ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7232
ตอบกลับ: 12
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ลึกลับ "คณะแดง" วัดบวร

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2016-7-24 17:34

ผีภายในวัดบวรนิเวศฯ ที่มาปรากฏกายให้พระสงฆ์เห็นกันอยู่บ่อย ๆ ในอดีตนั้นเล่ากันมาว่ามีหลอกกันหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่มักมาปรากฏร่างให้เห็นแล้วก็แวบหายไป หรือบางทีไม่ได้ตั้งใจจะให้เห็นแต่พระ เณรและเด็กวัดไปเห็นเองโดยบังเอิญก็มี ทำไมที่วัดนี้จึงเป็นต้นตำรับผีที่ร่ำลือกันว่ามีเยอะนัก และที่เห็นกันส่วนมาก ก็มาในรูปของหญิงสาวในชุดไทย และเด็กผมจุกแต่งตัวโบราณ


เหตุที่เป็นเช่นนี้คงเพราะที่แห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ของเจ้านายผู้มีเชื้อสายและขุนนางผู้ใหญ่มาแต่โบราณ เป็นวัดใหญ่ที่สร้างมานานจึงมีเสนาสนะมีพระอุโบสถ วิหาร เจดีย์ หมู่กุฏิพระ พระตำหนักต่าง ๆ และเรือนไทยอันสวยงามมากมาย ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมยุคเก่า สภาพภายในวัดร่มครึ้มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย มองดูร่มเย็น และสงบเงียบด้วยเหตุนี้ จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีวิญญาณมาอาศัยเยอะ เพราะสถานที่สวยงามและน่าอยู่ ดังนั้น เรื่องเล่าเกี่ยวกับ "ผี ๆ สาง ๆ" จึงมีตามมาต่าง ๆ นานา


มีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นเรื่องของ "ผีสาวโบราณ" ซึ่งท่านเจ้าคุณอมรโมลี (จุนท์ พรหมคตโต) เล่าให้คนใกล้ชิดฟังว่า ในสมัยก่อนยังมี "คณะแดง" ซึ่งเป็นหมู่กุฏิพระเก่าแก่ซึ่งเล่ากันหนาหูว่า "ผีดุ" นัก มีพระเก่า ๆ หลายรูปรวมถึงเด็กวัดที่อาศัยอยู่ในคณะแดง เคยเล่าให้ท่านเจ้าคุณอมรโมลีฟังว่า เคยเห็นผีสาว 3 ตน ที่กุฏิหลังหนึ่งในคณะแดง เป็นกุฏิหลังที่อยู่ติดกับคูน้ำในวัด ผีสาว 3 ตน ที่พระและเด็กวัดเห็นนั้นเล่าตรงกันว่า แต่งตัวแบบโบราณคือนุ่งผ้าซิ่น ห่มผ้าสไบเฉียง แต่งตัวคล้ายกัน
เวลามาปรากฏตัวค่อนข้างจะพิสดารคือ ทั้ง 3 ตน จะชอบไต่อยู่บนเพดานกุฏิ เวลาลงมาบนพื้นเธอทั้ง 3 จะค่อย ๆ ไต่จากเพดานลงมา และยังชอบมานั่งเล่นแถว ๆ ระเบียงกุฏิโดยไม่สนใจว่าจะมีคนมาเห็นหรือไม่ และดูเหมือนจะเป็นกิจวัตรที่พวกเธอชอบทำอยู่เป็นประจำหรือบางทีราว ๆ โพล้เพล้ใกล้ค่ำ ผีสาวทั้ง 3 ก็ชอบที่จะไปนั่งที่กุฏิใกล้ต้นประดู่ของคณะแดง แถมบางวันอาจมีเด็กผมจุกปักปิ่นน่ารักในชุดไทยมานั่งเล่นอยู่ด้วย ภาพจากมิติวิญญาณเช่นนี้ทั้งพระ เณร และเด็กวัดบวรฯ ในอดีตเห็นกันจนชินตา จึงเล่าสู่กันฟังรุ่นแล้วรุ่นเล่า จนเป็นเรื่องปกติธรรมดาของชาววัดบวรฯ


มาในภายหลังคณะแดงได้ถูกรื้อลงโดยคำสั่งของเจ้าพระคุณสมเด็จเจ้าอาวาสในยุคนั้นเพื่อสร้างอาคารใหญ่ ภปร. แทนที่ แต่ก่อนที่จะรื้อ ทางวัดก็ได้ทำพิธีบวงสรวง อัญเชิญวิญญาณเจ้าที่เจ้าทางที่กุฏิคณะแดง และที่ต้นประดู่ไปอยู่ที่อื่นก่อน เพื่อความสงบเรียบร้อยระหว่างก่อสร้าง จนเมื่ออาคาร ภปร.แล้วเสร็จก็ดูเหมือนเรื่องวิญญาณผีสาวโบราณ 3 ตน และเด็กผมจุกก็จะเงียบ ๆ ลงไป คาดว่าคงจะไปหาที่อยู่ใหม่ได้แล้วหรือไม่ป่านนี้พวกเธอคงจะไปเกิดใหม่ที่ไหนซักแห่งแล้วก็ได้


เรื่องต่อมานั้นเกิดขึ้นกับพระภิกษุชาวต่างชาติที่เข้ามาบวชและปฏิบัติธรรมภายในวัดบวรฯ ในราวปี พ.ศ. 2517 - 2518
พระภิกษุรายนี้ชื่อ ยอร์ช เป็นชาวอังกฤษ ท่านชื่นชอบการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และเคยออกธุดงค์ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์สายกรรมฐานทางภาคอีสานมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี และหากกลับจากธุดงค์ท่านจะมาพักที่วัดบวรฯอยู่เป็นประจำ โดยทางวัดจะจัดกุฏิที่ "คณะสูง" ซึ่งเป็นกุฏิ 2 ชั้น เอาไว้สำหรับพระชาวต่างชาติที่มาขอบวชพัก
และที่คณะสูงนี้เองเล่ากันว่า พระภิกษุยอร์ชท่านเจอดีอยู่เป็นประจำ นั่นคือวันดีคืนดีก็จะได้ยินเสียงหวีดร้องเป็นเสียงสูงตรงหน้ากุฏิอยู่บ่อยครั้ง แต่ความที่ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติมานาน จึงเห็นเรื่องผี และวิญญาณเป็นของธรรมดา ท่านจึงไม่กลัว
พอได้ยินก็จะเปิดประตูออกมาดู จึงได้เห็นเป็นเงาคนดำ ๆ อยู่บนเฉลียงตึก แล้วพอท่านเดินไปดูใกล้ ๆ ร่างนั้นก็กลับกลายเป็นโครงกระดูกทั้งร่าง พระภิกษุยอร์ชพอเห็นเช่นนั้นท่านกลับขำ จึงหัวเราะออกมาเบา ๆ ทำให้โครงกระดูกนั้นค่อยเลือนหายไป คล้ายกับมาปรากฏร่างให้ท่านปลง ซึ่งพระภิกษุยอร์ชก็ได้ขอให้มาปรากฏเช่นนี้ทุกคืน คืนหนึ่งก็มาให้นานสักหน่อย เพื่อท่านจะได้เพ่งพิจารณา ให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามแนวทางของพระสายวิปัสสนากรรมฐาน แล้วก็จะแบ่งส่วนบุญส่วนกุศลให้จะได้พ้นจากการเป็นเปรต แต่คงเพราะความที่ท่านหัวเราะเสียก่อน เปรตตนนั้นจึงไม่เคยมาปรากฏกาย แสดงร่างเป็นโครงกระดูกให้ท่านเห็นอีกเลย

วัดบวรฯ ในยุคสมัยต่อมา เรื่องของผีโอปปาติกะ หรือวิญญาณทั้งหลายที่เคยปรากฏให้พระรุ่นเก่า ๆ เห็นก็คงเป็นเรื่องเล่าปากต่อปากต่อๆกันมา กลิ่นไอของความเขย่าขวัญในเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังจึงดูไม่น่ากลัวเท่าไหร่ เพราะวิญญาณหรือ "ผี" ทั้งหลาย ที่มาปรากฏตัวให้เห็นนั้นไม่เคยให้โทษหรือทำร้ายใคร "ผี" ก็อยู่ในภูมิของ "ผี" ซึ่งอาจจะซ้อนอยู่ในภูมิเดียวกับมนุษย์ในบางสถานที่และบางเวลา




