ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 8919
ตอบกลับ: 18
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

อกตัญญุตาชาดก

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2020-3-8 07:15

ขอบคุณครับ น้อมนำไว้เตือนสติ
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-9 09:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อกตัญญู




อกตัญญู แปลว่า... ผู้ไม่รู้สึกถึงบุญคุณที่ผู้อื่นทำแก่ตน ผู้ไม่มีความกตัญญู



อกตัญญู  
คือผู้ระลึกไม่ได้ว่าใครเคยทำดีเคยช่วยเหลือเกื้อกูลตนมา

ผู้ลืมบุญคุณของคนอื่นที่ทำแก่ตนมา ผู้ไม่ยอมรับบุญคุณของใครทั้งนั้น

เรียกว่า  คนอกตัญญู มีลักษณะตรงข้ามกับคนกตัญญู



อกตัญญู  
มีลักษณะลบหลู่บุญคุณคน ไม่ปรารถนาที่จะตอบแทนความดีของใคร

ชอบลืมเรื่องที่เขาเคยทำเคยช่วยเหลือตนมา แต่ก็ไม่มีความรู้สึกอิ่มที่จะรับจากคนอื่นอีก

หากยังมีช่องทางจะได้จากเขาอีกก็จะพอใจ หากเห็นว่าหมดโอกาสแล้วก็จะตีจากไปทันที

หรือไม่ก็แสดงกิริยาพูดจาให้ร้ายต่างๆ


ท่านจึงว่า..



"แม้จะยกแผ่นดินทั้งหมดให้แก่คนอกตัญญูก็จะให้เขายินดีพอใจไม่ได้"




4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-9 09:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี


ทรงปรารภอนาถบิณฑิกเศรษฐี เรื่องมีอยู่ว่า...


    มีเศรษฐีชาวบ้านนอกคนหนึ่ง เป็นสหายผู้ไม่เคยเห็นกันของอนาถบิณฑิกเศรษฐี วันหนึ่ง ได้บรรทุกสิ่งของมาขายเมืองสาวัตถี ด้วยขบวนเกวียนสินค้า ๕๐๐ เล่ม มอบให้คนงานนำมาขาย พร้อมฝากคำมาหาอนาถบิณฑิกเศรษฐีด้วย


   ฝ่ายท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ทำการต้อนรับด้วยความยินดี สั่งให้หาที่พักและเสบียงแก่คนเหล่านั้น ไต่ถามถึงความสุขของเศรษฐีผู้สหาย รับซื้อแลกเปลี่ยนสินค้าทั้งหมดแล้วส่งกลับบ้าน พวกคนงานแจ้งเนื้อความนั้นแก่เศรษฐีเจ้านายของตน


   ต่อมาอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ส่งเกวียนบรรทุกสินค้าจำนวน ๕๐๐ เล่ม พร้อมนำเครื่องบรรณาการไปเยี่ยมเยือนเศรษฐีผู้สหายนั้น ฝ่ายเศรษฐีนั้นรับเครื่องบรรณาการแล้ว บอกว่าไม่รู้จักอนาถบิณฑิกเศรษฐีไม่จัดที่พักและเสบียงให้คนงานเหล่านั้นเลย ไม่รับซื้อสินค้าอีกด้วย คนเหล่านั้นต้องขายสินค้ากันเองแล้วกลับคืนเมืองสาวัตถี เล่าเรื่องนั้นแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีฟัง


   อยู่ต่อมา เศรษฐีนั้น ได้บรรทุกสินค้ามาขายที่เมืองสาวัตถีซ้ำอีก นำบรรณาการมอบให้อนาถบิณฑิกเศรษฐีแล้ว พวกคนงานของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเห็นพวกนั้นแล้ว ขออาสาต้อนรับเอง ให้ปลดเกวียนไว้นอกเมือง พอถึงเวลากลางคืนได้นำพวกเข้าปล้นสินค้าแย่งเอาแม้กระทั่งผ้านุ่ง พวกบ้านนอกไม่เหลือแม้กระทั่งผ้านุ่งต่างกลัวตาย พากันหนีไปสู่บ้านของตน


   ฝ่ายคนของอนาถบิณฑิกเศรษฐีพากันบอกเรื่องนั้นแก่เศรษฐี ท่านเศรษฐีจึงนำความนี้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้า

พระองค์จึงตรัสพระคาถาว่า..


