ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
พระองค์ที่ ๘ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
1
2
3
4
/ 4 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: kit007
พระองค์ที่ ๘ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
11
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 06:53
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทรงเป็นนักโบราณคดี
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวชอยู่
ได้เสด็จธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่างๆ เป็นเหตุให้ทรงพบ
ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ และจารึกอื่นๆ ในเวลาต่อมาอีกมาก
และพระองค์ทรงพยายามศึกษา จนสามารถทรงอ่านข้อความในจารึกดังกล่าวนั้นได้
ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติไทยอย่างมหาศาล
สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งทรงเป็นศิษย์ใกล้ชิด
ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์หนึ่ง ก็ได้ทรงดำเนินรอยตาม
เป็นเหตุให้ทรงเชี่ยวชาญในทางโบราณคดีพระองค์หนึ่งของไทย
ในยุคนั้น ทรงเป็นนักอ่านศิลาจารึกรุ่นแรกของไทย
ได้ศึกษาและรวบรวมจารึกต่างๆ ในประเทศไทยไว้มาก
และได้ทรงอ่านจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ (อักษรขอม) เป็นพระองค์แรก
ทรงเป็นนักประวัติศาสตร์
นอกจากจะทรงสนพระทัยในการศึกษาทางโบราณคดีแล้ว
สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ยังทรงสนพระทัยในเรื่องประวัติศาสตร์ด้วย
ดังจะเห็นได้จากผลงานทางด้านประวัติศาสตร์ที่ทรงพระนิพนธ์ไว้หลายเรื่อง
เช่น ลิลิตพงศาวดารเหนือ เรื่องพระปฐมเจดีย์
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นต้น
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
12
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 06:55
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทรงเป็นนักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์
สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นที่เลื่องลือว่า
เชี่ยวชาญในทางโหราศาสตร์เป็นอันมากแต่ไม่ทรงนิยมการพยากรณ์
ในด้านดาราศาสตร์ก็ทรงเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง
ได้ทรงพระนิพนธ์
“ตำราปักขคณนา”
(คือตำราการคำนวณปฏิทินทางจันทรคติ) ไว้อย่างพิสดาร
พระนิพนธ์อันเป็นผลงานของพระองค์ในด้านนี้ไม่ค่อยได้ตีพิมพ์ออกเผยแพร่
คนทั่วไปจึงไม่ค่อยรู้จักพระอัจฉริยภาพของพระองค์ในเรื่องดังกล่าวเหล่านี้มากนัก
ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์
สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงบันทึกจำนวนฝนตกเป็นรายวัน
ติดต่อกันเป็นเวลาถึง ๔๕ ปี เริ่มแต่ปี พ.ศ. ๒๓๘๙ ในรัชกาลที่ ๓
จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๓ ในรัชกาลที่ ๕ เพื่อเป็นการเก็บสถิติน้ำฝนในประเทศไทย
นับว่าทรงมีความวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง
ทรงเรียกบันทึกของพระองค์ว่า
“จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน”
และในจดหมายเหตุนี้ยังได้ทรงบันทึกเหตุการณ์บ้านเมืองที่สำคัญๆ ไว้ด้วย
นับเป็นจดหมายเหตุทางประวัติที่มีค่ามากเรื่องหนึ่ง
ทรงเป็นกวี
สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ทรงพระนิพนธ์เรื่องราวต่างๆ ไว้มาก
ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาบาลี ในส่วนที่เป็นภาษาไทยนั้น
ทรงพระนิพนธ์เป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ไว้ก็จำนวนมาก
เช่น โคลงพระราชประวัติรัชกาลที่ ๔
กาพย์เสด็จนครศรีธรรมราช ลิลิตพงศาวดารเหนือ เป็นต้น
จึงกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นกวีนักอักษรศาสตร์
ที่สำคัญพระองค์หนึ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
13
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 06:55
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทรงให้กำเนิดพระกริ่งในประเทศไทย
เมื่อกล่าวถึงเรื่องพระกริ่ง คนส่วนมากก็คงจะเคยได้ยินเรื่อง
พระกริ่งปวเรศ
ซึ่งนิยมนับถือกันว่าเป็นยอดแห่งพระกริ่งในสยามพระกริ่งปวเรศเป็นพุทธศิลป์
ที่สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ได้ทรงพระดำริสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕
นับเป็นการให้กำเนิดพระกริ่งขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
และได้เป็นแบบอย่างให้มีการสร้างพระกริ่ง กันขึ้นในเวลาต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
14
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 06:57
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระอวสานกาล
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ทรงเป็นที่เคารพนับถือของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ ตลอดถึงพระบรมวงศานุวงศ์เป็นอันมาก
ทรงเป็นที่ปรึกษาในกิจการบ้านเมืองที่สำคัญๆ
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มาตลอดพระชนมชีพ
