ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5107
ตอบกลับ: 8
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เหตุผลที่.ทำดีแล้วยังไม่ได้ดี ทำชั่วแล้วยังไม่ได้ชั่ว คือ

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-29 06:26

เหตุผลที่..... ทำดีแล้วยังไม่ได้ดี ทำชั่วแล้วยังไม่ได้ชั่ว คือ.....







การกระทำในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น มี 2 อย่าง คือ ทำดี (กุศลกรรม) กับ ทำชั่ว (อกุศลกรรม) ในการที่คนเราจะทำดีนั้น มีสาเหตุมาจากกุศลมูลในใจของเรา   ในการที่คนเราจะทำชั่วนั้น ก็มีสาเหตุมาจากอกุศลมูลในใจของเรา คือ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  (ความรัก ไม่ทำให้ใครทำชั่วได้หรอกนะ)




ในการทำดีนั้น มี 10 อย่าง คือ


ทางกาย (กายกรรม) ได้แก่
1. ละเว้นจากการเบียดเบียน ทำร้าย หรือ ทำลายชีวิตผู้ใด (ปาณาติปาตา เวรมณี)
2. ละเว้นจากการถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ (อทินนาทานา เวรมณี)
3. ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ไม่นอกใจคู่ครองของตน (กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี)


ทางวาจา (วจีกรรม) ได้แก่
4. เว้นจากการพูดเท็จ โกหก พูดแต่ความจริง (มุสาวาทา เวรมณี)
5. เว้นจากการพูดส่อเสียด พูดแต่สิ่งที่ทำให้ผู้อื่นสบายใจ (ปิสุณาย เวรมณี)
6. เว้นจากการพูดคำหยาบ มีวาจาสุภาพ ไพเราะน่าฟัง (ผรุสาย วาจาย เวรมณี)
7. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ (สัมผัปปลาปา เวรมณี)


ทางใจ (มโนกรรม) ได้แก่
8. ไม่โลภ ไม่อยากได้ของผู้อื่น (อนภิชฌา)
9. ไม่คิดร้ายเบียดเบียนใคร ไม่โกรธแค้นพยาบาทอาฆาตใคร (อพยาบาท)
10. มีความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ไม่เห็นผิดเป็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-29 06:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในการทำชั่วนั้น มี 10 อย่าง คือ


ทางกาย (กายกรรม) ได้แก่
1. ข่มเหง เบียดเบียน ทำร้าย หรือ ทำลายชีวิต (ปาณาติบาต)
2. ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ กระทำผิดต่อทรัพย์สินของผู้อ่ืน (อทินนาทาน)
3. ประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร)


ทางวาจา (วจีกรรม) ได้แก่
4. พูดเท็จ โกหก (มุสาวาท)
5. พูดส่อเสียด (ปิสุณาวาจา)
6. พูดคำหยาบ (ผรุสวาจา)
7. พูดเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปะ)


ทางใจ (มโนกรรม) ได้แก่
8. โลภ อยากได้ของผู้อื่น (อภิชฌา)
9. คิดร้าย คิดเบียดเบียนผู้อื่น โกรธแค้นพยาบาทอาฆาตเขา (พยาบาท)
10. มีความเห็นที่ผิด ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เห็นผิดเป็นชอบ (มิจฉาทิฏฐิ)




ที่เราเห็นคนบางคนทำชั่วแล้วยังได้ดีมีความสุขอยู่ทุกวันนี้ อาจทำให้เรารู้สึกท้อใจในการทำความดี หรืออาจเกิดความสงสัยว่า ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป  เราลองดูเหตุผลดังต่อไปนี้ก่อน ก่อนที่จะปักใจเชื่อว่าทำชั่วแล้วไม่ได้ชั่ว  เพราะการทำชั่ว ถึงอย่างไรเสียต้องได้รับผลชั่วแน่นอน

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-29 06:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รรมดีและกรรมชั่วต่างๆที่คนเรากระทำไปนั้น  มีหลักเกณฑ์การให้ผลแห่งกรรมดังนี้คือ



