แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 13:59
+ สัตว์ประเภทนก
- อสูรปักษา
Asoon Puksa is a bird based creature which has the upper body of a giant and the lower (from torso down) body of a bird. Some say its lower body is that of a rooster. Believed to be carnivorous in nature due to its upper body characteristics of giant race. The creature is able to fly at great great speed and prey on large animals such as deer, horses, and even humans.
- อสุรวายุพักตร์
อสุรวายุภักษ์ ครึ่งนกยักษ์ครึ่งนกอินทรีย์ ลำตัวท่อนบนเป็นยักษ์ ปากขบตาจระเข้ สวมมงกุฎน้ำเต้า มีกาบรับบัวแวง แต่ในตำรานี้เขียนเป็นมงกุฎยอดชัย ท่อนล่างเป็นนกอินทรีย์ พื้นกายสีน้ำเงินบางตำราว่าสีเขียว ในขบวนแห่เรือทางชลมารค มีเรื่อชื่อ อสุรวายุภักษ์ จัดเป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือกระบวนเขียนลายทอง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และมีการซ่อมแซมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ปรากฎอยู่ทุกครั้งที่มีการเห่เรือ
- ไก่
Chicken or rooster is one of the few creatures in the Himmapan world that generally doesn't get mixed with other creatures. There are a few kinds of cock in the mythical forest namely Gai Tang Kia, Gai Xe Chuan, and Gai Hox Ian. From the sound of the names, the roosters are probably have their roots from Chinese culture.
- นกการเวก
ปักษาสวรรค์ (Birds of paradise) หรือนกการเวก จัดอยู่ในวงศ์ Paradisaeidae มีจำนวนทั้งหมด 43 ชนิด ลำตัวค่อนข้าง อ้วนป้อมมีขนาดเท่านกเอี้ยงจนถึงอีกา ความยาวลำตัวรวมทั้งหาง 12.5- 100 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในป่าชื้นเขตร้อนในที่ราบต่ำจนถึงยอดเขา พบมี จำนวนชนิดมากที่สุดบนเกาะนิวกินีและมีอีกไม่กี่ชนิดในหมู่เกาะโมลุกกัส และบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย
นกการเวกมีทั้งชนิดที่กินผลไม้ ใบไม้และน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหารและชนิดที่กินแมลงและสัตว์เล็กๆ อื่นๆเป็นอาหาร พฤติกรรมการ ผสมพันธุ์ วางไข่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด พวกที่อยู่เป็นคู่จะช่วยกันทำรังและดูแลลูกในรัง ส่วนพวกที่นกตัวผู้มีขนสีสวยกว่านกตัวเมียมาก มักมีนกตัวเมียหลายตัว และนกตัวเมียเป็นผู้ดูแลลูกนกแต่เพียงตัวเดียว รังของนกการเวกก็แตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดเช่นเดียวกัน สร้างรังเป็นรูป ถ้วยด้วยใบไม้ ใบเฟิร์น กิ่งไม้ และเถาวัลย์บนง่ามไม้หรือในโพรงไม้ วางไข่ สีครีม สีเทา หรือสีชมพู และมีจุดประสีน้ำตาลแดง ครั้งละ 1-3 ฟอง ระยะฟักไข่นาน 17-21 วัน ลูกนกจะอยู่ในรังนาน 17-30 วัน นกการเวก ตัวผู้จะโตเต็มที่เมื่อมีอายุได้ 4-7 ปี
