ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ฮือฮา! นักวิทย์พบ 'คลื่นความโน้มถ่วง' มีจริง
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1704
ตอบกลับ: 0
ฮือฮา! นักวิทย์พบ 'คลื่นความโน้มถ่วง' มีจริง
[คัดลอกลิงก์]
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8083
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2016-2-12 08:47
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ฮือฮา! นักวิทย์พบ 'คลื่นความโน้มถ่วง' มีจริง พิสูจน์ทฤษฎี 100 ปี ของไอน์สไตน์
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 12 ก.พ. 2559
เดวิด ไรต์ซ อธิบายภาพในจอทีวีซึ่งแสดงให้เห็นหลุมดำ 2 หลุมกำลังโคจรรอบกันและกัน (ภาพ: AFP)
หนึ่งในทฤษฎีที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์อัจฉริยะของโลก คิดค้นขึ้นเมื่อ 100 ปีก่อน ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของโครงการ ไลโก ค้นพบ คลื่นความโน้มถ่วง ซึ่งเกิดจากการชนกันของหลุมดำ...
สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า นายเดวิด ไรต์ซ ผู้อำนวยการบริหารโครงการ 'ไลโก' หรือ 'เลเซอร์อินเตอร์เฟอโรมิเตอร์สังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง' (Laser Interferometer Gravitational-Wave Observatory: LIGO) ออกมายืนยันในวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ว่า พวกเขาพบ คลื่นความโน้มถ่วง หรือ คลื่นที่ทำให้เกิดการกระเพื่อมของปริภูมิ-เวลา (space time) ซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ คาดการณ์เอาไว้ใน 'ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป' (General relativity) เมื่อปี 1915 แล้ว
ดร. คิป ธอร์น จาก Caltech มาร่วมในงานแถลงข่าวด้วย ขณะที่ภาพในจอด้านหลังแสดงให้เห็นอิทธิพลของมวลของดวงอาทิตย์ที่มีต่อปริภูมิ-เวลา ตามทฤษฎีของไอน์สไตน์ (ภาพ: REUTERS)ทั้งนี้ คลื่นความโน้มถ่วง คือคลื่นที่ปลดปล่อยออกมาเมื่อวัตถุที่มีมวลมากเคลื่อนที่ด้วยความเร่งสูงหรือมีกิจกรรมรุนแรงในอวกาศ เช่น ดาวนิวตรอนคู่หรือหลุมดำคู่โคจรรอบกัน, ซุปเปอร์โนวา, รังสีแกมมาระเบิดในอวกาศ เป็นต้น ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว ปรากฏการณ์เหล่านี้จะทำให้เกิดคลื่นความโน้มถ่วงแผ่ออกไปในอวกาศ และเมื่อมันเคลื่อนผ่านวัตถุใดก็จะทำให้วัตถุนั้นยืดออกและหดเข้าสลับกัน
การค้นพบล่าสุดของเหล่านักวิทยาศาสตร์เป็นผลจากการเฝ้าสังเกตการณ์มานานกว่า 40 ปี ด้วยเครื่องตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงชื่อ ไลโก ซึ่งมีลักษณะเป็นสถานีอยู่ตรงกลาง มีแขนความยาว 4 กม. 2 ข้างยื่นออกไปและทำมุมตั้งฉากกัน โดยสถานีจะมีอุปกรณ์ยิงแสงเลเซอร์ไปยังกระจก 2 บานที่ปลายแขนแต่ละข้าง และให้อุปกรณ์ตรวจวัดแสงตรวจสอบคลื่นแสงที่สะท้อนกลับมา ถ้าคลื่นสะท้อนกลับมาในลักษณะเดิมแสดงว่าไม่มีคลื่นความโน้มถ่วงผ่าน แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงก็หมายความว่า มีคลื่นความโน้มถ่วงผ่าน เพราะคลื่นฯ จะทำให้แขนของไลโกยืดหรือหดตัวสลับกันจนคลื่นแสงเปลี่ยนแปลง (อ้างอิงข้อมูลจากเฟซบุ๊ก '
ความรู้วิทยาศาสตร์สนุกๆ นอกห้องเรียน
')