ก. จำแนกตามเวลาที่ให้ผลของกรรม (ปากะกาลจตุกกะ) การกระทำกรรมดีและกรรมชั่วต่างๆของคนเรานั้น ย่อมให้ผลแก่ผู้กระทำ ไม่ช้าก็เร็วเสมอ กำหนดเวลาการให้ผลของกรรม มีดังนี้ คือ


1. กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือ ในภพนี้ ชาตินี้ ไม่ต้องรอผลในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป (ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม) เช่น นักเรียนไม่สนใจเรียน ไม่ขยันอ่านหนังสือ ไม่ทำการบ้าน  ผลกรรมที่ได้คือ สอบตก หรือสอบได้คะแนนไม่ดี เป็นกรรมที่ให้ผลในชาตินี้ทันตาเห็น หรือคนที่ชอบกินจุกกินจิก กินบ่อย กินมากเกินไป ก็จะทำให้อ้วน   เป็นต้น  เป็นกรรมเบา ที่ไม่ให้ผลไปถึงชาติหน้า เปรียบได้เหมือนการปลูกถั่วงอก ซึ่งจะให้ถั่วงอกภายในสองสามวันเท่านั้น


2. กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือ ในภพหน้า ชาติหน้า เป็นกรรมที่ให้ผลช้ากว่ากรรมในข้อ 1 (อุปปัชชเวทนียกรรม)  เปรียบได้เหมือนการปลูกไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง เป็นต้น กว่าจะออกดอกและให้ผล ต้องรอเวลานานเป็นปีๆ  เช่น  กรรมดีจากการถือศีลในชาตินี้  ที่จะส่งผลให้มีรูปร่างหน้าตาผิวพรรณงาม  หรือกรรมชั่วจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  จะส่งผลให้ชาติหน้าเป็นคนอายุสั้น หรือมีโรคภัยไข้เจ็บอยู่เสมอ หรือประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น


3. กรรมให้ผลในภพต่อๆไป เป็นกรรมที่ให้ผลช้ากว่ากรรมในข้อ 1 และ 2 (อปราปรยเวทนียกรรม) เช่น กรรมที่เคยทำไว้กับคนๆหนึ่ง  แต่ในชาติหน้า บุคคลผู้นั้นที่เรามีกรรมด้วยอาจยังไม่ได้มาเกิด ก็ยังต้องรอใช้หนี้เวรกันในภพชาติต่อๆไป  จนกว่าจะได้มาพบกันอีก เป็นต้น


4. กรรมที่เลิกให้ผลแล้ว และจะไม่มีผลอีก (อโหสิกรรม) เช่น สามีภรรยาที่ทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่เสมอเนื่องจากมีกรรมต่อกันมาแต่ชาติปางก่อน หลังจากที่ต่างฝ่ายต่างได้ปฏิบัติธรรมและเข้าใจเรื่องของกรรมแล้ว  ต่างก็อภัยให้กันและอโหสิกรรมแก่กัน  ก็จะไม่มีเวรกรรมสืบต่อไปในภพหน้า ชาติหน้าอีก  เป็นต้น
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-29 06:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ข. จำแนกการให้ผลตามหน้าที่ของกรรม (กิจจะจตุกกะ) ได้แก่


5. กรรมที่ทำให้เกิด (ชนกกรรม) สัตว์โลกทั้งปวงย่อมเกิดด้วยอำนาจแห่งกรรมนี้ จิตที่ถือปฏิสนธิใหม่ย่ออาศัยกรรมนี้เป็นผู้นำให้เกิด  จะไปเกิดในที่ทุคติ หรือ สุคติ ก็แล้วแต่อำนาจแห่งกรรมนี้ ไม่สามารถเลือกเองได้ตามใจชอบ เช่น เกิดมามีรูปร่างหน้าตาสวยงาม หรือ ขี้ริ้วขี้เหร่  เกิดมาฉลาดหรือปัญญาอ่อน   เป็นต้น  เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้  จนกว่าจะตายไปและไปเกิดใหม่ตามแรงกรรมใหม่ที่ได้กระทำ