ขอบคุณที่มา...เว็บพลังจิตดอทคอม
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-7-24 17:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องที่  3  "หลวงตาปริศนา"
.....ท่านเจ้าคุณอมรโมลีได้เล่าให้คุณสนิทฟังอีกต่อไปว่า นั่นเป็นเหตุการณ์ครั้งแรก
ที่มาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารใหม่ ๆ ซึ่งมีเหตุการณ์อีกครั้งหนึ่งที่เจอจัง ๆ หน้าคือ
เมื่อก่อนที่ทางวัดจะ รื้อกุฏิคณะขาบบวรสร้างใหม่  ในคืนวันหนึ่งเดือนหงายจึงออกมาเดินเล่นแถวหน้า
กุฏิ "ดารากร" ซึ่งเป็นที่พักของท่าน ....เวลาประมาณ ๕ ทุ่มเศษก็จะขึ้นกุฏิโดยเดินไปล้างเท้าที่ก๊อก
น้ำประปา จึงได้พบกับพระภิกษุหลวงตารูปหนึ่งยืนครองผ้าห่มคลุมอยู่ที่ก๊อกประปานั้น
ถาม ว่า ใคร ท่านก็ไม่ตอบจึงเดินเข้าไปใกล้เพื่อดูหน้าก็ไม่รู้จักเพราะไม่ใช่พระที่วัดนี้
จึงได้ถอยกลับออกไปแล้วไปปลุกเด็กลูกศิษย์มาดู แต่ปรากฎว่าพอมาถึง หลวงตาแก่ ๆ นั้นได้หายไป
เสียแล้ว  เมื่อเจ้าคุณอมรโมลีเล่าจบ ท่านเจ้าคุณเทพกวี (บุญธรรม จิณฺณธมฺโม) แห่งวัดบวรนิเวศ
วิหารก็เล่าถึงเรื่องหลวงตาแก่ให้ฟังบ้างว่า  เมื่อคราวที่ทางวัดนี้รื้อกุฏิไม้คณะเขียวบวรเพื่อสร้างใหม่
เช่นเดียวกับคณะขาบบวร ลูกศิษย์ของท่านก็เจอหลวงตาแก่ ๆ ในยามวิกาลเหมือนกัน
กล่าวคือ ในคืนหนึ่งประมาณ ๓ นาฬิกา ลูกศิษย์คนหนึ่งได้ลุกขึ้นดูหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบไล่
ขณะที่นั่งอยู่บนเฉลียงชั้นสองของคณะเขียวบวรนั้นก็ได้ยินเสียงคนเดินก๊อก ๆ อยู่รอบ ๆ
บริเวณตึกที่กำลังสร้างใหม่ได้สงสัยว่าเพราะเหตุใดผู้รับเหมาจึงมาตรวจงานแต่ดึกดื่นเช่นนี้
จึงชะโงกหน้าไปดู...ก็พบพระหลวงตาผู้มีอายุสูงผู้หนึ่ง มีร่างสูงศีรษะโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นชั้นสองที่ตน
นั่งอยู่   กำลังเดินดูโน่นดูนี่อยู่ แต่ไม่เห็นหน้าว่าเป็นใคร เพียงแต่เห็นชัดว่าไม่ได้โกนผม
ครั้นพอนึกขึ้นได้ว่า เมื่อวานนี้เป็นวันโกน ขึ้น ๑๔ ค่ำซึ่งพระเณรทั้งวัดโกนผมกันหมด แต่หลวงตา
องค์นี้ไม่ได้โกนผมก็นึกว่าเป็นผี เลยผลุนผลันรีบกลับเข้าห้องภาวนา
และในวันรุ่งขึ้นก็ได้มาเล่าให้ท่านเจ้าคุณเทพกวีฟัง

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-7-24 17:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องที่ ๑ "ชายลึกลับ"

"ลุงสาย กรูแก้ว" อายุ ๘๐ ปี อยู่ในวัดบวรนิเวศวิหารมาประมาณ ๒๖ ปีเศษ ได้เล่าให้ฟังขณะคุณสนิทบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดบวรฯ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าได้ถูกผีหลอกกลางวันแสก ๆ ที่หน้าโบสถ์วัดรังษีสุทธาวาส

คุณสนิทถามว่า "ถูกผีหลอกอย่างไร"

ลุงสายตอบว่า ในตอนเช้าของวันหนึ่ง เมื่อต้นเดือนเมษายน ๒๕๒๑ ตนพักอยู่ที่กุฎิของท่าน "เจ้าคุณธรรมดิลก (วิชมัย ปุญญาราโม)"
เมื่อตื่นนอนแล้วก็แต่งตัวถือไม้เท้าออกมาเดินเล่น เพื่อยืดเส้นยืดสายแถวหน้าตึกมนุษย์นาคมานพ โรงเรียนบวรนิเวศ ตามปกติ

ขณะเดินผ่านหน้าโบสถ์วัดรังษีสุทธาวาสซึ่งเป็นโบสถ์เก่า สมัยที่ยังไม่ได้ยุบวัดมารวมกับวัดบวรนิเวศวิหาร ขณะนั้นเป็นเวลาเกือบ ๙.๐๐ น. แล้ว ได้เห็นชายวัยกลางคนๆ หนึ่งนุ่งกางเกงสีเทาสวมเสื้อขาว ตัดผมทรงแบบโบราณก้มหน้าอยู่ ตนเห็นผิดสังเกตุว่า ชายคนนี้มายืนอยู่ทำไม จึงเดินเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อจะมองดูหน้าให้ถนัด แต่ชายนั้นกลับหันด้านข้างให้แล้วก็เดินผ่านรั้วเหล็กซึ่งสูงประมาณท่วมศีรษะเหมือนไม่มีอะไรมาขวางกั้น แล้วหายเข้าไปทางหน้าประตูโบสถ์วัดรังษีสุทธาวาส

ลุงสายเล่าต่อไปว่า เมื่อเห็นชายคนนั้นเดินผ่านรั้วเหล็กเข้าไปเฉย ๆ โดยประตูรั้วเหล็กก็ไม่ได้เปิดและชายคนนั้นก็ไม่ได้ปีนข้ามเข้าไป จึงเอะใจตามไปดูทางเฉลียงโบสถ์ทั้งสองข้างแต่ก็ไม่ปรากฎร่างของชายคนนั้น จึงเข้าใจว่า คงจะเป็นโอปปาติกะที่อยู่ในอุโบสถนั้นแสดงกายหยาบออกมาเดินเล่นในยามเช้าเช่นเดียวกัน เพราะอยู่ในระหว่างปิดภาคเรียน ไม่มีเด็กนักเรียนเลยจึงได้นำเรื่องนี้มาเล่าให้พระภิกษุและคุณสนิท

เรื่องที่ ๒ "เจ้าที่แรง"

คุณสนิท ธนรักษ์ ได้เล่าเพิ่มเติมถึงอุโบสถวัดรังษีสุทธาวาสว่า คณะกรรมการสภาการศึกษาที่ตั้งอยู่ในวัดบวรนิเวศวิหารเคยดำริจะรื้อครั้งหนึ่ง โดยจะสร้างใหม่เป็นตึกสองชั้นให้คู่กับตึกอีกหลังหนึ่งที่คุณกวี เหรียญวีระ อุทิศเงินสร้างเป็นห้องสมุดของมหามกุฏราชวิทยาลัย จะได้ใช้ประโยชน์แก่สภามหามกุฏฯ มากขึ้น ดีกว่าจะทิ้งเป็นอุโบสถร้าง ซึ่งในการดำริครั้งนั้น เงินค่าก่อสร้างก็มีอยู่พร้อมแล้ว โดยมีผู้แสดงเจตนาบริจาคไว้อย่างมีเงื่อนไขว่า ถ้ารื้อสร้างใหม่จึงจะบริจาค ถ้าซ่อมของเก่าไม่บริจาค

ทางวัดบวรนิเวศโดยท่านเจ้าประคุณ "สมเด็จพระญาณสังวร" และคณะกรรมการวัดพิจารณาเห็นว่าฝ่ายที่ต้องการให้รื้อมีเหตุผลเพื่อการศึกษา จึงได้ทำหนังสือถึงกรมการศาสนาเพื่อขอให้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต แต่ไม่กล้าใช้คำว่ารื้อสร้างใหม่โดยตรง แต่ใช้คำว่าซ่อมสร้างตามแบบแปลนที่ส่งไปด้วยและให้คงเป็นอุโบสถเก่าตามเดิมเมื่อเรื่องราวไปถึงกรมศาสนาและกรมศาสนามีหนังสือไปถึง "ท่านราชเลขาธิการ" ขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูล หนังสือของกรมการศาสนานั้น ย่อความหนังสือของทางวัดเป็น "ขอพระราชทานซ่อมสร้างตามรูปเดิม" (ซึ่งถ้าอ่านผ่านไปโดยเร็วก็น่าจะเข้าใจดังนั้น) จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ซ่อมได้ตามรูปเดิม จึงเป็นอันไม่ได้รื้อและผู้ที่แสดงเจตนาบริจาคก็งดบริจาค

ต่อมาทางวัดบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมดตามรูปเก่า ด้วยทุนที่สมาชิก "ราชสกุลอิศรางกูร" บริจาคส่วนหนึ่ง กับทุนของวัดส่วนมาก ดังที่เห็นในปัจจุบันการที่มีเหตุขัดข้องดุจกลับหน้ามือเป็นหลังมือเช่นนี้ ได้ยังความแปลกประหลาดใจแก่บรรดาพระเถระผู้ใหญ่และคณะกรรมการวัดเป็นอย่างยิ่ง จึงได้มีกรรมการวัดผู้หนึ่งไปเชิญผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิปัสสนามาดูทางใน...ก็ได้รับคำตอบว่า เจ้าที่และเทวดาผู้รักษาอุโบสถหลังนี้มีแรง (เฮี้ยน) มาก ยังมีความหวงแหนรูปแบบของสถาปัตยกรรม ไม่อยากให้รื้อทิ้งจึงบันดาลให้เรื่องราวกัลตาลปัตรเสีย