เดวิด ไรต์ซ อธิบายภาพในจอทีวีซึ่งแสดงให้เห็น หลุมดำ 2 หลุมรวมเป็นหนึ่งเดียวและก่อให้เกิดคลื่นความโน้มถ่วงกระจายไปรอบๆ (ภาพ: REUTERS)แถลงการณ์ของทีมนักวิทยาศาสตร์ของโครงการไลโก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (Caltech) และ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และได้รับทุนจากกองทุนวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSF) ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2015 และจากการตรวจสอบพบว่าคลื่นที่พบนี้มีเกิดจากหลุมดำ 2 หลุม ซึ่งมีมวลมหาศาลถึง 29 และ 36 เท่าของดวงอาทิตย์ และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 150 กม. หรือมากกว่า โคจรรอบกันด้วยความเร็วครึ่งหนึ่งของความเร็วแสง ในขณะที่วงโคจรค่อยๆ แคบลงจนหลุมดำทั้ง 2 หลุมชนและรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อ 1,300 ล้านปีก่อน และเกิดคลื่นความโน้มถ่วงแผ่ออกไปในอวกาศ เคลื่อนผ่านวัตถุทั้งมวลจนกระทั่งเดินทางมาถึงโลกเมื่อปีที่แล้ว และทำให้อวกาศรอบโลกของเรายืดและหดเหมือนเยลลี่
ทีมนักวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องไลโก 2 ตัวในการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงในครั้งนี้ โดยเครื่องหนึ่งอยู่ที่เมืองลิฟวิงตัน รัฐลุยเซียนา ส่วนอีกเครื่องอยู่ที่เมืองแฮนฟอร์ด รัฐวอชิงตัน และเนื่องจากคลื่นนี้มีขนาดเล็กมากเพียงหนึ่งในพันของขนาดของโปรตอน 1 อะตอม พวกเขาจึงต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจจับเป็นอย่างมาก และใช้เวลาตรวจสอบหลายเดือนจนกระทั่งมั่นใจว่าสิ่งที่พวกเขาพบคือ คลื่นความโน้มถ่วง จริงๆ
ภาพในจอแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของคลื่นแสงในช่วงเสี้ยววินาที ซึ่งเป็นหลักฐานว่า คลื่นความโน้มถ่วงเคลื่อนตัวผ่าน (ภาพ: AFP)นายไรต์ซ ระบุว่า "สิ่งที่น่าตื่นเต้นจริงๆ คือสิ่งที่จะตามมาหลังจากนี้ต่างหาก ผมคิดว่าเรากำลังเปิดหน้าต่างของจักรวาล หน้าต่างของดาราศาสตร์คลื่นความโน้มถ่วง (gravitational wave astronomy)" ขณะที่ นาย ซาบอล์คส์ มาร์กา ศาสตราจารย์วิชาฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย บอกกับซีเอ็นเอ็นว่า "เราจะไม่เพียงสามารถศึกษาทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ได้เท่านั้น เรายังจะสามารถค้นหาสิ่งที่เราเคยได้แต่จินตนาการว่ามีอยู่ได้ด้วย เราอาจจะได้เห็นจักรวาลในด้านที่ไม่เคยสังเกตการณ์มาก่อน"
มาร์กา ระบุด้วยว่า เขาคิดว่าไลโกคือ 'ไมโครโฟนจักรวาล' เป็นอุปกรณ์รับฟังที่มีความแม่นยำอย่างน่าเหลือเชื่อที่สามารถตรวจจับการบิดเบือนของปริภูมิ-เวลา อันเป็นโครงสร้างของจักรวาล มันแม่นยำขนาดสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของวัตถุขนาดลูกฟุตบอลทั่วทางช้างเผือก
ดร. เรเนอร์ เวสส์ ศาสตราจารย์กิตติคุณจากเอ็มไอที ใช้ตาข่ายแสดงให้เห็นการยืดหดของวัตถุที่ถูกคลื่นความโน้มถ่วงเคลื่อนผ่าน (ภาพ: REUTERS)"เมื่อเราได้ยินเสียงของจักรวาล เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับความลับแห่งชีวิตของหลุมดำ การกำเนิด, การตาย, การแต่งงาน และการกินอาหารของมัน เราจะได้ยินเมื่อหลุมดำกินดาวนิวตรอน" นายมาร์กากล่าว และเสริมว่า "ไม่มีใครเคยเห็นเรื่องนั้นมาก่อน เราจะไม่เพียงเข้าใจมัน แต่เราจะเห็นมัน มันเป็นสิ่งที่น่าหลงใหลที่สุดเท่าที่ผมจะจินตนาการได้"
อนึ่ง หลุมดำเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ของแนวคิดเรื่องคลื่นความโน้มถ่วง ที่ผ่านมามนุษย์เคยเห็นแต่ผลกระทบของมัน ส่วนตัวหลุมดำเองยังเป็นเพียงการคาดเดา ดังนั้น การค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงถือเป็นการยืนยันว่า หลุมดำมีอยู่จริง "นี่เป็นครั้งแรกที่จักรวาลพูดกับเราผ่านคลื่นความโน้มถ่วง หลังจากที่พวกเราหูหนวกไม่ได้ยินมาตลอด" นายไรต์ซ กล่าว
เครื่องไลโกที่เมืองลิฟวิงตัน (ภาพ: REUTERS)
http://www.thairath.co.th/content/576301
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...