ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 13490
ตอบกลับ: 6
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย lnw เมื่อ 2016-4-18 14:01

  

     ย้อนหลังไปเมื่อสี่สิบกว่าปีมาแล้ว  หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี    ได้ถึงแก่กาลมรณ ภาพจากผู้ที่เคารพนับถือไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ซึ่งนับเป็นการสูญเสียพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าของ อ.สามโคก จ.ปทุมธานีที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง...
     หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่างชาตะเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๔๑๕ ที่บ้านตำบลบางกระบือ อ.สามโคก ปทุม ธานี เป็นบุตรของคุณพ่อแอบและคุณแม่เผือน     ท่านได้ศึกษาหาความรู้ทางอักขระสมัยในวัดบ้านกร่างจนอ่านออกเขียนได้และได้เข้ารับการบรรพชาเป็นสามเณรจนอายุครบอุปสมบท  พระอธิการนอม วัดกร่างจึงรับเป็นธุระอุปสมบทให้ร่วมกับโยมบิดามารดาของหลวงพ่อหร่ำ
     เมื่อุปสมบทแล้ว  ท่านได้ศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฎฐานจากหลวงพ่อนอมซึ่งเป็นพระผู้เชี่ยวชาญในด้านกัมมัฎฐานและพระเวทวิทยาคมยิ่งนัก พระอาจารย์นอมองค์นี้ เป็นสหายทางธรรมกับหลวงพ่อกลั่น ธัมมะโชโตแห่งวัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา  ซึ่งคราใดก็ตามที่หลวงพ่อกลั่นท่านเข้ามากรุงเทพ ฯ ท่านจะต้องแวะวัดกร่างเพื่อเยือนหาสู่หลวงพ่อนอมอยู่เสมอ    โดยหลวงพ่อกลั่นอ่อนอาวุโสกว่าหลวงพ่อนอม และนอกจากนี้ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกก็ยังเคยมาศึกษาวิชากับหลวงพ่อนอมถึงที่วัดกร่างอีกด้วย พระเวทวิทยาคมที่ถ่ายทอดจากหลวงพ่อนอมสู่หลวงพ่อหร่ำเมื่อครั้งยังเป็นพระบวชใหม่ จึงมีความเข้มขลังและแกร่งกล้าอย่างยิ่ง
     ครั้นเมื่อหลวงพ่อนอมมรณภาพลง     พระอาจารย์กันต์ที่เป็นคู่สวดของหลวงพ่อหร่ำก็ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทน  แต่ไม่นานก็สึกลาเพศไป ทางวัดกร่างขาดเจ้าอาวาสสืบแทน   ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันอาราธนาหลวงพ่อหร่ำที่เป็นพระผู้สำรวมระวังในพระธรรมวินัยขึ้นครองวัดสืบแทน
     หลวงพ่อหร่ำองค์นี้  ปลายชีวิตหลวงพ่อนอมได้ไว้ใจให้ลงตะกรุดโทนและถวายให้ท่านปลุกเสกกำกับ และตอนหลังหลวงพ่อนอมได้บอกกับญาติโยมว่า " ถ้าต้องการได้ตะกรุดโทนล่ะก้อ ไม่ต้องมาหาฉันเพราะฉันหูตาไม่ดีแล้ว ให้ท่านหร่ำเขาลงให้และปลุกเสกให้     ส่วนถ้าจะให้ฉันปลุกเสกก็ค่อยเอามาให้ตอนหลังก็ได้ ท่านหร่ำเขาก็เสกได้เหมือนฉันนั่นแหละ "

     หลวงพ่อหร่ำนิยมออกธุดงค์เป็นประจำ ท่านได้นำพระกรุเก่าที่ได้จากการธุดงค์มาบรรจุไว้ในวัดกร่างที่มีผู้พบแตกกรุตอนหลัง ซึ่งต่างคิดว่าหลวงพ่อหร่ำท่านสร้างไว้ แต่ความจริงแล้วเข้าใจผิด  เพราะหลวงพ่อไปนำพระเหล่านี้จากกรุเก่าที่ท่านธุดงค์มาบรรจุไว้ ซึ่งสร้างปรากฎการณ์อภินิหารมากมาย