6. กรรมที่สนับสนุนชีวิตที่เกิดมาแล้ว หรือซ้ำเติมชีวิต (อุปัตถัมภกกรรม) เป็นกรรมที่อุดหนุนให้ชีวิตได้รับความสุขหรือ ความทุกข์   ร่ำรวย หรือ ยากจน  สุขภาพดี หรือ มีโรคภัยไข้เจ็บ เช่น  คนที่ไม่ชอบทำบุญสุนทานในชาติก่อน เกิดมาในชาตินี้ มักอับโชค มีฐานะยากจนขัดสนเงินทอง เป็นต้น


7. กรรมบีบคั้นผล กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งกรรมในข้อ 5 และ 6 ให้ชีวิตมีอันแปรเปลี่ยนไป ทำให้กรรมอื่นบั่นทอน ทุเลาเบาบางหรือสั้นลง (อุปปีฬกกรรม) เช่น คนที่กำลังมีความสุขมีเงินมีทอง ก็มีกรรมตัดรอนให้เกิดอุบัติเหตุกลายเป็นคนพิการไป  อันเนื่องมาจากในชาติก่อนเคยให้ทานมามาก ทำให้ชาตินี้มีเงินทอง  แต่ก็เคยทำร้ายสัตว์ถึงพิการ ทำให้กรรมส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุพิการไป เป็นต้น


8. กรรมตัดรอน ที่ทำให้แรงกรรมอื่นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว (อุปฆาตกกรรม) เช่น ทารกที่เกิดมาได้ไม่กี่วัน ก็ตายลง โดยไม่มีโอกาสได้รับผลบุญจากกรรมในข้อที่ 6 หรือ เจ้าสาวที่กำลังเดินทางไปเข้าพิธีแต่งงาน แต่เกิดอุบัติเหตุตายเสียก่อนจะได้เข้าพิธีแต่งงาน  เป็นต้น
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-29 06:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ค. จำแนกตามลำดับความแรง ความหนักเบาในการให้ผลของกรรม (ปากะทานปริยายะจตุกกะ) ได้แก่


9. กรรมหนัก  (ครุกรรม)  ซึ่งจะให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ ไม่สามารถตัดรอนได้ เช่น อนันตริยกรรม ทำสงฆ์ให้แตกร้าว ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา มีความเห็นผิดที่ไม่เชื่อว่าผลแห่งกรรมมีจริง เป็นต้น


10. กรรมที่กระทำบ่อยๆ  กระทำเป็นประจำ กระทำจนเคยชิน ให้ผลรองลงมาจากกรรมในข้อ 9 (พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม) เช่น คนที่ชอบลักขโมยจนติดเป็นนิสัย  ทำอยู่บ่อยๆ ทำเป็นประจำ ผลแห่งกรรมจะทำให้เกิดมาอับโชค ทำมาหากินไม่ขึ้น มักยากจนขัดสนเงินทอง  หรือคนที่ชอบอิจฉาริษยาผู้อื่นจนติดเป็นนิสัย ผลแห่งกรรมจะทำให้เกิดมาเป็นคนไร้เกียรติต่ำต้อย หรือคนที่ชอบเจ้าชู้เปลี่ยนคู่บ่อยๆจนติดเป็นนิสัย ผลแห่งกรรมจะทำให้เกิดมาผิดเพศ หรือต้องอกหักผิดหวังในความรักอยู่ร่ำไป เป็นต้น


11. กรรมจวนเจียน หรือ กรรมที่ทำตอนใกล้ตาย ซึ่งยังติดอยู่ในจิต จะให้ผลต่อจากกรรมในข้อ 9 และ 10 (อาสันนกรรม) ถ้าจิตหดหู่เศร้าหมองตอนใกล้ตาย  ก็จะไปเกิดในภพภูมิที่ไม่ดี


