ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2077
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

จิตสาธารณะ

[คัดลอกลิงก์]


จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกสาธารณะ (Public Consciousness) คือ

            ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของจิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน
            สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
            สรุป จิตสาธารณะหรือจิตสำนึกสาธารณะ คือ จิตสำนึก (Conscious) เป็นการตระหนักรู้ตัว หรือเป็นจิตส่วนที่รู้ตัว รู้ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไรขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง ส่วนคำว่า สาธารณะ (Public)
เป็นการแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม เป็นการบริการชุมชน ทำประโยชน์เพื่อสังคม ถ้าเป็นสิ่งของก็ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อนำสองคำมารวม หมายถึง การตระหนักรู้ตน ที่จะทำสิ่งใดเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
            น่าสนใจ คือ สำนึกสาธารณะ (public mind) ซึ่งเป็นสำนึกที่ควรจะต้องมีในตัว ข้าราชการไทยทุกคน สำนึกที่จะกล่าวถึงประกอบด้วย P+U+B+L+I+C= Public=
สาธารณะ
            1. Professional ทำงานแบบมืออาชีพ ข้าราชการที่คิดใหม่ ทำใหม่จะต้องเป็นข้าราชการอาชีพ (profession)
รู้ลึก ในหน้าที่ๆ รับผิดชอบ รู้รอบในงานที่เกี่ยวข้อง การเป็นเพียงอาชีพข้าราชการ ไม่เพียงพอ ต้องเป็นข้าราชการอาชีพให้ได้ ต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา หาความรู้ใหม่เสมอ
           2. Unity
เอกภาพ ค่านิยมใหม่ต้องเป็นไปในทิศทางของความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่กลัวกันได้หน้า หรืออิจฉาริษยา กัน ควรจะฝึกการทำงานเป็นทีม เพราะการที่คนในองค์กรมีเอกภาพ จะช่วยให้การขับเคลื่อนภาระงานเพื่อมวลประชา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีหลายองค์กรที่คนในองค์กรกลัวกันได้ดี เลยไม่มีใครทำอะไร ประชาชนก็ไม่ได้อะไรด้วย แต่ในความเป็นเอกภาพก็ยอมให้มีความแตกต่างได้ แต่อย่าแตกแยก
           3. Believe
ความเชื่อ ข้าราชการจะต้องทำงานด้วยความเชื่อ เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง แล้วยึดให้มั่น ถ้าข้าราชการขาดแล้วซึ่งความเชื่อ การทำงานก็จะขาดพลัง
           4. Locally ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการยุคใหม่จะต้องเป็นผู้ที่เชื่อและศรัธทาในความเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ของภูมิปัญญาไทย ลอความเชื่อทันสมัยนิยมลง (Modernization) Local wisdom
ในด้านต่างๆ จะนำไปสู่การแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบและเข้ากับบริบทของสังคมไทย ข้าราชการไทย ต้องเลิกดูถูกภมิปัญญาของคนในระดับรากหญ้า แล้ว หันไปสู่วิถีของการเรียนรู้ร่วมกัน เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ในชุมชน
         5. Integrity
ความซื่อสัตย์ ข้าราชการยุคใหม่จะต้องยึดเอาคาวมซื่อสัตย์เป็นที่ตั้ง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคม คิดดี ทำดี เพื่อชาติ งานทุกชิ้นจะต้องตรวจสอบได้ มีความโปร่งใส
         6. Creative สร้างสรรค์ ข้าราชการยุคใหม่จะต้องคิดและทำงานที่สร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม (innovation)
ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับสังคม ต้องไม่หยุดนิ่ง ต้องมีความเป็นพลวัต ทั้งนี้ก็เพื่อประชาชนและประเทศชาติ
         ถ้าจิตสาธารณะ เป็นจิตที่เกิดแก่ข้าราชการไทยในภาพรวม เชื่อแน่ว่า ประชาชน จะได้รับแต่สิ่ง ที่ดีจากราชการ ระบบโดยภาพรวมก็จะเข้มแข็ง สังคมไทยก็จะน่าอยู่มากยิ่งขึ้น.....

ที่มา:
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-11-19 07:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้