     ตะกรุดโทนของหลวงพ่อหร่ำ   เรื่องมหาอุดสุดยอด  ยิงปืนไม่ลั่น  กระบอกปืนบวมกันมานักต่อนักแล้ว ส่วนเหรียญทำบุญอายุของท่านปี ๒๔๖๙ ที่คณะศิษย์ได้ร่วมใจกันจัดสร้างให้หลวงพ่อหร่ำปลุกเสก    ด้านหน้าเป็นรูปท่านนั่งเต็มองค์  ตรงหน้าหลวงพ่อมีบาตรน้ำมนต์และมีลิงอยู่ด้วย  ซึ่งลิงที่ปรากฎนี้เป็นการแทนความหมายปีเกิดของท่านซึ่งก็คือปีวอก  ด้านหลังเป็นยันต์สี่   เหรียญนี้ทางมหาอุดดังมากจนมีเรื่องเล่าเป็นตำนานสืบต่อมาว่า...

     ในคืนเดือนมืดวันหนึ่ง  มีชายฉกรรจ์สามคนพายเรือมาจอดที่หน้าวัดกร่าง แล้วทั้งสามคนก็เดินขึ้นไปบนกุฎิหลวงพ่อหร่ำซึ่งยังจุดตะเกียงลานเหมือนจะรอชายทั้งสามอยู่ พอชายทั้งสามกราบนมัสการหลวงพ่อหร่ำท่านก็พูดลอย ๆ ว่า " ไอ้คนโตเอาหัวของข้าไปปล้นเขากิน   ไอ้คนกลางเอาอกของข้าไปลักวัวความยชาวบ้านเขา ส่วนไอ้คนสุดท้องเอาขาข้าไปย่องเบา  พวกเอ็งมันเอาข้าไปหากินจนเขาเดือนดร้อนกันไปทั่ว  ข้ารอพวกเอ็งมานานแล้ว  รู้ว่าอย่างไรเสียพวกเอ็งก็ต้องมาหาข้า   เพราะเอ็งมันเห็นว่าหลวงตาองค์นี้ช่วยพวกเอ็งหากิน ต่อไปนี้หากเอ็งไปปล้นใครอีก หรือไปขโมยของใครอีก   จะต้องฉิบหายตายโหงแม้โลงก็จะไม่มีใส่ เอาชิ้นส่วนของข้าคืนมาให้หมด "
     ทั้งสามคนตกใจหน้าซีดตัวสั่นปากคอสั่นเพราะไม่เคยมาหาหลวงพ่อหร่ำ    แต่ท่านกลับพูดได้อย่างถูกต้องทุกอย่าง คนโตที่เป็นพี่ใหญ่เคยใช้เหรียญหลวงพ่อหร่ำไปปล้นแล้วถูกเจ้าทรัพย์ยิงเอา แต่ยิงไม่ออก ออกก็ไม่ถูก ถูกก็ไม่เข้า  จึงชวนน้องคนกลางกับคนสุดท้องมาร่วมทำมาหากินในทางลักขโมยโดยเอาเลื่อยตัดแบ่งเหรียญหลวงพ่อหร่ำเป็นสามส่วนเหมือนที่หลวงพ่อหร่ำบอก

     ชายที่เป็นพี่ใหญ่โต้หลวงพ่อหร่ำว่า   " ให้ผมเลิกอาชีพโจรลักเล็กขโมยน้อยไม่ยาก ผมรับปาก เพราะเมื่อหลวงพ่อสาปแช่งแล้วผมก็ไม่อาจจะทำมาหากินทางทุจริตได้อีก     แต่เรื่องให้ผมคืนชิ้นส่วนเหรียญให้หลวงพ่อ ผมทำไม่ได้ ใครจะรับผิดชอบชีวิตของพวกผมเล่า "

