ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2115
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงปู่ทอง วัดน้ำคอก จ.ระยอง

[คัดลอกลิงก์]




ตำนานเล่าขานพระผู้ทรงฌานอภิญญา ครูบาอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคม27 มกราคม เวลา 20:43 น. ·
วงปู่ทอง ท่านทรงคุณธรรมวิเศษ สามารถเหาะเหินเดินอากาศ และดำดินได้"
หลวงปู่ทองท่านเกิดเมื่อใดไม่มีหลักฐานทราบที่ชัดเจนจากการศึกษาค้นคว้าและจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่พอที่จะสรุปได้ว่าหลวงปู่ทองเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๑ ตรงกับปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) สำหรับประวัติของบิดาและมารดาของท่านเป็นใคร ไม่มีใครทราบ เพียงแต่สันนิษฐานว่า ท่านบรรพชาเป็นสามเณรมาก่อน ต่อมาเมื่ออายุได้ ๒๐ ปีท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๑ ณ พัทธสีมาวัดน้ำคอก ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) หลวงปู่ทองท่านเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีความเชี่ยวชาญหลายแขนง มีความรู้แตกฉานในพระวินัยปิฎก มีความเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐาน ยาสมุนไพร พุทธอาคมต่างๆ และยังมีความชำนาญด้านการแกะสลัก หลวงปู่ทองเป็นพระสงฆ์ที่เปี่ยมไปด้วยศีลวัตรที่งดงามและมีพุทธอาคมที่เก่งมากองค์หนึ่ง ในยุคก่อนนั้นสมัยเดียวกันกับ หลวงปู่สังข์เฒ่า (เป็นปู่ของหลวงปู่ทิม อิสริโก) สันนิษฐานว่าหลวงปู่ทองได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่สังข์เฒ่าครั้งยังอยู่ในช่วงวัยหนุ่ม ซึ่งหลวงปู่สังข์เฒ่าองค์นี้ท่านเป็นอาจารย์ที่มีอาคมแก้กล้าเป็นที่ประจักษ์ในสมัยนั้น หลวงปู่สังข์เฒ่าท่านปกครองวัดถึง ๓ วัดด้วยกัน คือ วัดละหารใหญ่ วัดละหารไร่ และวัดหวายกรอง เล่าลือกันว่า เมื่อท่านถ่มน้ำลายลงพื้นพื้นดินจะแยกเป็นรอย แม้แต่ฝนตกหลังคารั่วเมื่อท่านเงยมองฝนก็หยุดตก ท่านเป็นอาจารย์ของเกจิดังในอดีตของเมืองระยอง คือ พระครูวิจิตรธรรมานุวัตร( หลวงพ่อวงศ์ ธมฺมธีร ) วัดบ้านค่าย พระเทพสิทธิการ ( หลวงพ่ออ่ำ อินทสโร )วัดหนองกระบอก และพระครูวิจารณ์ธัมกิติ(หลวงพ่อหิน ถาวโร) วัดหนองสนม แต่หลวงปู่ทองท่านน่าจะเป็นลูกศิษย์ในยุคแรกๆ ต่อมาหลวงพ่อรอดเจ้าอาวาสรูปที่ ๕ ของวัดน้ำคอกเดิมได้มรณภาพลง ญาติโยมจึงได้ลงความเห็นกันว่า ควรจะอาราธนานิมนต์ พระภิกษุทอง ซึ่งมีศีลวัตรที่งดงาม น่าเลื่อมใส ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ ๖ ของวัดน้ำคอก เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๗ พรรษาที่ ๑๖ เมื่ออายุ ๓๖ ปี เมื่อท่านได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสแล้วท่านก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยมเริ่มทำการปฏิสังขรณ์วัด ทำการก่อสร้างอุโบสถแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ แต่ในปัจจุบันได้ถอนพุทธสีมาแล้ว แต่ยังมีหลักฐานของอุโบสถหลังนี้อยู่บริเวณใต้ต้นโพธิ์หน้าวิหารหลังเก่า ในวัดน้ำคอกเก่า ( คันธวารีธาราม ) และอุโบสถหลังนี้ท่านได้แสดงผีมือการแกะสลัก บานประตู หน้าต่าง ด้วยตัวท่านเอง ซึ่งหลักฐานส่วนนี้ได้เก็บไว้ที่วัดน้ำคอกใหม่ (ดอนขุดทอง) ซึ่งมีความงดงาม และทรงคุณค่าทางศิลปะมาก ทางด้านงานประติมากรรมได้สร้างปูชนียะวัตถุคือ พระพุทธไสยาสตร์ นอนตะแคงซ้าย (พระนอน) ซึ่งมี ๒ องค์ในจังหวัดระยอง คือ วัดป่าประดู่ ๑ องค์ ที่วัดน้ำคอกเก่า ๑ องค์ ด้านสาธารณะทำการขุดสระขึ้น ๗ สระ ซึ่งได้ทำการประดับอิฐมอญไว้รอบๆ สระด้วย เพื่อเป็นสาธารณูปโภค ปัจจุบันเหลือ ๕ สระ นอกจากนี้หลวงปู่ทองยังได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในวัด หลวงปู่ทองท่านได้สร้างคุณงามความดี เป็นที่ประจักษ์จน ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ทำหน้าที่ในการอุปสมบทแก่เหล่ากุลบุตร ต่อจากนั้นก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมที่ พระวินัยธร (ทอง) มีหน้าที่พิจารณาตัดสินพระอาบัติที่ทำผิดวินัยสงฆ์ มีหลักฐานบางส่วนในพงศาวดารเมืองระยองครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เสด็จประภาสต้นหัวเมืองชายฝั่งตะวันออก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ซึ่งเมื่อเสด็จถึงเมืองระยองเจ้าเมืองระยองในสมัยนั้น พระยาศรีสมุทรโภคชัยชิตสงคราม จึงได้มีการจัดพิธีรับเสด็จ โดยได้มีการนิมนต์พระเถระจำนวน ๑๕ รูป สวดเจริญพุทธมนต์ ซึ่งปรากฏ มีชื่อ พระทอง เมื่อทำการค้นหาว่ามีชื่อ พระทอง ปรากฏที่วัดใดในจังหวัดระยองในขณะนั้นหรือไม่ ปรากฏว่าไม่พบว่ามี จะมีแต่ปรากฏที่วัดน้ำคอดเดิมแห่งเดียว จึงสันนิษฐานว่า น่าจะเป็น หลวงปู่ทอง วัดน้ำคอก ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น พระวินัยธร
หลวงปู่ทองท่านดำรงชีวิตแห่งสมณะโดยยึดมั่นในพระธรรมวินัย จนอายุได้ ๑๐๕ ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ๖๙ ปี ดำรงสมณะเพศ ๘๕ พรรษา จึงมรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ (สมัยรัชกาลที่ ๖) ถือเป็นพระมหาเถระ ที่มีอายุยืนยาวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์โดยแท้...



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้