ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
เบื้องหลังนครวัดในวัดพระแก้ว ร.๔
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1762
ตอบกลับ: 1
เบื้องหลังนครวัดในวัดพระแก้ว ร.๔
[คัดลอกลิงก์]
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2016-5-18 16:23
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ผู้ที่ไปชมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว วัดเดียวที่ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และยังเป็นวัดที่มีชาวต่างประเทศเข้ามากกว่าคนไทย เพื่อชมความงามอันวิจิตรตระการตาของศิลปะไทย แต่ทั้งไทยและเทศต่างแปลกใจที่เห็นปราสาทนครวัดจำลองขนาดใหญ่ ตั้งเด่นตระหง่านอยู่ในพระอารามแห่งนี้ด้วย และตั้งคำถามกันว่า นครวัดมีความเกี่ยวพันอะไรกับวัดพระแก้ว
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-5-18 16:37
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องนี้คงต้องย้อนไปถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้คนไทยได้เห็นความมหัศจรรย์ของปราสาทหินแบบขอม ซึ่งใช้หินล้วนๆเป็นวัสดุก่อสร้าง จึงมีพระราชดำริที่จะให้รื้อปราสาทหินที่มีอยู่เกลื่อนในเขตไทย ย้ายเข้ามาสร้างในกรุงเทพฯสักแห่งสองแห่ง จึงมีรับสั่งให้ พระสุพรรณพิศาล กับ ขุนชาติวิชา ออกไปสำรวจหาที่เมืองนครธม นครวัด และเมืองพุทไธสมัน ว่ามีปราสาทไหนพอจะย้ายได้บ้าง ซึ่งขณะนั้นดินแดนเหล่านี้ยังเป็นพระราชอาณาจักรสยาม
พระสุพรรณพิศาลกับขุนชาติวิชากลับมาทูลรายงานว่า ได้ไปสำรวจมาหลายตำบลแล้ว ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นปราสาทใหญ่ๆ รื้อมาคงไม่ได้ แต่ที่เมืองเสียมราฐ มีปราสาทไผทตาพรหม อยู่ ๒ หลัง สูงแค่ ๖ วา เห็นว่าพอจะรื้อเข้ามาได้ จึงโปรดให้มีตราไปเกณฑ์คนเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ เมืองพนมศก เป็นแรงงานให้พระพิศาลไปรื้อปราสาทผไทตาพรหมเข้ามา โดยแบ่งกำลังคนออกเป็น ๔ ผลัดๆละ ๕๐๐ คน
ต่อมาเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (นอง) ได้ส่งพระยาอานุภาพไตรภพ เจ้าเมืองเสียมราฐ เข้ามากราบทูลว่า ได้เกณฑ์คนให้พระสุพรรณพิศาลตามรับสั่งแล้ว แต่พอตั้งพิธีพลีกรรมบวงสรวงและลงมือรื้อปราสาทเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๓ ปรากฏว่ามีชาวเขมรประมาณ ๓๐๐ คนออกมาจากป่า เข้ายิงฟันพวกรื้อปราสาท ฆ่าพระสุพรรณพิศาลกับพระวังและลูกชายของพระสุวรรณพิศาลตาย รวม ๓ คน ทั้งยังไล่แทงฟันพระมหาดไทย พระยกกระบัตร และคนอื่นๆบาดเจ็บอีกหลายคน แต่พวกที่ถูกเกณฑ์แรงงานมาไม่ถูกทำร้าย จากนั้นก็หนีกลับเข้าป่าไป
ทรงทราบแล้วจึงรับสั่งให้พระยาอภัยภูเบศร์ และพระยาอานุภาพไตรภพ รื้อปราสาทคนละหลังเข้ามาให้จงได้ พร้อมทั้งสืบหาผู้ร้ายรายนี้ให้ได้ด้วย
เหล่าบรรดาเสนาบดีเมื่อทราบดังนั้นจึงเข้าชื่อกันทำเรื่องกราบบังคมทูลว่า ปราสาทหินที่เมืองเขมรนั้น กษัตริย์แต่โบราณได้สร้างไว้ มีอายุเป็นร้อยเป็นพันปีมาแล้ว เพื่อจะให้เป็นเกียรติยศติดแผ่นดิน หากไปรื้อเอามา คนสมัยนี้ก็ไม่มีปัญญาที่จะยกหินก้อนใหญ่ขนาดนั้นได้ หรือรื้อเอาเข้ามาแล้วทำขึ้นใหม่ไม่ได้ หรือมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นอีกเหมือนครั้งนี้ ก็จะเป็นการเสียพระเกียรติยศ ขอพระราชทานให้รับสั่งงดเสียดีกว่า แต่สำหรับผู้ร้ายนั้นให้สืบสวนเอาตัวให้จงได้
เมื่อทรงพิจารณาตามคำกราบบังคมทูลของเหล่าเสนาบดีแล้ว จึงมีรับสั่งให้งดรื้อปราสาทผไทตาพรหม แต่ไม่เลิกล้มพระราชดำริที่จะให้คนกรุงเทพฯได้ดูปราสาทขอม โปรดเกล้าฯให้พระสามภพพ่ายไปลอกแบบปราสาทนครวัดมา วัดส่วนกว้างส่วนยาวส่วนสูงอย่างละเอียด ซึ่งใช้เวลาเกือบ ๔ เดือน พระสามภพพ่ายได้วัดส่วนต่างๆของปราสาทนครวัดมาทุกซอกทุกมุม รวมทั้งลวดลายต่างๆ อย่างจดไว้ตอนหนึ่งว่า
“...มียอดปรางค์ในระหว่างกลาง ๗ ศอก สูง ๑๕ วา มีประตูและบันไดขึ้นไปจากพื้นทั้ง ๔ ปราสาท มีประตูออกจากปราสาทเข้าไปปราสาทใหญ่ หลังคาพระระเบียงเอาศิลายาว ๒ ศอก หน้าใหญ่ ๑ ศอกเศษ หน้าน้อยกำมา ๑ ทับเหลื่อมกันขึ้นไปประจบเป็นอกไก่ พื้นหลังคาสลักเป็นลูกฟูก เอาศิลาแผ่นยาวๆทับหลังเหมือนอย่างทับหลังคา ไม่มีสิ่งไรรับข้างล่างก็อยู่ได้ทั้ง ๓ ชั้น ด้วยเป็นของหนัก ถัดพระระเบียงเข้าไปเป็นลานกว้าง ๑๐ วาถึงองค์ปรางค์ เขมรเรียกว่าปราสาท ฐานกว้าง ๑๑ วา สูง ๑๙ วา ๒ ศอก มีในร่วมข้างในที่หว่างมุม ๔ ด้าน กว้าง ๗ ศอกคืบ ตรงกลางนั้นก่อตัน หน้ากระดานสลักเป็นลายเขมร กลีบขนุน สลักเป็นครุฑ เป็นเทวดา ตั้งพระพุทธรูปไว้ในหว่างมุขทั้ง ๔ มุข มุขละองค์...”
จึงโปรดฯให้ช่างกระทำจำลองตามแบบที่ถ่ายเข้ามานั้น ขึ้นไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามจนทุกวันนี้
ปราสาทตาพรหม
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...