     หลวงพ่อหร่ำจึงหยิบเหรียญรุ่นแรกของท่านออกมาจากย่ามสามเหรียญ   แล้วบอกกับพวกโจรว่า " เอาชิ้นส่วนมาแลกเป็นเหรียญเต็ม ๆ ไป ข้าเก็บเอาไว้ให้พวกเอ็งสามเหรียญ จงเลิกอาชีพนี้เสีย ไปประกอบอา ชีพใหม่ให้สุจริต แล้วใครก็ทำอะไรเจ้าไม่ได้ แม้แต่อาญาบ้านเมืองก็จะไม่มาคร่าตัวไปได้ "
     หลวงพ่อหร่ำเป็นพระที่มีพรรษกาลสูง  อายุยืนยาวมาจนถึงวัยอายุ ๘๘ จึงมรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน   พ.ศ.๒๕๐๔ ด้วยพรรษที่ ๖๘
     ทุกวันนี้เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อหร่ำ  หากสวย ๆ ราคาขยับไปอยู่หลักหมื่นกลาง ๆ แม้แต่เหรียญรุ่นสองและรูปถ่ายอัดกระจก ก็มีค่านับเป็นพัน ส่วนพระกรุที่พบในวัด  บางพิมพ์ราคาหลักพันไปจนถึงพันกลางเหมือนกัน แต่ค่อนข้างจะหายาก และนี่ก็คือตำนานของหลวงพ่อหร่ำ วัดกร่างที่ชาวปทุมธานี ไม่มีใครลืมได้มาจนถึงทุกวันนี้...

***************************
     สาระประโยชน์อันใดที่เกิดจากกระทู้บทความที่ข้าพเจ้าได้เป็นผู้เรียบเรียงมานี้ ข้าพเจ้าขอมอบอุทิศคุณความดีและกุศลบุญทั้งหลายแด่ดวงวิญญาณหลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง จ.ปทุมธานี  ตลอดจนครูบาอาจารย์และเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติของข้าพเจ้าด้วยเทอญ....
สุวัจชัย สมไพบูลย์

http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=11427.0;wap2
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-4-18 13:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระขุนแผนใบพุทรา


วัดกร่างเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ตำบลบางกระบือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2300 ในสมัยอยุธยาโดยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนได้ร่วมสละปัจจัยบ้าง ที่ดินบ้าง เพื่อสร้างขึ้นมาเป็นวัด วัดนี้ตั้งอยู่ใกล้ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

โดยมีเจาอาวาสองค์แรกชื่อพระอธิการวัน และหลวงพ่อหร่ำก็เป็นหนึ่งในเจ้าอาวาสวัดกร่างที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นที่ศรัทธาแก่ประชาชนทั่วประเทศ มิใช่แต่เฉพาะชาวจังหวัดปทุมธานีเท่านั้น

หลวงพ่อหร่ำ เกสโร นามเดิมชื่อหร่ำ อยู่บ้านบางกระบือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2415 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน บิดาชื่อ นายแอบ มารดาชื่อนางเผือน ครั้งเมื่อวัยเยาว์ท่านได้ศึกษาภาษาไทย และภาษาบาลีจนแตกฉานกับพระอธิการนอมที่วัดกร่าง หลังจากนั้นจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรจนอายุครบอุปสมบท ก็ได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดกร่าง ได้มีพระอธิการหิน แห่งวัดสวนมะม่วงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการนอมวัดกร่างเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์กันต์วัดกร่างเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า "เกสโร"

หลวงพ่อหร่ำ เกสโร ท่านเป็นลูกศิษย์พระอธิการนอม และด้รับถ่ายทอกวิชาทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี ตลอดจนพระเวทมนต์คาถาและวิชาไสยศาสตร์จนหมดสิ้น พระอธิการนอมซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อหร่ำ เกสโรนี้ ท่านเป็นพระมอญและเป็นที่นับถือเคารพและศรัทธาจากหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จังหวัดอยุธยา และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดอยุธยา ซึ่งท่านได้เคยเดินทางมาศึกษาวิชาจากพระอธิการนอมนี้ด้วยเสมอ

ตลอดเวลาที่หลวงพ่อหร่ำได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดกร่างนี้ ได้สร้างความเจริญมากมายเช่น พระอุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญสืบมาจนเท่าทุกวันนี้

