กาสรสิงห์มีผิวกายสีเทา ร่างเป็นแบบสิงห์ แต่มีเท้าเป็นกีบเหมือนเท้าควาย



- เหมราช



ตามชื่อของสัตว์ชนิดนี้ เหมราชเป็นสัตว์ผสมที่มีร่างเป็นสิงห์ส่วนหัวเป็นเหม เหมเป็นสัตว์ในวรรณคดีไทยชนิดหนึ่ง บ้างก็ว่ามีลักษณะเหมือนหงส์(ห่าน) แต่ในบางรูป ก็วาดเหมเหมือนสัตว์ตระกูลจระเข้




- คชสีห์

คชสีห์ เป็นสิงห์ผสมที่มีกายเป็นสิงห์ และมีช่วงหัวเป็นช้าง ตามตำรากล่าวว่าคชสีห์มีพลังเทียบเท่าช้างและสิงห์รวมกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่น่าเกรงขาม คชสีห์มีลักษณะคล้ายสัตว์หิมพานต ์อีกชนิดหนึ่งชื่อทักทอ




- ไกรสรจำแลง


ไกรสรจำแลงมีหัวแบบมังกร และมีร่างเป็นราชสีห์ (สิงโต) จิตรกรบางท่านเรียกไกรสรจำแลงว่า "ไกรสรมังกร" ซึ่งมีความหมาย ตรงตัวว่ามังกรสิงห์

- ไกรสรคาวี


สัตว์ชนิดนี้มีลักษณะผสมระหว่างสิงโต และวัว. ในรูปจิตรกรรมไทย มักวาดไกรสรคาวีเป็นสัตว์ที่มีช่วงหัวเป็นวัว และมีร่างเป็น สิงโต. จิตรกรบางท่านวาดไกรสรคาวีเป็นสิงห์ที่มีหัวเป็นวัว แต่มีหางเหมือนม้า




      

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้