ดังจะเห็นได้จากความในพระราชหัตถเลขา
ที่กราบทูลสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น บางตอนว่า
“ทุกวันนี้หม่อมฉันเหมือนตัวคนเดียว
ได้อาศัยอยู่แค่สมเด็จกรมพระกับสมเด็จเป็นที่พึ่งที่ปรึกษา
เป็นพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ ขอให้ทรงพิเคราะห์การให้ละเอียดด้วย”
ในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพ
สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ทรงประชวรต้อกระจก ในที่สุดพระเนตรมืด ครั้ง พ.ศ. ๒๔๓๕
ทรงประชวรพระโรคกลัดพระบังคนหนัก จัดเข้าในพระโรคชรา
สิ้นพระชนม์เมื่อเช้าตรู่ของวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕
ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ สิริรวมพระชนมายุได้ ๘๓ พรรษา
ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๔๑ ปี
ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช อยู่เพียง ๑๑ เดือน ๑ วัน
ก็สิ้นพระชนม์ ได้พระราชทานพระโกศกุดั่งใหญ่ทรงพระศพ
พระศพ
สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ประดิษฐานอยู่ ณ พระตำหนักเดิม (คือที่เสด็จประทับ) วัดบวรนิเวศวิหาร
เป็นเวลาถึง ๘ ปี จึงได้พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง
เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๓
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
15
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 07:01
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทรงสถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนาม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ขณะเมื่อทรงดำรงพระสมณฐานันดรเป็นสมเด็จพระมหาสังฆปริณายก
ที่สมเด็จพระสังฆราชนั้น ยังไม่มีคำนำพระนามที่บ่งบอกถึงพระเกียรติยศ
ในทางสมณศักดิ์ คือเรียกพระนามไปตามพระอิศริยยศแห่งบรมราชวงศ์ว่า
“พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์”
มาในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น
“สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์”
ในคราวเดียวกันกับที่ทรงสถาปนา
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ จึงได้เรียกกันว่า
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
แต่นั้นเป็นต้นมา
บริเวณพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
ประวัติและความสำคัญของวัดบวรนิเวศวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
หรือ
วัดบวรนิเวศวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต
ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร เขตพระนคร กรุงเทพฯ
แต่เดิมวัดแห่งนี้ ชื่อว่า “วัดใหม่” ตั้งอยู่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส
โดย
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
วังหน้าในรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงสร้างขึ้นใหม่ด้วยศิลปะไทยผสมจีน
โดยทรงผูกพัทธสีมาเป็นครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๗๒
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยุบวัดรังษีสุทธาวาสมารวมกับวัดบวรนิเวศวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหารได้รับการทะนุบำรุงและสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้น
จนเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง โดยเฉพาะในสมัยปลายรัชกาลที่ ๓
ครั้นเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสของวัดว่างเว้นลง
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงอาราธนา
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฏ สมมุติเทวาวงศ์
(ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔)
ที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส)
ให้เสด็จมาครองและทรงเป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕
แล้วจึงพระราชทานนามวัดแห่งนี้ใหม่ว่า
“วัดบวรนิเวศวิหาร”
ซึ่งอาจเป็นการแสดงนัยว่าพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯ นั้น
ทรงเทียบได้ว่าอยู่ในพระสถานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ที่มีสิทธิ์ที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป
ทำให้วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ และเสริมสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้น
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
16
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 07:03
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ประดับหินอ่อนดูตระการตา
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงเป็นพระราชาคณะ ในระหว่างที่เสด็จประทับที่วัดแห่งนี้อยู่นั้น
ได้ทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายขึ้น โดยทรงปรับปรุงและ
วางหลักเกณฑ์วัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
มีพระสงฆ์ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์เป็นจำนวนมาก