วัตถุมงคลที่หลวงพ่อหร่ำ เกสโร ได้จัดสร้างขึ้นนั้นมีทั้งเหรียญและรูปถ่าย แต่ที่นิยมและศรัทธาแก่นักอนุรักษ์พระเครื่องก็คือ พระขุนแผนใบพุทรา ซึ่งได้จัดสร้างขึ้นด้วยเนื้อดินผสมผงและว่านมหาเสน่ห์ มีทั้งส่วนผสมของพระกรุต่างๆ เนื้อพระของท่านค่อนข้างแห้งและหยาบ ปรากฎแร่เม็ดสีแดงบ้าง สีขาวขุ่นแบบพระบ้านกร่าง จังหวัดสุพรรณบุรี

พระขุนแผนใบพุทรานี้ท่านได้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2460 และได้ปลุกเสกหลายพรรษาจนมั่นใจในพุทธคุณ แล้วได้นำมาบรรจุกรุในพระเจดีย์ด้านหน้าพระวิหาร โดยส่วนมากพระของท่านจะหย่อนความงามเพราะเป็นฝีมือช่างชาวบ้าน โดยชาวบ้านบริเวณวัดได้ช่วยกันแกะแม่พิมพ์จากหินมีดโกน สำหรับองค์ที่นำมาให้ศึกษานี้มีเนื้อที่จัด และสภาพค่อนข้างสมบูรณ์

พระพุทธคุณของท่านหนักไปทางเมตตา มหาเสน่ห์ และมีทั้งแคล้วคลาด คงกระพัน พระขุนแผนใบพุทราของท่านค่อนข้างหายาก ไม่ค่อยปรากฏในสนามพระ จึงไม่พอต่อความต้องการของนักสะสมเท่าที่ควร

จากสารานุกรมพระ



http://www.oknation.net/blog/chaiunpenteeruk/2007/09/12/entry-4
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2019-9-28 18:39

หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง เกจิสุดขลังแห่งเมืองปทุมฯ


  หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง ท่านเป็นเจ้าของเหรียญสุดเหนียว แห่งเมืองปทุมฯ และมีสนนราคาสูงสุดของปทุมฯ และท่านยังเป็นเจ้าของพระขุนแผน ที่มีอานุภาพทางเสน่ห์เมตตา จนขนานนามว่า ขุนแผนแห่งปทุมฯ
  ท่านเป็นเกจิที่มีความขลังตั้งแต่อายุยังไม่มากนัก ทราบได้จากท่านถูกนิมนต์ไปปลุกเสก เหรียญชินราช วัดทองนพคุณ ตอนนั้นท่านอายุยังไม่ถึงห้าสิบ ในเขตปริมณฑล มีหลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง กับ หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง อีกองค์คือ หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว ทั้งสามองค์ ขณะนั้นอายุยังไม่ถึงห้าสิบปี แต่ได้ไปร่วมเสกกับเกจิรุ่นโตอย่าง หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นต้น

   ประวัติ หลวงพ่อหร่ำ เกสโร วัดกร่าง ปทุมธานี หลวงพ่อหร่ำ เกสโร นามเดิมชื่อหร่ำ อยู่บ้านบางกระบือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2415 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน บิดาชื่อ นายแอบ มารดาชื่อนางเผือน ครั้งเมื่อวัยเยาว์ท่านได้ศึกษาภาษาไทย และภาษาบาลีจนแตกฉานกับพระอธิการนอมที่วัดกร่าง หลังจากนั้นจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรจนอายุครบอุปสมบท ก็ได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดกร่าง ได้มีพระอธิการหิน แห่งวัดสวนมะม่วงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการนอมวัดกร่างเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์กันต์วัดกร่างเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า เกสโร หลวงพ่อหร่ำ เกสโร ท่านเป็นลูกศิษย์พระอธิการนอม และด้รับถ่ายทอกวิชาทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี ตลอดจนพระเวทมนต์คาถาและวิชาไสยศาสตร์จนหมดสิ้น พระอธิการนอมซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อหร่ำ เกสโรนี้ ท่านเป็นพระมอญและเป็นที่นับถือเคารพและศรัทธาจากหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จังหวัดอยุธยา และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดอยุธยา ซึ่งท่านได้เคยเดินทางมาศึกษาวิชาจากพระอธิการนอมนี้ด้วยเสมอ ตลอดเวลาที่หลวงพ่อหร่ำได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดกร่างนี้ ได้สร้างความเจริญมากมายเช่น พระอุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญสืบมา

จนเท่าทุกวันนี้ ครั้นต่อมาเมื่อพระอธิการนอม มรณภาพลง พระอธิการกันต์ได้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน แต่อยู่มาไม่นานเท่าไร พระอธิการกันต์ท่านก็ลาสิกขาบทไป คณะกรรมการวัดและชาวบ้านต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าควรนิมนต์หลวงพ่อหร่ำท่าน ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส จึงได้นิมนต์หลวงพ่อหร่ำท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อหร่ำท่านเป็นพระที่ชาวบ้านเคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านมากใครเป็น อะไร เจ็บไข้ได้ป่วยก็ไปให้ท่านช่วยรักษา ท่านก็จะกรุณาเมตตารักษาให้จนหายดี โดยใช้สมุนไพรต่างๆ ซึ่งท่านมีความรู้ความชำนาญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ไปให้ท่านช่วยทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมอาบรดให้ สำเร็จสมประสงค์ทุกรายไป ส่วนในเรื่องวัตถุมงคลนั้นท่านก็ได้สร้างไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ รูปกระดาษ พระเนื้อดินเผาพิมพ์พระขุนแผนใบพุทรา พระพิมพ์เม็ดน้อยหน่า เป็นต้น


นอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญอีกสองรุ่น คือเหรียญรุ่นแรกสร้างในปี พ.ศ. 2469 เนื่องในโอกาสพิธีกวนข้าวทิพย์ โดยการนำของพระมหาแหวน ได้ปรึกษาหารือและขออนุญาตจัดสร้างเพื่อสมนาคุณแด่ผู้เสียสละทรัพย์ทำบุญ สร้างศาลาโรงธรรม จำนวนที่จัดสร้างเนื้อเงิน 80 เหรียญ เนื้อทองแดง 1,000 เหรียญ มีทั้งชนิดกาไหล่ทอง กาไหล่เงิน และแบบธรรมดา ส่วนเหรียญรุ่นสองนั้น คณะกรรมการวัดขออนุญาตจัดสร้างเพื่อแจกให้กับผู้มีจิตศรัทธาในการทำบุญ ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถในปี พ.ศ. 2499 จำนวนทั้งสิ้น 5,000 เหรียญ สำหรับเหรียญรุ่นแรกนั้นสวยๆ ราคาหลักแสนบาทครับ ส่วนในวันนี้ผมจะนำรูปพระขุนแผนใบพุทรา เนื้อดินเผามาให้ชมกันครับ สนนราคานั้นก็ไม่สูงมากอยู่ที่หลักพันต้นๆ เท่านั้น องค์พระอาจจะไม่สวยงามนัก เนื้อเป็นเนื้อดินเผาผสมกรวดทราย เนื้อค่อนข้างหยาบ แต่พุทธคุณนั้นเป็นเลิศครับ ดีครบทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ครับ ชาวสามโคกรู้ดี เรียกว่าขุนแผนแห่งเมืองปทุมฯ ครับ ชาวบ้านแถบนั้นต่างก็หวงแหนครับ จึงไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ เจอที่ไหนเก็บไว้เถอะครับ ยอดเยี่ยมครับ แถมของปลอมเลียนแบบก็ยังไม่พบครับ