อย่างไรก็ดีก่อนหน้าที่จะมีการซ่อมแซมอุโบสถหลังนี้ให้เหมือนเดิม คุณสนิท ธนรักษ์ อยากจะทราบว่า เจ้าที่และเทวดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถจะบันดาลเหตุการณ์ได้นี้เป้นใคร และใคร่ทราบเหตุผลด้วยว่าเหตุใดจึงมีความประสงค์ไม่ให้รื้อ จึงได้ไปเชิญ "อาจารย์พร รัตนสุวรรณ และ อาจารย์ศรีเพ็ญ จัตุทะศรี" แห่งสำนักค้นคว้าทางวิญญาณ เชิงสะพานบางลำภู มาเข้าสมาธิดูอีกครั้งหนึ่งซึ่งวันนั้นตรงกับเป็นวันตรุษไทย เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๖

เมื่ออาจารย์พรและอาจารย์ศรีเพ็ญ ได้มาถึงอุโบสถวัดรังษีสุทธาวาสแล้ว อาจารย์ศรีเพ็ญก็เข้าสมาธิไปดูและกลับออกมาบอกคุณสนิทว่า"พยายามจะเข้าไปในอุโบสถแต่พอถึงประตูมีทหารยามเฝ้าประตูอยู่ด้านละ ๒ คน ในมือถืออาวุธยื่นออกมากั้นไว้และบอกว่าเข้าไปข้างในไม่ได้.... เมื่อได้มองเข้าไปภายในอุโบสถ เห็นบุรุษผู้หนึ่งนั่งอยู่บนเก้าอี้พนักสูง มีท่าทางน่าเกรงขามมาก แต่งกายประดับด้วยเครื่องประดับของผู้สูงศักดิ์ในอดีต"

อาจารย์ศรีเพ็ญบอกด้วยว่า พยายามจะขออนุญาตทหารยามเข้าไปพบแต่ทหารไม่ยอมให้เข้าท่าเดียว เลยไม่ทราบว่าบุรุษผู้สูงศักดิ์ ที่นั่งอยู่ภายในอุโบสถอย่างสง่างาม นั้นเป็นใครอย่างไรก็ตาม

เมื่อคุณสนิทนำเรื่องนี้ไปถามพระเถระผู้ใหญ่ในวัดบวรนิเวศวิหาร ก็ได้รับคำสันนิษฐานจากพระเถระบางรูปว่า

ผู้ที่อาจารย์ศรีเพ็ญ จัตุทะศรี เข้าสมาธิไปเห็นนั้นน่าจะเป็น "พระวิญญาณเสด็จในกรมขุนอิศเรศรังสรรค์" ต้นสกุล "อิศรางกูร ณ อยุธยา" ซึ่งเป็นผู้สร้างอุโบสถวัดรังษีสุทธาวาสมากกว่าจะเป็นบุคคลอื่น



http://board.palungjit.org/f12/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B0-548764.html

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-7-24 17:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องที่ ๓ "เด็กหัวจุก"

ในระหว่างปี ๒๕๐๔-๒๕๑๔ ซึ่งนับแต่ "ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร” เป็นเจ้าอาวาสครองวัดเป็นต้นมา คุณสนิทมักจะเข้าออกนอกในอยู่ในวัดบวรนิเวศวิหารเสมอ โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการก่อสร้างโน่นนี่ เป็นการรับใช้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ อยู่เสมอ และมักจะได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับเรื่องผีในวัดบวรนิเวศมิได้ขาด โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องผีเด็กซึ่งได้ยินบ่อย ๆ แต่ก็ไม่มีใครบันทึกไว้นอกจากเล่ากันฟังเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นใหม่ ๆ พอนานไปก็ลืมเสียเช่นเรื่องของ "สมเด็จกรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระสังฆราชเจ้า" ที่ทรงสนพระทัยเรื่องผี ขนาดทรงบันทึกเรื่องของผู้อื่นที่เล่าให้ฟังแล้ว ยังมีเรื่องที่พระองค์ท่านประสบมาเองอีกด้วย โดยทรงเล่าให้พระที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาเข้าไปรับฟัง จึงขอนำคำบอกเล่าของ "ท่านเจ้าคุณอมรโมลี (จุนท์ พรหฺมคุตฺโต ป.ธ. ๙) แห่งวัดบวรฯ มาถ่ายทอดให้ทราบดังนี้

ท่านเจ้าคุณอมรโมลี เล่าว่าในสมัยที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น ท่านเคยเข้าไปอุปัฏฐากรับใช้เสมอ

ในวันหนึ่งสมเด็จฯ ทรงเล่าว่าในสมัยที่บวชใหม่ ได้พำนักอยู่ที่คณะสูง เวลากลางคืนก็ชอบเดินมาคุยกับเพื่อนพระที่คณะเขียวบวรเพื่อถกกันถึงเรื่องปัญหาธรรมะต่าง ๆ

มีอยู่คืนหนึ่งมัวคุยเพลินอยู่กว่าจะกลับกุฏิที่คณะสูงก็เป็นเวลาเกือบจะตี ๓

ครั้นเมื่อเดินมาถึงใกล้สี่แยกคณะบัญจบเบญจมา ได้ผ่านต้นโพธิ์ใหญ่ต้นหนึ่ง (เดี๋ยวนี้ตัดออกแล้ว) ได้ยินเสียงวัตถุหล่นลงมาจากยอดปะทะกิ่งโพธิ์ดังกราวใหญ่จึงเอาไฟฉายส่องแหงนหน้าขึ้นไปดู ก็เห็นเด็กหัวจุกคนหนึ่ง แก้ผ้าล่อนจ้อนโหนกิ่งโพธิ์อยู่ จึงรีบเดินกลับกุฏิไปปลุกพระและเด็กศิษย์วัดให้มาดู แต่พอมาถึงก็ปรากฏว่าเด็กหัวจุกแก้ผ้าเปลือยกายนั้นหายไปเสียแล้ว

เรื่องที่ ๔ "เจ้าคุณวิธูรธรรมาภรณ์ก็เจอ"

รื่องโอปปาติกะเด็กหรือผีเด็กบริเวณคณะสูงนี้ ท่านเจ้าคุณวิธูรธรรมาภรณ์ (วิญญ์ วิชาโน) ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดไทยอยู่ในอินโดนิเซีย (มรณภาพแล้ว พ.ศ. ๒๕๔๙) ก็เคยเจอ กล่าวคือ

ในขณะที่เป็นเลขาสมเด็จพระญาณสังวร เมื่อยังมีสมณศักดิ์เป็นพระสาสนโสภณอยู่นั้น ท่านเจ้าคุณเป็นผู้ที่มีความขยันขันแข็งในการงานมาก แม้ในเวลากลางคืนดึกดื่น ถ้ามีงานจะต้องทำต้องติดต่อ ท่านจะไม่ปล่อยเวลาไห้ล่วงไป เล่ากันว่า ในคืนหนึ่งดึกมากแล้ว พระเณรก็จำวัดกันหมดแล้ว ท่านเจ้าคุรมีกิจธุระจะต้องออกจากุฏิตึกเขียวที่พักผ่อนไปทางคณะสูง ในขณะที่เดินงุด ๆ ไปนั้นก็ไปจังหน้าเอากับเด็กคนหนึ่งหน้าตาน่าเอ็นดู เกล้าผมจุก เดินเล่นอยู่ในบริเวณคณะสูงนั้น

ท่านเจ้าคุณวิธูรฯ ขยับปากจะพูดว่า ดึกดื่นป่านนี้ทำไมยังไม่นอน ก็พอดีได้สตินึกขึ้นมาได้ว่า ไม่ใช่ศิษย์วัดที่มาอยู่ในปัจจุบัน เพราะสังเกตุเห็นการแต่งตัวเป็นแบบเด็กโบราณ ท่านก็เลยเงียบเสียแล้วรีบเดินหลีกไป

ครั้นเดินห่างไปพอสมควร ได้หันกลับมาดูปรากฏว่าเด็กน้อยหัวจุกน่ารักคนนั้นหายไปเสียแล้ว


เรื่องที่ ๕ "ผีเด็กพากันมาเล่นน้ำฝน"

เรื่องผีเด็กในวัดบวรฯ ชุกชุม รายไหน ๆ ก็ไม่เกรียวกราวเท่ารายที่เจอที่ตำหนักจันทร์ ถึงกับพระนวกะต้องนั่งภาวนาสวดมนต์ตลอดคืน เรื่องมีอยู่ว่า

เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๙ หรือ พ.ศ. ๒๕๑๐ คุณสนิทก็ออกจะเลือน ๆ ไป จำไม่ได้แน่ชัด จำได้แต่เพียงว่าในเทศกาลเข้าพรรษาปีนั้น มีคนมาขออุปสมบทที่วัดบวรณกันมาก และในจำนวนนั้นก็มีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งคือ "พล.ต.ต. ชิต อันพะเตมีย์" เมื่อบวชเป็นพระนวกะแล้ว ทางวัดได้ให้ให้พระภิกษุชิตไปพักประจำพรรษาอยู่ที่ตำหนักจันทร์โดยมี "พระมหาลาภ ธนสาโร ป.ธ. ๙ ซึ่งพำนักอยู่ที่ตำหนักนั้นเป็นพระพี่เลี้ยง