เรื่องที่เป็นที่รู้จักกันดีของนกการเวกคือความหลากหลายในการแสดงพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีของนกตัวผู้ เพื่อให้นกตัวเมียตกลงปลงใจจับคู่ อยู่ด้วย บางชนิดใช้การเกาะอยู่กับที่แล้วห้อยหัวลงพร้อมทั้งแพนขนปีกและ ขนหางที่ยาวกว่าปกติออก แล้วกระพือหรือสั่นไปมาพร้อมกับส่งเสียงร้อง ไปด้วย บางชนิดลงไปกางปีกและหางบนพื้นดิน
ในอดีตนกการเวกถูกล่าเพื่อเอาขนที่สวยงามไปใช้เป็นเครื่อง ประดับหมวกในทวีปยุโรป ปัจจุบันได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวด ยกเว้น การล่าด้วยอาวุธโบราณของชาวพื้นเมืองเพื่อเอาขนไปประดับร่างกายใน การทำพิธีกรรมต่างๆ เท่านั้น เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่ยังคงมีการลักลอบ ล่านกการเวกแล้วสตัฟฟ์ส่งออกขายอยู่เนืองๆ นอกจากนี้พื้นที่ป่าที่อาศัยก็ลด ปริมาณลงไปอีกด้วย เนื่องจากการขยายพื้นที่การเกษตรและพื้นที่เมือง
- ครุฑ
ครุฑ เป็นสัตว์หิมพานต์ ในเทพนิยายที่เราค่อนข้างคุ้นหูคุ้นตาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่เราพบเห็นกันอยู่เสมอตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้าธนาคาร ห้างร้านบางแห่ง บนธนบัตร บนเรือพระที่นั่ง ฯลฯ โดยเฉพาะในสถานที่หรือทรัพย์สินทางราชการ วรรณกรรมหลายเรื่องก็มีการกล่าวถึงครุฑ เช่น เรื่องอุณรุท แต่ที่คนไทยรู้จักกันดี ก็คือครุฑในเรื่องกากี อย่างไรก็ตาม แม้คนส่วนใหญ่จะได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับครุฑมาบ้างแล้ว แต่เชื่อว่าคงมีคนอีกไม่น้อยที่ยังไม่ค่อยทราบประวัติของครุฑ ดังนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำเรื่องของ “ครุฑ” จากส่วนหนึ่งในสารานุกรมของเสฐียรโกเศศ ปราชญ์เอกของไทยมาเล่าให้ฟัง ดังนี้
ครุฑ เป็นพญานกที่มีรูปครึ่งมนุษย์ ครึ่งนกอินทรี เป็นเทพพาหนะของพระวิษณุ เป็นโอรสของพระกัศยปมุนี และนางวินตา พระกัศยปมุนีเป็นฤษีที่มีอำนาจมากตนหนึ่ง นอกจากนางวินตาแล้ว ก็ยังมีนางกัทรู ซึ่งเป็นพี่น้องกับนางวินตาเป็นภริยาอีกคน โดยนางกัทรูได้ขอพรจากสามีให้มีลูกจำนวนมาก และต่อมาก็ได้ให้กำเนิดนาคหนึ่งพันตัว อาศัยอยู่ในแดนบาดาล ส่วนนางวินตาขอลูกเพียงสององค์และขอให้ลูกมีอำนาจวาสนา ต่อมานางได้คลอดลูกออกมาเป็นไข่สองฟอง คือ อรุณ และครุฑ ซึ่งต่อมาอรุณได้ไปเป็นสารถีของสุริยเทพ ส่วนครุฑเมื่อแรกเกิดว่ากันว่า มีร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจรดฟ้า ดวงตาเมื่อกระพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกทีใด ขุนเขาก็จะตกใจหนีหายไปพร้อมพระพาย รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ทิศ ครั้งหนึ่งนางกัทรูและนางวินตาได้พนันกันถึงสีของม้าที่เกิดคราวกวนเกษียรสมุทร โดยว่าใครแพ้ต้องเป็นทาสอีกฝ่ายห้าร้อยปี นางวินตาทายว่าม้าสีขาว แต่นางกัทรูทายว่าสีดำ ซึ่งความจริงม้าเป็นสีขาวดังที่นางวินตาทาย แต่นางกัทรูใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซมอยู่เต็มตัวม้า