วัตถุมงคลที่หลวงพ่อหร่ำ เกสโร ได้จัดสร้างขึ้นนั้นมีทั้งเหรียญและรูปถ่าย แต่ที่นิยมและศรัทธาแก่นักอนุรักษ์พระเครื่องก็คือ พระขุนแผนใบพุทรา พิมพ์เม็ดบัว ซึ่งได้จัดสร้างขึ้นด้วยเนื้อดินผสมผงและว่านมหาเสน่ห์ มีทั้งส่วนผสมของพระกรุต่างๆ เนื้อพระของท่านค่อนข้างแห้งและหยาบ ปรากฎแร่เม็ดสีแดงบ้าง สีขาวขุ่นแบบพระบ้านกร่าง จังหวัดสุพรรณบุรี พระขุนแผนใบพุทรา พิมพ์เม็ดบัว นี้ท่านได้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2460 และได้ปลุกเสกหลายพรรษาจนมั่นใจในพุทธคุณ แล้วได้นำมาบรรจุกรุในพระเจดีย์ด้านหน้าพระวิหาร โดยส่วนมากพระของท่านจะหย่อนความงามเพราะเป็นฝีมือช่างชาวบ้าน โดยชาวบ้านบริเวณวัดได้ช่วยกันแกะแม่พิมพ์จากหินมีดโกน หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง เป็นพระที่ชาวบ้านในย่านนั้นให้ความเคารพนับถือมาก ท่านเป็นทั้งพระหมอยาชำนาญเรื่องสมุนไพร และเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความขลังในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำมนต์ หรือเรื่องเครื่องรางของขลัง พระเครื่อง มีประสบการณ์มากมาย เหรียญรุ่นแรกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2469 ขณะนี้มีราคากันหลายแสน ส่วนพระดินเผาพิมพ์ขุนแผนใบพุทราก็หาของแท้อยาก ถึงแม้แต่พระเม็ดน้อยหน่า ก็หายากขึ้นทุกที

ต่อไปจะขอเล่าความขลังและศักดิ์สิทธิ์ของปู่เพื่อให้ลูกหลานได้จดจำ 1. สั่งให้ลิเก หนีจากโรงลิเก ครั้งหนึ่งมีงานวัดที่วัดกร่าง มีลิเกออกโรงเล่นอยู่

ฝนก็ตกพรำๆ หลวงปู่หร่ำอยู่ในกุฐิ ท่านเรียนลูกศิษย์ให้รีบไปบอกให้ลิเก หยุดเล่น แล้วรีบออกจากโรงลิเกโดยด่วน คณะลิเกเมื่อได้ยินดังนั้นด้วยความเคารพหลวงปู จึงหยุดเล่นซึ่งขณะนั้นยังไม่ทราบเหตุผล แล้ว รีบออกจากโรงลิเกอย่างที่หลวงปู่บอก ทันไดนั้นเองเกิดฟ้าผ่าไปยังโรงลิเกอย่างแรง ทำให้โรงลิเกพังลงเกิดไฟไหม้ แต่ทุกคนปลอดภัยเพราะหลวงปู่ช่วยไว้แท้ๆ 2. สามเสือตัดเหรียญ มีสามเสือพี่น้อง ออกหากินด้วยการปล้นชาวบ้าน แต่ไม่มีใครจับพวกมันได้ ยิงก็ไม่ถูก นี้เป็นเพราะพวกมันมีเหรียญหลวงปู่หร่ำ รุ่นหนึ่ง อยู่เพียงเหรียญเดียว พวกมันนับถือหลวงปู่มาก จึงตกลงกันตัดแบ่งเหรียญเพื่อใช้คุ้มครองตน เป็นสามส่วน ส่วนบนพี่คนโตได้ไปบูชา ส่วนกลางคนกลางได้ไป ส่วนล่างน้องคนเล็กได้ไป ทั้งสาม วันหนึ่งพวกมันคิดถึงหลวงปู่จึงนั้งเรือมาหาตอนค่ำ เพราะกลัวคนเห็น แต่เมื่อพวกเสือ เทียบเรือขึ้นมา ก็เจอหลวงปู่นั่งอยู่เหมือนกับจะคอยพวกมันทั้งสาม เสือทั้งสามเจอหลวงปู่ก็กล้มลงกราบ ยังไม่ทันพูดอะไร