ตามระเบียบของวัด เมื่อมีพระเข้ามาบวชในระหว่างเทศกาลเข้าพรรษา ทางวัดจะกำหนดวิชาให้เรียนนักธรรม ซึ่งพระใหม่จะต้องคร่ำเคร่งอยู่กับการศึกษาพระสูตร พระเวท และการปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัดตลอดเวลา ๓ เดือน จนกว่าจะออกพรรษา

ดังนั้น เมื่อมีเวลาว่างในตอนกลางคืน พระภิกษุชิต อัมพะเตมีย์ จึงต้องค้นคว้าทบทวนวิชาที่เรียนมาในตอนกลางวัน

วันหนึ่งเวลาประมาณตีสอง ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักและก็ได้พรำอยู่ไม่ขาดเม็ด แต่พระภิกษุชิตก็ยังไม่จำวัด ได้นั่งอ่านหนังสืออยู่

ทันใดนั้น ท่านก็ได้ยินเสียงเด็ก ๆ เป็นจำนวนมากมาวิ่งเล่นกันอยู่ที่ลานหน้าตำหนักใกล้ต้นประดู่ใหญ่ ท่านก็นึกสงสัยว่าดึกดื่นป่านนี้แล้ว ทำไมยังมีเด็กนอกวัดมาวิ่งเล่นกันให้วุ่นวายเช่นนี้

ท่านจึงเดินไปเปิดหน้าต่างชะโงกหน้าออกไปดู ก็เห็นเด็ก ๆ เล็กบ้าง โตบ้าง ไม่น้อยกว่า ๑๐ คน กำลังวิ่งไล่จับกันและหัวร่อต่อกระซิกกันอย่างสนุกสนาน

ครั้นเมื่อเพ่งพิจารณาดูก็เห็นว่าเด็ก ๆ เหล่านี้มีหน้าตาและการแต่งกายไม่เหมือนเด็กในปัจจุบัน ส่วนใหญ่โกนผม ไว้แกละสองข้างก็มี เกล้าจุกก็มี เด็กเหล่านั้นกำลังหยอกล้อกันโดยไม่สนใจว่าจะมีใครมาจ้องมองดูอยู่เลย

พระภิกษุชิต อัมพะเตมีย์ เล่าให้ฟังว่า ได้มองดูเด็ก ๆ วิ่งเล่นอยู่ครู่หนึ่งก็รู้สึกขนลุกเกรียวขึ้นมา จึงนึกได้ว่าเด็ก ๆ ที่วิ่งเล่นกันอยู่นี้คงจะไม่ใช่เด็กธรรมดาเสียแล้ว เพราะชาวบ้านร้านตลาดเขาหลับนอนกันหมด คงจะไม่มีใครปล่อยลูกหลานให้ออกมาเที่ยววิ่งเล่นน้ำฝนในบริเวณวัดเช่นนี้

พอนึกขึ้นได้ว่าถูกผีเด็กหลอกเข้าให้แล้วเท่านั้น ก็รีบลนลานปิดหน้าต่างแล้วตรงไปที่โต๊ะหมู่บูชาพระสวดมนต์เป็นการใหญ่ แต่จำไม่ได้ว่าสวดบทไหนบ้างเพราะเพิ่งเป็นพระบวชใหม่ รวมความว่า นึกถึงบทไหนก็สวดพึมไป ถูกบ้าง ผิดบ้าง แต่ใจคิดก็ยังไม่หายสั่น จึงได้ไปเคาะประตูห้องพระมหาลาภให้ออกมา แล้วก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง

ฝ่ายพระมหาลาภเมื่อได้ฟังพระภิกษุชิตเล่าแล้วก็ได้แต่ยิ้มฟันขาว บอกว่าไม่มีอะไรหรอก ให้พระภิกษุชิตจุดธูป "ตั้งจิตอธิษฐาน แผ่ส่วนกุศลไปให้แก่เด็ก ๆ ที่เป็นโอปปาติกะที่อยู่ในวัดนั้นเสียก็หมดเรื่อง และเมื่อพระภิกษุชิตปฏิบัติตามคำแนะนำแล้ว เสียงเด็กที่วิ่งเล่นกันเกรียวก็เงียบเสียงลงทันที "

ในวันรุ่งขึ้นพระภิกษุชิต อัมพะเตมีย์ ก็ไปหาเจ้าอาวาสและเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อคืนให้ฟัง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ (ขณะนั้นยังเป็นที่พระสาสนโสภณ) ได้แนะนำให้ถวายสังฆทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผีเด็ก ๆ


ครั้นเมื่อพระภิกษุชิต ได้ทำพิธีถวายสังฆทานแล้ว ผีเด็ก ๆ ที่หน้าตำหนักจันทร์ก็เงียบหายไปจนทุกวันนี้


http://board.palungjit.org/f12/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B0-548764.html

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-7-24 17:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องที่ ๖ "คณะแดงเก่าผีสาวมาก"

เจ้าคุณอมรโมลี (จุนท์ พรหมคุตฺโม) วัดบวรนิเวศวิหาร เล่าให้คุณสนิทฟังว่า

นานมาแล้ว เมื่อทางวัดยังไม่ได้รื้อคณะแดงเพื่อสร้างอาคารทรงไทย ภปร. ใหม่ ที่กุฏิคณะแดงหลังที่อยู่ติดกับคูน้ำก็เคยมีพระและศิษย์วัดบางคนเห็นผีผู้หญิงแต่งตัวแบบโบราณคือนุ่งผ้าซิ่นห่มผ้าสไบเฉียง ๓ คน ไต่จากเพดานลงมานั่งเล่นที่ระเบียงกุฏิ

ท่านเจ้าคุณอมรโมลีเล่าว่าตัวท่านเองมิได้เห็นเอง แต่ฟังจากพระเก่า ๆ ที่เคยพักประจำอยู่ที่คณะแดงนั้นเล่าให้ฟังอีกทอดหนึ่ง ซึ่งบางครั้งระหว่างออกพรรษา ไม่มีพระประจำอยู่ที่กุฏิใกล้ต้นประดู่ เวลาเย็นโพล้เพล้ ผีสาว ๆ หน้าตาจุ๋มจิ๋มก็มักจะออกมาปรากฏร่างให้เห็นเสมอและบางครั้งก็มีผีเด็กผู้ชายเกล้าผมจุกปักปิ่นมานั่งเล่นกับสาว ๆ ด้วย

เมื่อพูดถึงต้นประดู่ที่อยู่หลังคณะแดงนี้ ก่อนที่จะรื้อคณะแดงและตัดต้นประดู่เพื่อสร้างอาคารขึ้นใหม่นี้ เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรได้ทำพิธีบวงสรวงอัญเชิญเจ้าที่หรือวิญญาณโอปปาติกะที่ประจำที่กุฏิและที่ต้นประดู่ให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น โดยการทำพิธีบวงสรวงในครั้งนั้น อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้นำคณะนาฏศิลป์จากกรมศิลปากรพร้อมพิณพาทย์ลาดตะโพนไปรำถวายด้วย

ครั้นเมื่อรื้อกุฏิและขุดตอต้นประดู่ออกหมดแล้ว คุณสนิทก็เห็นตอประดู่ตอนนั้นมีรากค่อนข้างประหลาด กล่าวคือรากแต่ละรากที่หยั่งลงดินยาวประมาณศอกเศษจะขดเป็นปมกลมเกือบจะทุกราก ปกติ คุณสนิท ธนรักษ์ เป็นคนรักธรรมชาติอยู่แล้ว คิดว่าถ้าทิ้งไว้คนงานก่อสร้างก็จะนำไปเผาไฟเสีย รู้สึกเสียดายจึงขนเอาไปเก็บไว้ที่บ้านและทำเป็นชั้นสำหรับเป็นที่ตั้งโทรศัพท์

และจะเป็นเพราะมีนิสัยที่ชอบเก็บตอไม้รากไม้แปลก ๆ ไปตั้งไว้หรือเพราะอย่างไรไม่ทราบได้ จึงมีผู้เชี่ยวชาญทางวิปัสสนาที่ได้ตาทิพย์หลายท่าน ทั้งที่เคยไปบ้านคุณสนิท และ ไม่เคยทักว่า ทำไมบ้านของคุณสนิทเต็มไปด้วยโอปปาติกะและวิญญาณไม่น้อยกว่าครึ่งร้อย ซึ่งส่วนมากเป็นหญิงโบราณสาวสวยเกือบทั้งสิ้น และมีเด็กไว้ผมจุกด้วย

และเมื่อท่านเจ้าคุณอมรโมลีมาเล่าถึงเรื่องผีสาวและผีเด็กที่กุฏิคณะแดงให้ฟังดังนี้ ก็ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ผีสาวและผีเด็กที่วัดบวรนิเวศวิหารคงจะตามตอไม้ไปอยู่ที่บ้านคุณสนิทหลายคน ซึ่งในบางครั้งได้เคยไปเข้าฝันแก่เด็กนักศึกษาที่มาอาศัยอยู่ที่บ้านให้เห็น แต่สำหรับคุณสนิทเองไม่เดยฝันและไม่เคยเจอ....

