ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6739
ตอบกลับ: 23
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก วัดชัยมงคล (วัดวังมุย) ~

[คัดลอกลิงก์]


ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก
วัดชัยมงคล (วัดวังมุย) ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน


จาก...หนังสือวังมุย แห่งหริภุญชัย
(จัดทำโดย สมาชิกฯ อินทราพงษ์)



ประวัติทั่วไป

นามเดิมชื่อ ชุ่ม ปลาวิน
ถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๒
เมื่อวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ เหนือ ปีกุน ณ บ้านวังมุย จ.ลำพูน
บิดาชื่อ นายมูล ปลาวิน มารดาชื่อ นางลุน ปลาวิน
มีพี่น้องสืบสายโลหิตเดียวกัน ๖ คน เป็นผู้หญิง ๓ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕

บุตรคนหัวปี ชื่อ พี่เอ้ย (หญิง) บุตรคนรองชื่อ พี่เป็ง (หญิง)
บุตรคนที่สามชื่อ พี่โต (ชาย) บุตรคนที่สี่ ชื่อพี่แก้ว (หญิง)
บุตรคนที่ห้า คือ ครูบาชุ่ม และบุตรคนสุดท้องชื่อ นายเปา (ชาย)


ตัวอย่างรูป สามีภรรยาชาวลัวะ


บิดาของท่านเป็นคนบ้านวังมุยโดยกำเนิด
ส่วนมารดาเป็นคนบ้านขุนคง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
(ระยะทางระหว่างบ้านวังมุยกับบ้านขุนคงอยู่ห่างกันประมาณ ๑๐  กิโลเมตร)
บุพการีทั้งสองท่าน เป็นคนเชื้อสาย ละ บางคนออกเสียง วะ หรือ ลัวะ
ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

เมื่อเด็กชายชุ่ม ปลาวิน เจริญวัยขึ้นก็พอจะทำงานช่วยเหลือบิดา มารดา
เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการงานได้บ้าง
เช่น ช่วยทำงานในทุ่งนา เท่าที่สามารถจะทำได้ทุกอย่าง
เลิกงานก็ทำสวนทำไร่ ถางหญ้าพรวนดิน และงานบ้าน
อย่างการปัดกวาดเช็ดถูบ้านเรือน เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณของบิดามารดา
เท่าที่กำลังความสามารถของตนจะทำได้

ครั้นเมื่อเติบโตได้พอสมควรได้ไปศึกษาเล่าเรียนการอ่าน
การเขียนหนังสือเบื้องต้น กับเจ้าอาวาสวัดศรีสองเมือง
(เมื่อรกร้างไป ชาวบ้านจึงเรียกวันว่า วัดห่าง)
พร้อมกับเรียนวิธีการอ่านบทสวดมนต์ และธรรมะเบื้องต้นจากท่านเจ้าอาวาส

การที่เด็กชายชุ่ม ปลาวิน เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย และมีความจำดีเลิศ
จึงเป็นที่รักใคร่ของท่านเจ้าอาวาส และบรรดาภิกษุสามเณรในวัดเป็นอันมาก
และการที่ได้คลุกคลีกับท่านเจ้าอาวาสบ่อยๆ นี่เอง
ทำให้ท่านค่อยๆ ซึมซับหลักพระธรรมคำสอนของ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีละเล็กทีละน้อย
จนสามารถอ่านหนังสือ และสวดมนต์ได้อย่างคล่องแคล่ว
เริ่มมีใจรักเคารพในสมณเพศมากขึ้นทุกวัน

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ภายหลังเมื่อสามเณรชุ่มได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว
ท่านเคยกล่าวให้พระเณร และเหล่าลูกศิษย์ฟังว่า


"การศึกษาทางพระพุทธศาสนาในสมัยก่อนนั้น ต้องทำกันอย่างจริงจัง
และใช้ความเพียรเป็นอย่างมาก เพราะไม่มีเทคโนโลยีอย่างสมัยใหม่นี้
การศึกษา บทสวดมนต์ และพระไตรปิฏกในสมัยก่อนนั้น
ต้องอาศัยสมอง​อย่างเดียวล้วนๆ ต้องจด ต้องจำ ต้องท่องบ่นอย่างเอาเป็นเอาตายเท่านั้น
จึงจะสามารถจำบทสวดมนต์ และสามารถแปลพระไตรปิฎกได้อย่างถ่องแท้
และจึงจะนับได้ว่าเป็นผู้รู้หนังสือดี"