หลวงปู่พูดขึ้นมาว่า พวกมึงนับถือข้าอย่างไร เอาข้าไปตัดเป็นท่อนๆ สามพี่น้องสะดุ้งเพราะเรื่องตัดเหรียญแบ่งกันใช้ไม่มีใครรู้เรื่องนี้นอกจาก พวกมันทั้งสาม หลวงปู่จึงเทศน์อบรม สั่งสอนเสือทั้งสาม จนพวกมันได้สำนึก หลวงปู่ให้พวกมันสาบานต่อหน้าหลวงปู่ว่าจะเลิกอาชีพโจร ตั้งใจทำมาหากิน ซึ่งพวกมันก็ทำตาม หลวงปู่จึงให้พวกมันคืนเหรียญที่ถูกตัดเป็นสามส่วนแก่หลวงปู่ และหลวงปู่ก็ให้เหรียญใหม่ให้คนละเหรียญ 3. เกล็ดหลุด 2 เกล็ด ตาล้วน บ้านอยู่หลังวัดโบสถ์ อาชีพเป็นช่างเครื่องยนต์ รู้จักในนามตา ล้วน ช่างเครื่อง ตาล้วนแก่เป็นคนชอบลองพระ ครั้งหนึ่ง(ประมาณ ปี พ.ศ.2506) แก้ชวนเพื่อนที่มีพระเครื่องไปลองกันที่บ้านแก วิธีการลองแก่เอา พระไปใส่ไว้ในปากปลาช่อน แล้วยิง(โหดมาก) แก่ยิงทะลุทุกตัวไม่ว่าจะเป็นพระของอาจารย์ไหน แต่พอมาถึงพระเม็ดน้อยหน้าหลวงปู่หร่ำ แก่ก็จับยัดปากปลาช่อนเหมือนเดิม แล้วจ่อยิง ผลปรากฏว่ายิงออก โดนปลาแต่ ปลาไม่เป็นอะไรมีเพียงเกล็ดหลุดไป 2 เกล็ดเท่านั้น 4. พระธุดงค์ เจอ(ของ)ดี ครั้งหนึ่ง สมัยหลวงปู่หร่ำยังมีชีวิตอยู่ มีพระธุดงค์ เดินธุดงค์มาปักกลดที่ชายทุ่งแถวตลาดไม้ตราคลองพระยาบันลือ

คืนหนึ่งขณะที่พระธุดงค์รูปนั้นกำลังนั่งกรรมฐาน ก็เกิดนิมิต เห็นพระสงฆ์สูงอายุรูปหนึ่งนั่งอยู่บนหลังจระเข้ลอยมาหา แล้วบอกว่า” ข้าชื่อหร่ำอยู่วัดกร่าง” พระธุดงค์ รูปนั้นออกจาก กรรมฐาน แล้วหวนคิดว่า ถ้ามีพระชื่อหร่ำ อยู่วัดกร่างจริง ท่านต้องเป็นพระอภิญญา สมควรต้องไปกราบสักการะ เช้าขึ้นพระธุดงค์ ถามชาวบ้านแถวนั้นว่า มีวัดกร่างไหม ชาวบ้านบอกว่าให้เดินลัดทุ่งไป ราว 4-5 กิโลเมตร ก็จะเจอพระธุดงค์รูปนั้นรีบเดินไปแล้วก็ถึงวัดกร่าง ท่านถามหาว่ามีพระชื่อหร่ำ หรือไม่ลูกศิษย์จึงบอกว่ามีเป็นสมภารของวัดนี้เอง พระธุดงค์ดีใจรีบไปกราบหร่ำปู่หร่ำทันที 5. พรุ่งนี้ช่วยขัดเรือของข้าที วันหนึ่งหลวงปู่หร่ำ บอกลูกศิษย์ของท่านว่าพรุ่งนี้ให้เตรียมแปรง ช่วยกันขัดเรือของท่านเพราะตะไคร่ขึ้นมากแล้ว วันรุ่งขึ้นลูกศิษย์ต่างเตรียมพร้อมแล้วเข้าไปถามหลวงปู่ว่าจะให้ขัดเรือลำ ไหน หลวงปู่เดินนำหน้าลูกศิษย์ไปที่ชายแม่น้ำหน้าวัด ยืนหลับตาว่าเวทมนต์ ทันไดนั้นก็มีน้ำพุดขึ้นพร้อมกับจระเข้ตัวใหญ่ ลอยขึ้นมา หลวงปู่สั่งลูกศิษย์ว่าไม่ต้องกลัวลงไปขัดตะไคร่น้ำให้มันหน่อยมันรำคาญตัว ลูกศิษย์สมัยก่อนก็ช่างใจถึงจริง ประกอบกับเชื่อมั่นในวิชาอาคมของหลวงปู่ ต่างกระโดดลงน้ำไปขัดตัวให้เจ้าจระเข้ยักษ์ตัวนั้น ส่วนเจ้าจระเข้ก็อยู่นิ่งราวกับหินให้ลูกศิษย์ขัดตัวให้โดยไม่ทำ อันตรายใดๆ