เรื่องที่ ๗ "วิญญาณพระ"

ต่อไปนี้จะขอเล่าถึงพระที่มรณภาพหรือสิ้นพระชนม์ไปแล้ว วิญญาณไปเกิดเป็นเทวดาอยู่ในชั้นเทพและชั้นพรหม เรื่องก็มีอยู่ว่า เจ้าคุณอมรโมลี อีกนั่นแหละเล่าให้ฟังว่าสมัยเมื่อท่านบวชเป็นพระใหม่ ๆ ราว พ.ศ. ๒๔๙๕ ท่านเจ้าคุณอมรโมลีพร้อมด้วยท่านเจ้าคุณวิธูรธรรมาภรณ์ และพระมหาประยูร เวชปาน รวม ๓ องค์ด้วยกัน ได้ไปร่วมกันแปลหนังสือคัมภีร์ขอมที่กุฏิคณะ และการแปลหนังสือขอมมาเป็นไทยนี้ ต้องแปลกันอยู่หลายคืนจึงจะจบ

ในคืนวันหนึ่งจะเป็นเดือนอะไรจำไม่ได้ เวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น. เศษ ขณะที่กำลังช่วยกันแปลอยู่ในห้องนั้น ก็ได้ยินเสียงคนเดินกุก ๆ อยู่บนเพดาน พวกเราพากันแปลกใจจึงหยุดแปลหนังสือเงี่ยหูฟัง ก็ยังมีเสียงเดินกุก ๆ อยู่บนเพดานอีก แต่คราวนี้เดินอยู่ตรงศีรษะ มีฝุ่นร่วงกราวลงมา เปื้อนจีวรไปตาม ๆ กัน

พระมหาประยูร เวชปาน อดใจไม่ได้ จึงร้องตะโกนขึ้นไปว่า "ถ้าเก่งจริงก็ลงมาซิ"

คราวนี้เงียบหายไม่มีเสียงเดินอีก

ในวันรุ่งขึ้น เวลากลางวันพวกเราอยากจะรู้แน่ว่าบนเพดานกุฎิมีอะไร พระมหาประยูรจึงปีนขึ้นไปดูก็เห็นมีจีวรเก่า ๆ อยู่ผืนหนึ่งกับไม้เท้าอีกอันหนึ่ง ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นของพระภิกษุรูปใดมาจนกระทั่งบัดนี้ เพราะที่คณะกุฏิเคยมีพระภิกษุมรณภาพมาหลายองค์”



6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-7-24 17:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องที่ ๘ "หลวงตานั้นคือใคร ?"

ท่านเจ้าคุณอมรโมลี ได้เล่าให้คุณสนิทฟังอีกต่อไปว่า

นั่นเป็นเหตุการณ์ครั้งแรกที่มาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารใหม่ ๆ ซึ่งมีเหตุการณ์อีกครั้งหนึ่งที่เจอจัง ๆ หน้าคือ

เมื่อก่อนที่ทางวัดจะรื้อกุฏิคณะขาบบวรสร้างใหม่ในคืนวันหนึ่งเดือนหงายจึงออกมาเดินเล่นแถวหน้ากุฏิ "ดารากร" ซึ่งเป็นที่พักของท่าน

เวลาประมาณ ๕ ทุ่มเศษก็จะขึ้นกุฏิ โดยเดินไปล้างเท้าที่ก๊อกน้ำประปา จึงได้พบกับพระภิกษุหลวงตารูปหนึ่งยืนครองผ้าห่มคลุมอยู่ที่ก๊อกประปานั้น ถามว่า ใคร ท่านก็ไม่ตอบ จึงเดินเข้าไปใกล้เพื่อดูหน้า ก็ไม่รู้จักเพราะไม่ใช่พระที่วัดนี้ จึงได้ถอยกลับออกไป แล้วไปปลุกเด็กลูกศิษย์มาดู

แต่ปรากฎว่าพอมาถึง หลวงตาแก่ ๆ นั้นได้หายไปเสียแล้วมื่อเจ้าคุณอมรโมลี เล่าจบ ท่านเจ้าคุณเทพกวี (บุญธรรม จิณฺณธมฺโม) แห่งวัดบวรนิเวศวิหารก็เล่าถึงเรื่องหลวงตาแก่ให้ฟังบ้างว่า

เมื่อคราวที่ทางวัดนี้รื้อกุฏิไม้คณะเขียวบวรเพื่อสร้างใหม่เช่นเดียวกับคณะขาบบวร ลูกศิษย์ของท่านก็เจอหลวงตาแก่ ๆ ในยามวิกาลเหมือนกัน กล่าวคือ

ในคืนหนึ่งประมาณ ๓ นาฬิกา ลูกศิษย์คนหนึ่งได้ลุกขึ้นดูหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบไล่ ขณะที่นั่งอยู่บนเฉลียงชั้นสองของคณะเขียวบวรนั้น ก็ได้ยินเสียงคนเดินก๊อก ๆ อยู่รอบ ๆ บริเวณตึกที่กำลังสร้างใหม่ ได้สงสัยว่าเพราะเหตุใดผู้รับเหมาจึงมาตรวจงานแต่ดึกดื่นเช่นนี้จึงชะโงกหน้าไปดู

ก็พบพระหลวงตาผู้มีอายุสูงผู้หนึ่ง มีร่างสูงศีรษะโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นชั้นสองที่ตนนั่งอยู่ กำลังเดินดูโน่นดูนี่อยู่ แต่ไม่เห็นหน้าว่าเป็นใคร เพียงแต่เห็นชัดว่าไม่ได้โกนผม

ครั้นพอนึกขึ้นได้ว่า เมื่อวานนี้เป็นวันโกน ขึ้น ๑๔ ค่ำซึ่งพระเณรทั้งวัดโกนผมกันหมด แต่หลวงตาองค์นี้ไม่ได้โกนผมก็นึกว่าเป็นผี เลยผลุนผลันรีบกลับเข้าห้องภาวนาและในวันรุ่งขึ้นก็ได้มาเล่าให้ท่านเจ้าคุณเทพกวีฟัง หลวงตาแก่ ๆ ที่เจ้าคุณอมรโมลีเล่าก็ดี และที่เจ้าคุณเทพกวีเล่าก็ดี คุณสนิทได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นโอปปาติกะวิญญาณของ "หลวงพ่อโอภาสี (ชวน โอภาสี) เพราะท่านเคยมีความผูกพันอยู่กับวัดบวรนิเวศวิหารมาก

ซึ่งแต่ก่อนที่ท่านจะไปดังอยู่ทางวัดปากน้ำภาษีเจริญนั้น ท่านก็ได้ประจำพรรษาอยู่ที่คณะแดงเป็นเวลานาน แต่มีเหตุการณ์ที่จะออกจากวัดบวรฯ ไปอยู่ที่อื่นนั้นก็เนื่องจากท่านเป็นพระขลัง ๆ อยู่ ข้างนิยมทางไสยศาสตร์บางอย่าง และมีการฝ่าฝืนพระวินัยบัญญัติบางข้อ เช่น การตัดต้นไม้ที่อยู่ในวัดทุกชนิด เอามาป่นละเอียดผสมกับวัตถุอื่นแล้วปลุกเสกเป็นพระเครื่องราง แจกจ่ายแก่ประชาชนทั่วไปอย่างอึกทึกครึกโครม

ทางวัดบวรนิเวศ โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้าจึงนิมนต์ไปจำพรรษาอยู่วัดอื่น

ตามประวัติเล่ากันว่า เมื่อ "ท่านมหาชวน (หลวงพ่อโอภาสี)" ประจำอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น ท่านชอบเรียนเวทมนต์คาถาอาคมต่าง ๆ และเมื่อมั่นใจ ท่านก็ทำพิธีปลุกเสกของขลังต่าง ๆ เป็นเหตุให้ประชาชนที่แตกตื่นพากันมาขอของดีจากท่านแน่นขนัดไม่เว้นแต่ละวัน การทำของขลังของหลวงพ่อโอภาสีนี้ หลายครั้งท่านได้ไปถากเอาเปลือก เอาแกนของต้นไม้ที่อยู่ในวัดมาสร้างเป็นพระเครื่องเพราะถือว่าต้นไม้ในวัดบวรฯ ศักดิ์สิทธิ์ทุกต้น เช่น ต้นประดู่ที่หน้าตำหนักจันทร์ ต้นพิกุล ต้นโพธิ์ ต้นไทรแม้กระทั้งต้นสาเกและต้นหว้า ฯลฯ ทำให้ต้นไม้บางต้นทรุดโทรมและแห้งตายไปก็มี วามเรื่องนี้ได้ทราบถึงสมเด็จกรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระสังฆราชเจ้า ทรงเกรงว่า ถ้าปล่อยให้มหาชวนตัดต้นไม้เอาไปทำของขลังต่อไป ต้นไม้ต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ดั้งเดิมเพื่อความร่มรื่นของวัดคงจะตายหมดแน่ และกว่าจะปลูกโตขึ้นมาใหม่ได้ ก็ใช้เวลานานปี

ด้วยเหตุนี้จึงอ้างว่า ท่านมหาฃวนกระทำผิดวินัยบัญญัติของพระคือ ห้ามตัดทำลายต้นไม้หรือแม้จะทำให้ใบสีเขียวหลุดออกจากต้นเพียงใบสองใบก็ตาม

