ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 21021
ตอบกลับ: 23
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงพ่อเฮ็น สิริวังโส วัดดอนทอง ~

[คัดลอกลิงก์]

หลวงพ่อเฮ็น สิริวังโส วัดดอนทอง จ.สระบุรี

ประวัติ หลวงพ่อเฮ็น สิริวังโส วัดดอนทอง

"หลวงพ่อเฮ็น สิริวังโส" หรือ พระครูอรรถธรรมาทร วัดดอนทอง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี เป็นพระเถราจารย์มีเชื้อสายเขมร ที่มีวิทยาคมแก่กล้ารูปหนึ่ง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนและคณะศิษยานุศิษย์อย่างยิ่ง

อัตโนประวัติ หลวงพ่อเฮ็น เกิดในสกุล ศิริวงษ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับปีกุน ที่หมู่บ้านจางคาง เมืองปาดวง กำปงธม ซึ่งเป็นเมืองชายแดนขึ้นอยู่กับไทย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเสียดินแดนแถบนั้นไป โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายอยู่และนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งเป็นชาวกัมพูชาอยู่หมู่บ้านจางคาง

เมื่ออายุครบ 20 ปี ตรงกับ พ.ศ.2474 ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดพรรณราย เมืองกำพงธม มีหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณราย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์กุ่ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์หมั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า สิริวังโส

หลังอุปสมบท ได้ศึกษาพุทธาคมและพระธรรมวินัยและไสยาคมกับหลวงพ่อแก้ว เมื่อเรียนวิชาจนสำเร็จแล้ว ท่านได้ออกธุดงค์มายังเมืองไทย

ระหว่างการเดินธุดงค์ตามป่าเขา ได้พบพระธุดงค์ด้วยกันหลายรูป จึงแลกเปลี่ยนวิชากัน อาทิ หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง จ.นครราชสีมา, พระอาจารย์ต่วน วัดกล้วย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

หลวงพ่อเฮ็น เคยปรารภว่า ได้ออกท่องธุดงค์รอนแรมตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติวิปัสสนาระหว่างทางในป่าเขาให้ถ้ำบ้าง ขุนเขาบ้างเป็นที่พำนัก รักษาศีล และเจริญวิปัสสนา ได้พบกับความยากลำบากต่างๆ นานา พบกับภัยธรรมชาติก็อาศัยสรรพวิชาที่ได้ร่ำเรียนมากับอาจารย์สามารถปัดเป่าไปได้ ระหว่างทางพบกับความลี้ลับมหัศจรรย์มากมาย

"สมัยเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว ระหว่างชายแดนด้านประเทศเขมร มีแต่ป่าดงดิบทั้งนั้น ใครไม่แน่จริง เดินเข้าไปก็ไม่สามารถออกมาได้ กลายเป็นผีเฝ้าป่าไปเท่านั้น"

หลวงพ่อเฮ็น เล่าว่า ในป่าดงดิบแถบนั้น การเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ เป็นเรื่องมิใช่ง่าย นอกจากต้องมีพลังจิตกล้าแข็งแล้ว การผจญกับสัตว์ป่านานาชนิด บางครั้งต้องใช้วิชาไสยศาสตร์แก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าไปด้วย

ท่านใช้เวลาธุดงค์ยาวนานหลายปีวนเวียนอยู่ในป่าเขา จนการปฏิบัติวิปัสสนาก้าวหน้ากล้าแข็งดีแล้ว จึงธุดงค์เข้ามาในเขตประเทศไทย ได้พบพระคณาจารย์ต่างๆ ของไทยหลายรูปที่ธุดงควัตรอยู่ในป่า ได้ศึกษาสนทนาธรรมแลกเปลี่ยนกัน และธุดงค์เรื่อยเข้ามาผ่านเข้ามาทาง ทุ่งนาบ้าง บ้านคนบ้าง จนกระทั่งถึงเมืองสระบุรี ท่านเดินทางไปถึงบ้านดงตะงาว กิ่งอำเภอดอนพุด ได้พบวัดดอนทอง เห็นเป็นวัดที่มีความสงบวิเวกดี มีบ้านเรือนชาวบ้านอยู่ไม่มากนัก