วัดบวรนิเวศวิหารจึงเป็นวัดแห่งแรกในประเทศไทย
ที่มีคณะสงฆ์เป็นธรรมยุติกนิกาย
อีกทั้งได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เพิ่มเติมขึ้นหลายอย่าง
พร้อมทั้งได้รับพระราชทานพระตำหนักจากรัชกาลที่ ๓ ด้วย
ในสมัยต่อมาวัดแห่งนี้เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์
เมื่อทรงผนวชหลายพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ
ในปัจจุบันนี้ ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุหลายสิ่งหลายอย่าง
ยังอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และศึกษาได้เป็นจำนวนไม่น้อย
วัดบวรนิเวศวิหารนี้มีศิลปกรรมและถาวรวัตถุที่มีค่าควรแก่การศึกษาไม่น้อย
แบ่งออกเป็นศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสและศิลปกรรมในเขตสังฆวาส
เขตทั้งสองนี้ถูกแบ่งโดยกำแพงและคูน้ำ แยกจากกันอย่างชัดเจน
มีสะพานเชื่อมถึงกัน ทำให้เดินข้ามไปมาได้อย่างสะดวก
ศิลปกรรมล้ำค่าที่สำคัญภายในวัดแห่งนี้ที่น่าสนใจ มีดังนี้
สวนด้านหน้าพระอุโบสถ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
17
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 11:18
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระสุวรรณเขต (องค์หลัง)-พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า)
สององค์พระประธานต่างความงามต่างสมัยในพระอุโบสถ
• ศิลปกรรมล้ำค่าในเขตพุทธาวาส
ศิลปกรรมล้ำค่าในเขตพุทธาวาสที่สำคัญเริ่มจาก
พระอุโบสถ
ซึ่งได้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ครั้งสร้างวัดในสมัยรัชกาลที่ ๓
แต่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซมต่อมาอีกหลายครั้ง
รูปแบบของพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓
มีมุขหน้ายื่นออกมาเป็นพระอุโบสถ และมีปีกยื่นออกซ้ายขวาเป็นวิหารมุข
หน้าที่เป็นพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยมมีพาไลรอบซุ้มประตูหน้าต่าง
และหน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้น พระอุโบสถหลังนี้ได้รับการบูรณะ
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยโปรดเกล้าฯ ให้มุงกระเบื้องเคลือบลูกฟูก
ประดับลายหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบสี และโปรดเกล้าฯ ให้
ขรัวอินโข่ง
เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ
ขรัวอินโข่งเป็นพระสงฆ์ผู้มีฝีมือในการวาดภาพและเป็นคนไทยคนแรก
ที่ใช้วิธีการวาดภาพแบบตะวันตกคือมีการแสดงระยะใกล้ไกล
ส่วนภายนอกได้รับการบูรณะด้วยการบุผนังด้วยหินอ่อนทั้งหมด
เสาด้านหน้าของพระอุโบสถเป็นเสาเหลื่ยม มีบัวหัวเสาเป็นลายฝรั่ง
ซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างปิดทองประดับด้วยกระจก
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
18
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 11:18
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ใบเสมาที่ตั้งไว้ติดอยู่กับผนังพระอุโบสถ
ด้านหน้าของพระอุโบสถ มี
“ใบเสมา”
รุ่นเก่าสมัยอู่ทอง
ทำด้วยหินทรายแดงนำมาจากวัดวังเก่า จังหวัดเพชรบุรี
ส่วนใบเสมาอื่นๆ มีลักษณะแปลกแตกต่างออกไป กล่าวคือ
เป็นเสมาที่ตั้งไว้หรือประดับเข้ากับส่วนของผนังพระอุโบสถ
ซึ่งแตกต่างจากวัดทั่วไปที่จะตั้งไว้บนลานรอบพระอุโบสถ
พระอุโบสถหลังนี้มีรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะต่างไปจากพระอุโบสถทั่วไป
เพราะเป็นการผสมกันระหว่างศิลปะแบบพระราชนิยมของรัชกาลที่ ๓
ซึ่งกระเดียดไปทางศิลปะจึนและศิลปะแบบรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลฝรั่ง
จึงทำให้พระอุโบสถหลังนี้มีลักษณะผสมของอิทธิพลศิลปะต่างชาติทั้งสองแบบ
แต่ทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐานของศิลปะไทย
เมื่อมองโดยรวมแล้วพระอุโบสถหลังนี้
จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่งดงามแปลกตาไม่น้อยทีเดียว
ศิลปกรรมภายในพระอุโบสถ นอกเหนือไปจากพระพุทธรูปแล้ว
ก็มีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯ ให้ขรัวอินโข่งเขียนขึ้น เป็นงานจิตรกรรมฝาผนังที่มีค่ายิ่ง
เพราะเป็นรูปแบบของจิตรกรรมหัวเลี้ยวหัวต่อของการรับอิทธิพลยุโรป
มาผสมผสานกับแนวคิดตามขนบนิยมของไทย
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
19
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 11:19
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพักตร์ยิ้มเล็กน้อยในแบบศิลปะสุโขทัยของพระพุทธไสยาสน์
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังนี้ สันนิษฐานว่า
เขียนตั้งแต่สมัยที่พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯ เข้าครองวัด
โดยเขียนบนผนังเหนือประตูหน้าต่างขึ้นไป มีอยู่ ๑๖ ตอน
เริ่มต้นจากทางหลังของผนังด้านซ้ายทางทิศตะวันตก
นับเป็นผนังที่ ๑ วนทักษิณาวัตพระพุทธรูปในพระอุโบสถตามลำดับ
มีคำจารึกพรรณาเขียนไว้ที่ช่องประตู หน้าต่าง รวม ๑๖ บาน
นอกจากภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังแล้ว
ที่เสาพระอุโบสถได้เขียนภาพแสดงปริศนาธรรม
