ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2001
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ความเชื่อต่อเจ้าที่ของไทโซ่.....

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2016-6-28 20:49

กะโซ่เมื่อร้อยปีก่อน
(ถ่ายภาพโดยชาวฝร่งเศส
เมื่อ พ.ศ. 2432)



1.สิ่งบอกเล่าจากคนนอก: เมื่อจะทำงานกับชาวโซ่ ก็ถามเพื่อนข้าราชการหลายคน หลายหน่วยงาน บางคนบอกว่า....พวกโซ่ดงหลวงเป็นคนป่าคนดง เป็นพวก สกย.  เป็นพวกผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย  เป็นพวกขี้เกียจ  ไม่ยอมรับการพัฒนา  เป็นพวกมีการศึกษาต่ำ มีแต่ขอนั่นขอนี่ ยากจน.....ล้วนแต่เป็นคำที่มองออกไปในทางลบทั้งสิ้น ไม่ได้พูดอะไรที่เป็นศักยภาพของคนในการพัฒนาเลย โดยเฉพาะข้าราชการที่รับผิดชอบพื้นที่อำเภอดงหลวง ???




2. กะโซ่คือใคร? สิ่งที่คนนอกบอกเล่ามานั้นเราคัดค้านอยู่ในใจ เพราะเราเห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า “คนพัฒนาได้” ไม่ว่าจะเป็นคนยากจนที่ไหนก็ตาม จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับเราเมื่อทางโครงการ และ ส.ป.ก.ให้โจทก์มายากๆเช่นนี้ เราก็ไม่รู้สึกอะไร ตรงข้ามกลับชอบ ผู้เขียนกับเพื่อนร่วมงานต่างสนใจเหมือนๆกัน ต่างตั้งคำถามแรกว่า โซ่คือใคร ??? เราต้องรู้จักโซ่ให้ได้ ต่างจึงระดมหาข้อมูลกันทุกทาง แล้วเราก็พบข้อมูลจาก “หอแก้ว” ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ของจังหวัดที่กล่าวถึงชนเผ่าต่างๆพร้อมประวัติศาสตร์ของเมืองมุกดาหารสร้างโดยท่าน สุรจิตต์ จันทรสาขา ท่านเป็นตระกูลเจ้าเมืองมุกดาหารคนสุดท้าย และเป็นพี่น้องต่างมารดากับท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เราพบหนังสือประวัติเมืองมุกดาหารที่วางขายที่โรงแรมซึ่งเรียบเรียงโดยท่านสุรจิตต์ จันทรสาขา  เราพบรายงานจังหวัดที่มีเรื่องเกี่ยวกับรายละเอียดทั้งหมดของจังหวัดตามแบบฟอร์มราชการที่มีข้อมูลตัวเลขมากมาย   เราจึงทราบที่มาที่ไปของโซ่ดงหลวงพอสมควรตามเอกสาร .
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-28 20:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