จากนั้นจึงได้อยู่จำพรรษาที่ "วัดดอนทอง" เมื่อปี พ.ศ.2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพ ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา

พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูอรรถธรรมทร"

ในชีวิตหลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ท่านจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

กล่าวกันว่า ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ หลวงพ่อเฮ็นนั้น มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง โดยเฉพาะในทางเมตตามหานิยมเป็นเลิศ มีกิตติคุณกว้างไกล ท่านสร้างขึ้นตามตำรับโบราณ ด้วยพุทธาคมและพลังจิตอันกล้าแข็ง ด้วยได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อแก้ว แห่งวัดพรรณราย

หลวงพ่อเฮ็น เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านดอนทองอย่างยิ่ง แม้กระทั่งทหารนักรบที่อาสาไปรบในสงครามเวียดนาม ต่างมาขอวัตถุมงคลจากท่าน เพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตราย

หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

แม้วันนี้หลวงพ่อเฮ็นจะละสังขารไปนานแล้ว แต่คุณงามความดียังคงปรากฏอยู่สืบไป

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
สาธุครับ


"ตะกรุดภุชงค์เบญจฤทธิ์"

หมายถึงเชือกคาดเอวภุชงค์เบญจฤทธิ์ สร้างขึ้นโดยการลงตะกรุด 5 ดอกแล้วท่านเอาเชือกมาถักเป็นสายสำหรับคาดเอว ลักษณะการถักเป็นแบบกระดูกงู ระหว่างถักหลวงพ่อเฮ็นภาว นาคาถาเวทมนตร์กำกับตลอดเวลาจนกว่าหมดบท จะลงยันต์ในแผ่นผ้าตามสูตรของท่าน แล้วขมวดมัดถักลายล้อมหุ้มเอาไว้ด้วยอาคมอย่างแนบแน่น

กรรมวิธีการสร้างดังกล่าวนั้นไม่ง่าย แต่ ละรายต้องใช้เวลานานพอสมควร ตั้งแต่ลงตะกรุด 5 ดอก และระหว่างการถักจะต้องพร่ำภาวนาเวทมนตร์ไปจนถึงจังหวะที่กำหนด หลวงพ่อเฮ็นก็จะร้อยตะกรุดดอกที่ 1 เอาเข้าไว้ในสาย แล้วถักต่อไปจนถึงมนต์ที่กำหนด ก็จะร้อยเอาตะกรุดดอกที่ 2 เข้าไปจนกว่าบรรจุร้อยเรียงตะกรุดเข้าในสายคาดเอวดังกล่าว ครบทั้ง 5 ดอกจะถึงช่วงปลายสายต้องร่ายพระเวทขณะถักจนจบลงตัวพอดี

จากนั้นท่านก็นำตะกรุดภุชงค์เบญจฤทธิ์ไปปลุกเสกอีก จนได้กำหนดครบก็กินเวลาอีกหลายวัน ปฏิบัติการดังกล่าวของหลวงพ่อเฮ็น ทำด้วยความประณีตบรรจง และตั้งใจจริงจังทุกๆ ขั้นตอน ฉะนั้นสายคาดเอวท่านจึงมีความขลังอานุภาพแห่งพระเวทซึ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านบรรจุลงไป ท่านทำโดยมิได้หวังผลตอบแทนอะไร ตลอดเวลาท่านทำเพื่อแจกจ่ายให้ลูกศิษย์และผู้เคารพนับถือนำไปใช้ป้องกันอันตราย โดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ เพราะการทุ่มเททั้งเวลาและพลังจิตในการสร้างขึ้นเหนือค่า และราคากำหนดให้ จึงเป็นการมอบให้กันด้วยใจบริสุทธิ์หวังเพียงเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นตามสมณวิสัย ผู้ละแล้วซึ่งกิเลสในตนเองมีชีวิตเพื่อแผ่เมตตาบารมีให้แก่สาธุชนทั้งหลายทั้งปวงเป็นสำคัญเหนืออื่นใด