นางวินตาไม่ทราบในอุบายเลยยอมแพ้ ต้องเป็นทาสและถูกขังอยู่ในแดนบาดาลถึงห้าร้อยปี ทำให้ครุฑและนาคต่างก็ไม่ถูกกันนับแต่นั้น ครั้นต่อมาครุฑได้ทราบความจริงถึงอุบายของนางกัทรู แต่เพื่อช่วยแม่ให้เป็นอิสระ ครุฑจึงได้ทำความตกลงกับพวกพญานาคที่ต้องการเป็นอมตะว่าจะไปนำน้ำอมฤตที่อยู่กับพระจันทร์มาให้ ครั้นแล้วก็บินไปสวรรค์ คว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมา และเกิดต่อสู้กันขึ้น แต่ทวยเทพทั้งหมดแพ้ครุฑ ยกเว้นพระวิษณุเท่านั้นที่ไม่แพ้ แต่ก็แย่ไปเหมือนกัน ดังนั้นต่างจึงทำความตกลงหย่าศึก โดยพระวิษณุหรือพระนารายณ์สัญญาว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะ และให้อยู่ตำแหน่งสูงกว่าพระองค์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าขอเป็นพาหนะของพระวิษณุ และเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปักอยู่บนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า นี่เองจึงเป็นที่มาว่าเหตุใดครุฑจึงเป็นพาหนะของพระวิษณุ ส่วนหม้อน้ำอมฤตนั้น พระอินทร์ได้ตามมาขอคืน ครุฑก็บอกว่าตนต้องรักษาสัตย์ที่จะนำไปให้นาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้นจากการเป็นทาส และให้พระอินทร์ตามไปเอาคืนเอง เมื่อครุฑเอาน้ำอมฤตไปให้นาคก็วางไว้บนหญ้าคา (และว่าได้ทำน้ำอมฤตหยดบนหญ้าคา ๒-๓หยด ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคล ใช้ประพรมน้ำมนต์ ส่วนงูเมื่อเห็นน้ำอมฤตบนหญ้าคาก็ไปเลียกิน ด้วยความไม่ระวัง จึงถูกคมหญ้าคาบาดกลางเป็นทางยาว งูจึงมีลิ้นแตกเป็นสองแฉกสืบมาจนทุกวันนี้) ส่วนนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดีปล่อยนางวินตาแม่ครุฑให้เป็นอิสระ ขณะพากันไปสรงน้ำชำระกายเพื่อจะมากินน้ำอมฤตนั่นเอง พระอินทร์ก็นำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้นาคไม่ได้กิน และยิ่งเพิ่มความเป็นศัตรูกับครุฑยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี มีเรื่องเล่าต่อมาว่า จากการที่พระอินทร์ได้ให้พรครุฑ จับนาคเป็นอาหารได้นั้น ทำให้พญานาควาสุกรีเกรงว่านาคจะสูญพันธุ์ จึงตกลงจะส่งนาคไปให้ครุฑกินที่ชายหาด วันหนึ่งถึงคราวของนาคหนุ่มชื่อสังขจูทะ จะต้องไปเป็นเหยื่อ แม่ก็ตามมาด้วยความรักและอาลัย ขอรัองอย่างไรก็ไม่ยอมกลับ วิทยาธรตนหนึ่งชื่อว่า ชีมูตวาหน เป็นผู้มีใจบุญสุนทานตัดแล้วซึ่งโลกีย์วิสัย ได้มาพบ ก็สอบถามได้ความแล้ว จึงเสนอตัวเองปลอมเป็นนาคให้ครุฑกินแทน ปรากฏว่าขณะที่ครุฑกำลังกินนาคปลอม แทนที่จะแสดงความเจ็บปวด ชีมูตวาหนกลับแสดงความปลื้มใจจนครุฑผิดสังเกตว่าต้องผิดตัวแน่ แต่สอบถามก็ไม่ยอมรับ ขณะนั้นเองนาคสังขจูทะก็ได้มาแสดงตัว ว่าตนคือเหยื่อของครุฑ เมื่อทราบความจริง ครุฑก็เกิดความสำนึกบาป และซาบซึ้งในความเสียสละของชีมูตวาหน จึงวิ่งเข้าไปในกองไฟหมายจะฆ่าตัวตายเพื่อชำระบาป แต่ชีมูตวาหนได้ร้องห้าม และว่าหากจะหยุดทำบาปก็ให้เลิกกินนาคเป็นอาหารต่อไป ครุฑก็เชื่อและได้เหาะไปนำน้ำอมฤตมาประพรมกระดูกนาคที่ตนเคยจิกกินมาแต่กาลก่อน จนนาคทั้งหมดได้ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาใหม่