กันด้วยว่า ในการนิมนต์มหาชวนออกจากวัดบวรฯ นั้นทางวัดได้ขอให้ "พ.ต.ต. หลวงชาติตระการโกศล" (ยศสมัยนั้น) เป็นผู้มานิมนต์

"พระมหาชวนหรือหลวงพ่อโอภาสี" ก็ไปแต่กายเท่านั้น ส่วนใจของท่านยังรักอาลัยวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ตราบจนกระทั่งถึงแก่มรณภาพ ด้วยเหตุนี้ คุณสนิทจึงได้สันนิษฐานว่า วิญญาณของหลวงตาแก่ ๆ ที่เจ้าคุณอมรโมลีและลูกศิษย์เจ้าคุณเทพกวีเห็นคงจะไม่ใช่ใครอื่นเพราะเคยอยู่ที่คณะแดง ซึ่งมีกุฏิอยู่ใกล้ชิดติดกับคณะเขียวบวรและคณะขาบบวร





http://board.palungjit.org/f12/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B0-548764.html
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-7-24 17:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องที่ ๙ " เปรตวัดบวรฯ ก็มี"

ตามที่สมเด็จกรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระสังฆราชเจ้าได้ทรงเล่าว่า

พระสังกิจจคุณ แห่งวัดตรีทศเทพได้เคยได้ยินเสียงเปรตและเห็นเปรตที่วัดตรีทศเทพ ซึ่งปัญหาเรื่องเปรตนี้ เราท่านมักจะเคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวกันบ่อย ๆ แต่ไม่ค่อยจะได้มีใครเห็นตัวมากนัก นอกจากจะได้ยินเสียงโหยหวนสูง ๆ ต่ำ แล้วก็นำมาเล่ามาวิจารย์ว่าเป็นเสียงเปรต

ที่วัดบวรนิเวศฯ นี้ก็เช่นเดียวกัน ในระยะหลัง ๆ นี้ พระเณรและบรรดาลูกศิษย์เล่าให้ฟังว่า ได้เคยได้ยินเสียงเปรตร้องที่คณะสูงและที่ตำหนักทรงพรตเสมอ ในวาระเทศกาลเข้าปุริมพรรษาว่ากันว่า เปรตมาขอส่วนบุญแก่พระภิกษุบวชใหม่ที่มาพักประจำอยู่ที่คณะนั้น ๆ

อันที่จริงถ้าจะแปลความหมายของคำว่า "เปรต" แล้วก็หมายความว่า คนที่ตายจากโลกนี้ไปแล้วนั่นเอง แต่จะไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกายหรือเป็นโอปปาติกะนิรมิตรกายได้ ก็สุดแต่กรรมของคนผู้นั้นจะส่งผล

ถ้าไปเกิดเป็นเปรต ก็เรียกว่า "เกิดในภพเปรต" ซึ่งเป็นภพที่แห้งแล้ง ร้อนเป็นไฟ อดอยาก มีความหิวกระหายอยู่เป็นกำลัง และภพนั้นก็ยังเต็มไปด้วยสิ่งเน่าเหม็นติดกายอยู่ตลอดเวลา

แต่ทว่าเปรตก็ยังแบ่งออกไปเป็นหลายจำพวก สมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ทรงประมาลจากคัมภีร์ไว้ว่า มี ๔ จำพวก แต่ในลัทธิลามะกล่าวว่า มี ๓๖ จำพวก ในพระมาลัยสูตรว่า มี ๑๒ จำพวก และบางจำพวก แม้บรรดาญาติจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เท่าไหร่ ๆ ก็ไม่ได้รับส่วนบุญนั้น บางพวกก็ได้รับส่วนบุญ เป็นต้น

คำว่า "เปรต" นี้ บางทีพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้เรียกเฉพาะคนที่ตายเป็นผีเท่านั้น แม้คนที่ยังไม่ตายก็เรียกเปรตด้วย เช่นค่ำว่า "มนุสเปโต" หรือคำว่ "เปตมนุสสะ" เป็นต้น มนุษย์เปรตหรือเปรตมนุษย์ แปลความหมายว่า เป็นมนุษย์ผู้เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา มีความโลภ ความอยากได้ในทรัพย์สินของผู้อื่นในทางที่ไม่ชอบ รื่องเปรตที่มาร้องโหยหวนอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ นี้ ก็เช่นเดียวกัน คิดว่าคงจะมีความหิวกระหาย อดอยากเต็มประดา เมื่อทราบว่ามีญาติโยมหรือลูกหลานมาบวชเป็นสาวกพระตถาคต จึงมาครวญครางขอส่วนบุญ ซึ่งพระบวชใหม่บางรูปคิดเอาเครื่องบันทึกเสียงมาอัดเสียงเปรตไว้ก็มี เช่น "พระภิกษุ ม.ร.ว. ทองน้อย ทองใหญ่" ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งแห่งราชสำนัก ขณะมาประจำพรรษาอยู่ที่วัดบวรฯ ได้ยินเสียงเปรตร้องในเวลาดึกสงัดหลายครั้ง จึงคิดจะจับเปรตหรืออัดเสียงเปรต

ครั้นเอาเทปมาคอยอัดเสียงตามเวลาที่เปรตเคยมาร้อง เปรตก็ไม่มาร้องโหยหวนให้ได้ยิน แต่พอไม่ได้เตรียมเทปอัดเสียง เปรตก็มาร้องอีก

พระบวชใหม่บางองค์ที่ตระหนักในบาปบุญคุณโทษ เมื่อได้ยินเสียงเปรตก็ไปขอคำแนะนำจากท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรเมื่อท่านให้คำแนะนำให้ถวายสังฆทานอุทิศส่วนกุศลไปให้ เสียงนั้นก็หายไป ไม่มาร้องโหยหวนคร่ำครวญขอส่วนบุญอีก...

เรื่องที่ ๑๐ "โครงกระดูกเดินได้"

พระภิกษุแสวง (สนฺเตสโก) รามสูตร อายุ ๖๒ ปี วัดบวรนิเวศวิหาร เล่าให้คุณสนิทฟังว่า

ที่คณะสูงซึ่งเป็นกุฏิสองชั้นสำหรับให้พระชาวต่างประเทศมาพักอาศัยโดยเฉพาะ ก็เคยมีเสียงเปรตร้องและปรากฏร่างให้พระฝรั่งเห็นคือ

พระภิกษุยอร์ช (เป็นชาวอังกฤษหรือเมริกัน จำไม่ได้) ซึ่งพระภิกษุยอร์ชผู้นี้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก จึงมาขอบวชที่วัดบวรฯ และเมื่อบวชแล้ว ก็ได้ท่องเที่ยวจาริกธุดงควัตรไปฝึกวิปัสสนากรรมฐานตามบรรดาสำนักอาจารย์กรรมฐานต่าง ๆ ทางภาคอีสานอยู่ ๑๐ กว่าปี นาน ๆ จึงจะกลับมาพักอยู่ที่วัดบวรฯ ครั้งหนึ่ง

และในคืนวันหนึ่ง เดือนอะไรจำไม่ได้ ราวพ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๑๘ ดึกมากแล้ว

พระภิกษุยอร์ชนั่งกรรมฐานอยู่บนห้องชั้นสอง เมื่อออกจากรรมฐานแล้วก็ได้ยินเสียงเปรตมาร้องเป็นเสียงสูงๆ อยู่ใกล้ ๆ หน้าห้อง จึงเปิดประตูออกมาดูว่าเป็นเสียงอะไร

เมื่อเปิดประตูออกมาดูแล้วก็เห็นเป็นเงาคนดำๆ ยืนอยู่บนเฉลียง (ซึ่งโดยปกติพระกรรมฐานไม่กลัวผี) จึงเดินเข้าไปใกล้ ๆ แต่พอใกล้ประมาณ ๓ เมตร ร่างนั้นได้กลายเป็นโครงกระดูกทั้งร่างครบถ้วน

พระภิกษุยอร์ชก็เลยหัวเราะชอบใจ แล้วเดินเข้าไปใกล้อีก

แต่ผีที่มองเห็นเป็นโครงกระดูกนั้น กลับเดินถอยห่างออกไป

พระภิกษุยอร์ชก็เลยพูดภาษาไทยด้วยสำเนียงแปร่ง ๆ แบบฝรั่งว่า

"เอ่อ เอ่อ โครงกระดูกเดินได้ ๆ สนุกดี...."

ทันใดนั้น ร่างโครงกระดูกที่ปรากฏก็หายไป ...!!!