สายคาดเอวของหลวงพ่อเฮ็นสร้างขึ้นไม่มากนัก ไม่ได้มีเป็นโหลเป็นร้อยกลาด เกลื่อนเพื่อวางจำหน่ายขายในตู้ แต่มีมอบให้เฉพาะผู้ที่ไปขอให้หลวงพ่อท่านสร้างให้เท่านั้น ท่านก็จะสร้างขึ้นให้ตามความประ สงค์ของผู้ไปขอ เพราะท่านมีเมตตามากไม่เคยปฏิเสธศรัทธาตามญาติโยม

เมื่อในอดีตชาวบ้านดงตะงาวหลายคนต้องเดินทางไปรบในสมรภูมิเวียดนาม ก็มาขอของดีจากท่านป้องกันอันตราย ท่านก็สร้าง "ตะกรุดภุชงค์เบญจฤทธิ์" ให้ไปจำนวนมาก แต่ละคนก็คาดสายเอวของท่านไปสมรภูมิที่เวียดนาม ปรากฏว่าทุกคนที่มีสายคาดเอวของท่านล้วนแต่ปลอดภัยกลับมาสู่หมู่บ้านดงตะงาวทั้งสิ้น เล่าว่ามีประสบ การณ์มากมายในสนามรบ ชาวบ้านที่กลับมาบางคนเล่าถึงความดุเดือดเลือดพล่านในนาทีประจัญบาน แต่เขาก็สามารถหลุดรอดมาจากห่ากระสุนที่สาดซัดประดุจสายฝนกลับมาตุ ภูมิได้อย่างปลอดภัย พวกเขาเล่ากันอย่างตื่นเต้นเหมือนเหตุการณ์เพิ่งผ่านไปเมื่อวันวานนี้เพราะภาพเหตุการณ์ต่างๆ นั้นล้วนตรึงใจเขาอยู่เสมอและต่างก็ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า เพราะอานุภาพของตะกรุดภุชงค์เบญจฤทธิ์ ทีเดียวที่ช่วยให้เขาคืนกลับมาบ้านเกิดเมืองนอนได้

ก่อนหน้านั้นตะกรุดภุชงค์เบญจฤทธิ์รู้จักกันเฉพาะในหมู่ศิษย์และชาวบ้านเท่านั้น ปัจจุบันกลายเป็นเครื่องรางที่หายากไปแล้ว

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-7-8 15:26

ตะกรุดภุชงค์เญจฤทธิ์







"ภุชงค์" นั้นมีความหมายถึง งู หรือนาค
"เบญจ" นั้นคือ ห้า และ "ฤทธิ์"


ย่อมเป็นอื่นไม่ได้นอกจาก

ความหมายแห่ง อำนาจ หรือเดช พลันเข้าใจมากขึ้น เมื่อรู้ว่า

"ภุชงค์เบญจฤทธิ์"

คือ เชือกรวมกับตะกรุดคาดเอวของหลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง

ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด

ที่สร้างขึ้นตามตำรับตำราดั้งเดิมของหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณราย เมืองกำปงธม ประเทศกัมพูชา
ผู้เป็นอาจารย์ของหลวงพ่อเฮ็น

** เชือกคาดเอว "ภุชงค์เบญจฤทธิ์"
สร้างขึ้นโดยการจารแผ่นตะกรุดทองแดง เงิน หรือทองคำ
ด้วยอักขระยันต์อันมีพุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด อิทธิฤทธิ์ อานุภาพ จำนวน 4 แผ่น

แล้วม้วนเป็นตะกรุด 4 ดอก และเขียนยันต์ประทับหน้าหลัง ด้วยลายมือของหลวงพ่อเฮ็นเอง
ลงบนผ้าสำหรับพับยัดไว้ในส่วนหัวตะกรุด

** จากนั้นจึงนำเชือกมาถักตะกรุดสำหรับคาดเอว โดยเริ่มถักจากปลายสายก่อน
ลักษณะการถักเป็นลายแบบกระดูกงู ระหว่างถักหลวงพ่อเฮ็นจะภาวนาคาถากำกับตลอดเวลา

จนกว่าจะหมดบทเวทมนต์การถักจึงจะเสร็จสิ้น
โดยส่วนด้านหัวหลวงพ่อจะเขียนยันต์ประทับหน้าประทับหลังด้วยลายมือ
แล้วขมวดยัดถักลายล้อมหุ้มแผ่นผ้ายันต์เอาไว้