ครุฑมีชายาชื่ออุนนติหรือวินายกา โอรสชื่อ สัมปาติหรือสัมพาที และชฎายุ ตามวรรณคดีพุทธศาสนากล่าวว่าครุฑมีขนาดใหญ่มาก วัดจากปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้ ๑๕๐ โยชน์ เวลากระพือปีกสามารถทำให้เกิดพายุใหญ่ เกิดมืดมนและทำลายบ้านเมืองให้หมดสิ้นไปได้ ที่อยู่ของครุฑเรียกว่า สุบรรณพิภพเป็นวิมานอยู่บนต้นสิมพลีหรือต้นงิ้ว อยู่เชิงเขาพระสุเมรุ ครุฑมีชื่อเรียกหลายนาม เช่น กาศยปิ และเวนไตย อันเป็นชื่อสืบมาจากกัศยปและวินตา บิดามารดา สุบรรณ หมายถึง ผู้มีปีกอันงาม ครุตมาน เจ้าแห่งนก สิตามัน มีหน้าสีขาว รักตปักษ์ มีปีกแดง เศวตโรหิต มีสีขาวและแดง สุวรรณกาย มีกายสีทอง คคเนศวร เจ้าแห่งอากาศ ขเคศวร ผู้เป็นใหญ่แห่งนก นาคนาศนะ ศัตรูแห่งนาค สุเรนทรชิต ผู้ชนะพระอินทร์ เป็นต้น
นอกจากตำนานข้างต้นแล้ว ครุฑยังมีความเกี่ยวข้องกับคนไทยอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะการถือว่าครุฑเป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ของไทยก็มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยว่าไทยเราได้รับลัทธิเทวราชของอินเดียที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์ ดังนั้น ครุฑซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์มากและเป็นพาหนะของพระนารายณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ ดังที่ปรากฏอยู่ในดวงตราหรือพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ประจำแผ่นดิน ประจำราชวงศ์ และประจำรัชกาล เป็นต้น ซึ่งจากการที่เราใช้ “ตราครุฑ” เป็นพระราชลัญจกรสำหรับประทับหนังสือราชการแผ่นดินที่เป็นพระบรมราชโองการ และใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประทับหนังสือราชการแผ่นดินมาแต่โบราณกาล ต่อมาจึงได้มีการใช้ ตราครุฑ เป็นหัวกระดาษของหนังสือของราชการทั่วๆไปด้วย เพื่อให้ทราบว่างานนั้นเป็นราชการ ส่วนรูปครุฑที่เป็นธงแทนองค์พระมหากษัตริย์นั้นเรียกว่า “ธงมหาราช” เป็นรูปครุฑสีแดงอยู่บนพื้นธงสีเหลือง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ธงมหาราชนี้เมื่อเชิญขึ้นเหนือเสา ณ พระราชวังใดแสดงว่าพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น สำหรับครุฑที่ปรากฏอยู่ในขบวนเรือหลวงก็มีอยู่ ๓ ลำคือเรือครุฑเหินเห็จ เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีแดงยุดนาค เรือครุฑเตร็จไตรจักรเป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีชมพูยุดนาค และ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ ๙ เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน
นอกเหนือจากการที่ “ตราครุฑ” ปรากฏในส่วนราชการต่างๆแล้ว ในภาคเอกชนก็สามารถรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราครุฑหรือตราแผ่นดินในกิจการได้ด้วย โดยเริ่มมีมาแต่รัชกาลที่ ๕ ซึ่งเดิมเป็นตราอาร์ม โดยมีข้อความประกอบว่า “โดยได้รับพระบรมราชานุญาต” ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ได้เปลี่ยนตราแผ่นดินเป็นตราพระครุฑพ่าห์ การพระราชทานตรานี้ แต่เดิมถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่จะพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย ผู้ได้รับนอกจากจะเป็นช่างหลวง เช่น ช่างทอง ช่างถ่ายรูป เป็นต้นแล้ว ก็มักจะเป็นผู้ประกอบกิจการค้ากับราชสำนัก และเป็นประโยชน์ต่อราชการงานแผ่นดิน ปัจจุบันการขอพระราชทานตราตั้งนี้ต้องยื่นคำขอต่อสำนักพระราชวัง เพื่อพิจารณานำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งตราตั้งนี้ถือเป็นของพระราชทานเฉพาะบุคคล สิทธิรับพระราชทานและการใช้เครื่องหมายนี้จะสิ้นสุดเมื่อสำนักพระราชวังเรียกคืนเนื่องจากบุคคล ห้างร้าน บริษัทที่ได้รับพระราชทานฯตาย หรือเลิกประกอบกิจการหรือโอนกิจการให้ผู้อื่น หรือสำนักพระราชวังเห็นสมควรเพิกถอนสิทธิ
- หงส์
เป็นนกในป่าหิมพานต์ มีเสียงไพเราะ ผิดกับหงส์หรือ swan ของฝรั่งซึ่งเป็นสัตว์ปีกที่อยู่ในน้ำ ขนมีสีขาวหรือสีดำ และไม่มีเสียง หงส์ของไทยซึ่งได้คติความเชื่อมาจากเทพปกรณัมอินเดีย ว่าเป็นพาหนะของพระพรหม เป็นนกที่มีรูปงาม มีศักดิ์สูง มักถือตัว ไม่คบหาปะปนกับนกอื่น หงส์จึงมักนำมาใช้เปรียบเทียบชั้นของบุคคลที่มีชาติกำเนิดและมีศักดิ์สูง ซึ่งต้องรักษาเกียรติของตนไว้ไม่ทำให้มัวหมอง รูปหงส์นิยมทำเป็นประติมากรรมประดับพุทธศาสนสถาน เช่น ประดับหน้าบัน ประดับหัวเสา ทำแท้ทวย ทำเป็นราวเทียน หรือ ทำเป็นเรือ เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ส่วนจีนก็มีนกทิพย์ เรียกในสำเนียงแต้จิ๋วคล้ายกันว่า หง มีลักษณะแตกต่างจากหงส์ของอินเดีย ฝรั่งแปล หง ของจีนว่า phoenix หงเป็นนกที่มีลักษณะคล้ายพญาลอ ตามรูปที่นิยมวาดเป็นรูปครึ่งนกยูงครึ่งพญาลอ มีสีสลับกันเป็นห้าสี หงเป็นเครื่องหมายของพระราชินีของจีน ส่วน phoenix เป็นนกในนิยายของฝรั่ง อาศัยอยู่ในทะเลทรายอาหรับ มีอายุยืน ๕-๖ ศตวรรษ แล้วจะเผาตัวเองไหม้เป็นเถ้าถ่าน และเถ้านั้นจะกลับกลายเป็นนก phoenix หนุ่มตัวใหม่ซึ่งจะมีอายุยืนต่อไปอีก ๕-๖ ศตวรรษ
- หงส์จีน
A Hong Jean looks quite different from its Thai cousin. It doesn't look like a swan at all. In fact, it's more akin to peacock.
In Chinese, this creature is called "Ho-Ho". The legned describes this creature as a luck bringer. The belief of this creature spread throguhout the region all the way to Japan where Japanese call this bird "Ho" or "Ho-o". In some text, the "Ho" bird is also known by another name, "Feng" and is a dweller of heavern. This bird would come to Earth every 1,000 years.