8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-7-24 17:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องที่ ๑๑ "ผีผู้หญิงในวัดบวรฯ"

ผีในวัดบวรฯนั้น กล่าวกันว่ามีมากมายหลายชนิด แต่คุณสนิท ได้เล่าถึงผีผู้หญิงในวัดบวร ฯ เอาไว้ว่า เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ หรือ ๒๕๑๐ (จำไม่ได้) "ท่านศาสตราจารย์นายแพทย์ ม.ล.เกษตร สนิทวงศ์" ได้บวชเป็นนาคหลวงและได้มาประจำพรรษาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยพักอยู่ที่คณะตำหนักทรงพรต

เมื่อบวชอยู่ได้จวนจะออกพรรษา ในคืนหนึ่ง ดึกแล้ว ท่านพระภิกษุ ม.ล.เกษตรฯ กำลังนั่งแต่งกระทู้สอบนักธรรมอยู่ที่โต๊ะเขียนหนังสือซึ่งภายในห้องนั้นได้เปิดไฟสว่างจ้าอยู่ และขณะที่กำลังนั่งคิดเขียนกระทู้เพลินอยู่ที่โต๊ะนั่นเอง รู้สึกว่าได้ยินคนเดินเบา ๆ อยู่ข้างหลังจึงเหลียวไปดู ก็เห็นผู้หญิงสาวสวยคนหนึ่งแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบโบราณ กิริยาท่าทางเป็นคนเรียบร้อยมาก กำลังเดินอยู่รอบ ๆ เตียงนอนของท่านแล้วก็ทรุดตัวลงนั่งพับเพียบอยู่ข้างเตียงนั้น

ท่านพระภิกษุ ม.ล.เกษตร สนิทวงศ์ ขยับแว่นตาดูให้ถนัดอีกครั้งเพราะเกรงว่าจะมีอุปาทานหรือตาฝาดไป ก็ยังเห็นผู้หญิงสาวสวยนั้นเป็นรูปเป็นร่างเหมือนคนเรานี่ ทุกประการ จึงคิดในใจว่า คงจะเป็นผีอย่างแน่นอนเพราะถ้าไม่ใช่ผีเหตุไฉนจะเข้ามาในห้องได้โดยที่ประตูปิดใส่กลอนอยู่

แต่ท่านพระภิกษุ ม.ล. เกษตร ฯ ไม่กลัวเพราะเป็นศาสตรจารย์สอนวิชาแพทย์อยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเห็นผีเห็นคนตายสด ๆ มามากต่อมาก ประกอบกับได้ศึกษาธรรมะเกี่ยวกับเรื่องโลกวิญญาณมาพอสมควร จึงได้ตั้งสมาธิจิตแผ่กุศลไปให้แก่หญิงสาวสวยโอปปาติกะนั้น

ครั้นแล้วร่างของหญิงนั้นก็อันตรธานไป

ในวันต่อมา ท่านพระภิกษุ ม.ล. เกษตร สนิทวงศ์ ไม่ลืมที่จะไปเล่าให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอาวาสทราบ

และเมื่อเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้แนะนำให้ถวายสังฆทานอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้แก่หญิงที่มาปรากฎร่างผู้นั้นแล้ว ก็ไม่เคยมาปรากฏให้เห็นอีกจนกระทั่งออกพรรษา รับกฐินพระราชทานแล้วจึงลาสิกขาไป

เรื่องที่ ๑๒ " ชุมนุมครั้งใหญ่"

คุณสนิท ธนรักษ์ ได้เล่าเรื่องเปรตวัดบวรฯ ที่มาชุมนุมครั้งใหญ่ว่า

เมื่อต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ระหว่างวันที่ ๑-๗ ซึ่งทางวัดได้จัดให้มีงานสัปดาห์อนุสรณ์ ๕๐ ปี นับแต่วันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระสังฆราชเจ้า นั้น ได้มีการบำเพ็ญพระราชกุศลเพื่อุทิศถวายแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าอย่างเอิกเกริก โดยมีการสวดมนต์ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณรที่มาในงานนี้ทุกวัน วันละหลายร้อยรูป นอกจากนี้ยังได้เปิดนิทรรศการต่าง ๆ ให้ประชาชนได้ชมกันทั่วทั้งวัด โดยเฉพาะที่อาคาร ภปร. ซึ่ง "คุณหญิงละมุน มีนะนันท์" มีจิตศรัทธาอุทิศเงินไม่น้อยกว่าสองล้านบาท สร้างอุทิศส่วนกุศลให้แก่ "คุณกวี เหรียญระวี" ผู้วายชนม์ไปแล้ว เพิ่งจะทำพิธีเปิดได้ไม่นาน ท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ซึ่งเป็นอุบาสกของวัดนี้คนหนึ่ง ได้จัดให้มีการแสดงวิธีปฎิบัติกรรมฐานบนอาคารชั้น ๒

อันการแสดงวิธีปฏิบัติกรรมฐานนั้น "นายแพทย์อวย เกตุสิงห์" ได้จัดแสดงให้เห็นถึงอสุภกรรมฐานด้วย โยนำเอาเนื้อหนังมังสาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายคนหลายคนที่ใส่ดองมาให้พิจารณาให้เห็นของจริง การนำเอาชิ้นส่วนต่าง ๆ ของคนมาดังกล่าว ท่านนายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้นำมาจากโรงพยาบาลศิริราชที่ท่านเป็นอาจารย์สอนวิชาแพทย์

ครั้นตกยามดึก ก็ปรากฏว่ามีเปรตหลายตนพากันติดตามมาร้องด้วยเสียงเยือกเย็น รวมทั้งเปรตอีกจำนวนหนึ่งที่มาร้องขอส่วนบุญเนื่องจากทางวัดมีงานบำเพ็ญมหากุศลครั้งใหญ่ เปรตก็เลยเพ่นพ่านเต็มวัดบวรฯ ไปหมด

เรื่องเสียงร้องของเปรตในยามดึกดื่นคืนนั้น นอกจากจะมีพระภิกษุสามเณรและลูกศิษย์พระบางคนได้ยินแล้ว ม.ล.จิตติ นพวงศ์ อุบาสิกาของวัดวบร ฯ อีกผู้หนึ่งเล่าว่า มีเพื่อนฆราวาสเคยได้ยินอีกหลายคน แต่เมื่อทางวัดจัดให้มีการถวายสังฆทานอุทิศส่วนกุศลไปให้ เสียงเปรตที่อาคาร ภปร. ก็เงียบหายไป
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-7-24 17:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องที่ ๑๓ "อีลุ้ย !!"

ท่านอาจารย์อั๋น (สลฺเลขิโต) แก้วประเสริฐ แห่งวัดบวรนิเวศ ซึ่งบวชมาได้ ๒๓ พรรษาแล้ว เล่าให้คุณสนิทฟังว่า เมื่อประมาณ ๑๐ กว่าปีมานี่ ท่านได้ติดตามพระอาจารย์เทสก์ (เทสโก หรือ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ไปประจำพรรษาอยู่ที่วัดหลังศาล อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต อยู่สามปี ทั้งนี้ก็เพื่อจะฝึกเรียนกรรมฐานกับท่านอาจารย์เทสก์โดยเฉพาะ และได้มีเรื่องราวเกี่ยวกับเปรตที่วัดหลังศาลมาเล่าให้ฟังเรื่องหนึ่ง กล่าวคือ

ในคืนวันหนึ่งได้มีพายุกระหน่ำอย่างหนัก จนเป็นเหตุให้มะม่วงตาลจีนเก่าแก่ต้นหนึ่ง ที่อยู่ในบริเวณวัดหลังศาล หล่นร่วงลงมามาก

"แม่ชีเตี้ยง" เป็นคนมีเชื้อจีนทางภาคอีสาน และได้ติดตามท่านอาจารย์เทสก์มาภูเก็ต เพื่อเรียนฝึกกรรมฐานพร้อมกับแม่ชีบุญชูอีกคนหนึ่ง เห็นว่ามีมะม่วงหล่นลงมาเกลื่อนกลาดเช่นนั้นก็รู้สึกเสียดาย เมื่อลมพายุสงบแล้วประมาณสองทุ่มเศษ จึงออกจากกุฏิไปเก็บมะม่วงเหล่านั้น

ขณะที่แม่ชีกำลังก้ม ๆ เงย ๆ เก็บมะม่วงมารวมกองไว้ก็เห็นผู้หญิงคนหนึ่งผมยาวประบ่านั่งบนมูลดินมองดูอยู่ แม่ชีเตี้ยงเข้าใจว่าเป้น "อีลุ้ย" คนสติฟั่นเฟือน บ้า ๆ บอ ๆ ที่อาศัยอยู่ข้างวัด จึงร้องสั่งด้วยความคุ้นเคยว่า "อีลุ้ย ไปเอากะชะ (ตะกร้า) มาให้ข้าที"

แต่ผู้หญิงคนนั้นหรืออีลุ้ยของแม่ชีก็นั่งเฉยเสีย แม่ชีเตี้ยงจึงพูดขึ้นอีกว่า "โธ่! อีลุ้ย! มัวนั่งซึมอยู่ได้ บอกว่าให้ไปเอากะชะมาให้ข้าที ได้ยินไหม"

แต่อีลุ้ยของแม่ชีเตี้ยงก็ยังนั่งเฉยอยู่อีก แม่ชีเตี้ยงขัดใจขึ้นมา เก็บมะม่วงได้ลูกหนึ่งก็ขว้างไปที่อีลุ้ย ได้ยินเสียงดัง "ปุ"

เมื่อแม่ชีเตี้ยงเห็นดังนั้น อาศัยที่ได้ฝึกกรรมฐานกับพระอาจารย์เทสก์มาก็นานพอสมควร ก็เข้าใจได้ทันทีว่าเป็นเปรต ! จึงร้องบอกไปว่า "อ๋อ! นึกว่าอีลุ้ย เอาเถิดแล้วฉันจะทำบุญกรวดน้ำไปให้ ขอแม่จงเป็นสุข ๆ เถิด"

พูดแล้วแม่ชีเตี้ยงก็รีบหอบมะม่วงกลับมาเพียงไม่กี่ผลและเมื่อเดินห่างออกมาแล้ว ได้หันหลับไปมองอีกครั้ง ก็ยังเห็นเปรตสาวนั่งหัวเข่าท่วมหัวโด่อยู่อย่างนั้น !

