ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2766
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

"เสี้อราชปะแตน" มาจากไหน ของไทยจริงหรือ..???

[คัดลอกลิงก์]




Raja  pattern and Chong kaben" เสี้อราชปะแตนแบบนี้ รัชกาลที่ ๕  ทรงลอกแบบมาจากเจ้าอาณานิคม อังกฤษ ระบบ Raj ที่ปกครองอินเดีย และพม่า อยู่  เป็นเครื่องแบบของอมาตย์แล้วทับศัพท์เป็นไทยๆว่า "ราชปะแตน" ครับ


สรุป แล้ว  ลอกชุดดังกล่าวมาในช่วง รัตนโกสินทร์ตอนกลาง แน่นอนว่า ในสมัย สุโขทัย/อยุธยา/ธนบุรี  ไม่มีชุดดังกล่าว


ส่วน "โจงกระเบน"เป็นการนุ่งผ้าแบบแขก ที่ขอมเขมรนำมาใช้ คำว่า โจง/chong เป็นคำเขมร แปลว่า ผูก คำว่า กะเบน/kaben เป็นคำเขมร แปลว่า หาง


สรุป ไทย ยืมมาทั้งคำศัพท์  และรูปแบบการนุ่ง และน่าจะยืม ลอกเลียนมาใช้ แต่สมัยสุโขทัย และ อยุธยา แล้ว (ลาวชั้นสูง  ก็ยืมไปใช้ด้วยเช่นกัน รวมทั้งเสื้อราชปะแตน)


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1428735367
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-10-20 06:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



รัชกาลที่ 5 ทรงสวมฉลองพระองค์แบบราชปะแตน




ราชปะแตน (เดิมเรียกว่า ราชแปตแตน มาจากคำบาลีผสมอังกฤษว่า Raj pattern แปลว่า แบบหลวง) คือ เครื่องแต่งกายชายไทย ประกอบด้วยเสื้อสูทสีขาว คอตั้งสูง และมีกระดุมห้าเม็ด โจงกระเบน สวมถุงเท้ายาวถึงเข่า และรองเท้าหุ้มส้น
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสอินเดียผู้ตามเสด็จแต่งเครื่องแบบเสื้อฝรั่ง เวลาปกติก็เปิดอกผูกเน็กไท แต่นุ่งโจงกระเบนไม่นุ่งกางเกงแบบฝรั่ง ที่เมืองกัลกัตตามีช่างฝีมือดี โปรดเกล้าฯ ให้ตัดฉลองพระองค์ใส่เล่นแบบปิดตั้งแต่คอ มีดุมกลัดตลอด เพื่อไม่ต้องผูกเน็กไท เป็นที่พอพระราชหฤทัย เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นนายราชานัตยานุหาร ในฐานะราชเลขานุการ

ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตคิดชื่อถวายว่า ราชแพตเทิร์น (Raj pattern) แต่ต่อมาเพี้ยนมาเป็น ราชปะแตน

ราชปะแตนเป็นเสมือนเครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนไป โดยส่วนมากสวมกับผ้านุ่งโจงสีกรมท่า ผ้านุ่งโจงนั้นเรียกกันสั้น ๆ ว่า ผ้าม่วง บ้างก็ตัดด้วยแพร ผ้าลายบ้าง ต่อมาไม่สวมแต่เฉพาะกับผ้าม่วง หากแต่สวมกับกางเกงแพรด้วยเสื้อราชปะแตนเป็นที่นิยมอยู่นาน จนยุคต้นเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 มีประกาศกฎหมายวัฒนธรรม ห้ามนุ่งผ้าม่วง และกางเกงแพร เสื้อราชปะแตนจึงหายไปตั้งแต่นั้น

ต่อมาในสมัยที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยแนวคิดของการกำหนดรูปแบบเครื่องแต่งกายไทยให้มีลักษณะเฉพาะแต่ยังเป็นสากล

จึงได้ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานแบบจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ซึ่งก็ได้พระราชทานแบบเสื้อตามที่เคยทรงอยู่บ่อย ๆ

โดยเป็นเสื้อสูทคอตั้งที่เรียกกันว่าคอแมนดาริน (Mandarin Collar) หรือคอเหมา (Mao Collar)

โดยมี 3 แบบคือ แบบแขนสั้นสำหรับงานกลางวัน แบบแขนยาวสำหรับงานกลางคืน และแบบแขนยาวมีผ้าคาดเอวสำหรับงานที่เป็นทางการ หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้สวมเสื้อพระราชทานนี้แทนชุดสากลนับตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2523 แต่ยังมีลักษณะพิเศษเพิ่มเติมแตกต่างจากเสื้อราชปะแตนเดิม คือให้เลือกใช้ผ้าตามแต่ละท้องถิ่น ทำให้ชุดมีสีสันและลวดลายแปลกตากว่าเดิม




3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-10-20 06:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


อ.ฟ้อน ดีสว่าง...ใส่ ชุดราชปะแตน
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-10-21 06:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

จะรับสักชุด หรา  
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2016-10-21 06:01
จะรับสักชุด หรา

ไม่รู้จะใส่งานไหนดีอ่ะครับกัปตัน
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้