The creature has multi-color feathers including red, yellow, blue, black, and white. Each color represent a different meaning. The over all meaning is virtue, beauty, witm honesty, and politeness.
This creature also represens longevity and luck. Furthermore, the chirping of this bird is described as music from heaven.
- คชปักษา
Kocha Puksa is a bird based creature with several parts from other animals. Kocha Puksa has white body color with the head of an elephant, with lower body of a swan or Hongsa, and the torso and arms like a Garuda.
- มยุระคนธรรพ์
- มยุระเวนไตย
Mayura Wane Tai is a mixed creature with traits from a peacock and a Garuda.
- มังกรสกุณี
Mungkorn Sagunee is a mixed creature with the head of a dragon and the body of a bird.
- นาคปักษี
- นาคปักษิณ
Nak Puksin is a mixed creature between a Naga and a Hongsa.Though the creature's name is similar to another Himmapan creature, Nak Puksee, the two are totally different. Nak Puksin has red color with the head of a Naga and the body of a Hongsa.
- นกหัสดี
เป็นชื่อนกใหญ่ชนิดหนึ่งในเทวนิยายว่า อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ รูปตัวส่วนใหญ่เป็นนก เว้นแต่จงอยปากเป็นงวงอย่าง งวงช้าง ชื่อนกหัสดีลิงค์ไม่ค่อยปรากฎในเทวนิยาย คนส่วนมากทราบเรื่องนกขนาดใหญ่ในนิยายก็มี เช่น หงส์ พญาครุฑ นกหัสดิน สำหรับนกหัสดินบ้างก็ว่า รูปร้างเป็นนกทั้งตัว ใหญ่โต ขนาดโฉบเฉี่ยวเอาช้างในป่าไปกินเป็นอาหารได้ ไม่เกี่ยวโดยตรงกับนกหัสดีลิงค์นกที่มีจงอยปากเป็นงวงช้างนี้(แต่ในรูปนี้มีงวงเป็นช้าง)ถ้าเป็นนกหัสดีลิงค์ ปรากฏในภาษาบาลีว่า หัตดีลิงค์สกุโณ (หัตดี คือ ช้าง ลิงค์ แปลว่า เพศ สกุโณ แปลว่า นก) ในภาษาสันสกฤต คือ หัสดิน ลิงคะ แปลอย่างเดียวกัน ไทยเลือกใช้คำว่า หัสดีลิงค์ แปลกที่คำนี้ไม่มีในปทานุกรม กรมตำรากระทรวงธรรมการ พิมพ์ พ.ศ.2470 ไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 และ พ.ศ.2525 ค้นคว้าต่อไปพบในอักขราภิธานศรันท์ ของหมอปรัดเล พิมพ์ พ.ศ.2416 หน้า 328 และพบในปทานุกรม บาลีไทย-อังกฤษ-สันสกฤต ของกรมพระจันทบุรีนฤนาถ ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2513 หน้า 867 หรือแม้ในบาลีสยามอภิธานของนาคะประทีป เรียบเรียงไว้ พ.