ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระองค์ที่ ๘ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

[คัดลอกลิงก์]
31#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-7 11:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2014-6-7 11:46


พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
ทรงประทับหน้าใบเสมาพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙



สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงฉายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ



• การศึกษาปริยัติธรรมในวัดบวรนิเวศวิหาร


วัดบวรนิเวศวิหารได้ส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลีมาตั้งแต่เริ่มมีวัดนี้
โดยเฉพาะในยุคที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองวัด
กล่าวกันว่าทรงเน้นให้ศึกษาอย่างเข้มงวด
จนกระทั่งว่าศิษยานุศิษย์ของพระองค์สามารถสนทนาภาษาบาลีได้เพราะ
ทรงจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาบาลีแก่พระภิกษุสามเณรภายในวัด
อย่างแตกฉานเพื่อให้สามารถอ่านคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฯลฯ
ได้จากต้นฉบับใบลาน หลังจากนั้น เป็นต้นมา

วัดบวรนิเวศวิหารก็ได้เป็นสดมภ์หลักในการตรวจชำระคัมภีร์ใบลานภาษาบาลี
แล้วจัดพิมพ์ออกมาในรูป พระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ฯลฯ  
ออกมาเผยแผ่ไปทั่วประเทศ ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานของคณะศิษยานุศิษย์
ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทั้งนั้น


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)


มีการกล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ  
ระหว่างทรงผนวช ในหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร เล่ม ๑ หน้า ๒๒ ว่า

ทรงทำนุบำรุงการเรียนพระปริยัติธรรมให้รุ่งเรือง
ทรงบอกพระปริยัติธรรมเอง มีภิกษุสามเณรเป็นศิษย์เข้าแปลในสนามหลวง
ได้เป็นเปรียญประโยคสูงถึงประโยค ๙ ก็มีหลายรูป พระสำนักอื่นมาขอเรียนบ้างก็มี
ทรงเป็นหลักอยู่ในการไล่หนังสือพระองค์หนึ่ง

ครั้งนั้น พระเปรียญพูดมคธได้คล่อง
มีพระลังกาเข้ามาจึงต้องทรงมีหน้าที่เป็นผู้รับรองในราชการ
มีคณะไว้สำหรับพระลังกาที่วัด


วัดบวรนิเวศวิหารเคยมีชื่อเสียงโด่งดังด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมมาก
สามเณรสา ปุสฺสเทโว หรือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
ในกาลต่อมา
ผู้สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ถึง ๒ ครั้ง ก็เคยอยู่วัดแห่งนี้
ครั้งแรกเมื่อสอบได้เปรียญ ๙ ประโยค ยังเป็นสามเณรสา ที่วัดราชาธิวาสวิหาร
ครั้งที่ ๒ มาสอบได้เปรียญ ๙ ประโยคอีกครั้ง ที่วัดบวรนิเวศวิหารนี้เอง


32#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-7 11:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ตึกมนุษยนาคมานพวิทยาทาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร


สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ผู้ทรงเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาและภาษาบาลี
ก็เคยทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร
ระหว่างทรงครองวัดในฐานะเจ้าอาวาส
พระองค์ก็ทรงจัดพิมพ์ตำรับตำราภาษาบาลีมากมาย
ระยะหลังมีประชาชนจำนวนมากมีศรัทธาเลื่อมใสเข้ามาบวช
อยู่ในวัดบวรนิเวศวิหารระยะสั้นตลอดทั้งปี

เนื่องจากวัดบวรนิเวศวิหารรับภาระในการจัดอบรมหลักสูตรนวกะระยะสั้น
เสียเป็นส่วนมาก  ดังนั้นเสนาสนะจึงค่อนข้างจำกัด

ในที่สุด วัดบวรนิเวศวิหารจึงหันมาเน้นให้การศึกษาอบรมแก่ผู้บวชระยะสั้น
ทั้งในพรรษาและนอกพรรษา ปริมาณผู้สอบเปรียญบาลีสูงๆ ได้จึงลดลงมาก


พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ประดิษฐาน ณ ตึกมนุษยนาคมานพวิทยาทาน วัดบวรนิเวศวิหาร



แต่ในยุคสมัยที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ  
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบันทรงครองวัด พระองค์ได้ทรงแต่งตั้ง
พระพรหมมุนี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ. ๙)
เป็นผู้อำนวยการสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อดูแลการศึกษาพระปริยัติธรรม