3.  ดงหลวงคือเขตปลดปล่อย : ผู้เขียนนึกขึ้นได้ว่าเคยซื้อหนังสือรวมเล่มของมติชนเรื่องหนึ่งคือ “สู่สมรภูมิภูพาน” เขียนโดย พ. เมืองชมพู  หรือ “อุดม สีสุวรรณ” หรือบรรจง บรรเจิดศิลป์อดีตคณะกรมการกลาง พคท.  เนื้อหาสาระเป็นการบันทึกความทรงจำของคุณอุดม สีสุวรรณสมัยเป็นผู้นำ พคท. และอาศัยอยู่ในพื้นที่ดงหลวงโดยมีพี่น้องไทโซ่ปกป้องชีวิตและดำเนินการการเมืองภายใต้กลุ่มพี่น้องไทโซ่ เป็นประวัติศาสตร์ดงหลวงช่วงสมัยที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง ใครที่ทำงานดงหลวงควรที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วจะเข้าใจ “สำนึกของคนดงหลวง” ได้พอสมควร เพราะโลกทัศน์ และชีวทัศน์ของผู้นำในปัจจุบันยังคงเป็นผลมาจากการอยู่ภายใต้การปกครองของ พคท.  ประมาณ 10-15 ปีก่อนที่นโยบาย 66/25 จะออกมาให้ทุกคนมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากคนนอกบอกกล่าวเรื่องราวของไทโซ่ เพราะการดิ้นรนต่อสู่ในป่านั้นมันสร้างระบบคิดและวิธีคิดจากไทโซ่ที่เป็นคนป่าคนดงมาสู่ไทโซ่ที่รู้สิทธิอันพึงมีพึงได้จากหน่วยงานราชการ
4. ความเชื่อเรื่องผี เจ้าที่ สมัยอยู่ป่า: พคท.ไม่อนุญาตให้ใครก็ตามพูดคุยหรือแสดงความเชื่อเรื่อง “ผี” หรือ เจ้าที่” ออกมาเพราะเป็นเรื่องงมงาย ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ และจะทำให้พลังมวลชนไขว้เขว กรณีตัวอย่างสตรีนางหนึ่งที่บ้านพังแดง ผู้เล่ากล่าวว่าเป็นคนหน้าตาดี มีสามีมาหลายคน แต่เป็นคนที่สนใจการเป็น “นางเทียม” หรือเป็นคนทรง เป็นสื่อให้วิญญาณต่างๆเข้ามาสถิต แล้วทำนายทายทักต่างๆ นางนี้ได้อยู่ภายใต้การปกครองของพคท.เหมือนกับพี่น้องบ้านพังแดงทั้งหมด แต่ยังเข้านางเทียมอยู่ ซึ่งมีพี่น้องไทโซ่จำนวนมากสนใจและมาพึ่งพาการทำนายทายทักของทางเทียมผู้นี้ พคท. ส่งคนมาเจรจาตักเตือนถึง 3 ครั้ง ในที่สุดนางก็ถูกยิงตายคาบ้านพักที่บ้านพังแดง ปัจจุบันลูกสาวนางเทียมผู้นี้ชื่อ “ดาว” แต่งงานกับ อบต.คนหนึ่งในปัจจุบัน เมื่อพฤติกรรมความเชื่อถูกกดด้วยกติกาของ พคท. เช่นนี้จึงไม่มีใครแสดงออก แต่ลึกๆแล้วชาวไทโซ่ก็ยังเชื่ออยู่ เพราะความเชื่อไม่ได้ถูกล้างด้วยกฎ กติกาใดๆได้ จะเห็นได้จาก เมื่อสิ้นยุค พคท. การแสดงออกของความเชื่อคืนมาทันที เช่นพิธี ก๊วบ, พิธีไหว้เจ้าปู่องค์ดำที่บ้านมะนาว, พิธี 3 ค่ำเดือน 3, พิธีไหว้เจ้าปู่ตาก่อนดำนาและเกี่ยวข้าว, พิธีเหยา และการเข้านางเทียม เป็นต้น  