    " ผู้ใด ไม่รู้จักคุณความดีและประโยชน์ให้ที่ผู้อื่นกระทำไว้ก่อน

       ผู้นั้น เมื่อมีกิจการเกิดขึ้นภายหลัง ย่อมไม่ได้ผู้ช่วยเหลือ "




5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-14 06:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นิทานชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า
เรื่องราวอดีตชาติที่พระองค์เป็นพระโพธิสั ตว์บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้อยู่
พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกา ฟังในโอกาสต่าง ๆ
ซึ่งพระพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็นพระโพธิ สัตว์นับพันชาติ
โดยทรงเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป
คือ 10 ชาติสุดท้ายที่เรียกว่า ทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเกิด
เป็นพระเวส สันดร จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า เวสสันดรชาดก



6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-14 06:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-11-14 06:59



มิตตวินทุกชาดกที่มาแห่งวลี..

เห็นกงจักรเป็นดอกบัว


มิตตวินทุกชาดก: ชาดกว่าด้วยความโลภ
ความโลภ ความอิจฉาริษยาจนเกิดกิเลสนำไปสู่การทำกรร มชั่ว
วิถีแห่งกรรมได้เข้ามากำหนดชีวิต อันคนเหล่าใดมากำหนัดยินดี
กับตัณหาที่เติม เต็มด้วยยาก ดุจมหาสมุทรก็เสมือนด้วยเทิดทูลไว้
ด้วยอำน าจ วาสนา อันตัณหานี้เมื่อบุคคลต้องเสพย์ย่อมเป็นขอ ง
กว้างไร้ขอบเขตอยู่เบื้องบย ย่อมแผ่ขยายไปตามความอยากไม่รู้สิ้น
ชนเหล่านั้นเสมือนทูลกงจักรกรดไว้



อ่านแล้วมีกำลังใจขึ้นเยอะ
ถึงผมจะไร้สาระ
แต่ไม่เคยคิดอกตัญญู
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 05:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-11-15 05:56
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-11-14 19:22
อ่านแล้วมีกำลังใจขึ้นเยอะ
ถึงผมจะไร้สาระ
แต่ไม่เคยค ...


หลงตนมากไป อ่ะเปล่า เสี่ยเมธา..



ความหลงตน คืออย่างไร ? (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)


ระงับความหลงตน

อันความหลงทั้งหลายนั้น ความหลงในตนย่อมเป็นความหลงอันสำคัญที่สุด เป็นตัวอวิชชาเป็นโมหะ เป็นความหลงผิดรวมอยู่ในความหลงตนนี้ อันความหลงตนนั้นพิจารณาให้ดีว่า คืออย่างไร อันความหลงตนนั้นก็ตั้งแต่ความยึดถือทั้งหลาย อันเป็นความยึดถือที่ผิดด้วยอำนาจของความโลภโกรธหลงทั้งหลายทั่วๆ ไป อันเป็นเหตุให้เกิดอคติคือความลำเอียงไป

ด้วยอำนาจของความรักความพอใจบ้าง
ด้วยอำนาจของความชังความโกรธแค้นขัดเคืองบ้าง
ด้วยอำนาจของความหลงบ้าง
ด้วยอำนาจของความกลัวบ้าง

ความเดือดร้อนทั้งหลายย่อมเกิดจากความหลงที่ถือเอาผิดดังนี้

เพราะฉะนั้น เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาว่า ความยึดถือในสิ่งที่ว่าเป็นที่รักก็ดี ในสิ่งที่ว่าเป็นที่ชังไม่ชอบก็ดี ในสิ่งที่หลงใหลติดอยู่ก็ดี ในสิ่งที่กลัวก็ดีว่าความจริงเป็นอย่างไร พิจารณาดูเป็นขั้น ๆ ในขั้นต่ำที่สุด ก็คือพิจารณาถึงกรรม คือการงานที่กระทำของบุคคลที่ชอบหรือที่ชังเป็นต้น เหล่านั้นว่า ความชอบความชังเป็นต้น

ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความที่ไปยึดถือในกรรมที่เขากระทำ เหมือนอย่างที่เขาทำแก่ตน เมื่อเขาทำในสิ่งที่ไม่ชอบใจก็เกิดความชัง เพราะไปรับเอากรรมมาเป็นของตนหรือว่ามาเกี่ยวเนื่องกับตน

แต่ถ้าหากพิจารณาตามหลักกรรมของพระพุทธเจ้าว่า กรรมที่บุคคลทำย่อมเป็นของผู้ทำนั้นเอง คือกระทำความชั่ว ความชั่วก็เป็นของผู้ทำ กระทำความดี ความดีก็เป็นของผู้ทำ พิจารณาให้เห็นจริงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วไม่รับเอากรรมของเขามาเป็นของตนหรือมาเกี่ยวเนื่องกับตน ก็ย่อมจะวางความชอบหรือความชัง เพราะเหตุที่เขากระทำดีหรือไม่ดีนั้นๆ ได้

นอกจากความชอบความชังที่เนื่องมาจากความหลงยึดถือทั้งหลาย เป็นต้นว่าความหลงยึดถือในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นของเที่ยง ในสิ่งที่ตนเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสิ่งที่เป็นอนัตตามิใช่ตัวตนว่าเป็นอัตตาตัวตน ในสิ่งที่เป็นอสุภะคือไม่งดงามว่าเป็นสุภะคือความสวยงาม