12. กรรมสักแต่ว่าทำ กรรมที่มีเจตนาอ่อน เป็นกรรมที่มีพลังน้อยที่สุด จะให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล (กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม) เช่น คนที่ทำบุญแต่ไม่ได้ตั้งใจทำ  ทำเพราะเสียไม่ได้ ทำตามอย่างคนอื่น  ก็จะไม่ได้รับผลบุญเต็มที่  หรือคนที่ชอบฆ่ายุง ฆ่ามด  ไม่ได้ฆ่าเพราะมีใจคอเหี้ยมโหด  ไม่ได้ฆ่าเพราะอาฆาตพยาบาทยุงและมด  ผลแห่งกรรมก็ไม่หนักหนาอะไรนัก
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-29 06:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ง. จำแนกตามฐานที่ให้ผลนำไปเกิดในภพภูมิแห่งกรรม (ปากะฐานจตุกกะ)


13. กรรมที่ให้ผลนำไปเกิดในอบายภูมิ หรือ ทุคติภูมิ (อกุศลกรรม) ได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน


14. กรรมที่ให้ผลนำไปเกิดในสุคติภูมิ (กามาวจรกุศลกรรม) ได้แก่ มนุษย์ และ สวรรค์ 6 ชั้น


15. กรรมที่ให้ผลนำไปเกิดในรูปพรหม 16 ชั้น (รูปาวจรกุศลกรรม) คนที่มีอัธยาศัยชอบความสงบ มุ่งไปในการทำสมาธิ เข้าฌาณเพื่อความสุขสงบที่แท้จริง ไปเกิดเป็นพรหมด้วยอำนาจของฌาณที่ตนได้ มีอายุยืนยาวนานเป็นมหากัปป์ มีวิมาน มีสวนดอกไม้ มีสระโบกขรณี มีเครื่องทรงอลงกรณ์ต่างๆสวยสดงดงามประณีต สวยสดงดงามกว่าทิพยสมบัติของเทวดาทั้งหลาย


15. กรรมที่ให้ผลนำไปเกิดในอรูปพรหม 4 ชั้น (อรูปาวจรกุศลกรรม) ผู้ที่เจริญในฌาณที่มีความสุขุมละเอียดอ่อนมากๆ จะจุติเป็นอรูปพรหม มีแต่นามขันธ์ ไม่มีรูปขันธ์
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-29 06:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จะเห็นได้ว่า กรรมดีและกรรมชั่ว ต่างก็มีเวลาที่จะให้ผล  ถ้าเราเห็นคนที่ทำชั่วแล้วยังไม่ได้รับผลชั่ว นั่นเป็นเพราะกรรมดีในอดีตชาติของเขาที่เขาเคยทำมายังคงให้ผลแก่ชีวิตของเขาอยู่  กรรมชั่วที่ทำในปัจจุบันจึงยังไม่ส่งผลจนกว่ากรรมดีที่กำลังได้รับอยู่นั้น ได้ถูกกรรมบีบคั้นมาเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิต ถึงอย่างไรเสีย  ทำดีต้องได้ดีเสมอ  ทำชั่วต้องได้ชั่วเสมอ ไม่ช้าก็เร็ว  เราไม่ควรประมาท  หรือ  เห็นผิดเป็นชอบไปว่า ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป  นั่นเป็นความเห็นที่ผิด


ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น  ย่อมเป็นสิ่งที่เขาสมควรได้รับเสมอ  หากเขาสุขสบายดี นั่นเป็นเพราะผลแห่งกรรมดีที่สั่งสมมา  หากเห็นเขาตกระกำลำบาก  นั่นเป็นเพราะผลแห่งกรรมชั่วที่เขาเคยกระทำมาก่อน   แต่... ถ้ามีสิ่งใดที่เราจะช่วยเหลือใครได้ เราก็ควรกระทำ  ไม่ควรไปซ้ำเติมในความทุกข์ยากของผู้อื่น  


ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน มีสัมมาทิฏฐิ  ทำความเห็นให้ถูกต้องในเรื่องของกรรมดีและกรรมชั่ว และขอให้ชีวิตของท่านจงประสบแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไป



ที่มา..http://www.oknation.net/blog/pimahn/2008/07/14/entry-1
ความดีเป็นแบบไหนผมไม่รู้
รู้แค่ว่าจะไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
ทั้งกายใจ เป็นพอ
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-5-12 07:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้