ครับ

กราบนมัสการครับ

ชีปะขาวปรากฏในนิมิต นำมงกุฎใส่พานมาถวาย

ค่ำคืนหนึ่ง ในบรรยากาศอันวิเวกของป่าช้าวัดหนองบัวคำ
ลมพัดเอื่อยๆ เย็นสบาย หลังจากที่ครูบาเจ้าชุ่มได้ทำกิจวัตรส่วนตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ท่านก็ได้เข้าสู่กลด เพื่อนั่งสวดมนต์ไหว้พระทำจิตเข้าถึงพระไตรสรณคมน์
รำลึกถึงแก้วสามดวงอันประเสริฐเป็นสรณะ
และจากนั้นจึงได้เจริญสมาธิภาวนาตามแนวที่ได้ศึกษามาจากครูบาอาจารย์
ท่านรู้สึกจิตสงบดิ่งดีมาก ขณะที่ครูบาเจ้าชุ่มกำลังนั่งสมาธิ
ฉับพลันนั้น ก็ได้ปรากฏนิมิตเห็นชีปะขาว ๕ ตน นำมงกุฎใส่พานมาถวายท่าน
ในนิมิตท่านก็ได้ให้ศีลให้พร และแผ่เมตตาให้
หลังจากนั้น ชีปะขาวทั้ง ๕ ตน ก็ได้กราบลาจากไป
เมื่อครูบาเจ้าชุ่มถอนจิตออกจากสมาธิ รู้สึกจิตชุ่มชื่นดี สังเกตว่าเป็นเวลาตี ๔ พอดี

ท่านครุ่นคิดถึงนิมิตเมื่อคืน รู้สึกว่าจะเป็นนิมิตที่มีความหมายดี
ในคืนต่อมา ครูบาเจ้าชุ่มก็ได้เข้าสมาธิเจริญพระกรรมฐานอีกตามปกติ
ก็เห็นนิมิตเช่นเดียวกับคืนก่อน โดยมีชีปะขาวนำมงกุฎใส่พานมาถวายท่านอีก
แต่คราวนี้มาเพียง ๔ ตนเท่านั้น ครูบาเจ้าชุ่มท่านก็ได้ให้ศีลให้พรไปเช่นเดิม
และถอนจิตออกจากสมาธิ เป็นเวลาตี ๔ เช่นคืนก่อน

ในคืนที่ ๓ อันเป็นคืนวันเพ็ญ พระจันทร์ส่องแสงนวล
ทำให้ป่าช้าที่เคยทึบทึมมืดมิด แลดูสว่างขึ้น ครูบาเจ้าชุ่มได้เข้าสมาธิอีก
ปรากฏว่าในคืนนี้ ท่านเกิดนิมิตไม่เหมือน ๒ คืนแรก
โดยคืนนี้ได้นิมิตเห็นต้นมะม่วงใหญ่ มีลูกดกมากและมีกลิ่นหอมหวานยิ่งนัก
บนต้นมะม่วงมีฝูงลิง และชะนีมาเก็บกินกันมากมาย
ต่อมาปรากฏมีลิงแก่รูปร่างสูงใหญ่ตัวหนึ่ง ออกมาไล่ฝูงลิงและชะนีที่มาเก็บผลมะม่วงกิน
หลังจากถอนออกจากสมาธิ ก็เป็นเวลาตี ๔ เช่นคืนก่อนๆ