ศ.2465 ก็มีปรากฏคำนี้อยู่ แสดงว่าคนไทยเรารู้จักคำนี้มานาน พจนานุกรมภาคอีสาน - ภาคกลาง ฉบับปฏิธาน สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส) ก็รักษาคำนี้ไว้ ชาวอีสานรุ่นเก่า รู้จักนกหัสดีลิงค์ โดยเหตุที่งานศพเจ้านายผู้ใหญ่ พระเถระผู้ใหญ่ หรืองานศพท่านผู้มีวาสนาบารมีสูงยิ่ง มักจัดงานศพโดยสร้างรูปนกหัสดีลิงค์ มีพิธีบวงสรวงก่อนสร้างรูปนก นกนั้นขนาดใหญ่ รองรับหีบศพได้ นิยมสร้างในวัดใกล้บ้านผู้ตาย จัดหาช่างและวัสดุเครื่องสังเวยให้พร้อม เพียงแต่เริ่มสร้าง ก็เป็นที่สนใจของคนทั่วไป นกนั้นสร้างแบบมีชีวิต เช่น หันศีรษะได้ งวงม้วนได้ ตากระพริบ หูกระดิก มีเสียงร้องได้ด้วย หลังนกมีที่ว่างพอสำหรับพระภิกษุนั่งอ่านคัมภีร์หน้าศพไปด้วย พิธีต้องจัดกระบวนญาตินุ่งขาวห่มขาวตามหลังศพ มีฆ้องดนตรีธงต่างๆ ถ้ามีเครื่องยศของผู้ตาย ก็ต้องเข้าขบวนด้วย
เนื่องจากศพแต่ละงานมีฐานะต่างกัน บางงานกำหนดเผาที่วัด บางงานกำหนดเผาที่ทุ่งกลางเมือง การนำศพเคลื่อนจากที่ตั้งกระบวนไปยังที่เมรุ เขานิยมใช้ตะเฆ่รองรับฐานของนกหัสดีลิงค์ มีเชือก 3 สายผูกที่ฐานล่างของนกให้ญาติและชาวบ้านชักลากไป ถ้าเป็นศพเจ้าเมืองหรือศพพระเถระผู้ใหญ่สมัยเก่า เขาเล่ากันว่า คนทั้งเมืองมาช่วยกันลากศพนั้นๆผช้าๆ งานใหญ่ๆ เช่นนี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ โรงทาน น้ำกินน้ำใช้ ต้องบริบูรณ์ตลอดงาน ครั้นศพถึงเมรุ ผู้เข้าพิธีในงานจัดกำลังไว้ยกนกหัสดีลิงค์ที่บรรจุหีบศพเข้าเทียบในเมรุ วัตถุประสงค์ในการทำนกหัสดีลิงค์ คือ นกใหญ่เช่นนั้น มีฤทธิ์กำลังมาก แสดงว่าผู้ตายมีบุญบารมีมาก จึงอยู่บนหลังนกนั้นได้ และเมื่อจะทำฌาปนกิจ ต้องมีพิธีฆ่านกหัสดีลิงค์เสียก่อนประชุมเพลิง ลำดับงานอย่างเช่น เมื่อศพเทียบเมรุแล้ว สวดอภิธรรม มีสมโภชน์ศพตามกำลังของเจ้าภาพและญาติ จนกระทั่วถึงกำหนดวันประชุมเพลิง เจ้าพิธีจัดเครืองบวงสรวงเชิญผู้ที่กำหนดตัวเป็นผู้ทำพิธีฆ่านกหัสดีลิงค์ ผู้จะฆ่านก ต้องฟ้อนรำตรงไปที่ตัวนก รำไปรอบตัวนก 3 รอบ แล้วใช้ศรยิงไปที่ยังตัวนก เขาสมมุติกันแล้วว่า จะเสียบลูกศรเข้าไปจุดใดของนก ทำเครื่องหมายไว้ พอลูกศรเสียบตัวนก คนที่เตรียมไว้ภายในตัวนก จะเทสีแดงออกมาจากรอยลูกศร คนภายในตัวนกจะส่งเสียงร้อง แล้วการเคลื่อนไหวของนกจะช้าลงจนหยุดนิ่ง คือ นกตายไปแล้ว ในท้องนกเขาเตรียมฟืนไว้แล้ว เจ้าพิธีเลื่อนหีบศพลงชิดกองฟืน ทอดผ้าบังสุกุล แล้วประชุมเพลิงตามอย่างงานทั่วไป
- นกอินทรี
นกอินทรีหรือ Eagle เป็นนกขนาดใหญ่ที่มีอยู่จริงอยู่ในโลกปัจจุบันแต่ในป่าหิมพานต์ แตกต่างจากนกอินทรีในความจริงโดยสิ้นเชิง ตามจินตนาการของช่าง นกอินทรีในป่าหิมพานต์ มีสีเขียวอ่อนมีปีกและหางสีหงดิน(น้ำตาลอ่อน)
|