ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วชุมพล ~

[คัดลอกลิงก์]
41#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-29 18:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ ปฏิปทาด้านข้อวัตรปฏิบัติ

ปฏิปทาด้านข้อวัตรปฏิบัติของท่านพระอาจารย์สิงห์ทองนั้น เป็นเช่นเดียวกันกับปฏิปทาของครูบาอาจารย์กรรมฐาน คือตัวท่านพระอาจารย์จะปฏิบัติตนให้ลูกศิษย์ดูเป็นตัวอย่างเสมอ

อาทิเช่น การรักษาศีลโดยเคร่งครัด และท่านพระอาจารย์จะเทศน์อบรมและควบคุมปฏิปทาด้านการรักษาศีลของลูกศิษย์ของท่านอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเมื่อลูกศิษย์ผิดพลาดด้านศีล

เพราะการที่ลูกศิษย์จะก้าวหน้าทางด้านสมาธิภาวนานั้น ต้องมีพื้นฐานทางด้านศีลเป็นที่รองรับ ส่วนการทำความพากเพียรเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนานั้น ท่านจะปฏิบัติให้ลูกศิษย์ได้เห็นอย่างสม่ำเสมอทุกวัน

คือตอนเช้า ท่านจะเดินจงกรมก่อนออกบิณฑบาต ฉันจังหันเสร็จท่านจะพักประมาณเที่ยง แล้วจะลงเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนาต่อ ครั้นถึงเวลาปัดกวาดลานวัด ท่านจะไม่ยอมขาดถ้าไม่มีธุระจำเป็นจริงๆ

ตอนพลบค่ำเวลา ๕-๖ โมงเย็น ท่านจะเดินจงกรมเป็นประจำทุกวัน โดยจะขึ้นจากทางเดินจงกรมประมาณ ๒ ทุ่มของทุกวัน บางครั้งท่านไปธุระทางไกลมา พระเณรไปจับเส้นถวาย พอจับเส้นเสร็จแล้วแทนที่ท่านจะพักผ่อน ท่านกลับลงเดินจงกรมอีก นอกจากนั้น ท่านจะเดินสำรวจดูการปฏิบัติ การทำความพากเพียรของพระเณร โดยบางครั้งท่านเดินไปมืดๆ ไม่ใช้ไฟฉาย และออกตรวจไม่เป็นเวลาแน่นอน ท่านพยายามขนาบพระเณรให้เร่งทำความเพียร พร้อมกับเทศน์อบรมสั่งสอนอยู่เสมอๆ

ท่านห้ามพระเณรไปคุยกับตามกุฏิ ฉันน้ำร้อนคุยกันเสียงดังหน่อยหรือใช้เวลานานเกินควร ใช้ของไม่ประหยัด เช่น สบู่ ใช้สบู่แล้วทิ้งไว้ตากแดดตากฝนไม่เก็บไว้ในกล่อง ท่านคอยตรวจตราดูแลข้อบกพร่องต่างๆ ของพระเณรและตักเตือนว่ากล่าวอยู่เสมอ ถ้าใครทำความเพียรดี ท่านมักจะชมเชยให้กำลังใจในด้านปฏิบัติแก่ผู้นั้น


ศาลาวัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร
42#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-29 18:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

รูปหล่อหลวงปู่บุญจันทร์ กมโล-หลวงปู่เพียร วิริโย
ประดิษฐาน ณ วิหารวัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร


๏ การใช้สอยปัจจัยสี่

การใช้สอยปัจจัยสี่นั้น ท่านพระอาจารย์ใช้อย่างประหยัดและมัธยัสถ์เสมอ เช่น ผ้าต่างๆ ของท่านจะปะชุนแล้วปะขุนอีก ผ้าอาบน้ำบางผืนเก่าจนขาดรุ่งริ่งท่านก็ไม่ยอมทิ้ง ยังใช้นุ่งอยู่ทั้งที่ผ้าอาบน้ำมีไม่อดในวัด

เวลากลางคืนท่านจะจุดตะเกียงโป๊ะเล็กๆ หรี่ลงเสียจนจะไม่มีแสง ท่านไม่ยอมใช้ของฟุ่มเฟือยเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ อีกประการหนึ่งท่านไม่ชอบงานก่อสร้างทุกชนิด เช่น สร้างกุฏิ วิหาร หรืออะไรต่ออะไรในวัด

งานต่างๆ ท่านไม่ยอมให้มี ท่านชอบให้พระเณรสร้างด้านจิตใจ คือเดินจงกรม นั่งภาวนาเพื่อมรรคผลนิพพานมากกว่าสร้างสิ่งของวัตถุภายนอก ท่านว่าการก่อสร้างนั้นเป็นเหตุให้เสียการภาวนา ท่านจึงไม่อยากให้มี

๏ ธรรมปฏิสันถาร

ในด้านธรรมปฏิสันถาร ท่านพระอาจารย์มีความเมตตาสูงต่อคณะศรัทธาญาติโยมที่มาให้ทาน รักษาศีล และปฏิบัติธรรมที่วัดป่าแก้วชุมพล คณะแล้วคณะเล่าท่านจะเมตตาอบรมธรรมะ พร้อมทั้งเล่าประสบการณ์ด้านการภาวนาของท่านให้ฟัง บางครั้งก็เล่าเรื่องผี ซึ่งมีทั้งผีจริงและผีสังขารหลอกลวง

ท่านจะดูแลเอาใจใส่อย่างรอบคอบที่เกี่ยวกับคณะศรัทธาญาติโยมที่มารักษาศีล และปฏิบัติธรรม ทั้งที่พักและเรื่องอาหารการกิน ทุกคณะที่มาบำเพ็ญภาวนาต่างกันสรรเสริญคุณธรรมข้อนี้ของท่านพระอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง ว่าได้รับความอบอุ่น สบายจิตสบายใจมากเมื่อมาปฏิบัติธรรมที่วัดป่าแก้วชุมพล เมื่อถึงกำหนดผู้มาปฏิบัติธรรมจะลาท่านกลับ ท่านจะเทศน์อบรมธรรมะส่งท้ายเกือบทุกครั้ง

คณะศรัทธาญาติโยมผู้ที่มาแล้ว มักจะกลับมาอีก พร้อมกับแนะนำผู้สนใจปฏิบัติธรรมมาเป็นลูกศิษย์ท่านอยู่เรื่อยๆ ตราบจนวาระสุดท้ายของท่านพระอาจารย์

เรื่องเล่าประวัติของท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร นี้ ข้าพเจ้า (ท่านพระอาจารย์อุ่น ฐิตธมฺโม) ไม่ได้นำมาเล่าให้ฟังทั้งหมด เล่าเฉพาะบางส่วนเท่านั้น จึงได้ให้ชื่อว่าประวัติย่อ

อุ่น (ท่านพระอาจารย์อุ่น ฐิตธมฺโม)


พระอาจารย์อุ่น (อุ่นหล้า) ฐิตธมฺโม ผู้เขียนประวัติพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22237
43#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-29 18:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รูปหล่อ อัฐิธาตุ และพระธาตุ
พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร



รูปหล่อพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
ณ เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุฯ วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร



พระธาตุพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
ณ บุษบกบนเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุฯ วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x

กราบนมัสการครับ

ขอบพระคุณข้อมูลครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้