ความหลงยึดถือเหล่านี้ทำจิตใจให้เป็นจิตวิปลาส

ทำทิฏฐิความเห็นให้เป็นทิฏฐิวิปลาส ทำสัญญาความกำหนดให้เป็นสัญญาวิปลาส เพราะฉะนั้น ก็ให้พิจารณาดูตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนว่ามีอะไรบ้างที่ยึดถืออยู่นั้นเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาตัวตน หรือเป็นของที่งดงามจริงๆ

ร่างกายของตนก็ดี ของบุคคลอื่นก็ดี สิ่งที่เนื่องกับร่างกายจะเป็นทรัพย์สมบัติ จะเป็นสิ่งอันใดอันหนึ่งก็ตามที ล้วนเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่เป็นของตนเองอย่างแท้จริงและไม่เป็นสิ่งที่สวยงาม

ความสวยงามนั้นก็มีอยู่แค่พื้นผิวภายนอก เช่นที่ตามองเห็นเท่านั้น แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ล้วนเป็นสิ่งประกอบปรุงแต่งกันขึ้นมาเป็นชิ้นเป็นอันต่างๆ ทั้งนั้น พิจารณาดั่งนี้แล้ว เมื่อความจริงปรากฏขึ้น ก็จะทำให้ความดิ้นรนทะยานอยากที่เรียกว่าตัณหานั้นสงบ ทำให้ความยึดถือสงบ

: ความสงบ
: พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 06:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-11-14 19:22
อ่านแล้วมีกำลังใจขึ้นเยอะ
ถึงผมจะไร้สาระ
แต่ไม่เคยค ...


หลงตน..หลงคน..หลงอำนาจ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)



ผู้มีโมหะมาก คือ มีความหลงมาก มีความรู้สึกที่ไม่ถูก ไม่ชอบ ไม่ควร ในตน ในคน ในอำนาจ

ผู้หลงตน เป็นคนมีโมหะ มีความรู้สึกที่ไม่ถูก ไม่ชอบ ไม่ควรในตนเอง คนหลงตนจะมีความรู้สึกว่าตนเป็นผู้มีความดี ความสามารถ ความพิเศษเหนือใครทั้งหลายเกินความจริง เป็นความรู้สึกในตนที่ไม่ถูก ไม่ชอบ ไม่ควร

เมื่อมีความรู้สึกอันเป็นโมหะ ความหลง ราคะ หรือโลภะและโทสะก็จะเกิดตามมาได้โดยไม่ยาก เมื่อหลงตนว่า ดีวิเศษเหนือคนทั้งหลาย ความโลภให้ได้มาซึ่งสิ่งอันสมควรแก่ความดี ความดีวิเศษของตน ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ความโกรธด้วยไม่ต้องการให้ความดี ความวิเศษนั้นถูกเปรียบถูกลบล้าง ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

ผู้หลงคน จะมีความรู้สึกว่าคนนั้น คนนี้ที่ตนหลง มีความสำคัญมีความดีวิเศษเหนือคนอื่น เกิดความมุ่งหวังเกี่ยวกับความสำคัญ ความดีความวิเศษของคนนั้นคนนี้ ความมุ่งหวังนั้นเป็นโลภะและเมื่อมีความหวังก็มีได้ทั้งสมหวังและความผิดหวังเป็นธรรมดา ความผิดหวังนั้นเป็นโทสะ

ผู้หลงอำนาจ เป็นผู้มีโมหะมีความรู้สึกที่ไม่ถูกไม่ชอบไม่ควร ในอำนาจที่ตนมี ผู้หลงอำนาจจะมีความรู้สึกว่า อำนาจที่ตนมีอยู่นั้นยิ่งใหญ่ เหนืออำนาจทั้งหลายเกินความจริง เป็นความรู้สึกที่ไม่ถูก ไม่ชอบ ไม่ควร

ผู้หลงอำนาจของตนว่ายิ่งใหญ่เหนืออำนาจทั้งหลาย ย่อมเกิดความเห่อเหิมทะเยอทะยานในการใช้อำนาจนั้น ให้เกิดผลเสริมอำนาจของตนให้ยิ่งขึ้น ความรู้สึกนี้จัดเป็นโลภะ และแม้ไม่เป็นไปดังความเหิมเห่อทะเยอทะยาน ความผิดหวังนั้นจักเป็นโทสะ


: ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ที่มา..http://www.dhammajak.net/board/v ... 255a6e5cfc7e7411adf
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2013-11-15 05:54
หลงตนมากไป อ่ะเปล่า เสี่ยเมธา..

สงสัยจะจริง ...
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้