แต่ละเส้นของเชือกคาดเอว "ภุชงค์เบญจฤทธิ์" จึงใช้ระยะเวลาค่อนข้างมาก
นับแต่การลงจารบนแผ่นโลหะที่ทำตะกรุด ทั้ง 4 แผ่น

และผ้าที่ลงยันต์อักขระสำหรับส่วนหัวตะกรุด






ระหว่างการถักเชือกยังต้องภาวนาคาถากำกับอยู่ตลอดเวลา
เมื่อถึงช่วงกำหนดจึงร้อย

ตะกรุดดอกที่ 1 เข้าไปแล้วถักเชือกต่อจนถึงช่วงมนต์คาถาที่กำหนดจึงร้อย

ตะกรุดดอกที่ 2 เข้าไป และภาวนาจนถึงช่วงร้อย

ตะกรุดดอกที่ 3 และดอกที่ 4 ตามตำรับการสร้าง

เมื่อเสร็จสิ้นแล้วยังคงนำไปปลุกเสกอีกครั้ง










ชื่อภุชงค์เบญจฤทธิ์ก็คือ มี ฤทธิ์ 5 ประการ ตามตำราหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณราย เมืองกำปงธม

เดิม จะต้องมี 5 ตะกรุดทั้ง 5 ดอกจะมีสรรพคุณต่างกันไป เช่น แคล้วคลาด คงทน ไปจน ถึงมหาอุด กำบังกาย เพราะฉะนั้นรุ่นแรก ๆ

ที่สร้างสมัยสงครามโลกถึง สงครามเวียดนาม ก็จะมี 5 ดอก (ท่านธุดงค์มาจำพรรษาอยู่ตั้งแต่ช่วง ปี 247 กว่าๆ )

และก็เริ่มทำเครื่องรางประเภทเชือกคาดตั้งแต่รุ่น นั้นแล้ว แต่ยังไม่มีชื่อมากนัก เพราะที่วัดดอนทอง ก็มีหลวงพ่อแพ เป็นเจ้า อาวาสที่ชาวบ้านนับถือ

และถัดออกไปไม่ไกลกันนัก ก็มีวัดโคกโพธิ์ซึ่ง พระอุปัชฌาย์กราน อินทโชติ เป็นเจ้าอาวาสอยู่

ช่วงนั้นหลวงพ่อกราน ท่านก็มีชื่อในด้านการทำเชือกคาดเอวเช่นนี้เหมือนกัน แต่ท่านเรียนมาจากหลวง พ่อจั่น วัดบางมอญ

ซึ่งชาวบ้านจะขึ้นของท่านมากกว่า เพราะหลวงพ่อ เฮ็นตอนนั้นพรรษายังไม่มาก จนตอนหลังๆ

มีคนใช้เชือกคาดภุชงค์เบญจ ฤทธิ์แล้วปรากฏว่าแรงฤทธิ์จริง ๆ สมชื่อ

จนไปเป็นนักเลงอันธพาลเป็น โจรกันไปหลายคน เดือดร้อนเจ้าหน้าที่ทางการยากแก่การปราบปราม

คนทั่ว ไปใช้แล้วก็ร้อนมีเรื่องกันง่าย ๆ หลวงพ่อท่านเลยลดออกดอกหนึ่งเหลือ แค่ 4 ดอก

เพราะเห็นว่าตอนหลังไม่ได้มีศึกสงครามต้องไปรบพุ่งกัน เหมือนก่อน

จะได้เย็นขึ้นโดยท่านจะตัดตะกรุดดอกสำคัญออกไป 1 เพื่อ ผ่อนฤทธิ์ลง แต่ที่เห็นรุ่นหลังๆที่เป็น 5 ดอกก็มีเพราะบางคนขอท่าน ท่านก็ อนุโลมให้

เดิมท่านจะถักเองทุกเส้นขมวดปมบริกรรมคาถา ตะกรุดก็จะจาร เอง จนรุ่นท้ายๆก่อนมรณภาพได้ออกมามากเพราะได้ศิษย์ช่วยทำด้วย

เคยได้ยินเรื่องสีผึ้งงอกใช่ของท่านมั๊ยครับกัปตัน
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้