และก็มีพระภิกษุสามเณรสอบเปรียญธรรมได้ทุกๆ ปีไม่เคยขาด
โดยมีวัดธรรมยุตอีกประมาณ ๙ วัดขึ้นกับสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
อาทิ วัดดวงแข, วัดเขมาภิรตาราม, วัดบวรมงคล, วัดตรีทศเทพ,
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม, วัดบุรณศิริมาตยาราม
ฯลฯ

นอกจากนั้น ในยุคสมัยของพระองค์ยังมีผู้สอบเปรียญ ๙ ประโยคได้
ขณะยังเป็นสามเณรและได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็นนาคหลวง
อุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง จำนวน ๒ รูป คือ

สามเณรปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ และสามเณรฉัตรชัย มูลสาร
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์
และจัดงานมุทิตาเนื่องในวันประสูติของพระองค์แก่สามเณรทั้งสองรูป



พระแท่นที่บรรทมสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร  

33#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-7 11:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ทัศนียภาพวัดบวรนิเวศวิหาร


• วัดบวรนิเวศวิหารกับงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา

วัดบวรนิเวศวิหารได้เป็นที่มั่นที่สำคัญ
ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งปริยัติและปฏิบัติ

ในฝ่ายปฏิบัตินั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสร้างวัดอีกวัดหนึ่ง
คู่กับวัดบวรนิเวศวิหาร คือ “วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร”
ไว้เป็นสถานที่สำหรับฝึกวิปัสสนาจารย์โดยเฉพาะ
ในกรณีที่ศิษยานุศิษย์ของพระองค์ประสงค์จะฝึก

ต่อมา วัดบรมนิวาสแห่งนี้ยังกลายเป็นวัดที่พระวิปัสสนาจารย์รุ่นแรกๆ
อาทิ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นต้น
ได้มาพำนักอาศัยและศึกษาเพิ่มเติม
จนกลายเป็นพระวิปัสสนาจารย์สายวัดป่าที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ



ด้วยเหตุนี้พระป่าสายธรรมยุตจึงยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ว่า
เป็นผู้วางรากฐานการปฏิบัติสายพระป่าไว้อย่างมั่นคง
เพราะทรงเน้นศิษยานุศิษย์ของพระองค์ที่อยู่วัดบวรนิเวศวิหาร
และอยู่ที่วัดบรมนิวาสให้มีศีลสิกขาอย่างเคร่งครัดก่อนจะลงมือปฏิบัติ
หมายความว่ามีความรู้ปริยัติที่ถูกต้องก่อนลงมือปฏิบัตินั่นเอง

ส่วนฝ่ายปริยัตินั้น วัดบวรนิเวศวิหารก็มีการอบรมทั้งพระนวกะ
และผู้ประสงค์จะศึกษาภาษาบาลีระยะยาวอยู่ทุกๆ ปี

ปัจจุบันนี้ วัดบวรนิเวศวิหารยังขยายการเผยแผ่ไปยังต่างประเทศ
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
ทรงกระตุ้นให้เกิดการแปลคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
เป็นภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นมากมาย ทำให้หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษา
มีการเผยแผ่ไปยังต่างประเทศด้วย  
34#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-7 11:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ตำราที่พระองค์ทรงบุกเบิกให้แปลเป็นภาษาอังกฤษนั้นมีจำหน่ายที่
มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

นอกจากนั้น วัดบวรนิเวศวิหารยังเป็นที่ตั้งสำนักงานของ
มูลนิธิแผ่นดินธรรม ซึ่งผลิตรายการธรรมะออกเผยแผ่พุทธธรรม
ทุกวันอาทิตย์ เวลา ๐๖.๓๐-๗.๐๐ น.  และทุกวันพฤหัสบดี
เวลา ๑๔.๐๐-๑๔.๓๐ น.  ทางโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง ๕

อีกทั้งยังเป็นสำนักงานที่ตั้งของ
ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมและพิทักษ์พระพุทธศาสนาอีกด้วย


น้ำพุด้านข้างพระตำหนักเพ็ชร

    

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *


หมายเหตุ : โปรดติดตามอ่าน

๑. ประวัติและความสำคัญของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=21082

๒. ประวัติมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=20842

๓. วัดประจำรัชกาลที่ ๖ : วัดบวรนิเวศวิหาร

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19342

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *


รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
หนังสือชุดพระเกียรติคุณ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ :
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์)
วัดบวรนิเวศวิหาร, สุเชาวน์ พลอยชุม เรียบเรียง, มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
http://www.dharma-gateway.com/
http://mahamakuta.inet.co.th/
http://www.mbu.ac.th/
http://www.watbowon.org/
http://www.watbowon.com/


กระทู้ในบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13428                                                                                       
.....................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=26031

สาธุ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้