ตอนสาย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วยชาวบ้าน
ได้พากันมาหาครูบาเจ้าชุ่มยังสถานที่ที่ท่านปักกลดอยู่
ท่านจึงได้บอกเล่าให้ชาวบ้านทราบว่า
ท่านปรารถนาจะบูรณะซ่อมแซมองค์พระบรมธาตุดอยเกิ้งนี้
และถาวรวัตถุที่จำเป็นบางอย่างในอาณาบริเวณพระบรมธาตุ
จึงขอให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไปบอกกับทางอำเภอด้วย ต่อมาเมื่อได้ร่วมประชุมกัน
จึงทำให้เห็นอุปสรรคใหญ่ คือการบูรณะพระบรมธาตุเห็นจะทำได้ยาก
เนื่องจากขาดแคลนแหล่งน้ำ ในสระน้ำก็ไม่มีน้ำเลย
การที่จะทดน้ำจากแหล่งอื่นเข้ามาเก็บไว้ในสระน้ำ ก็ลำบากยากยิ่ง
โดยลำห้วยที่จะทดน้ำได้นั้นก็อยู่ไกลออกไปถึงขนาดต้องข้ามภูเขาถึง ๔ ลูก
แต่ครูบาเจ้าชุ่มท่านยังยืนยันที่จะบูรณะองค์พระบรมธาตุดอยเกิ้ง
ให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิมให้จงได้

ครูบาเจ้าชุ่มจึงได้ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้าน
ร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานขอให้การดำเนินงานนี้จงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ขออย่าให้มีอุปสรรคใดๆ มาขัดขวางได้เลย
ปรากฏว่าการทดน้ำจากลำห้วยที่ต้องผ่านภูเขาถึง ๔ ลูกนั้น
สามารถกระทำได้โดยไม่มีอุปสรรคใดๆ เลย สามารถทดน้ำมาเก็บไว้ในสระได้ราวปาฏิหาริย์
ครูบาเจ้าชุ่มได้นั่งหนัก (เป็นประธาน) อยู่บูรณะซ่อมแซมองค์พระบรมธาตุดอยเกิ้ง
จนสำเร็จเรียบร้อย ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาวเขา ชาวบ้านใกล้ไกล
การบูรณะพระบรมธาตุในครั้งนี้กินเวลา ๔๕ วันจึงแล้วเสร็จ

ส่วนการสร้างถนนขึ้นสู่พระบรมธาตุนั้น ได้รับการขัดขวางจากเจ้าคณะตำบล
โดยอ้างเหตุผลว่า แม้แต่ท่านครูบาศรีวิชัยก็ยังไม่สร้างถนนขึ้นพระบรมธาตุ
ฉะนั้น จึงยังไม่สมควรสร้าง เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น
ทางฝ่ายกรรมการอำเภอเห็นว่าครูบาเจ้าชุ่มเป็นผู้มีบุญบารมีมาโปรด
ก็ควรให้ท่านอยู่เป็นประธานสร้างต่อไป และได้ขอร้องท่าน
โดยบอกว่าเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายจะร่วมมือกับท่าน แต่ครูบาชุ่มได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
หากทำการสร้างถนนต่อไป ก็จะเกิดปัญหาขัดแย้งกับเจ้าคณะตำบลเป็นแน่
จึงได้ประกาศให้ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองทราบว่า
จะระงับการก่อสร้างถนนขึ้นสู่พระบรมธาตุไว้ก่อน จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควร            
พบฤๅษี ๔ ตนหน้าถ้ำ

เมื่อขึ้นถึงบริเวณหน้าถ้ำ ได้พบฤๅษี ๔ ตน
เมื่อพวกฤๅษีเห็นคณะของครูบาเจ้าชุ่มผ่านป่าขึ้นมาได้
จึงไต่ถามระคนแปลกใจว่า

"ท่านพระภิกษุผู้เจริญ ขณะเดินผ่านป่ามาพบช้างตกมันอยู่หรือไม่"

ครูบาเจ้าชุ่มตอบคำถามของท่านฤๅษีไปตามตรงว่า

"พบ...แต่ไม่เห็นเขาทำอะไรอาตมาและคณะเลย"