ท่านอาจารย์อั๋น เล่าต่อไปว่า ในวันรุ่งขึ้น แม่ชีเตี้ยงก็ขึ้นไปหาท่านอาจารย์เทสก์และเล่าถึงเรื่องเห็นเปรตที่ใต้ต้นมะม่วงตาลจีนให้ท่านฟังซึ่งท่านอาจารย์อั๋นก็นั่งอยู่ด้วย

เมื่อแม่ชีเตี้ยงเล่าจบ ท่านอาจารย์เทสก์ได้แสร้งพูดว่า "ตาฝาดไปละมั้ง ที่นี่มีผีเปรตที่ไหนกัน"

ครั้นแม่ชีสบถสาบานเสียงแข็ง ยืนยันว่าได้เห็นมากับตาจริง ๆ มิได้เอาเรื่องตลกที่ไหนมาเล่าเลย ท่านอาจารย์เทสก์จึงยิ้มออกมาแล้วบอกว่า "ถูกต้องแล้วละโยม ! เมื่ออาตมามาอยู่วัดนี้ใหม่ ๆ ก็เคยเห็นบ่อย ซึ่งแต่เดิมเปรตทั้งหมดก็ยังติดอยู่ที่วัดนี้ ๑๐ ตนด้วยกัน ขณะนี้ยังเหลืออีกตนหนึ่ง มีหลุมฝังศพข้างใต้ถุนกุฏิแดง แต่ที่อาตมาไม่เคยบอกไม่เคยพูดก็เพราะถ้าพูดออกไปแล้ว ไม่มีใครเชื่อก็ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูลแก่บุคคลอื่น ๆ "

เรื่องที่ ๑๔ "หลวงตามาเตือน"

ครั้งที่ พระมหาหน่วย ปุณณตฺโถ ยังบวชเป็นสามเณรอยู่ ได้มีโยมชีของสามเณรหน่วยมาเยี่ยม ณ ที่พักตึกพัตรพิมลพรรณ

ในวันนั้นเป็นเวลาค่ำ สามเณรหน่วยไม่อยู่ ได้ออกไปกิจธุระนอกวัด โยมแม่ชีซึ่งมาจากจังหวัดอุดร ฯ พักรออยู่ในห้องชั้นล่าง เมื่อเห็นสามเณรลูกชายยังไม่กลับมา ได้ถือวิสาสะขึ้นไปนอนเล่นบนเตียงนอนของสามเณร พอนอนไปได้สักครู่ใหญ่ ๆ โดยไม่ได้หลับหรือเคลิ้มแต่ประการใด ก็ได้ยินเสียงประตูห้องที่กั้นฝาไว้เปิดออกดังแอ๊ด !

จึงรีบลุกขึ้นนั่งมองดู ก็แลเห็นพระภิกษุผู้สูงอายุรูปหนึ่งห่มจีวรสีกรักเดินเข้ามา แม่ชีเห็นเป็นพระก็รีบทรุดตัวลงกราบกับพื้น ยังไม่ทันที่จะพูดอะไร หลวงตารูปนั้นก็ยกมือขึ้นชี้หน้า พูดด้วยเสียงดุ ๆ ว่า "ทำไมขึ้นไปนอนบนเตียงของเณร"

แม่ชีโยมสามเณรหน่วยจึงตอบว่า "ก็อีฉันเป็นมารดาของสามเณรเพราะอะไรจึงนอนไม่ได้"

พระหลวงตารูปนั้นจึงชี้แจงเป็นเชิงอบรมว่า "สามเณรเป็นผู้มีศีล แต่แม่ชีเป็นผู้หญิง แม้จะเป็นแม่หรือเป็นชีก็ตาม ก็ไม่สมควรจะขึ้นไปนั่งหรือนอนบนที่นอนของสามเณร ต่อไปอย่ากระทำเช่นนี้อีก"

พระหลวงตากล่าวแล้วก็หันหลังเปิดประตูกลับออกจากห้องไป

เหตุการณ์ที่เกิดในคืนนั้น เมื่อสามเณรหน่วยกลับมาแล้ว โยมแม่ก็เล่าเรื่องให้ฟัง ซึ่งทำให้สามเณรแปลกใจมาก เพราะที่คณะบัญจบเบญจมาไม่มีพระหลวงตาแก่ ๆ ประจำอยู่เลย

ทั้งนี้เมื่อสอบถามพระผู้งอายุในคณะอื่นก็ไม่มีใครมาเกี่ยวข้อง จึงไม่มีใครรู้ว่า พระหลวงตานั้นเป็นใคร ?

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-7-24 17:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องที่ ๑๕ "พระวิญญาณสมเด็จ ฯ"

พระสุชาติ ชาติสุโภ วัดบวรนิเวศวิหาร เล่าให้คุณสนิท ธนรักษ์ ฟังว่า

สำหรับตัวท่านเองเคยได้รับการยืนยันจากน้องสาวว่า เคยเห็น "สมเด็จกรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระสังฆราชเจ้า" ที่หอสหจรมาแล้ว โดยเล่าให้ฟังว่า

เมื่อประมาณปี ๒๕๑๙ นั้น ท่านพักอยู่ที่คณะหอสหจร ได้มีน้องสาวร่วมบิดา-มารดาเดียวกันมาเยี่ยมที่กุฏิ ก็เลยนั่งสนทนากันอยู่นานถึงเรื่องต่าง ๆ จนกระทั่งเกือบ ๔ โมงเช้า ก่อนที่น้องสาวจะลากลับ น้องเกิดปวดท้องจึงขออนุญาตเข้าห้องน้ำ ท่านสุชาติบอกกับน้องว่า ห้องน้ำอยู่ชั้นบน ขึ้นไปเถอะ

ครั้นน้องของท่านขึ้นบันไดไปชั้นบนจะเข้าห้องน้ำ ก็สวนทางกับพระภิกษุรูปหนึ่ง ห่มครองจีวรสีกรัก น้องของพระสุชาติรีบนั่งยกมือไหว้ สังเกตุเห็นใบหน้าท่านยิ้ม ๆ แล้วหลีกทางไปอีกทางหนึ่ง

เมื่อเธอเสร็จธุระแล้วก็กลับลงมาข้างล่างและถามพระพี่ชายว่า "หลวงพี่ข้างบนมีพระผู้ใหญ่แก่ ๆ มาพักอยู่ด้วยหรือ ?"

พระสุชาติตอบปฏิเสธว่า ไม่มีใครหรอก น้องก็ยืนยันว่า "ก็หนูเห็นมากับตานี่นา หนูยังยกมือไหว้ท่านเลย" พระสุชาติได้รับการยืนยันอย่างแข็งขันเช่นนั้น นึกขึ้นมาได้ก็เลยชี้ให้น้องสาวดูภาพถ่ายของพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่แขวนบ้าง ตั้งบ้างอยู่ในห้อง แล้วถามว่า องค์นี้ใช่ไหม ? น้องก็ตอบว่า ไม่ใช่, องค์นั้นล่ะ? น้องก็บอกอีกว่า ไม่ใช่ พระสุชาติถามเกือบทุกองค์ทั้ง ๆ ที่บางองค์ยังมีชีวิตอยู่และบางองค์ก็มรณภาพหรือสิ้นพระชนม์ไปแล้ว

น้องสาวก็ตอบว่า ไม่ใช่ทั้งสิ้น แต่ครั้นพระสุชาติชี้ไปที่พระรูปของ "สมเด็จกรมหลวง วชิรญาณวงศ์" น้องก็รีบบอกทันทีว่า "องค์นี้แหละ องค์นี้แหละหนูจำได้แน่นอน แก้มของท่านยุ้ย ๆ หน้าตาท่านยิ้ม ๆ เหมือนคนใจดี"

เมื่อพระสุชาติทราบเช่นนี้นก็ไม่ได้ถามอะไรต่อไปอีกและไม่ได้บอกกับน้องด้วยว่า พระรูปนั้นเป็นใครเพราะเกรงว่าน้องจะกลัว

คุณสนิท ธนรักษ์ บอกว่า เมื่อพระสุชาติเล่าจนจบก็ทำให้ท่านคิดว่า พระหลวงตาแก่ ๆ ที่ไปอบรมโยมแม่ของสามเณรหน่วยที่ตึกพักตรพิมลพรรณ (เรื่องที่ ๑๔) นั้นน่าจะเป็นพระวิญญาณของ "สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ" เพราะโดยปกติพระองค์ท่านประทับอยู่ที่ตึกบัญจบเบญจมา ซึ่งถ้าไม่สังเกตให้ดี มักจะเข้าใจว่าเป็นตึกหลังเดียวกัน (กับตึกพักตรพิมลพรรณ) แต่ที่แท้เป็นคนละหลัง และสร้างคนละคราว หากแต่ทางวัดได้ต่อเฉลียงชั้นบนให้ถึงกันได้ในภายหลัง
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้