3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-28 20:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
5  พิธี “ก๊วบ” ของไทโซ่ : ก๊วบเป็นภาษาโซ่ แปลว่า “ครอบ” พิธีครอบของไทโซ่ที่บ้านพังแดง(รวมถึงบ้านอื่นๆด้วย) นั้นถูกอธิบายว่าเป็นพิธีที่ชาวบ้านแสดงต่อ “เจ้าที่” ให้รับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในหมู่บ้าน เช่น มีคนเข้ามาอาศัยในหมู่บ้านเป็นระยะเวลานาน  หากมาพักเพียง 2-3 วันก็ไม่ต้องทำพิธีได้ หรือมีสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ เช่น โครงการ คฟป.สร้างระบบชลประทานสูบน้ำด้วยไฟฟ้า พิธีเริ่มจากผู้ที่จะต้องการทำต้องแจ้งต่อผู้นำชุมชน ผู้หลักผู้ใหญ่ในชุมชน ผู้เฒ่าผู้แก่ชุมชน(ขาดไม่ได้) และชาวบ้านทั่วไป(ไม่บอก ไม่เชิญใครจะมาร่วมพิธีก็ยินดี) โดยเฉพาะ ผู้ทำพิธีคือ “เจ้าจ้ำ” จะต้องบอกกล่าวและปรึกษาหารือรายละเอียดของการจัดงาน เจ้าจ้ำจะสอบถามว่าเนื่องในเหตุอะไร  แล้วเจ้าจ้ำจะไตร่ตรองแล้วเสนอสิ่งที่จะต้องประกอบพิธี ซึ่งมักจะหมายถึงหมูที่จะต้องหามาเซ่น ไหว้ เจ้าที่ ขนาดของหมูใหญ่เล็กขึ้นกับขนาดของพิธี หรือความสำคัญของสิ่งที่ต้องการทำพิธี เช่นเจ้าหน้าที่เข้ามาพักอาศัยในหมู่บ้านคนเดียวก็เอาหมูขนาดราคา 800-1000 บาท แต่ในการทำพิธีระบบชลประทานงานสูบน้ำห้วยบางทรายนั้นใช้หมูขนาดใหญ่ราคา 3000 บาท  เมื่อกำหนด “วันดี” ได้แล้วผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้นำชุมชนต่างก็มาร่วมพิธีกันพร้อมหน้า(โดยเฉพาะเจ้าโคตรของทุกสายเครือญาติในชุมชน)ที่ “ดงเมียง” หรือสถานที่อยู่ของเจ้าที่ ของบ้านพังแดงก็มีสถานที่เฉพาะอยู่ทางทิศเหนือของชุมชน ชาวบ้านที่เป็นมือฆ่าหมูก็จะเอาหมูไปทำการชำแหละ เจ้าจ้ำจะจัดขันธ์ห้าคอยทำพิธี เมื่อทุกคนพร้อมเจ้าจ้ำจะประกอบพิธีแรกคือการบอกกล่าวสาระวันนี้ที่มาชุมนุมกันที่นี่ด้วยเหตุใด ขอให้ “เจ้าที่” รับรู้  เมื่อการเตรียมอาหารจากหมูเสร็จก็นำชิ้นส่วนไปเซ่นไหว้ พร้อมเหล้าขาว เจ้าจ้ำจะบอกกล่าวให้เจ้าที่กินอาหารที่มาให้อิ่มหนำสำราญ ระหว่างที่เจ้าจ้ำบอกกล่าวนั้น ผู้เฒ่า ผู้นำชุมชนต่างก็พูดเซ็งแซ่กันทุกคนถึงวันนี้วันดี มีเจ้าหน้าที่เข้ามาอาศัยในหมู่บ้าน จะมาทำงานพัฒนาบ้านเราให้เจริญงอกงาม อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้เจ้าที่รับทราบและช่วยปกปักรักษาผู้ที่มาอยู่ใหม่ให้อยู่รอดปลอดภัย อยู่เย็นเป็นสุข เสมือนผู้นั้นเป็นคนในหมู่บ้านนี้ เป็นลูกหลานคนบ้านนี้ เป็น “เชื้อคำฮด” เหมือนคนบ้านนี้ เสร็จแล้วผู้มาร่วมงานทุกคนก็กินข้าวกินอาหารที่ประกอบจากหมูตัวนั้นกันอิ่มหนำสำราญเป็นเสร็จพิธี               
6  ทำพิธีคารวะเจ้าที่ หรือ พิธีก๊วบ ทุกครั้งที่มีเจ้าหน้าที่ใหม่เข้าประจำพื้นที่ : เราทำชุดใหญ่ไปแล้ว และเมื่อมีเจ้าหน้าที่ใหม่เข้ามาเราก็ทำเช่นกัน โดย ทุกครั้ง จะให้เจ้าหน้าที่ใหม่นั้นรับทราบถึงวัตถุประสงค์ของพิธีนี้และการปฏิบัติตัวของเขาต่อชุมชน ซึ่งน้องใหม่ก็เข้าใจและไม่รังเกียจที่จะปฏิบัติตัวต่อพิธีกรรมดังกล่าว  
7. เรื่องเล่าขานจากบ้านพังแดง : บ้านพังแดงมีโรงเรียนระดับมัธยมระดับตำบลอยู่ ครูทุกคนที่ย้ายเข้ามาและออกไปจากพื้นที่ต้องทำพิธี “ก๊วบ” ทุกคน มีครูคนหนึ่งถูกย้ายออกไปประจำพื้นที่อื่น แล้วไม่ได้ทำการ “ร่ำลา” ต่อเจ้าที่ ก็มีอันเป็นไปให้เจ็บไข้ได้ป่วยจนรักษาอย่างไรก็ไม่หาย นึกขึ้นได้ว่าไม่ได้ทำพิธี จึงกลับมาทำพิธีนี้  แล้วอาการเจ็บป่วยต่างๆก็หายไป ??? และมีอาจารย์ใหญ่โรงเรียนแห่งนี้เช่นกันขับรถชนกันตายบนเส้นทางเข้าเมืองมุกดาหาร เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2547 ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับพิธีก๊วบนี้หรือไม่  นอกจากนี้ใครๆก็เล่าขานกันว่าเรื่องไสยศาสตร์ในพื้นที่ดงหลวงนี้มีอยู่ โดยเฉพาะพี่น้องโซ่ รวมทั้งผีปอบ ผีโพง ต่างๆ แม้วันนี้ก็มีคนป่วยและกล่าวกันว่าเป็นปอบ

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/74077
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้