เปรียบด้วยน้ำใจคน ๖ ประเภท เรียกว่า
ฉฬาภิชาติ
ด้วย
ภายในพระอุโบสถนี้มีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสำคัญอยู่ ๒ องค์ คือ
พระพุทธรูปองค์ข้างหลังชื่อ “พระสุวรรณเขต” หรือ “พระโต”
หรือ “หลวงพ่อเพชร”
(พระประธานในพระอุโบสถสมัยแรก)
เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อโลหะขนาดใหญ่ ศิลปะขอม
ขนาดหน้าพระเพลา (หน้าตัก) กว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว
หันพระพักตร์ออกมาทางด้านหน้าของพระอุโบสถ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ผู้สร้างวัด
ได้ทรงอัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี
เพื่อมาเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
โดยรื้อออกเป็นท่อนๆ ตามรอยประสานเดิม แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่
สันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระทวาราวดี ลักษณะแบบขอม พระศกเดิมโต
พระยาชำนิหัตถการ นายช่างของสมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ
เลาะพระศกเดิมออกเสีย แล้วทำพระศกใหม่ด้วยดินเผาให้เล็กลง
ตามที่เห็นว่างามในเวลานั้น ประดับเข้าที่แล้วลงรักปิดทอง
มีพระสาวกใหญ่นั่งคู่หนึ่ง เป็นพระปั้นขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก
พระพุทธไสยาสน์ ศิลปะสุโขทัย
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
20
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 11:20
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระสุวรรณเขต (องค์หลัง)-พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า) พระประธานในพระอุโบสถ
เบื้องหน้ามีพระรูปหล่อสมเด็จพระสังฆราช ๓ พระองค์ประดิษฐานเรียงกันบนฐานชุกชี
นอกจากนี้
ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ของพระสุวรรณเขตหรือพระโต
ยังเป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดแห่งนี้ เมื่อยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร
ส่วนพระพุทธรูปองค์ข้างหน้าชื่อ
“พระพุทธชินสีห์”
(พระประธานในพระอุโบสถสมัยหลัง)
ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระสุวรรณเขตหรือพระโต
ลักษณะของพระพุทธชินสีห์ต่างจากพระพุทธรูปอื่นแบบเก่าในบางอย่าง
เช่น มีนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ นิ้ว นิ้วพระบาททั้ง ๔ นิ้ว ยาวเสมอกัน
ต้องตามคัมภีร์มหาปุริสลักษณะ แสดงว่าผู้สร้างได้ทราบคัมภีร์นั้น
พระพุทธรูปที่ได้สร้างกันขึ้นชั้นหลังได้ถือเป็นแบบสืบมาจนทุกวันนี้
แต่ก่อนนั้นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในเมืองไทย ทั้งทางเมืองเหนือและเมืองใต้
ทำปลายนิ้วพระหัตถ์เป็นหลั่นกัน เหมือนกับนิ้วมือคนสามัญ
แต่เดิมพระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญของหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พระพุทธรูปสำริดขนาดหน้าพระเพลา (หน้าตัก) กว้าง ๕ ศอก ๔ นิ้ว
เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองปางมารวิชัยสมัยสุโขทัยผสมเชียงแสน
และเป็นที่กราบสักการะของพระมหากษัตริย์และสาธุชนมาเกือบ ๗๐๐ ปี
ประดิษฐาน ณ พระวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
ประวัติการสร้างพระพุทธชินสีห์ ตำนานกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. ๑๕๐๐
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้
แล้วสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก
จากนั้นได้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง
อีกทั้ง ได้ทรงหล่อพระพุทธรูป ๓ องค์ ได้แก่
พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ ณ พระวิหารทิศเหนือ
และประดิษฐานพระศรีศาสดา ณ พระวิหารทิศใต้
พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา
จึงประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเดียวกันตลอดมาถึง ๙๐๐ กว่าปี
ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
พระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ชำรุดทรุดโทรมขาดผู้รักษาดูแล
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
จึงโปรดให้อัญเชิญมายังกรุงเทพฯ
เพื่อมาประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ประทับของ
สมเด็จพระสังฆราชถึง ๔ พระองค์ และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ครั้งทรงผนวช อีกหลายพระองค์ด้วย
“พระพุทธชินสีห์” จึงเป็นพระคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์
และสมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มาช้านาน
พระพุทธชินสีห์นั้นเป็นพระพุทธรูปที่ชาวพิษณุโลกและชาวเมืองเหนือ
เคารพบูชาอย่างยิ่งองค์หนึ่ง ในคราวที่อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ลงมากรุงเทพฯ
ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ นั้น มีบันทึกที่กล่าวถึงความรู้สึกของชาวเมืองไว้ว่า
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
3
4
/ 4 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...