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง ปทุมธานี
















สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์แห่งสามโคก ปทุมธานีกัน หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักท่านนัก ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังในพุทธคุณมากองค์หนึ่ง วัตถุมงคลของท่านก็ค่อนข้างหายากพอสมควร เหรียญรุ่นแรกนั้นมีสนนราคาสูงถึงหลักแสนครับ

หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง ปทุมธานี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2415  ที่บ้านบางกระบือ ตำบลสามโคก จังหวัดปทุมธานี โยมบิดาชื่อแอบ  โยมมารดาชื่อเผื่อน เมื่ออายุได้ 17 ปี ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร  ที่วัดกร่าง และต่อมาเมื่ออายุครบบวชท่านก็อุปสมบทที่วัดกร่าง โดยมีพระอธิการ หิน วัดสวนมะม่วง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการนอม วัดกร่างเป็นพระ  กรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า "เกสโร"  เมื่อบวชแล้วท่านก็ได้ศึกษาหาความรู้ต่างๆ จากพระอธิการหิน วัดสวนมะม่วง  ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ และกับพระอธิการนอม อดีตเจ้าอาวาสวัดกร่าง

ครั้นต่อมาเมื่อพระอธิการนอมมรณภาพ พระอธิการกันต์ได้เป็น เจ้าอาวาสสืบแทน  แต่อยู่มาไม่นานเท่าไร พระอธิการกันต์ท่านก็ลาสิกขาบทไป  คณะกรรมการวัดและชาวบ้านต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าควรนิมนต์หลวงพ่อหร่ำขึ้น เป็นเจ้าอาวาส จึงได้นิมนต์หลวงพ่อหร่ำขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

หลวงพ่อหร่ำท่านเป็นพระที่ชาวบ้านเคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านมาก  ใครเป็นอะไรเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไปให้ท่านช่วยรักษา  ท่านก็จะกรุณาเมตตารักษาให้จนหายดี โดยใช้สมุนไพรต่างๆ  ซึ่งท่านมีความรู้ความชำนาญอย่างยิ่ง  นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ไปให้ท่านช่วยทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมอาบรดให้  สำเร็จสมประสงค์ทุกรายไป ส่วนในเรื่องวัตถุมงคลนั้น ท่านก็ได้สร้างไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ รูปกระดาษ  พระเนื้อดินเผาพิมพ์พระขุนแผนใบพุทราว่ากันว่าเมตตามหานิยมเด็ดนักครับ  ขนานนามกันว่าพระขุนแผนเมืองปทุมเลยทีเดียวครับ และยังมีพระพิมพ์เม็ดน้อยหน่า อีกเป็นต้น

นอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญอีกสองรุ่น คือเหรียญรุ่นแรกสร้างในปี พ.ศ.2469  เนื่องในโอกาสพิธีกวนข้าวทิพย์ โดยการนำของพระมหาแหวน  ได้ปรึกษาหารือและขออนุญาตจัดสร้างเพื่อสมนาคุณแด่ผู้เสียสละทรัพย์ทำบุญ สร้างศาลาโรงธรรม จำนวนที่จัดสร้างเนื้อเงิน 80 เหรียญ เนื้อทองแดง 1,000  เหรียญ มีทั้งชนิดกะไหล่ทอง กะไหล่เงิน และแบบธรรมดา  ส่วนเหรียญรุ่นสองนั้นคณะกรรมการวัดขออนุญาตจัดสร้างเพื่อแจกให้กับผู้มีจิต ศรัทธาในการทำบุญปฏิสังขรณ์พระอุโบสถในปี พ.ศ.2499 จำนวนทั้งสิ้น 5,000  เหรียญ

สำหรับเหรียญรุ่นแรกนั้นสวยๆ ราคาหลักแสนบาทครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้