เหล่าฤๅษีต่างยกมืออนุโมทนาท่วมหัว พร้อมกับอุทานออกมาว่า

"ช้างหนุ่มตัวนี้ตกมัน ดุร้ายมาก
เมื่อเช้านี้มันยังไล่พวกกลุ่มของผมที่ออกไปหาผลหมากรากไม้อยู่เลย
เป็นเรื่องที่น่าแปลกมากที่มันไม่ทำร้ายท่าน
พวกผมที่อยู่บนถ้ำนี้ ไม่สามารถออกไปสู่ภายนอก
เพื่อขอข้าวสารจากชาวบ้านได้ เป็นเวลาเกือบอาทิตย์มาแล้ว
นับว่าเป็นบุญบารมีของท่านโดยแท้ ที่ช้างตกมันตัวนี้ไม่ทำอันตรายท่านเลย"


ครูบาเจ้าชุ่มได้แต่รับฟังด้วยอาการวางเฉย

ในบริเวณใกล้ถ้ำ มีสำนักสงฆ์เล็กๆ และมีพระภิกษุชราพำนักอยู่
ครูบาเจ้าชุ่มได้พาสามเณรทั้ง ๒ รูปพร้อมศรัทธาผู้ติดตาม ไปพบพระภิกษุชรานั้น
พร้อมเอ่ยปากฝากศิษย์ไว้สักอาทิตย์ จากนั้นครูบาเจ้าชุ่มได้บอกแก่ลูกศิษย์ว่า

"หลวงพ่อจะเข้าไปปฏิบัติธรรมในถ้ำสัก ๗ วัน
หากหลวงพ่อไม่กลับออกมา ให้พวกเธอกลับวัดกันได้เลย
ในย่ามของหลวงพ่อพอมีปัจจัยอยู่บ้าง ให้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับ
แล้วหากกลับไปก็ไม่ต้องบอกกล่าวสิ่งใดกับญาติโยมทั้งสิ้น"


ท่านบอกศิษย์เพียงเท่านั้น แล้วจัดแจงครองผ้าให้เป็นปริมณฑล
พร้อมเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน ไม้ขีดไฟ และตักน้ำใส่ในบาตรเดินทางเข้าสู่ถ้ำ

บรรยากาศภายในถ้ำค่อนข้างอับชื้น กลิ่นมูลค้างคาวโชยมาเป็นระยะ
ท่านเดินลึกเข้าไปเรื่อยๆ แสงสว่างภายในถ้ำมีไม่มากนัก สลัวๆ เท่านั้นเอง
เมื่อไปถึงบริเวณก้นถ้ำ
ท่านจึงพิจารณาสถานที่ที่เหมาะสมในการเจริญสมาธิเข้านิโรธสมาบัติ

เมื่อได้สถานที่เหมาะสมแล้ว ท่านจึงปัดกวาดบริเวณพื้นถ้ำให้สะอาด
จุดธูปเทียน พร้อมดอกไม้ นบนอบไหว้ ตั้งจิตอธิษฐาน
รำลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระอริยสงฆ์เจ้า
คุณบิดรมารดา ครูอาจารย์ เทพเทวดาอารักษ์ที่สถิตอยู่ในถ้ำแห่งนี้
อาตมาเข้ามาปฏิบัติธรรม ขอให้ช่วยดูแลให้ได้รับความสะดวกในการปฏิบัติธรรมพอสมควรด้วย

จากนั้นจึงเริ่มต้นนั่งสมาธิเข้านิโรธสมาบัติ เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืนติดต่อกัน
โดยมิได้ฉันอาหารใดๆ เลย นอกจากน้ำในบาตรที่นำเข้าไปเท่านั้น
เมื่อครบกำหนด ๗ วัน ครูบาเจ้าชุ่มได้กำหนดจิตถอนสมาธิออกจากนิโรธสมาบัติ
ท่านพบว่าจีวรและสังฆาฏิที่ครองอยู่เปียกชื้นไปหมด
จากนั้นท่านจึงได้ลุกเดินออกมาสู่บริเวณใกล้ๆ ปากถ้ำ
และได้พักนิ่งอยู่ เพื่อเตรียมจะเข้านิโรธสมาบัติต่อไปอีกเป็นวันที่ ๘
กราบหลวงปู่
สาธุ กราบนม้สการหลวงปู่เจ้าครูบาเจ้า
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้